Ariyasound อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร รู้ลึกพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
ReadyPlanet.com
dot dot
สมันตมุขปริวรรต สัทธรรมปุณพริกสูตร กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สุภูติ วัชรสูตร มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช หนังสือภาพหายาก ariyasound
ท่องแดนสุขาวดี  พระอมิตภะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบมหาโพธิสัตว์ พระอมิตาพุทธเจ้า แดนสวรรค์ อามิตตาพุทธ มหายาน วัชรยาน เจ้าแม่กวนอิม   สุขาวดีวยูหสูตร   มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช
พระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า buudha
ทิพยจักษุ พระพุทธเจ้า ตาทิพย์  อริยะ สุพรรณเภษัข
ดนตรีสวรรค์ ดนตรีพัฒนาจักระ  พัฒนาจักระ จักระ โยคะ โยคี อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา ariyasound
กวนอิม พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ อริยะ สุพรรณเภษัช
คุณธรรมพระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ มหายาน เสียง เสถียรสุต อริยะ สุพรรณเภษัช ariyasound




รู้ลึกพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง และนิทรรศการพระเครื่อง

 

 

 ศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จในประเทศไทย

              โรงเรียนถนอมพิศวิทยา

Welcome

:::::::หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ:::::::

 


การฝึกอบรมเพื่อศึกษาพิจารณาเชิงเปรียบเทียบเนื้อหามวลสารและธรรมชาติความเก่าของพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จวัดบางขุนพรหมและสมเด็จวัดเกศไชโย ผ่านชิ้นส่วนพระสมเด็จที่มีเนื้อมวลสารจัดที่สึกและแตกหักของพระสมเด็จทั้งสามวัดและพระเครื่องตระกูลสมเด็จทั้ง 6ยุค

ผู้สนใจติดต่อฝึกอบรมติดต่อได้ที่ อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จในประเทศไทย โทร.081-8033630


 

WWW.ARIYASOUND.COM

ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จโดย อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

ศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จในประเทศไทย และหลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ


|
ทำความรู้จักศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จในประเทศไทย|หลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จ|ศึกษาเคล็ดลับพระสมเด็จกับอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช|บทความน่ารู้เกี่ยวกับพระสมเด็จ|มุมสมเด็จเพื่อการศึกษา|ชมรมพระหักสยาม|มารู้จักพระสมเด็จพิมพ์โบราณ พระกรุวัดทัพข้าว สุโขทัย|รู้ลึกพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง|นิทรรศการพระสมเด็จพระครูมูล วัดสุทัศน์Iเปิดโลกพระเครื่องแดนสยา|ทำความรู้่จักผู้อำนวยการศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จ อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

 



 

 

 

 

                                             
                                                 
 
 
 
                                                    อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช  

                                                  

                                                       

 

 

ข้าพเจ้านายอริยะ สุพรรณเภษัช  เป็นผู้ศึกษาพระสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้ทำการสะสมพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง ไว้หลายร้อยองค์ เนื่องจากมีความคิดว่า 

 

 

พระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง เป็นพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของเศษแตกหักของสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้เป็นจำนวนมากจากการที่มีประชาชนนำเศษแตกหักของพระสมเด็จมาทิ้งไว้ที่วัดและการค้นพบพระสมเด็จจำนวนมากบนหลังคาโบสถ์วัดระฆังซึ่งท่านได้นำพระสมเด็จที่แตกหักทั้งหมดร่วมกับการสร้างผงพุทธคุณของท่านตามตำรับของสมเด็จโต ทำให้พระสมเด็จของท่านโดยเฉพาะพระในยุคต้น ๆ ช่วงปี 2485-2495 มีเนื้อหามวลสารจัดจ้านน่าบูชายิ่งนัก ซึงนับว่าเป็นพระตระกูลสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังผสมไว้มากที่สุด ที่ดูจะสูสีก็มีเพียงพระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ รุ่นพิมพ์ทรงเจดีย์ 2485 เท่านั้น อีกทั้งพุทธคุณก็สูงล้ำในด้านเมตตามหานิยม เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างมาก แต่เนื่องจากท่านได้สร้างพิมพ์ทรงของพระสมเด็จต่าง ๆ ไว้มากมาย   ในวงการจึงนิยมเล่นหากันเฉพาะพิมพ์นิยมบางพิมพ์ของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวใครเห็นก็ทราบว่าเป็นพระของท่าน เช่น พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ชิ้นฟัก พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ค่อยนิยมเช่าหากัน    สำหรับพระสมเด็จของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้าน แก่ผงพระสมเด็จ หรือ มีการฝังตะกรุดไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่ 1ดอก 2 ดอก หรือ 3 ดอก จะหาได้ยากมากและเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเช่าหากันในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า เป็นที่น่าแปลกใจมากพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังไปมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากประเทศดังกล่าวมากว้านซื้อกลับไปยังประเทศของตนเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังในปัจจุบัน มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตพระชุดนี้คงจะดังระเบิดด้วยค่านิยมไม่แพ้พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 เป็นแน่แท้ 
 
         สิ่งประทับใจในการศึกษาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค คือการค้นพบสิ่งที่เรียกว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จ จากพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง ซึ่งในช่วงระยะแรกเริ่มในการศึกษาพระสมเด็จนั้นได้ไปที่วัดระฆังบ่อย ๆ เพื่อไปสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรต่อหน้าพระรูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม และใส่เงินทำบุญกับตู้บริจาคของมูลนิธิพระสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมกันไปด้วย ซึ่งผู้นิยมพระสมเด็จมีความเชื่อกันว่าผลบุญที่เกิดจะทำให้มีโอกาสได้ครอบครองพระสมเด็จแท้ๆ สักองค์หนึ่ง ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาพระสมเด็จที่สร้างโดยหลวงปู่นาค วัดระฆังที่สร้างไว้มากมายหลายพิมพ์ทรง โดยเฉพาะที่สร้างไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2584 และ ปี พ.ศ. 2595 ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่ท่านได้จัดสร้างไว้โดยมีมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักผสมไว้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นเศษพระแตกหักจากผู้ที่นำมาไว้ที่วัดและพระสมเด็จวัดระฆัง ที่พบบนหลังคาโบสถ์จำนวนมาก ทำให้ได้ความรู้ว่าพระสมเด็จของหลวงปู่นาคบางองค์ที่เนื้อจัด ๆ นั้น เซียนพระบางท่านนำมาใส่ตลับทองตีว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆัง และเปิดราคาเป็นหลัก หมื่นหลักแสนนั้น ความจริงแล้วเป็นพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง ที่สร้างในยุคต้น ๆ ที่มีเนื้อหาส่วนผสมของพระสมเด็จวัดระฆังอยู่เป็นจำนวนมากนั่นเอง 
         จากประสบการณ์ที่ได้ผ่านสายตาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังหลายร้อยองค์ทำให้มีความเข้าใจในธรรมชาติของเนื้อหาพระยุคดังกล่าวมากขึ้น  จนเกิดข้อสรุปภายในใจเกี่ยวกับคำว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จตำรับวัดระฆัง    เพราะการดูเนื้อพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆังจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจในคำดังกล่าวมากขึ้น  ทำให้ต่อไปไม่ว่าจะดูพระสมเด็จหรือพระตระกูลสมเด็จองค์ใด  ก็ไม่พ้นคำว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จทุกองค์  เซียนผู้ศึกษาพระสมเด็จท่านใดที่บอกว่าพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆังที่ท่านพิจารณาอยู่ว่าเป็นพระสมเด็จเก๊ แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจคำดังกล่าวอย่างแท้จริง  
             จากการศึกษาการสร้างพระสมเด็จพบว่าพระสมเด็จที่กล่าวกันว่ามีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังเป็นจำนวนมากที่สุดนั้น ก็คือพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังนั่นเอง และอีกวัดหนึ่ง ก็คือ พระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ โดยเฉพาะพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ที่สร้างปี พ.ศ. 2485  มีเนื้อหามวลสารจัดมาก จนเซียนสมองใสบางคนทำการเซาะพิมพ์และขายเป็นพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ท่านต้องสร้างแม่พิมพ์ใหม่เป็นพระสมเด็จพิมพ์มีหน้าตา ปี พ.ศ. 2495 ทำขึ้นให้แตกต่างจากพิมพ์ทรงของพระสมเด็จเพื่อป้องกันการนำพระของท่านไปหลอกลวงคนอื่น    
              ส่วนพระสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นจำนวนมาก ก็คงได้แก่ พระสมเด็จของหลวงตาพัน วัดอินทรวิหาร ,พระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู วัดอินทรวิหาร,สมเด็จบางขุนพรหม ปี พ.ศ.. 2509   และพระชุดวัดประสาทบุญญาวาศ โดยเฉพาะ พิมพ์หลวงปู่ทวดสีขาว ,หลวงพ่อโต ,จันทร์ลอย เป็นต้น ที่มีส่วนผสมของเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม ผสมอยู่จำนวนมาก
              พระสมเด็จที่ทำเทียมเลียนแบบพระสมเด็จของหลวงปู่นาค  แม้ว่าบางฝีมือทำพิมพ์ได้ใกล้เคียง  แต่ว่าจุดเด็ดขาดสำหรับการแยกแยะพระสมเด็จของหลวงปู่นาคที่แท้กับปลอมออกจากกันอย่างฟันธงก็คือ เนื้อหามวลสารของพระสมเด็จ ซึ่งของเทียมเลียนแบบเนื้อหาจะดูกระด้างขาดมวลสารสำคัญที่เป็นผงวิเศษของหลวงปู่นาคที่ทำขึ้นตามตำรับพรหมรังสีของสมเด็จโต และเศษชิ้นส่วนที่แตกหักของพระสมเด็จวัดระฆังที่ท่านหลวงปู่นาคสะสมเก็บไว้เป็นมวลสารสำคัญของพระสมเด็จของท่าน  ดังนั้นสำหรับผู้ที่สนใจในพระสมเด็จหลวงปู่นาค  วัดระฆัง ควรสนใจในพระสมเด็จของท่านที่เนื้อจัดจริง ๆ เท่านั้น หรือปรึกษากับเซียนสายตรงพระสมเด็จหลวงปู่นาคเพื่อกันความผิดหวัง

 

 

 

                                                        

 

รู้ลึกพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง   

และข้อมูลที่หาได้ยากยิ่งเกี่ยวกับหลวงปู่หิน วัดระฆัง   

 

 

 

 


 
 
 

 

 

 

 

 

หลวงปู่นาค โสภโณ วัดระฆังโฆสิตาราม  กรุงเทพฯ
 
ข้อมูลประวัติ
เกิด                         วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2427  ตรงกับขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 ปีวอก  เป็นบุตรของ นายป้อม  นางสวน  มะเริงสิทธิ  พื้นเพเป็นชาวนครราชสีมา
                บรรพชา                ณ วัดบึง  โคราช
                อุปสมบท               อายุ 21 ปี พ.ศ.2448  ณ วัดระฆังโฆสิตาราม
                มรณภาพ               วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2514  เวลา 04.45 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช
                รวมสิริอายุ            87 ปี 66 พรรษา
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
                พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างปี 2485  ประกอบด้วยพิมพ์ทรงเทวดาอกตัน-อกร่อง  เทวดาขัดเพชร  และพิมพ์สามเหลี่ยม
                พระเนื้อผงรุ่นสอง สร้างปี 2495  ประกอบด้วยพิมพ์สมเด็จโต นั่งบริกรรม  พิมพ์ปรกโพธิ์  ฝังและไม่ฝังตะกรุด  พิมพ์พระประธาน ฝังและไม่ฝังตะกรุด  นางพญา  คะแนนฐานสิงห์  รูปหล่อ  เหรียญโล่  และเหรียญข้าวหลามตัด   นอกจากนี้ยังมีอีกหลายรุ่น สร้างในปี พ.ศ.2499,2500,,2504,2507,2509  และรุ่นสุดท้ายคือรุ่นแซยิด 7 รอบ ปี 2511       
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
                พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม    

พระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง เป็นพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของเศษแตกหักของสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้เป็นจำนวนมากจากการที่มีประชาชนนำเศษแตกหักของพระสมเด็จมาทิ้งไว้ที่วัดและการค้นพบพระสมเด็จจำนวนมากบนหลังคาโบสถ์วัดระฆังซึ่งท่านได้นำพระสมเด็จที่แตกหักทั้งหมดร่วมกับการสร้างผงพุทธคุณของท่านตามตำรับของสมเด็จโต ทำให้พระสมเด็จของท่านโดยเฉพาะพระในยุคต้น ๆ ช่วงปี 2485-2495 มีเนื้อหามวลสารจัดจ้านน่าบูชายิ่งนัก ซึงนับว่าเป็นพระตระกูลสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังผสมไว้มากที่สุด ที่ดูจะสูสีก็มีเพียงพระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ รุ่นพิมพ์ทรงเจดีย์ 2485 เท่านั้น อีกทั้งพุทธคุณก็สูงล้ำในด้านเมตตามหานิยม เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างมาก 

แต่เนื่องจากท่านได้สร้างพิมพ์ทรงของพระสมเด็จต่าง ๆ ไว้มากมาย   ในวงการจึงนิยมเล่นหากันเฉพาะพิมพ์นิยมบางพิมพ์ของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวใครเห็นก็ทราบว่าเป็นพระของท่าน เช่น พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ชิ้นฟัก พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ค่อยนิยมเช่าหากัน    สำหรับพระสมเด็จของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้าน แก่ผงพระสมเด็จ หรือ มีการฝังตะกรุดไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่ 1ดอก 2 ดอก หรือ 3 ดอก จะหาได้ยากมากและเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเช่าหากันในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า
เป็นที่น่าแปลกใจมากพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังไปมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากประเทศดังกล่าวมากว้านซื้อกลับไปยังประเทศของตนเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังในปัจจุบัน มีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตพระชุดนี้คงจะดังระเบิดด้วยค่านิยมไม่แพ้พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 เป็นแน่แท้ 
 
 สิ่งประทับใจในการศึกษาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค คือการค้นพบสิ่งที่เรียกว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จ จากพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
 
             ซึ่งในช่วงระยะแรกเริ่มในการศึกษาพระสมเด็จนั้นได้ไปที่วัดระฆังบ่อย ๆ เพื่อไปสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรต่อหน้าพระรูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม และใส่เงินทำบุญกับตู้บริจาคของมูลนิธิพระสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมกันไปด้วย ซึ่งผู้นิยมพระสมเด็จมีความเชื่อกันว่าผลบุญที่เกิดจะทำให้มีโอกาสได้ครอบครองพระสมเด็จแท้ๆ สักองค์หนึ่ง ทำให้ได้มีโอกาสศึกษาพระสมเด็จที่สร้างโดยหลวงปู่นาค วัดระฆังที่สร้างไว้มากมายหลายพิมพ์ทรง โดยเฉพาะที่สร้างไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2584 และ ปี พ.ศ. 2595 ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่ท่านได้จัดสร้างไว้โดยมีมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหักผสมไว้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นเศษพระแตกหักจากผู้ที่นำมาไว้ที่วัดและพระสมเด็จวัดระฆัง ที่พบบนหลังคาโบสถ์จำนวนมาก ทำให้ได้ความรู้ว่าพระสมเด็จของหลวงปู่นาคบางองค์ที่เนื้อจัด ๆ นั้น เซียนพระบางท่านนำมาใส่ตลับทองตีว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆัง และเปิดราคาเป็นหลัก หมื่นหลักแสนนั้น ความจริงแล้วเป็นพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง ที่สร้างในยุคต้น ๆ ที่มีเนื้อหาส่วนผสมของพระสมเด็จวัดระฆังอยู่เป็นจำนวนมากนั่นเอง
         จากประสบการณ์ที่ได้ผ่านสายตาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังหลายร้อยองค์ทำให้มีความเข้าใจในธรรมชาติของเนื้อหาพระยุคดังกล่าวมากขึ้น  จนเกิดข้อสรุปภายในใจเกี่ยวกับคำว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จตำรับวัดระฆัง    เพราะการดูเนื้อพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆังจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจในคำดังกล่าวมากขึ้น  ทำให้ต่อไปไม่ว่าจะดูพระสมเด็จหรือพระตระกูลสมเด็จองค์ใด  ก็ไม่พ้นคำว่าสูตรเนื้อพระสมเด็จทุกองค์
เซียนผู้ศึกษาพระสมเด็จท่านใดที่บอกว่าพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆังที่ท่านพิจารณาอยู่ว่าเป็นพระสมเด็จเก๊ แสดงว่าท่านยังไม่เข้าใจคำดังกล่าวอย่างแท้จริง 
             จากการศึกษาการสร้างพระสมเด็จพบว่าพระสมเด็จที่กล่าวกันว่ามีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังเป็นจำนวนมากที่สุดนั้น ก็คือพระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆังนั่นเอง และอีกวัดหนึ่ง ก็คือ พระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ โดยเฉพาะพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ที่สร้างปี พ.ศ. 2485  มีเนื้อหามวลสารจัดมาก จนเซียนสมองใสบางคนทำการเซาะพิมพ์และขายเป็นพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆังไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ท่านต้องสร้างแม่พิมพ์ใหม่เป็นพระสมเด็จพิมพ์มีหน้าตา ปี พ.ศ. 2495 ทำขึ้นให้แตกต่างจากพิมพ์ทรงของพระสมเด็จเพื่อป้องกันการนำพระของท่านไปหลอกลวงคนอื่น   
              ส่วนพระสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นจำนวนมาก ก็คงได้แก่ พระสมเด็จของหลวงตาพัน วัดอินทรวิหาร ,พระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู วัดอินทรวิหาร,สมเด็จบางขุนพรหม ปี พ.ศ.. 2509   และพระชุดวัดประสาทบุญญาวาศ โดยเฉพาะ พิมพ์หลวงปู่ทวดสีขาว ,หลวงพ่อโต ,จันทร์ลอย เป็นต้น ที่มีส่วนผสมของเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม ผสมอยู่จำนวนมาก
              
             พระสมเด็จที่ทำเทียมเลียนแบบพระสมเด็จของหลวงปู่นาค  แม้ว่าบางฝีมือทำพิมพ์ได้ใกล้เคียง  แต่ว่าจุดเด็ดขาดสำหรับการแยกแยะพระสมเด็จของหลวงปู่นาคที่แท้กับปลอมออกจากกันอย่างฟันธงก็คือ เนื้อหามวลสารของพระสมเด็จ ซึ่งของเทียมเลียนแบบเนื้อหาจะดูกระด้างขาดมวลสารสำคัญที่เป็นผงวิเศษของหลวงปู่นาคที่ทำขึ้นตามตำรับพรหมรังสีของสมเด็จโต และเศษชิ้นส่วนที่แตกหักของพระสมเด็จวัดระฆังที่ท่านหลวงปู่นาคสะสมเก็บไว้เป็นมวลสารสำคัญของพระสมเด็จของท่าน  ดังนั้นสำหรับผู้ที่สนใจในพระสมเด็จหลวงปู่นาค  วัดระฆัง ควรสนใจในพระสมเด็จของท่านที่เนื้อจัดจริง ๆ เท่านั้น หรือปรึกษากับเซียนสายตรงพระสมเด็จหลวงปู่นาคเพื่อกันความผิดหวัง

                                         

การสร้างพระสมเด็จของหลวงปู่นาคจากบันทึกความจำของลูกศิษย์
จากหนังสือ  ศิษย์สมเด็จ

 

            หลวงปู่นาคท่านเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ อยู่ในวัยแปดสิบเศษ รูปร่างอ้วนท้วน หน้าตาเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา และมีศีลจริยาวัตรงดงาม ประพฤติธรรมอยู่เป็นเนืองนิจ มีอิทธิจิตในระดับที่สูง ดังนั้นจึงเป็นที่เชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่าหลวงปู่นาคทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นพระสมเด็จที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่นาคจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
            ท่านเจ้าคุณใหญ่หรือหลวงปู่นาคท่านทำพระสมเด็จอยู่เสมอตามความจำเป็นและความต้องการของญาติโยม แต่เป็นการทำไปเรื่อย ๆ ตามแต่สะดวกและความพร้อมของผู้ทำคือบรรดาเด็กวัดและพระเณรในคณะหนึ่ง ไม่ได้จัดตั้งเป็นการพิธีใหญ่และทำพระเป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นพุทธพาณิชย์ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

            วันไหนมีการทำพระสมเด็จ ท่านเจ้าคุณใหญ่หรือพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำกุฏิใหญ่ก็จะผสมผงมาแล้วเสร็จ ใส่ในกาละมังบ้าง ในถังบ้าง และให้บรรดาพระเณรรวมทั้งเด็กวัดช่วยกันพิมพ์พระที่บริเวณชั้นล่างด้านหน้าของกุฏิใหญ่

            การทำพระสมเด็จของหลวงปู่นาคจะใช้ผงปูนปลาสเตอร์เป็นพื้น ผสมกับผงพระเก่าที่เหลือจากการทำรุ่นก่อน ๆ สืบทอดกันมา เหมือนกับน้ำมนต์ในวิหารสมเด็จที่ใช้น้ำใหม่เติมน้ำมนต์ในโอ่งที่ทำมาตั้งแต่ครั้งเจ้าประคุณสมเด็จ

            นอกจากนี้ยังใช้ผงธูปจากกระถางธูปในโบสถ์ ผงตะไคร่น้ำจากพระปรางค์และพระเจดีย์ในวัดระฆัง แม้กระทั่งดอกไม้สำหรับบูชาพระประธานในโบสถ์มาตากแห้งแล้วบดเป็นผง และใช้ข้าวก้นบาตรรวมทั้งกล้วยซึ่งบดทั้งเปลือกเป็นส่วนผสมด้วย

            เมื่อผสมผงได้ที่ตามตำรับเก่าแก่ของวัดระฆังแล้ว ก็จะพิมพ์ลงในแบบพิมพ์พระซึ่งแกะสลักในแผ่นไม้ บางแผ่นก็มีพิมพ์พระหนึ่งองค์ บางแผ่นก็สอง หรือสาม หรือห้าองค์ ตามแบบต่าง ๆ ที่วัดระฆังเคยทำมา และทรงอันเป็นที่นิยมมากก็คือแบบพิมพ์ทรงพระประธานทรงใหญ่

            ในบรรดาเด็กวัดที่ช่วยกันทำพระสมเด็จนั้นก็มีโอฬารหัวหน้าเด็กวัดคณะหนึ่งเป็นเจ้ากี้เจ้าการควบคุมเด็กวัด แต่ก็ยังมีพระผู้ใหญ่คอยควบคุมดูแลอยู่อีกชั้นหนึ่ง

            พระที่พิมพ์ก็จะเป็นพระสมเด็จซึ่งเรียกกันว่าพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลวงปู่นาค มีทั้งทรงพิมพ์ใหญ่ ทรงเจดีย์ ทรงปรกโพธิ์ และอีกหลายแบบสุดแท้แต่แม่พิมพ์ที่พระผู้ควบคุมการจัดทำจะจัดมาให้ทำ

            วันไหนพิมพ์พระได้เท่าใดก็จะมีการนับจำนวนทวนสอบจนตรงกัน แล้วพระเถระผู้ควบคุมการทำพระก็จะยกเอาถาดใส่พระซึ่งพิมพ์เสร็จแล้วขึ้นไปข้างบน เพราะหลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการปลุกเสกตามแบบฉบับและกรรมวิธีของวัดระฆังที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

            พระสมเด็จเหล่านั้นจะถูกนำไปบรรจุกล่องและวางไว้ในห้องพระของท่านเจ้าคุณใหญ่ซึ่งเป็นห้องโถงอยู่ชั้นบนของกุฏิใหญ่นั้น จากนั้นก็จะมีการวนสายสิญจน์จากพระประธานของห้องพระ วนลงมาเวียนรัดรอบกล่องพระนั้นจนครบถ้วนทุกกล่อง

            ทุกวันหลังจากหลวงปู่นาคท่านสวดมนต์ไหว้พระแล้ว ท่านก็จะเข้าสมาธิภาวนาพระคาถาชินบัญชร แล้วเพ่งพลังจิตและอธิษฐานจิตตามกรรมวิธีปลุกเสกพระสมเด็จวัดระฆัง และจะเพิ่มเวลาทำสมาธิภาวนาแผ่พลังจิตมากขึ้นสำหรับวันพระและถ้าเป็นห้วงเวลาในเทศกาลเข้าพรรษาก็ยิ่งเพิ่มเวลามากขึ้นไปอีก

            บางครั้งหลวงปู่นาคก็จะให้นิมนต์พระสงฆ์ในคณะหนึ่งมาสวดพระปริตรและสวดพระคาถาชินบัญชรปลุกเสกพระด้วย และบางทีในวันพระใหญ่คือวันขึ้น 15 ค่ำและวันมหาปาวารนา หลวงปู่นาคก็จะให้พระขนกล่องพระสมเด็จเข้าไปในโบสถ์ วนสายสิญจน์มาจากพระประธานมายังกล่องพระ

            ในบางทีเมื่อมีงานบวชหลวงปู่นาคก็จะให้ขนกล่องพระเข้าไปในโบสถ์ด้วย นัยว่าการสวดญัตติจตุตถกรรมนั้นในอุปสมบทพิธีนั้นมีผลมากต่อการปลุกเสกพระเครื่องให้เป็นพระ.
            พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลวงปู่นาคทรงความศักดิ์สิทธิ์และมีอิทธิปาฏิหาริย์เลื่องชื่อลือกระฉ่อนมาตั้งแต่ครั้งที่หลวงปู่นาคยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านเจ้าคุณสิ้นบุญไปแล้วพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นหลวงปู่นาคก็ยิ่งมากค่าและหาได้ยากขึ้นทุกที
         พระสมเด็จแท้ที่หลวงปู่นาคทำนั้นเป็นการทำเพื่อหาเงินมาบูรณะพัฒนาวัดระฆังซึ่งเสื่อมทรุดต่อเนื่องมาแต่อดีต ศาสนสถานทั้งหลายภายในวัดทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด จะมัวรอเงินจากผ้าป่ากฐินศาสนสถานก็คงพังพินาศหมดสิ้น เพราะเหตุนี้หลวงปู่นาคท่านจึงคิดอ่านทำพระสมเด็จขึ้นเป็นอภินันทนาการแก่ผู้ที่มาทำบุญกับวัด
            พระที่หลวงปู่นาคปลุกเสกเสร็จแล้วได้มอบไว้แก่พระลูกศิษย์ซึ่งจะทำบัญชีจำหน่ายสำหรับผู้ใจบุญที่มาทำบุญกับวัด โดยหลวงปู่นาคมิได้จับต้องถือเงินหรือเก็บเงินไว้ด้วยองค์ท่านเองเลย

            ผงที่เหลือจากการทำพระแต่ละคราวก็จะเก็บใส่กะละมังไว้ แล้วขนขึ้นไปไว้บนกุฏิหลวงปู่นาค ซึ่งท่านมักจะวางไว้ข้างๆ โต๊ะหมู่บูชา

            พระที่ผ่านการทำและผ่านการปลุกเสกดังกล่าวนี้หากถึงคราววันมหาปวารณาช่วงเข้าพรรษาหลวงปู่ก็มักจะให้พระลูกศิษย์นำไปไว้ในโบสถ์ วางไว้หน้าพระประธาน โดยมีการนับจำนวนอย่างเข้มงวด ครั้นพ้นวันมหาปวารณาแล้วหลวงปู่นาคก็ให้นำพระเหล่านั้นกลับไปเก็บไว้ที่กุฏิของท่านดังเก่า ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหลวงปู่นาคท่านรู้กรรมวิธีว่าวันเวลาและการใดที่จะอาศัยพลังแห่งความบริสุทธิ์และพลังอำนาจจิตของคณะสงฆ์เข้าเสริมพลังจิตที่ท่านเจ้าคุณได้ปลุกเสกไว้แต่เดิม

            พระสมเด็จวัดระฆังที่ผ่านกระบวนการจัดทำและกระบวนการปลุกเสกตามตำรับที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งยุคสมัยเจ้าประคุณสมเด็จนั้นจึงเป็นที่หวังและเป็นที่วางใจกันโดยทั่วไปว่าทรงไว้ซึ่งพุทธคุณ มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถปกป้องคุ้มครองภยันตรายทั้งปวงได้ และเป็นเครื่องส่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้มีความศรัทธาตลอดมา

เรื่องของหลวงปู่นาค วัดระฆัง  เล่าโดยพระราชพรหมญาณ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


              เรื่องของหลวงพ่อนาค เขียนไว้อีกข้อเดียว คือเรื่องดูใจเวลาปลุกพระ นี่เรื่องมันเกี่ยวกันกับอาตมา ต้องขอประทานโทษบรรดาท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ฟัง เมื่อฟังแล้วอ่านแล้วก็อย่าคิดว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษ อย่าคิดยังงั้นนะ จงคิดเสียว่าอาตมาก็เป็นเถรหัวล้านธรรมดาๆ ไม่มีอะไรดีกว่าท่านผู้ฟัง เกิดแล้วก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย กินแล้วก็ขี้ ตื่นแล้วก็หลับ ธรรมดา ปวดเมื่อยไม่สบาย ปวดฟันตาฟ้าหูฟางเหมือนกัน พูดจาเอะอะโวยวายหยาบคายก็ได้ พูดนิ่มนวลก็ได้ ทำท่าเป็นผู้ดีก็ได้ ทำท่าเป็นสิงห์หน้าพลับพลาก็ได้ ทำเป็นหมาเห่าชาวบ้านก็ได้ เป็นทุกอย่าง ไอ้ที่ทำอย่างนั้น เพราะใจมันเป็นอย่างนั้น ไม่เหมือนหลวงพ่อนาค ท่านดีจริงๆ เลยยอมรับนับถือท่าน
มาครั้งหนึ่ง ที่วัดชิโนรสาราม ธนบุรี ตอนนั้น สมัยนั้น เจ้าคุณสุวรรณเวที(ทองดี) อดีตเป็นพระของวัดระฆังมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ทำพิธีพุทธาภิเศก ปลุกพระเรียกว่าบวชพระพุทธเจ้า พระเครื่องนี่เขาทำรูปเปรียบพระพุทธเจ้าบ้าง บางทีก็ทำรูปเปรียบของพระสงฆ์ แต่วันนั้นทำรูปเปรียบเฉพาะพระพุทธเจ้า ก็เลยเรียกว่าไปบวชพระพุทธเจ้ากัน ปลุก ไม่ใช่บวชกระมัง ท่านกำลังหลับ ไปปลุกให้ตื่น ท่านมีหน้าที่ปลุกเขานิมนต์มา 9 องค์ พระอะไรบ้างก็ไม่ทราบ แต่เท่าที่รู้จักมีอยู่หลายองค์ แต่พูดถึงอยู่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อนาค กับพระครูธรรมาภิราม พระแขนสั้นแขนยาวนครปฐม นอกนั้นที่รู้จักก็มีชื่อเสียงโด่งดังเหมือนกัน ในสมัยนี้ก็โด่งดัง สมัยนั้นก็โด่งดังอีก 7 องค์ แต่ไม่พูดถึงหรอก คือพูดถึงไม่ได้ เดี๋ยวจะถูกด่า เวลาท่านปลุกพระ สำหรับพระครูธรรมาภิราม รู้จักอาตมาดี อาตมาเรียกหลวงน้า พอเจอะท่านเข้าก็คุยตามแบบฉบับ ทีแรกก็ทำท่าเป็นพระติ๋มๆ เพราะไม่เคยรู้จักใคร พออาตมาเข้าไปก็เลยออกท่าตามแบบฉบับ ออกท่าอะไรทราบไหม ท่าลิง ก็ไปยั่วท่านด้วยอาการต่างๆ ท่านก็ทำโน่นทำนี่ ชาวบ้านเขาก็เลยรู้สึกว่าท่านจะล่อกแล่กไปหน่อย ก็เลยบอกว่าหลวงน้า ไอ้แก้วน้ำน่ะ มันอยู่ไกลผม หลวงน้าช่วยหยิบมาให้ทีเถอะ ท่านบอก เฮ้ย แขนกูหยิบไม่ถึงนี่หว่า ก็เลยบอก เอ๊อะ พระจะปลุกพระนี่ เอาพระที่ไม่มีฤทธิ์มามันก็เสีย เสียของเปลืองที่ ไม่เอา ถ้าหยิบแก้วน้ำไม่ได้ก็นิมนต์กลับวัด ไม่มีประโยชน์ พระแบบนี้ ความจริงตอนนั้นพระคณาจารย์หลายองค์ก็นั่งอยู่ด้วย แต่เราไม่เกี่ยว เราคุยกับน้าชาย ท่านบอกไอ้นี่มันดูผิดคนนี่หว่า หนอยแน่มันดูถูกนี่หว่า หาว่ากูหยิบไม่ได้เรอะ ก็ตอบว่าไม่ได้ดูถูก แต่ว่าหยิบไม่ถึง นิมนต์กลับวัดเลย เอามารกที่ พระประเภทนี้ เสียศักดิ์ศรีครูบาอาจารย์ นี่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปานนะ แล้วก็เป็นหลานชายหลวงพ่อปานด้วยนะ ไม่ใช่ลูกศิษย์อย่างเดียว มองหน้าเป๋ง เออ มึงดูถูกกู กูก็เอาได้วะ เรื่องอะไร ท่านก็ยื่นแขนซ้ายออกไปมันก็ไม่ถึง เลยเอาแขนขวาตบตรงข้อศอก บอกแขนยาวออกไปซิหว่า ไอ้แขนมันค่อยๆ ยาวออกไปๆ ความจริง ไอ้แก้วน้ำตั้งอยู่ห่างสุดแขนท่านสักเมตรหนึ่งเห็นจะได้หรือเมตรเศษๆ ในที่สุดท่านก็หยิบแก้วน้ำมาส่งให้ คนพวกนั้นมองกันตาตั้งหมดแปลกใจว่าพระทำได้ ท่านก็บอก ไอ้นี่มันเป็นยังงี้ละ ถ้าไปเจอะมันเข้าทีไรมันทำเสียผู้ใหญ่ทุกทีแหละ มันให้เล่นอย่างโน้นเล่นอย่างนี้ ไม่เล่นมันก็ว่า เราจะให้มันทำมั่งมันก็บอกว่ามันลูกศิษย์รุ่นหลัง มันเล็กกว่า มันไม่ทำ นี่ให้มันทำอะไรซี มันไม่ทำหรอก แล้วมันก็ไม่ทำจริงๆ เพราะอะไร เพราะว่า หลวงน้า คือหลวงพ่อปานนะ ท่านเรียกหลวงน้า หลวงน้าท่านสั่งมันไว้ ห้ามไม่ให้ทำ มันก็เลยเลิกทำ ไอ้นี่เคารพคำสั่งครูบาอาจารย์จริงๆ ไอ้เราไม่ถูกจำกัดนี่ มันก็เลยใช้ให้เราทำอะไรต่ออะไรเรื่อยไป ชาวบ้านเขาถามว่าไม่โกรธมันรึ ลูกหลาน บอก โกรธมันยังไงไปด่ามันเข้าซี ดีไม่ดีมันล้วงย่ามเอาสตางค์หมด ไม่ได้หรอก ไปด่งไปด่ามันไม่ได้หรอก ถ้ามันจะว่าอะไร จะใช้อะไรก็ต้องตามใจมัน เดี๋ยวมันไม่ชอบในมันก็หยิบก็ล้วงเอาตามพอใจ เขาก็ถามว่าไม่บาปเรอะ มันจะบาปยังไง มันลูกมันหลาน มันเอาไปแล้วก็เลยนึกให้มันไปเลย ไม่เอาโทษเอาโพยกับมัน นี่เล่าเรื่องตอนต้นนะ สำหรับครูธรรมาภิราม
ทีนี้ถึงเวลาปลุกพระจริงๆ เก้าองค์เข้าไปนั่ง อาตมาเองคิดในใจ ว่าเราก็ไม่มีความรู้อะไร ความดีด้านสมาธิก็ไม่มีอะไร เพราะเป็นคนธรรมดาๆ เป็นพระเดินผ่านหน้านรกไปผ่านหน้านรกมา เดินห่างนรกอยู่ครึ่งนิ้วเท่านั้นเอง ถ้าเผลอเมื่อไรหัวก็ทิ่มนรกเมื่อนั้น ก็เลยนึกในใจว่าเอาพระ 9 องค์นี้องค์ไหนมีอานุภาพมากบ้าง อยากรู้ก็เลยเข้าไปในโบสถ์ เขาปลุกในโบสถ์ ไปนั่งอยู่ท้ายอาสนสงฆ์ สำหรับพระที่ปลุกพระเขาทำเก้าอี้ให้นั่ง เอาไม้ไผ่มาทำเก้าอี้ เขาบอกว่าถ้าปลุกด้วยเก้าอี้ไม้ไผ่มันขลังดี ไอ้นั่นเรื่องของอุปาทาน ไม่เกี่ยว เรื่องของคนคิด
เมื่อไปนั่งอยู่ท้ายอาสนสงฆ์ตั้งจิตอธิษฐาน อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า คือมองดูพระประธานเป็นกำลัง ขอบารมีพระพุทธเจ้าได้โปรดสงเคราะห์ ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะดูอานุภาพจิตของพระแต่ละองค์ที่มานั่งปลุกพระในวันนี้ ถ้ากระแสจิตของบุคคลใด มีขนาดเท่าใด มีอานุภาพอย่างไรก็ขอให้ปรากฏแก่อารมณ์ของข้าพระพุทธเจ้า นึกเท่านี้นะ อธิษฐานเอาตามเรื่อง ตามเรื่องของคนที่ไม่มีฌานสมาบัติชั้นดีอย่างเขาหรืออาจจะไม่มีเลย พออธิษฐานเท่านั้นก็จับลมหายใจเข้าออก ทำจิตสงบนิดหนึ่ง ก็เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ นี่เป็นอำนาจของพุทธานุภาพจริงๆ นะ ไม่ใช่ความดีของอาตมา เห็นกระแสจิตของพระทุกองค์ใสแจ๋ว เหมือนกับเห็นของในเวลากลางวัน สำหรับกระแสจิตหลวงพ่อนาคนี่พุ่งออกมาใหญ่เหลือเกิน คลุมเครื่องรางของขลังทั้งหมด เรียกว่าแสงสว่างของจิตแทรกลงไปในเครื่องของขลังอยู่ที่ผิดด้านหน้า ยันข้างล่างสุด เรียกว่าคลุมหมด อาบลงไปหมดเลย โพลงสว่างชัด ของพระครูธรรมาภิราม พุ่งออกมาเหมือนหอก เป็นกระแสเล็กแต่พุ่งแรงมาก แสดงว่าพระครูธรรมาภิราม เป็นพระนักเลง ชอบคงกระพันชาตรี ของหลวงพ่อนาคนี่เต็มไปด้วยอำนาจพระพุทธบารมีจริงๆ มีความเยือกเย็นสบายๆ ยังไงชอบกล แต่พระอีก 9 องค์ มองดูไปแล้วกระแสจิตไม่ได้ออกมา เหมือนกับจุดเทียนจุดริบหรี่ ปักอยู่ในอกนั่นเองอยู่เฉยๆ เป็นดวงนิดหนึ่ง แล้วก็อยู่ในอกเฉยๆ ก็นั่งดูอยู่ยังงั้นจนกว่าเขาจะเลิกปลุกกัน
เมื่อถึงเวลา 23 น. เศษๆ ก็หมดสัญญาณการปลุก ความจริงการปลุกพระนี่ ไม่ต้องใช้เวลามาก ถ้าใช้เวลามากแล้วไม่มีผล ควรจะให้พระกำหนดกันเอง ปลุกพร้อมกัน ใครเต็มเมื่อไรก็พัดผ่อนได้เมื่อนั้น แต่ยังไม่ลุกออกมา ยังงี้จะดีมาก แล้วเวลาปลุกพระ ต้องใช้กำลังสมาธิสูงมาก ถ้าพระได้สมาบัติยังต่ำหรือโยเยอยู่ ยังไม่มั่นคงนัก จิตจะส่ายไปตามกระแสสวด ผลจะไม่ดี แต่ว่าที่ทำกันเวลานี้ ก็มีพระสวดพุทธาภิเศกควบไปด้วย เขาเอาแบบมาจากไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าเอาแบบมาจากไหน แต่ว่ามันจะดีหรือไม่ดีแค่ไหนก็ตามเรื่อง หากมีพระกำลังจิตดีก็ใช้ได้ ถ้าพระกำลังจิตไม่ดีก็เลยนั่งหลับตา อีตอนนั่งหลับตาใครจะรู้ว่าทำอะไรบ้าง บางวัดก็เกณฑ์กันตลอดรุ่งไม่เห็นมีประโยชน์ เคยไปร่วมกับเขาเหมือนกัน ถ้าเกณฑ์ตลอดรุ่งดีไม่ดีก็นั่งหลับเลย
ตานี้ พอเขาเลิกทำพิธี พระอาจารย์ทุกองค์ก็ลงมา พอลงมาเสร็จท่านก็ไปนั่งกันตามหน้าอาสนสงฆ์แต่ไม่ถึงท้าย อาตมานั่งอยู่ทางท้ายกับพระสมุห์สมบูรณ์ พอลงมานั่งกันเรียบร้อย หลวงพ่อนาคก็บอกว่านี่ท่านพวกนี้รู้ไหม ไอ้ขโมยมันมานั่งขโมยอยู่ พระพวกนั้นก็ทำหน้าล่อกแล่กๆ มีพระครูธรรมาภิรามองค์เดียวยิ้ม หันมายิ้มด้วยแสดงว่าท่านรู้ก็เลยยิ้มกับท่าน แต่หลวงพ่อนาคท่านก็ทำเฉย ทำไม่รู้ไม่ชี้ บอกท่านทั้งหลายรู้หรือเปล่า ไอ้ขโมยมันมานั่งขโมยอยู่ ท้ายอาสนสงฆ์ แล้วก็มีญาติโยมคนหนึ่งถามว่าขโมยอะไร ถามขโมยอะไรเจ้าค่ะหลวงพ่อ ท่านก็บอก มันไม่ได้ขโมยอะไรหรอก มันมานั่งขโมยดูใจพระปลุกพระ ไอ้ขโมย มันนั่งอยู่ท้ายอาสนสงฆ์
ตานี้เวลาที่ท่านลงมาแล้วเขาขอพระท่าน ท่านก็แจก เวลาท่านแจกไปขอท่านมั่ง ท่านไม่ให้ บอกไอ้นี่ขโมย ไม่ให้ละ ทำได้อย่างที่เขาทำนี่ ทำได้ไปทำเอาเองซี ท่านไม่ให้ ก็มีพระหลายองค์ท่านมองหน้า ท่านก็เลยบอกว่าไอ้นี่แหละขโมย ขโมยดูใจพระทุกองค์ มันรู้ ว่าใจพระองค์ไหนเป็นยังไง นี่มันทำได้นะพระนี่ มันทำได้ ทำได้คล้ายๆ ข้าแหละ แต่ไอ้ข้ากับมันใครดีกว่ากันข้าไม่รู้หรอก แต่วันนี้ท่านผู้ฟังจำไว้นะ ว่าอาตมาไม่ดีเท่าหลวงพ่อนาค แล้วก็ดียังไม่ใกล้หลวงพ่อนาค ยังไกลอยู่นะ เพราะยังเป็นปุถุชนคนธรรมดา ยังเป็นคนปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ มีหนาว มีร้อน มีเมื่อย มีหิว มีกระหาย รู้เปรี้ยว รู้เค็ม รู้เผ็ด แล้วมีอารมณ์ เสียงดังบ้าง ดุบ้าง ด่าบ้าง ว่าบ้าง คำสุภาพบ้าง ยิ้มแย้มแจ่มใสบ้าง หน้าบึ้งขึงจอบ้าง อย่างนี้อย่าชมกันว่าดีนะ เป็นอาการของคนเลว แต่มันยังอยากจะเลวอยู่ก็ปล่อยมันไป ตายเมื่อไร เลิกเมื่อนั้น
เป็นอันว่าเรื่องของหลวงพ่อนาค ยุติกันเพียงเท่านี้ แต่ก็ยังไมเลิกพูด เวลามันยังไม่หมด วันนี้เห็นจะสรุปงานกันได้แล้วนะ เพราะว่าเทปเหลือนิดเดียว

 


                              หลวงปู่นาค ตอนที่1:ประวัติพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค โสภณเถระ) วัดระฆังโฆษิตาราม กทม

ย้อนหลังไปเมื่อกว่าแปดสิบปีก่อนโน้น ดินแดนแห่งที่ราบสูงนครราชสีมา หรือที่ชาวบ้านชาวเมืองเรียกติดปากมาจนบัดนี้ว่า "เมืองโคราช" เด็กชายนาคฯ ได้ถือปฏิสนธิ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2427 เวลา 19.10 น. เศษ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 ปีวอก จุลศักราช 1246 ท่านมาจากตระกูลและพื้นเพเดิมของผู้มีอันจะกินและมีบรรดาศักดิ์สูงของตระกูล "มะเริงสิทธิ" ปู่ทวดของท่านมียศบรรดาศักดิ์เป็นที่ "หลวงเริง" และปู่ของท่านแท้ ๆ คือ ขุนประสิทธิ์ (อยู่) นายอากรเมืองโคราชในยุคนั้น และย่าของท่านชื่อ ท่านฉิม บิดาของท่านคือ นายป้อม มะเริงสิทธิ มารดาชื่อ นางสวน บุตรพระวิเศษ (ทองศุข) และท่านอิ่ม ท่านเป็นบุตรคนที่ 1 มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน ดังนี้

1.พระเทพสิทธินายก (นาค โสภณเถระ)
2.พระภิกษุโชติ (ถึงแก่มรณภาพแล้ว)
3.นางทุเรียน ประภาวดี
4.นางอุดร จุลรัษเฐียร

ใครก็รู้ ..... เมืองโคราชสมัยกว่าแปดสิบปีนั้น ห่างไกลจากกรุงเทพพระมหานครประหนึ่งคนละฟากฟ้า เพราะการคมนาคมไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้ การไปมายังไม่มีทางรถไฟและถนนหนทาง หลวงปู่นาคเล่าว่า เมืองโคราชสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กนั้น ห่างตัวเมืองออกไปเล็กน้อยล้วนแต่เป็นป่าเปลี่ยว มีแต่สัตว์ป่าที่ดุร้ายนานาชนิด ทางเดินที่จะผ่านเข้าสู่เมืองหลวงกรุงเทพพระมหานครเป็นป่าดงพงพีทุระกันดารอย่างแสนสาหัสจนเรียกกันว่า "ดงพญาเย็น - ดงพญาไฟ" ซึ่งผู้คนจำนวนไม่น้อยมาพบจุดจบเมื่อผ่านดงมหาภัยแห่งนี้ ปัจจุบันคนที่เกิดในยุคนี้ อาจไม่รู้จักหรือลืมชื่อเสียแล้ว

เด็กชาย นาค มะเริงสิทธิ เหมือนกับลูกชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายที่เจริญวัยขึ้นมาอยากหาความรู้ใส่ตัวเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล แต่โคราชยังไม่มีโรงเรียนเกิดขึ้น มีแต่วัดวาอารามเท่านั้น พ่อแม่จึงส่งเด็กชายนาค ฯ มาฝากไว้กับพระครูสังฆวิจารย์ (มี) ซึ่งเป็นลุงของท่านที่วัดบึงใกล้ประตูชุมพลเดี๋ยวนี้ ซึ่งท่านได้สั่งสอนวิชาให้ตามสมควร ท่านจึงได้บวชเป็นสามเณรตั้งแต่นั้นมา อาศัยที่ท่านเป็นคนฉลาดเล่าเรียนเก่ง พระอาจารย์ที่เป็นครูสั่งสอนภาษาบาลีและภาษาไทย จึงแนะแนวทางให้ท่านเดินทางเข้ามาศึกษาต่อในสำนักดี ๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อไป

สามเณรนาค อายุ 13 ปี หาโอกาสเดินทางอยู่เป็นเวลาแรมเดือน จึงสบโอกาสเมื่อมีกองคาราวานวัวต่างและเกวียนราว 30 กว่าคน จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ท่านจึงขอร่วมเดินทางมากับเขา ด้วยสมความตั้งใจ ท่านเล่าว่าตอนที่เดินทางมาหลายสิบวันนั้น ใกล้จะถึงเมืองสระบุรี ท่านได้เห็นกุลี (กรรมกร) เป็นจำนวนมากกำลังทำงานกรุยทางสร้างทางรถไฟอยู่แล้ว เมื่อถึงสระบุรีแล้วท่านรู้สึกไม่ค่อยสบาย จึงขอแยกจากกองคาราวาน เข้าขอฝากตัวเป็นศิษย์กับพระภิกษุรูปหนึ่งในวัด "ทองพุ่มพวง" อำเภอเสาไห้ ซึ่งหลวงนิเทศ นายอำเภอเสาไห้ ผู้เป็นน้าช่วยอุปการะ ท่านอาศัยอยู่ในวัดนี้หลายเดือนและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปด้วย แต่ท่านก็มิได้ละความตั้งใจที่จะเข้าศึกษาพระธรรมวินัยในกรุงเทพฯ ให้ได้ในกาลข้างหน้า

ท่านกล่าวว่า ต่อมาท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมความตั้งใจ มีญาติในกรุงเทพฯ แนะนำพาท่านซึ่งยังเป็นเณรไปฝากไว้กับท่านอาจารย์เลื่อม ซึ่งเป็นพระลูกวัดของวัดระฆังโฆษิตาราม มีกุฏิอยู่หน้าวัดใกล้ปากคลอง และปัจจุบันนี้ได้สร้างเป็นโรงเรียนสตรีวัดระฆัง

พระอาจารย์เลื่อมเป็นพระหลวงตาที่ชราภาพมาก และเคร่งครัดในพระพุทธศาสนา มีลูกศิษย์ลูกหามาก โดยที่ท่านเป็นพระสอนทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเฝ้าสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ ให้ด้วยความรักความเอ็นดู เพราะสามเณรนาคเป็นผู้ว่านอนสอนง่ายสมองปราดเปรื่อง

ตอนนั้น .... ท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม คือ พระธรรมโตรโลกาจารย์ ซึ่งต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) สมเด็จองค์นี้เป็นศิษย์ของสมเด็จองค์เก่า คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) นั่นเอง พระธรรมไตรโลกาจารย์มองเห็นหน่วยก้านและบุคลิกลักษณะของสามเณรแล้ว พิจารณาเห็นว่าจะดีเด่นเป็นเอกในวันข้างหน้า ท่านจึงได้รับอุปการะและสั่งสอนในสำนักของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี

ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองสมัยนั้น เพิ่งจะเริ่มขึ้นชั่วคนละฟากข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา นับได้ว่าวัดระฆังฯ อยู่ใกล้กำแพงเมืองหลวงหรือเรียกกันว่าใกล้ปืนเที่ยงที่สุดวัดหนึ่ง วัดระฆังฯ มีอาณาเขตกว้างใกญ่ไพศาล รายล้อมไปด้วยสวนและนาอยู่ใกล้ ๆ เป็นดินแดนแห่งความสงบวิเวกวังเวง เหมาะสมที่จะบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ของภิกษุสงฆ์ ท่านเล่าว่า ท่านอาจารย์นวล ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาบาลี เดิมเคยจำพรรษาอยู่สำนักวัดมหาธาตุ ได้ข้ามฟากมาสอนภาษาบาลีอยู่ในสำนักวัดระฆังฯ และเป็นอาจารย์ของท่านด้วย

เมื่อสามเณรนาคฯ มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าแปลเปรียญธรรม ประโยค 3 เป็นครั้งแรกต่อหน้าพระที่นั่งรัชกาลที่ 5 และกรรมการสงฆ์ล้วนแต่เป็นพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ผู้ทรงสมณศักดิ์หลายรูป ปรากฏว่าสามเณรนาคฯ แปลได้เป็นเปรียญธรรมประโยค 3 ได้รับพระราชทานเครื่องไทยทานอัฎฐบริขารจากพระหัตถ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ด้วยองค์หนึ่ง

สามเณรนาคฯ ได้เป็นมหาสามประโยคแล้วสมความตั้งใจ ท่านมิได้หยุดยั้งเพียงเท่านี้ คงพยายามศึกษาเล่าเรียนต่อไปจนเมื่ออายุครบ 21 ปี สามเณรนาคฯ เข้าแปลหน้าพระที่นั่งอีกครั้งหนึ่งและได้เปรียญธรรมประโยค 4 นับว่าสามเณรนาคฯ เป็นผู้คงแก่เรียนซึ่งหาได้ยากในยุคนั้น ซึ่งแต่ละครั้งที่เข้าสอบจะมีพระภิกษุและสามเณรสอบเปรียญได้เพียงไม่กี่รูป

ระยะนั้นท่านเจ้าอาวาส พระธรรมไตรโลกาจารย์ จึงทรงอุปการะบวชสามเณรนาค ผู้มีอายุครบบวชแล้วเป็นพระภิกษุสงฆ์ต่อไป โดยได้ทรงนิมนต์พระเถระผู้ทรงสมณศักดิ์สูงมาเป็นพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์ ต่อหน้าองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม ดังต่อไปนี้
************************************************************
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) อธิบดีสงฆ์ วัดอรุณราชวราราม ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
สมเด็จพระวันรัต (ดิษ) อธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระธรรมโกษาจารย์ (แพ) วัดสุทัศน์เทพวราราม
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ทรงเป็นผู้บอกอนุสาสน์

*************************************************************
พระมหานาค ป.ธ. 4 ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกชื่อท่านสั้น ๆ ว่า "มหานาค" และรับฉายาจากองค์พระอุปัชฌาย์ว่า "โสภโณภิกขุ" ได้เข้าแปลเปรียญธรรมได้ประโยค 5 ภายหลังบวชเป็นพระแล้วใหม่ ๆ ต่อจากนั้นท่านมหานาคไม่ได้เข้าแปลเพื่อสอบเปรียญธรรมเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งในขณะนั้นมีการศึกษาเปรียญธรรมถึงประโยค 6 เนื่องด้วยท่านมีภาระยุ่งกับงานของวัดมากขึ้น โดยเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดในพระคุณเจ้าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร)
- ต่อมาในปี พ.ศ.2464 ท่านโสภโณภิกขุ (มหานาค) ได้รับสัญญาบัตรพัดยศเป็นที่ พระธรรมกิติ
- พ.ศ.2467 - 2468 ภายหลังจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) มรณภาพแล้ว พระธรรมกิติได้รับหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามแทน และเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนมรณภาพ .. (1)
- พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศที่ พระราชโมลี
- พ.ศ.2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นที่ พระเทพสิทธินายก


ในสมัยที่ท่านกำลังศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมประโยค 4 - 5 ท่านได้ศึกษาทางวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดพลับ (เจริญภาส) เพิ่มเติมอีกโดยได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดซึ่งต้องใช้เวลาเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนอยู่ประมาณ 10 ปี ก็สามารถใช้เป็นมูลฐานกระทำชาญวิปัสสนาส่งกระแสจิตได้ ต่อมาได้เปิดสอนทางวิปัสสนากรรมฐานขึ้นในศาลาการเปรียญของวัดระฆังโฆษิตาราม เกี่ยวกับการสอนวิปัสสนานี้ได้เคยปรากฏว่า ครั้งหนึ่งผู้เข้าศึกษานั่งสมาธิจิตทางวิปัสสนา ได้นั่งทำจิตถอดวิญญาณไปดูนรกสวรรค์ และท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 2 วัน ก็ยังไม่คืนสติ คงนั่งสมาธิอยู่เช่นนั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการฝึกสอนอยู่ ได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตไปติดตามวิญยาณของผู้นั่งสมาธิรายนี้ และไปพบในสุสานวัดดอน ตรอกจันทร์ ปรากกว่ากำลังเที่ยวเพลิดเพลินอยู่ ท่านจึงส่งกระแสจิตเตือนวิญญาณนั้นให้กลับคืนเข้าร่างเดิมเพราะล่วงมา 2 - 3 วันแล้ว หากล่าช้าไปจะคืนเข้าร่างเดิมไม่ได้ ร่างกายก็อาจจะเน่าเปื่อยไป วิญญาณของชายผู้นั้นจึงได้สติแล้วกลับคืนมาเข้าร่างเดิมที่นั่งสมาธิอยู่ในศาลาการเปรียญวัดระฆังโฆสิตาราม นอกจากนี้ได้เคยปรากฏว่าคุณโยมของท่านป่วยอยู่ทางจังหวัดนครราชสีมา โดยมิได้ส่งข่าวถึงท่าน แต่ท่านสามารถทราบได้และนำหยูกยาไปปฐมพยาบาลได้ถูก เพราะท่านใช้อำนาจกระแสสิตทางวิปัสสนา ดังนี้ การกำหนดจิตอันกระทำให้เกิดพลังจิตขึ้นได้จึงเป็นเหตุให้พระคุณเจ้าได้คิดสร้างพระสมเด็จขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2484 โดยอาศัยตำราของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ซึ่งขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ทั้งนี้เพื่อจักได้แจกจ่ายให้ทหารได้ติดตัวไปในสมรภูมิ เป็นกำลังใจและบำรุงขวัญทหารอีกส่วนหนึ่งด้วย

พระเทพสิทธินายก (นาค โสภโณ) ในตอนที่ท่านมีอายุใกล้ 70 ใคร ๆ ก็เรียกท่านว่า "หลวงปู่นาค" แม้ว่าท่านจะมีร่างกายสมบูรณ์ชราภาพมากขึ้นตามวัยและสังขาร ท่านก็มิได้ละเลยทางศาสนกิจ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของกุลบุตรทุกชั้นวรรณะมากมาย ท่านเป็นผู้สร้างกรรมดีมีเมตตาอันเป็นยอดปรารถนาต่อศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปไว้มากมาย มิได้สะสมทรัพย์สินอันใดไว้ จนถึงกาลมรณภาพ เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2514 เวลา 4.45 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช จังหวัดธนบุรี ท่านก็จากไปอย่างสงบปราศจากความกระวนกระวายด้วยโรคชรา ขอวิญญาณของท่านจงบรรลุถึงฟากฟ้าสรวงสวรรค์ คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีอันสูงส่ง สุดที่จะนำมาเขียนไว้ในที่นี้ รวมศิริอายุของท่านได้ 87 ปี อยู่ในสมณเพศถึง 75 ปี และเป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว 47 พรรษา นับว่าท่านเป็นผู้ที่อยู่ในสมณเพศและเป็นเจ้าอาวาสที่นานที่สุดรูปหนึ่ง

คณะศิษยานุศิษย์ผู้บันทึกประวัติของท่าน "หลวงปู่นาค" ขอกราบนมัสการแทบเท้าของหลวงปู่นาค หากข้อความตอนหนึ่งตอนใดผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องโปรดเมตตาให้อภัยด้วยเถิด ...... คณะศิษยานุศิษย์


คัดลอกบทความมาจาก : หนังสือประวัติพระเทพสิทธินายก วัดระฆังโฆษิตาราม และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพสิทธินายก (นาค โสภณเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี 15 มิถุนายน 2514 จำนวนพิมพ์ 2000 เล่ม โดยเจ้าคุณเที่ยง คณะ๕

                                                                                   ตอนที่ 2

 

สำหรับการเรียนเวทย์มนต์และวิปัสสนากรรมฐานนั้น ท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษากับ ๔สมเด็จ ดังนี้

๑.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ฤทธิ์) วัดแจ้ง (ปัจจุบันเรียกว่า “วัดอรุณราชวรวิหาร”) ผู้เป็น อุปัชฌาย์ของหลวงปู่นาคนั่นเอง ท่านมีอาคมแก่กล้าในด้านทำเครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะตะกรุดหน้าผากเสือ สำนักนี้ไม่เป็นสองรองใคร ครั้นพอท่านเรียนวิชานี้สำเร็จ การจะหาหนังเสือมาทำนั้นต้องไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตซึ่งมันบาปนัก ท่านจึงนำมาดัดแปลงลงในโลหะต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน นาค ทองแดง อลูมิเนียมและตะกั่ว ลักษณะการลงและบริกรรมคาถากำกับในตัวตระกรุด ท่านก็จะทำไว้ให้มีฤทธิ์อยู่หลายแบบ เช่นดอกนั้นเด่นด้านคงกระพัน ดอกนี้เด่นด้านค้าขาย เมตามหานิยม ดอกนู้นเน้นด้านมหาอุต ซึ่งในสมัยนั้นใครที่เข้าไปขอ ท่านก็จะเมตตาหยิบให้พร้อมอธิบายวิธีการใช้ให้
(สำหรับวัดแจ้งหรือวัดอรุณนี้ จะมีอ้างในส่วนของ ตอนที่๓:พระพิมพ์ในวัดแต่มีออกนอกวัดด้วยนะครับ)

๒.สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ราชวรวิหาร สมัยนั้น ดำรงค์สมณศักดิ์เป็นพระธรรมโกษาจารย์ ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์(พระคู่สวด)ในสมัยที่หลวงปู่นาคบวชเป็นพระภิษุนั่นเอง หลวงปู่นาคได้รับการถ่ายทอดและศึกษาวิชาการลงยันต์ ๑๐๘ ชนิดครบสูตรในการลงยันต์เททองพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ซึ่งเป็นตำหรับวิชาสุดยอดของการสร้างพระกริ่งในสายวัดสุทัศน์นี้
(สำหรับวัดสุทัศน์ หากตามประวัติจะทราบว่า หลวงปู่นาคท่านจะสนิทกับพระครูมูล ซึ่งโยงถึงกันได้ว่าเป็นศิษย์ร่วมClassเดียวกันนั่นเอง เกจิ๒ท่านนี้ไปมาหาสู่กันบ่อยครั้งครับ จึงไม่แปลกที่พระสมเด็จของพระครูมูลถึงได้มีมวลสารพระสมเด็จเก่าของวัดระฆังไปผสมกันเป็นจำนวนมากและบางครั้งก็พบว่าพิมพ์สมเด็จมีหน้าตาและพิมพ์พระเกศบัวตูมของพระครูมูลมีมาปรากฎในแบบแม่พิมพ์ที่หลวงปู่นาคท่านกดพระด้วยครับจะมีไปขยายความกันในตอนที่๓:พระใน-นอก พิมพ์)

๓.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกุล ณ อยุธยา) ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง สืบต่อจากสมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ (ม.ร.ว.ทัศน์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา)
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) ท่านเป็นศิษย์องค์สุดท้ายของสมเด็จพุทธจารย์โต ในสมัยบั้นปลายชีวิตสมเด็จโต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) ท่านได้เรียนสำเร็จวิชาการทำผงวิเศษจากสมเด็จโตและเป็นกำลังสำคัญในการลบและจัดทำผงวิเศษทั้ง๕ชนิด เพื่อถวายให้สมเด็จโตสร้างพระวัดระฆังฯรุ่นแรก มาถึงยุคที่ท่านเป็นพระอาจารย์ให้หลวงปู่นาค ท่านก็สอนการทำผงนี้ให้จนสำเร็จครบหลักสูตรเช่นกัน ดังนั้นพระสมเด็จที่หลวงปู่นาคท่านสร้างจึงเป็นพระที่มีสูตรการสร้างเหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังรุ่นแรกนั่นเอง

๔.สมเด็จพระสังวรนุวงศ์เถร(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) เกจิท่านี้เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาให้กับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอกนั่นเอง หลวงปู่นาคก็ได้มาเรียนวิปัสสนากรรมฐานที่สำนักนี้จนสำเร็จเช่นกัน
หลังจากที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) ท่านมรณภาพแล้ว หลวงปู่นาคก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม องค์ที่๙

***********************************************************
สำหรับเรื่องการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ

โดยเฉพาะประเภทพระเนื้อผงนั้น ท่านจะเน้นถึงความสำคัญเกี่ยวกับผงวิเศษที่นำมาบดผสมในการสร้างทุกครั้ง ใช้ผงถูกต้องตามสูตรที่สมเด็จพุทธจาร์ยโตสร้างเลยครับ โดยเรียนมาจาก พุทธโฆษาจารย์ เจริญ

การปลุกเสกวัตถุมงคล
หลังจากพิมพ์พระเสร็จ หลวงปู่นาคท่านจะให้ลูกศิษย์นำพระเครื่องทั้งหมดไปไว้ในพระอุโบสถ หลังจากทำวัตรสวดมนต์เย็นเสร็จแล้ว ท่านจะปิดประตูโบถส์ อยู่เพียงลำพังท่านเดียวและทำการปลุกเสกพระจนถึงเที่ยงคืน จึงกลับกุฏิจำวัด รุ่งขึ้นจึงนำพระเครื่องทั้งหมดมาไว้ที่วิหารสมเด็จโต ทำการปลุกเสกตอนกลางคืนอีกวาระหนึ่ง จากนั้นก็นำมาทำการปลุกเสกในกุฏิของท่านอีกครั้งเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการปลุกเสกพระ สาเหตุที่ท่านทำเช่นนี้ ท่านได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า...หลวงพ่อพระประธานในโบสถ์ ท่านศักดิ์สิทธิ์ เราเป็นเพียงตถาคตมาอาศัยสถานที่ท่านพำนัก จะทำสิ่งใดก็ต้องบอกกล่าวท่าน และให้ท่านช่วยปลุกเสกให้ด้วยจึงจะถูกต้อง ...ส่วนที่นำเข้าวิหารสมเด็จโต เพราะสมเด็จโตนี้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯมาก่อน และ เป็นครูบาอาจารย์ขอข้า จะทำอะไรก็ต้องบอกกล่าวท่านก่อน แล้วให้ท่านมาร่วมรับรู้และช่วยกันปลุกเสกแผ่พลังจิตพระเครื่องเหล่านี้ด้วยจึงจะสมบูรณ์
ฉะนั้นพระเครื่องทุกรุ่นที่หลวงปู่นาคท่านได้จัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่เชื่อว่า เต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธานุภาพ ครบทุกด้าน (เมตตา มหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดจากสรรพภัยอันตรายต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม)...

***********************************************************
คัดลอกบทความมาจาก :คุณชัย วิเชียรปราการ ศิษย์ผู้รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่นาค สมัยปี๒๕๐๑ จนท่านมรณะภาพ ได้กรุณาเขียนเรียบเรียงไว้ นำมาย่อให้อ่านกันนะครับ
***********************************************************

 

 

 

 

 

 

นิทรรศการพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

 

 1. ชุดพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง ชนิดไม่ฝังตะกรุด

 

 

พระองค์ที่ 1พระคะแนนพันหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์รูปเหมือนะสมเด็จโต พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์ นิยมปี 2495

 

 

พระองค์ที่ 2พระคะแนนพันหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์ นิยม ปี 2495 สภาพสวยมาก ยันต์ชัดลึก

 

 

พระองค์ที่ 3พระคะแนนพันหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์รูปเหมือนะสมเด็จโต พิมพ์กลาง หลังเรียบ ปี 2495 สภาพสวยมาก

 

 

พระองค์ที่ 4พระคะแนนพันหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์รูปเหมือนะสมเด็จโต พิมพ์กลาง หลังเรียบ ปี 2495

 

 

พระองค์ที่ 5 พระคะแนนพันหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์รูปเหมือนะสมเด็จโต พิมพ์กลาง หลังเรียบ ปี 2495

 

 

พระองค์ที่ 6พระคะแนนพันหลวงปู่นาค วัดระฆัง พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์เล็ก ปี 2495

 

 

พระองค์ที่ 7 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ ปี 85 นิยม สภาพสวย 2495

 

 

พระองค์ที่ 8พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ ปี 85 นิยม ปี 85 เนื้อจัดมาก

 

 

พระองค์ที่ 9 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ ปี 85 นิยม ปี 85 เนื้อจัดมาก

 

 

พระองค์ที่ 10 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ กลาง ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 11 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ กลาง ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 12 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ กลาง ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 13 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ กลาง ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 14 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์กลาง ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 15 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ เล็ก ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 16 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ เล็ก ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 17 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ เล็ก ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 18 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ เล็ก ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 19 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ เล็ก ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 20 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ปรกโพธิ์ เล็ก ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 21 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี ปี 95 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 22 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี ปี 95 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 23 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี ปี 95 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 24 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี ปี 95 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 25 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี ปี 95 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 26 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี ปี 95 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 27 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ซุ้มระฆัง ปี 85 นิยม สภาพสวย เนื้อจัดมากแก่ผงพระสมเด็จวัดระฆัง

 

 

พระองค์ที่ 28 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ซุ้มระฆัง ปี 2500 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 29 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ซุ้มระฆัง ปี 2500 นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 30 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ซุ้มระฆัง ปี 2500 นิยม สภาพสวย

 

 

 

พระองค์ที่ 31 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ซุ้มระฆัง ปี 2500 เนื้อผงใบลาน นิยม สภาพสวย

 

 

พระองค์ที่ 32 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์ก้างปลาฐานหมอน ปี 85 นิยม สภาพสวย เนื้อจัดมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังบรรจุอยู่มาก

 

 

พระองค์ที่ 33 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง

พิมพ์สามชั้นฐานหมอน ปี 85 นิยม สภาพสวย

 

 
 

 

 
  
 
 

พระองค์ที่ 34 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์นางพญาฐานหมอน ปี 95 นิยม สภาพสวย
 

 

 

พระองค์ที่ 35 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์สังขจาย ปี 95 นิยม สภาพสวย
 
 
2.ชุดพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง ยอดนิยม
ชนิดพิเศษฝังตะกรุด 1 ดอก 2 ดอก และ 3 ดอก
 
 
                           พระสมเด็จหลวงปู่นาควัดระฆัง  ชนิดพิเศษ  ได้แก่ พระสมเด็จของท่านที่ทำการฝังตะกรุดมหาเมตตา มีการฝังตะกรุดไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่ 1ดอก 2 ดอกหรือ 3 ดอก จะหาได้ยากมากและเป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะเช่าหากันในราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า ปัจจุบัน  พ.ศ.  2554 ค่านิยมของพระสมเด็จหลวงปู่นาควัดระฆังมีค่านิยมสูงมากกว่าเดิมมาก  ราคาพระสมเด็จของท่านในแผงจรเล็ก ๆในตลาดพระ  ได้มีการเปิดราคาในหลักพันต้น ถึง หลักพันกลาง  ดังนั้นสำหรับพระสมเด็จชุดพิเศษฝังตะกรุดนี้  ค่านิยมอยู่ในหลักพันกลาง ๆ ถึงหมื่นต้น  โดยเฉพาะองค์ที่มีตะกรุดสามดอก  ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด  ข้อสังเกตสำคัญสำหรับตะกรุดของหลวงปู่นาคถ้าเป็นตะกรุดทอง ต้องเป็นทองแท้  ตะกรุดเงิน ต้องเป็นเงินแท้  และตะกรุดทองแดง  ก็ต้องเป็นทองแดงแท้  ถ้าเจอตะกรุดทองแล้วไม่ใช่ทองแท้สงสัยกันว่าเป็นตะกรุดปลอม พระปลอมครับ
 
 
 
พระองค์ที่ 1  พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ปรกโพธิ์ ปี 95 ฝังตะกรุด 3 ดอก  นิยมมาก สภาพสวย เนื้อจัด
 
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 2 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์เทวดาสามชั้นต้อ ปี 95 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย เนื้อจัด
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 3 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ชื้นฝักสามชั้น ปี 85 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย เนื้อจัดมากแก่ผงวัดระฆัง
 
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 4 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ชื้นฝักสามชั้น ปี 95 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย
 
 
 
 
พระองค์ที่ 5 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์เทวดาสามชั้น ปี 95 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย เนื้อจัด
 
 
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 6 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ชื้นฝักฐานแซม ปี 95 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย
 
 
 
พระองค์ที่ 7 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต ปี 95 ฝังตะกรุด 3 ดอก  นิยม สภาพสวย หายาก
 
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 8 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ซุ้มระฆัง ปี 95 ฝังตะกรุด 1 ดอก  นิยม สภาพสวย
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 9 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ชื้นฝักสามชั้น ปี 95 ฝังตะกรุด 3 ดอก  นิยม
 
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 10   พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์เทวดาสามชั้น ปี 95 ฝังตะกรุด 3 ดอก  นิยม 
โปรดสังเกตลักษณะของตะกรุดทองคำซึ่งเป็นทองคำจริงสุกปลั่งมาก
 
 
 
 
 
พระองค์ที่ 11 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์ชิ้นฝักสามชั้น ปี 95 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย เนื้อจัด
 
 
 
 
 
 
 
พระองค์ที่  12 พระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
พิมพ์เทวดาสามชั้นต้อ ปี 95 ฝังตะกรุด 2 ดอก  นิยม สภาพสวย เนื้อจัด
 
 
 
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษที่หายากของวัดระฆัง
 
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธานสามชั้น
เนื้อไม้เสาเอกกุฏิ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
จัดสร้างโดย หลวงปู่หิน  วัดระฆัีง  พ.ศ. 2512
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จวัดระฆังไม้เสาเอก กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี  พิมพ์นิยมพระประธาน 3 ชั้น หลวงปู่หิน ตอกโค้ดเลข 495 เป็นวัตถุมงคลล้ำค่าของวัดระฆัง ที่จัดสร้างขึ้นด้วย "ไม้เสาเอก" กุฏิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งพบว่า จมอยู่ในดินภายในบริเวณคณะ 7 (เดิมนั้น ยังพอมีเค้าให้เห็นทั้งกุฏิ อู่เรือ และบ่อน้ำมนต์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต หลงเหลือยืนยันให้เห็นอยู่)โดยหลวงปู่หินท่านเห็นว่า "ไม้เสาเอก" กุฏิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น ซึ่งมีอายุนับร่วม 100 กว่าปี เป็น "เสาเอก" ที่อยู่ใน กุฏิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเป็นที่ๆ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี)ได้เคยทำการประกอบกิจในการเจริญภาวนาวิปัสนากรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในการเจริญมหาสติ เจริญมหาสมาธิ เจริญมหาปัญญา และในการบริกรรมพระคาถาชินบัญชร และพระคาถาสำคัญๆ ต่างๆ ของท่าน อย่างเข้มขลังเข้มข้นทุกๆ วัน พลังของพระพุทธานุภาพ พลังของพระธรรมานุภาพ และพลังของพระสังฆานุภาพ ย่อม "แผ่ซ่าน" เข้าไปฝังอยู่ในเนื้อไม้ของ "เสาเอก" อย่างหาสุดที่จะประมาณได้ซึ่ง "ไม้เสาเอก" กุฏิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นี้ จัดว่าเป็น "ของขลัง" ที่มีฤิทธานุภาพในตัวของมันเองอยู่แล้วประเภทหนึ่ง ท่านจึงได้นำ "เสาเอก" ดังกล่าว มาจัดสร้างเป็น พระพิมพ์สมเด็จ ทรงนิยมพระประธาน โดยการใช้ "แม่พิมพ์โลหะ" เผาไฟให้ร้อนจัด แล้วจึงนำมาอัดเข้ากับ "ไม้เสาเอก" กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ตัดเป็นแผ่นขนาดเท่าที่ต้องการ ความร้อนดังกล่าวได้เผาไหม้เนื้อไม้บางส่วนจนเป็นถ่าน แล้วจึงนำมาเซาะเอาส่วนที่ถูกเผาไหม้นั้นออก จึงปรากฏรูปทรงเป็นพระพิมพ์สมเด็จการตัดขอบไม้ไม่ค่อยเท่ากันนักจึงทำให้ขนาดของพระแตกต่างกัน แต่ยังพอวัดขนาดของพิมพ์โดยวัดจากซุ้มเรือนแก้วด้านล่าง กว้าง 2 ซ.ม. ยาวจากขอบซุ้มถึงยอดพระเกศ 3 ซ.ม. พระพักตร์ใหญ่ พระอุระกว้าง พระพาหากางออกเล็กน้อย พระเพลาโค้งตื้น ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐาน สามชั้น ฐานชั้นล่างยาวจรดของซุ้มเรือนแก้ว ลักษณะเนื้อไม้เสาเอกนั้นแข็งมาก จึงเรียกพิมพ์นี้อีกอย่างว่า "พิมพ์นิยมเสาเอก" ที่ขอบด้านบนได้เจาะรู เพื่อบรรจุ "ผงวิเศษ" ต่าง ๆ เอาไว้โดย "ผงวิเศษ" ดังกล่าวนั้น ทำมาจากมวลสารมงคลพิเศษต่างๆ มากมาย อาทิ เช่น ผสมด้วย"ผงวิเศษต่างๆ" (เช่น ผงอิทธิเจ ผงปัถมัง ผงมหาราช ผงสุริบาตร ผงตรีนิสิงเห และผงวิเศษอื่นๆ อีกมากมาย ฯลฯ เป็นต้น) ที่ "หลวงปู่หิน" ท่านได้รวบรวมมาจากพระเกจิคณาจารย์ดังๆ ในสมัยนั้น ทั่วฟ้าเมืองไทย"เกสรดอกไม้แห้ง" ที่นำมาจากวัดทั่วประเทศไทย"ผงปูน" ที่ได้มาจากการกระเทาะจากพระอุโบสถวัดระฆัง"พระสมเด็จวัดระฆัง" กรุเก่าต่างๆ ทุกรุ่น
"พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม" กรุเก่าต่างๆ ทุกรุ่น"สมเด็จพระปิลัทน์" ที่ชำรุดจากกรุ มุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้"พระกรุต่างๆ" ที่แตกหักอีกมากมาย เช่น พระกรุวัดสามปลื้ม ฯลฯ เป็นต้น เกินจะบรรยายหมดได้ในคราวเดียวพระสมเด็จวัดระฆังไม้เสาเอก กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พิมพ์นิยมพระประธาน 3 ชั้นรุ่นนี้ จัดสร้างขึ้นในปี 2512 (สภาพสวยเดิมๆ 39 ปี) ในวันเสาร์ห้า (ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ซึ่งในทางไสยศาสตร์ ถือกันว่าเป็นวันดีเหมาะกับการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับไสยาเวทย์ แล้วท่านจึงได้นำมาประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ตามแบบโบราณาจารย์ประเพณีทุกประการอีกครั้งหนึ่ง มีการนิมนต์เกจิพระอาจารย์ดัง ๆ ต่างๆ มาจากทั่วฟ้าเมืองไทยในสมัยนั้น ให้มาร่วมปลุกเสก ในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นจำนวนมากจึงถือได้ว่าพระสมเด็จวัดระฆัง "พิมพ์นิยมพระประธาน 3 ชั้น" รุ่นนี้เป็นปูชนียวัตถุมงคลที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของวัดระฆัง อีกรุ่นหนึ่ง ที่รวมไปด้วยความสุดยอดทั้งในเนื้อหามวลสาร และความสุดยอดในทางด้านพุทธคุณไว้เป็นหนึ่งเดียวเลยก็ว่าได้ 
 
 
สำรวจตลาดราคาพระสมเด็จหลวงปู่นาค
ชนิดฝังตะกรุดและไม่ฝังตะกรุด
ที่วางจำหน่ายในนิตยสารพระเครื่อง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

เรื่องอาจารย์ทิม วัดช้างให้ และอาจารย์นองวัดทรายขาวมาวัดระฆังเพื่อเช่าพระสมเด็จหลวงปู่นาค
             

พระอาจารย์ทิม และ พระอาจารย์นอง วัดทรายขาวเป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดประดู่มาด้วยกันเมื่อพระอาจารย์ทิมมาอยู่วัดช้างให้และอาจารย์นอง ไปอยู่วัดทรายขาว ก็ยังมีความสัมพันธ์ดีงามมาโดยตลอดกิจการใดของวัดช้างให้ อาจารย์นองวัดทรายขาวท่านจะเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่ข้างกายพระอาจารย์ทิมทุกอย่าง ที่สำคัญการสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ถ้าจะกล่าวกันแล้ว ปฐมเหตุจริงๆก็มาจากท่านที่เป็นผู้ชักชวนพระอาจารย์ทิมให้สร้างพระหลวงพ่อทวดตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้คร่าวๆ คือ

ช่วงนั้น อาจารย์นองวัดทรายขาวกับพระอาจารย์ทิม ขึ้นมากรุงเทพฯ และไปที่วัดระฆังเพื่อที่จะไปเช่าบูชาพระสมเด็จของหลวงปู่นาคมาเพื่อให้คนทำบุญจะได้นำเงินไปสร้างโบสถ์วัดช้างให้ พกเงินขึ้นมาประมาณ 3,000 บาทขณะที่กำลังจะขึ้นไปเช่าพระ ท่านบอกว่า "กูนึกยังไงก็ไม่รู้ สะกิดอาจารย์ทิม บอกว่าท่านๆ ทำไมเราไม่กลับไปทำพระของเราเองล่ะ" "พระอะไร...?" พระอาจารย์ทิมถาม "ก็พระหลวงพ่อทวดไง" พระอาจารย์ทิมบอก "เออ...!! นั่นน่ะสิ"ทั้งสองท่านจึงได้เช่าบูชาพระสมเด็จหลวงปู่นาคเพียงเล็กน้อยและพากันกลับปัตตานี

ปฐมเหตุตรงจุดนี้คือกำเนิดของสุดยอดพระเครื่องเมืองใต้ หลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 อันเป็นอมตะตลอดกาล   ซึ่งเกิดขึ้นที่วัดระฆังนี่เอง  ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองถือว่าเป็นผู้เรืองวิทยาคมอย่างสูงในยุคนั้น พลังจิตของท่านนั้นเปี่ยมล้นที่จะมีจิตตานุภาพในการหยั่งรู้ถึงพลังแห่งพุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณที่บรรจุอยู่ในองค์พระสมเด็จ ซึ่งทำให้ท่านพระอาจารย์ทั้งสองยังมีความศรัทธาในพุทธคุณของพระสมเด็จหลวงปู่นาควัดระฆัง เป็นอย่างมาก จนถึงได้ดั้นด้นมาจากปัตตานีซึ่งสมัยก่อนการเดินทางค่อนข้างยากลำบากมาถึงกรุงเทพและตรงมาที่วัดระฆัง เพื่อต้องการนำพระสมเด็จของหลวงปู่นาค ไปให้บูชาเพื่อสร้างโบสถ์วัดช้างไห้ดังกล่าว  ดังนั้นบรรดาเรา ๆ ท่าน ๆ ที่นิยมสะสมพระเครื่อง ก็ไม่ต้องลังเลใจที่จะสะสมพระสมเด็จของหลวงปู่นาควัดระฆังไว้ใช้  เพราะพระทุกองค์เปี่ยมด้วยพุทธคุณยิ่งนักแล
 
 
 
 
 

เปิดตำนานช่างผู้รังสรรค์ผลงานผลงานพระสมเด็จหลวงปู่นาค วัดระฆัง
และสมเด็จวัดระฆังรุ่น100ปี!!!~ 


พระสมเด็จวัดระฆัง ชื่อนี้คือจักรพรรดิแห่งพระเครื่่องมาทุกยุคทุกสมัย ไม่มีใครปฏิเสธ

ผลจากการสืบทอดวิชาจากรุ่นสู่รุ่น ไล่เรียงมาจาก สมเด็จโต,สมเด็จปิลันทร์,หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆษิตาราม 

หากมองในสายวิชชาอาจจะหาผู้สืบทอดได้น้อยเต็มที แต่ตำรับวิธีการสร้างพระสมเด็จอันเลื่องชื่อนั้น ยังได้รับการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน!! 

สำหรับผู้ที่เอื้อมไม่ถึงพระพิมพ์สมเด็จที่สมเด็จโตท่านสร้างไว้ ก็มักจะหาของสมเด็จปิลันทร์ หรือหลวงปู่นาค แทน 

และอีกทางเลือกหนึ่่งที่ ณ ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมตามหลังมาเร็วจี๋ นั่นก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังรุ่น 100 ปี นี่เอง 

เหตุที่ได้รับความนิยม ก็เนื่องมาจากเนื้อหามวลสารอันเป็นเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวของสายวัดระฆังโดยเฉพาะ และมีความละม้ายคล้ายคลึงกับพระสมเด็จของสมเด็จโตมากที่สุด 

ที่ผู้รังสรรค์ผลงานพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง 100 ปี นี้ก็ได้รับการสืบทอดวิชชานี้มาจาก หลวงปู่นาค วัดระัฆังนั่นเอง 

และวันนี้จะได้นำมาเปิดโฉมหน้าพร้อมทั้งบทสัมภาษณ์ ที่เมืองกาหลงแห่งนี้ ที่นี่ที่แรก!!! 

ภาพและบทสัมภาษณ์บางตอนจากนิตยสารในเครือ C.R.S. พ.ศ.2537 


ท่านผู้นี้คือ......ช่างนิด ตรัยศักดิ์ศรี ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสูตรวัดระฆังโดยทุกประการ และนี่คือบางส่วนของบทสัมภาษณ์ของช่างนิดบางส่วนบางตอน เชิญทัศนา... 

" ผมได้รับการสั่งสอนและเรียนรู้ถึงวิธีการทำพระสมเด็จวัดระฆังมาจากหลวงปู่นาค ไม่ว่าจะเป็นการผสมเนื้อ หรือการตำตลอดจนถึงการพิมพ์ ผมเป็นผู้เดียวที่ได้รับการสืบทอดจนหมดไส้หมดพุง และก็ยึดมาเป็นอาชีพจวบจนทุกวันนี้" 



"การที่ผมได้รับการถ่ายทอดวิชานี้มาจากหลวงปู่นาคก็เพราะผมเป็นลูกศิษย์ลูกหารับใช้ท่านอยู่ใกล้ชิด ผมทำสมเด็จวัดระฆหังรุ่น 100 ปี เมื่อปีพ.ศ.2514 แต่มาออกเอาในปี พ.ศ.2515 ต่อมาก็ทำรุ่น 108 ปี จากปี 2522 มาออกเอาในปี 2523 และก็มาทำรุ่น 118 ปี เมื่อปี 2532" 

"สมัยที่ทำอยู่กับหลวงปู่นาค ผมใช้สถานที่ทำกุฏิริมน้ำคณะที่ 1 มีคนช่วยทำอยู่ประมาณ 4-5 คน ไม่ได้ใช้เครื่องปั๊ม ใช้มือกดเอา วันหนึ่งๆ ได้ประมาณ 300 องค์ ไม่เกิน 400 องค์ ใช้เวลาตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงประมาณ 3 ทุ่ม ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ทั่วๆไปใช้เครื่องปั๊มวันนึงเป็นพันๆองค์" 

"ในส่วนผสมที่ผมได้รับจากหลวงปู่นาคนั้น ผมได้รับทราบจากหลวงปู่ว่า ท่านศึกษาดูมาจากตำราของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ตำรานี้ต่อมาได้สูญหายไป ส่วนผสมต่างๆของท่านเจ้าประคุณสมเด็จตามที่ผมได้รับทราบจากหลวงปู่นาคว่า ท่านเอาตะไคร่น้ำบ้าง ปูนข้างโบสถ์บ้าง หรือบางทีอาหารที่ฉันแล้วอร่อยท่านก็เก็บเอามาเป็นส่วนผสมทำพระสมเด็จ แต่ต่อมาถึงยุคหลวงปู่นาค ท่านก็พัฒนาสูตรเพิ่มเติมขึ้นอีก โดยใช้ผงอิทธิเจ ซึ่งมีส่วนผสมมาจากปูนขาวแล้วนำมาเก็บกักใส่โหลเอาไว้เป็นปีๆ ถึงค่อยนำออกมาทำ ส่วนผสมที่กักเก็บไว้ในขณะนั้นปัจจุบันผมยังมีเก็บไว้อยู่ เพราะผมต้องเอามาเป็นส่วนผสมในการทำงานในขณะนี้" 



"ผมกล้าพูดอย่างจะจะเลยว่า ส่วนผสมของวัดระฆังนั้นในขณะนี้ ช่างในประเทศไทยไม่มีใครล่วงรู้เลย และก็ทำกันไม่ได้" 

"ในส่วนผสมหรือเคล็ดลับของการทำก็เช่นกัน ผมใช้ขั้นตอนของหลวงปู่ อย่างเช่นปัจจุบันมักจะใช้ปูนหอย และน้ำมันตังอิ๊วเป็นหลัก แต่ผมใช้ไม่ได้เลยมันเข้ากันไม่ได้ กลิ่นก็เหม็นหืนเนื้อพระจะไม่แห้ง ลองดมกันดูได้ ของที่ผมทำอยู่อีกกี่สิบปีก็ไม่มีกลิ่นเหม็น ผมจะใช้แต่ปูนขาวผสมผงเกสร 108 แล้วก็ผงเก่า น้ำผึ้ง กล้วยน้ำว้า" 



"การบดก็ต้องค่อยๆ ตำให้ละเอียดให้เข้ากัน ตำจนเป็นลูกและต้องผึ่งไว้ให้แห้งให้แข็งตัว แล้วก็เอามาตำใหม่ ถึงจะได้ผงจริง แล้วค่อยเอาไปกดลงพิมพ์กดเสร็จแล้วก็ตั้งตัด ตัดเสร็จแล้วก็ต้องนำไปผึ่งแดดให้แห้ง และก็คัดองค์ไหนไม่ดีมีตำหนิผมเอาออกหมด" 



"ขั้นตอนการทำงานของผมมันจะยุ่งยากกว่าทั่วๆไป คนทำงานของผมส่วนมากก็จะมีแต่ลูกๆ หลานๆ ไม่กี่คน ไม่มีคนอื่น" 

"อย่างของผมที่ทำอยูู่นี้กล้าท้าได้เลยว่า เนื้อพระออกมาละเอียดอ่อน นุ่มนวล แต่แน่นและคงทน นำไปแช่น้ำได้เลยเป็นปีๆ ไม่มีผุ ไม่มีกร่อน" 



และทั้งหมดนี้คือ ถ้อยคำจากตัวจริงเสียงจริง "ช่างนิด" ช่างที่ถือว่าเป็นมือหนึ่งของประเทศไทยที่ สืบสานฝีมือจากวัดระฆัง สร้างผลงานเลื่องลือชื่อจากพระสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี เป็นต้นมา ลองสอบถามที่คณะ 3 วัดระฆัง หรือสอบถามพระอาจารย์วิลาศ ท่านจะรู้แจ้งเห็นจริงในฝีมือ
 
 
 **********************************************************************
 
 

หลวงปู่หิน วัดระฆัง   

 

เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและพระเครื่องหลวงปู่หิน วัดระฆัง เป็นเรื่องที่หาอ่านได้ยาก  ทำให้การเรียนรู้พระเครื่องพิมพ์พระสมเด็จที่จัดสร้างโดยหลวงปู่หิน วัดระฆังเป็นปริศนาดำมืดในวงการพระเครื่อง ทั้งลักษณะของพิมพ์พระสมเด็จของท่านและปีที่สร้าง สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในวงการพระเครื่องทำให้พระสมเด็จของท่านที่จัดทำตามตำราของสมเด็จโตและมีมวลสารสำคัญจำนวนมากที่ได้จากพระสมเด็จวัดระฆังหัก ๆ บดผสมลงไป  ข้าพเจ้าเองก็ยังขาดข้อมูลความรู้โดยตรงเกี่ยวกับพระพิมพ์ของท่าน  แต่ที่น่าแปลกใจว่าหนังสือที่แสดงพระพิมพ์และพระเครื่องของท่านเคยมีการจัดพิมพ์เป็นเล่มขนาดใหญ่แต่ไปเผยแพร่ในประเทศมาเลเซีย ฮ่องกงและสิงคโปร์เท่านั้นมิได้เผยแพร่ในประเทศ ทำให้พระสมเด็จของท่านโด่งดังในต่างประเทศเป็นอย่างมาก  แต่ในเมืองไทยเองกลับไม่ได้มีการเผยแพร่เกียรติคุณของท่านเท่าที่ควร  

 

เป็นที่โชคดีอย่างมหาศาลและน่าอัศจรรย์ใจ ในเดือนมีนาคม 2556  ข้าพเจ้าได้เดินดูพระเครื่องศูนย์พระครื่องห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว  มีแผงพระเล็ก ๆ แผงหนึ่งมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มหนึ่ง ปกสีแดง  ด้านหน้ามีภาพของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่หาได้ยากยิ่งเนื่องจากเป็นหนังสือที่แจกในการฌาปนกิจศพของหลวงปู่หิน วัดระฆัง ข้าพเจ้าได้เปิดดูอย่างสนใจ เพราะในหนังสือเล่มนี้มีประวัติของสมเด็จโต และประวัติหลวงปู่หิน รวมทั้งเรื่องการสร้างพระพิมพ์ของท่าน วันนี้ข้าพเจ้าโชคดีได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย  จึงขออนุญาตจากเจ้าของหนังสือถ่ายภาพเนื้อหาประวัติและการสร้างพระพิมพ์พระเครื่องของหลวงปู่หินเอาไว้อย่างรวดเร็ว แต่การถ่ายภาพอาจจะไม่มีความประณีตบ้างเพราะต้องรีบถ่ายและไม่อยากเสียมารยาทที่จะต้องกรีดหนังสือแรง ๆ และต้องถ่ายภาพจากโต๊ะในสนามพระ แต่ก็พอได้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์อย่างสูงในการนำความรู้เกี่ยวกับหลวงปู่หินวัดระฆัง ออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากข้อมูลดังกล่าวได้สูญหายไปนาน  นับว่าเป็นที่โชคดีอย่างยิ่งข้าพเจ้าและผู้ที่ได้อ่านได้ศึกษาความรู้ที่ได้มาอย่างปาฎิหารย์นี้ ขออนุโมทนาผลบุญที่ได้ให้ความรู้และปัญญาจากหนังสือเล่มนี้แก่ผู้ได้จัดทำหนังสือทุกท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเจ้าคุณเที่ยง วัดระฆัง ประธานการจัดทำหนังสือเล่มนี้

***************************************************************  

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
00
 
 
00
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพพระเครื่องหลวงปู่หินวัดระฆังรุ่นต่าง ๆ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
************************************************************************************************** 
 
 
 
 
 ภาคผนวก

นำเอาประวัติของหลวงปู่หิน วัดระฆัง มาเก็บตกให้ครบถ้วน

ซึ่งหลวงปู่หินซึ่งถือว่าเป็นพระคู่บารมีกับหลวงปู่นาค วัดระฆัง ในยุคนั้น และท่านได้สร้างพระสมเด็จโด่งดังไม่แพ้กัน

 

พระครูสังฆรักษ์ หิน อินทวินโย หรือ หลวงปู่ หิน เรียกตามตำแหน่งฐานานุกรมในพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก ( หลวงปู่นาค)ว่า “พระครูสังฆรักษ์ หิน หลวงปู่ หิน เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของวัดระฆังโฆสิตาราม

หลวง ปู่ หิน นามสกุลเดิม สุขเกษม เกิดเมื่อ 9 เดือนพฤศจิกายน 2442 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เวลา ประมาณ 18.30 น. ที่จังหวัด ปริวแวง ประเทศ กัมพูชา บวชเป็น สามเณร 15ปี ภายหลังได้ลาสิกขาบท มาช่วยโยมมารดาบิดา มาประกอบอาชีพ อยู่พักหนึ่ง และได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้ง อายุ 21 ปี ณ...พัทธสีมา วัดธนาคัน ตำบลจาง อำเภอ ตะแบก จังหวัด ปริวแวง ประเทศกัมพูชา โดยมีพระรัตนาวงศาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แรม เป็นพระกัมมวาจา และพระมงคลเถระเป็นพระอนุสาวนา จารย์.....หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ในทางไสยศาสตร์..ชั้นแรกคือการเรียน ตรีนิสิงเห การเรียนลงเลขยันต์...ยันต์ตรีนิสิงเห มีอุปเท่ห์สารพัดซึ่งหลวงปู่ หิน ใช้ได้ผลมามาก หลวงปู่ หิน ท่านมีความมุ่งมั่นในทางการเรียนวิชาไสยศาสตร์มาก เดินธุดงค์รุกขมูลตามป่าดงดิบ ประเทศพม่า พระตะบอง นครวัด ได้ร่ำเรียน วิชาการต่างๆมากมาย ฝึกฝนกับพระคณาจารย์ต่างๆ การอบรมเสร็จสิ้น เมื่อ เดือน 12 พศ..2465 หลวงปู่ หิน ได้เดินธุดงค์ มาเรื่อยๆ ตามตะเข็บชายแดน ของประเทศไทย มายัง กบินทร์บุรี นครนายก สระบุรี และได้เดินมานมัสการ พระพุทธบาท สระบุรี จากนั้น ใช่ว่า มาอยู่ เมืองไทยนะครับ ...ท่านเดินทางกลับไปประเทศพม่า โดยใช้เส้นทางเดิม กลับวัดธนาคันตามเดิม คือ วัดที่ท่านบวชแต่ครั้งแรก

ในระหว่างนั้นท่านก็หมั่นปฏิบัตรธรรมกรรมฐาน จนได้ชื่อว่าเป็น พระที่เชี่ยวชาญทางกรรมฐานท่านหนึ่ง ทุกครั้งที่ท่านออกพรรษา ท่านจะออกธุดงค์ตลอดไม่ค่อยอยู่วัด ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ เวียงจันทร์หลวงพระบาง ย้อนกลับมา เมืองไทย แล้วกลับประเทศพม่า ...ครั้งหนึ่งหลวงปู่ หินมีความประสงค์จะเดินทางรุกค์ขมูลไปยังประเทศอินเดียให้ได้ แต่แล้วเป็นจุดหักเห ของชีวิตของท่าน พระเพื่อนที่ร่วมเดินทางของท่านเกิดป่วยกลางป่าลึกในระหว่างทาง จึงได้เดินทางมาที่เมืองไทยทำการรักษาตัว ในที่สุดพระรูปนี้ มรณภาพลงที่ จังหวัด ตาก ...ในเวลานั้น ใกล้เวลาจะเข้าพรรษาหลวงปู่ หิน จำต้องจำพรรษาที่ จังหวัด ตาก 1 พรรษา

หลังจากนั้น หลวงปู่ ก็เดินธุดงค์ ต่อไป ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เลยเข้าไป ประเทศ พม่า และต่อมาท่านเดินทางมาที่ จังหวัด สุโขทัย พักอยุ่ ที่ วัดพุทธปรางค์ อำเภอ สวรรคโลก 2 เดือน และออกธุดงค์มาเรื่อย จนถึง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้พบกับพระอุปัชฌาย์ เทพ ซึ่ง เป็นพระเพื่อนมาแต่เดิม เป็นเจ้าอาวาส อยู่ วัดทางหลวง ตำบล ปลายกลัด อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านจึงพำนักที่นั้น และช่วยดำเนินการสร้างเสนาสนะสงฆ์ ตลอดจนวิหารและศาลาฟังธรรมต่างๆ จนลุล่วง ท่านได้อยู่วัดทางหลวงเป็นเวลา 11 พรรษา อยุธยา นั้น ไม่สิ้นคนดี เป็นคำพังเพย โบราณ ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นะครับ หลวงปู่ หิน ได้ร่ำเรียนไสยศาสตร์แถบนี้มาก ต่อมาก แม้กระทั่งหลวงพ่อ จง แห่งวัดหน้าต่างนอก... หลวงพ่อ ต่วน วัด กล้วย ซึ่งต่อมาเป็นพระสหายทางสมิกธรรม ฯลฯ ประวัติการร่ำเรียนวิชาทาง ไสยศาสตร์ของท่าน ว่าร่ำเรียนกับพระอาจารย์ท่านใดนั้นมิอาจบรรยายได้ เพราะ หลวงปู่ หิน ท่านออกธุดงค์ เพียงรูปเดียวในระยะหลัง

ต่อมาใน พศ....2478 ท่านได้ทราบถึง กิติศัพท์ ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เกิดมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า จึงตัดสินใจเดินทางมายัง วัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการ พระเทพสิทธินายก หรือ หลวงปู่ นาค ขณะนั้น หลวงปู่ นาค ดำรงตำแหน่ง พระราชโมฬี เจ้าอาวาส แห่งวัดระฆัง สนทนาธรรมเป็นที่ถูก อัธยาศัย ยิ่งนัก ....หลวงปู่ นาค จึงได้ชักชวนให้อยู่จำพรรษา อยู่ วัดระฆัง เสียที่นี่ คณะ3 ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของวัด ปัจจุบันเป็นโรงเรียนโฆสิตสโมสร ในสมัยนั้นทางสำนัก วัดระฆังได้เปิดอบรม กัมมัฎฐานและวิปัสสนา หลวงปู่ นาค ก็ได้แต่งตั้ง หลวงปุ่ หิน มีหน้าที่ช่วยเหลือในกิจของสงฆ์ทางวัด ตลอดมา ไม่ว่าพัฒนางานก่อสร้างทำนุบำรุงต่างๆ สมัยนั้นมีแต่แรงงานพระในผ้าเหลืองล้วน หลวงปู่ หิน เป็นช่างควบคุมเองทั้งหมด ไม่ว่า ครั้งใด คำปฏิเสธนั้น ไม่เคย หลุดจากปากท่านเลย กับการก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆหลายวัด แม้ในบางครั้งท่านได้ไม่มีเงินพอที่จะช่วย ท่านก็นำพระผงของท่าน มามอบให้ประชาชนได้บูชากัน เพื่อนำเงินไปใช้ในการก่อสร้าง นั้นๆ เป็นเจตนาที่บริสุทธิ์โดยแท้

การสร้างพระผงต่างๆ ของหลวงปู่ หิน แห่งวัดระฆังนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หลวงปู่ นั้นมีความศรัทธา ต่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มากๆ หลวงปู่ท่านพยายามเสาะแสวงหา พระสมเด็จมาสะสมไว้ ทั้งที่ แตกหักและชำรุด จนมีจำนวนมากพอแก่ความต้องการ ท่านจึงนำมาโขลกเป็นผง นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ยัดผงปิลันทร์จากกรุ มุมพระอุโบสถ ด้านทิศใต้ .....ผงจากกรุ วัดสามปลื้ม ผงสุริบาตร และผงตรีนิสิงเห ที่ขาดมิได้ ...... การสร้างพระพิมพ์ของหลวงปู่ นั้น เริ่มตั้งแต่ พศ...2482-พศ..2515มีจำนวน 8 รุ่นด้วยกัน อาจารย์ ขวัญ วิสิฎโฐ ( คุ้มประยูร) เป็นผู้ช่วยเหลือโดยใกล้ชิด พระเครื่องที่สร้างแบ่งตาม พศ. พอจำแนก.ได้ ดังนี้

1...พระสมเด็จ รุ่นแรก พศ..2482 มี5พิมพ์

1.1พิมพ์อกครุฑ
1.2พิมพ์แหวกม่าน
1.3พิมพ์เส้นด้าย
1.4พิมพ์ทรงเจดีย์
1.5พิมพ์ทรงเจดีย์พิมพ์เล็ก

2....พระสมเด็จรุ่น 2 พศ..2484มี 5 พิมพ์

2.1พิมพ์ทรงพระประธาน
2.2พิมพ์ทรงพระเกศทะลุซุ้ม
2.3พิมพ์ทรงชายจีวร
2.4พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
2.5พิมพ์ทรงอกร่องหูยานคู่

3...พระสมเด็จ รุ่น 3 พศ..2488 มีเพียง 2 พิมพ์

3.1พิมพ์ทรงนิยม
3.2พิมพ์ทรงเจดีย์

4...พระสมเด็จรุ่นที่ 4 พศ..2494 ติดต่อถึงปี 95 จึงเรียกว่า รุ่น 2495

4.1พิมพ์ทรงพระประธาน พิมพ์นี้มี 2ชนิด คือ เนือ้ผงและเนื้อผงใบลาน 
4.2พิมพ์พระประธานขาโต๊ะ
4.3พิมพ์ทรงเจดีย์
4.4พิมพ์สามเหลี่ยมด้านเท่า
4.5พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่ว
4.6พิมพ์สามเหลี่ยมหน้าจั่วพิมพ์เล็ก

5...พระสมเด็จรุ่น5 พศ..2497มีเพียง 2 พิมพ์เท่านั้น

5.1พิมพ์ทรงเจดีย์
5.2พิมพ์เจดีย์ทะลุซุ้ม

6...พระสมเด็จรุ่นที่ 6 พศ..2500

6.1พิมพ์พระประธาน ขนาดบูชา
6.2พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์ใหญ่
6.3พิมพ์ทรงนาคปรก
6.4พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม
6.5พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
6.6พิมพ์ฐานหมอน
6.7พิมพ์ทรงนิยม
6.8พิมพ์ทรงเจดีย์ 
6.9พิมพ์ทรงนิยมพิมพ์กลาง
6.10พิมพ์ทรงนิยม พิมพ์เล็ก
6.11พิมพ์คะแนนปรกโพธิ์
6.12พิมพ์คะแนนพระประธาน
6.13พิมพ์ทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
6.14พิมพ์คะแนนทรงพระประธานขนาดเล็ก 
6.15พิมพ์ทรงเม็ดแตง

7...พระสมเด็จ รุ่นที่ 7 พศ...2512 เรียกว่า รุ่น เสาร์5 มี6 พิมพ์

7.1พิมพ์นิยมเสาเอก สร้างด้วยไม้ ทำจากเสากุฎิ สมเด็จโต 
7.2พิมพ์ทรงจุฬามณี
7.3พิมพ์สังฆาฎิ 
7.4พิมพ์ทรงอกร่องหูยานฐานแซม
7.5พิมพ์กลีบบัว
7.6พิมพ์ทรงพระประธาน หูบายศรี

8... พระสมเด้จ รุ่นที่ 8 รุ่นสุดท้าย พศ..2515 เรียก ว่ารุ่น100ปี การมรณภาพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พิธีมหาพุทธาภิเศก หลวงปู่หิน สร้าง2พิมพ์เข้าพิธีด้วย มี 2พิมพ์

8.1พิมพ์ทรงนิยม
8.2พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร
8.3เหรียญ รุ่นแรก พศ.2516

นอกจากนี้ยังมีพระนอกพิมพ์อีกจำนวนหลายพิมพ์เช่นกัน เรียกว่า พิมพ์นอก เป็นพระที่สร้างในปีเดียวกัน แต่ไม่ได้ออกเป็นทางการ ท่านจะแจกเป็นการส่วนตัวแต่พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันออกไป

ท่านพระครู สังฆรักษ์ หิน อุปสมบทพระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พศ...2463พรรษาแห่งการบวช ท่านศีกษาทางกรรมฐานจนแตกฉาน จนเกิดความชำนาญ ต่อมาศึกษาทางด้านคาถาอาคม จนเกิดความแตกฉาน วิชาไสยศาสตร์ ชนิดหาตัวจับยาก ภายหลังค้นคว้าแพทย์แผนโบราณ รักษาผู้คนตกทุกข์ได้ยาก เป็นพันๆคนในขณะนั้น ท่านย้ายมาอยู่ วัดระฆัง พศ...2478 –พศ..2521 ตลอดระยะเวลา 43ปี ภายหลังหลวงปู่ หิน ป่วย ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดกล้วย จ...อยุธยา เพื่อทำการรักษาตัวเพราะไม่มีเวลาพักผ่อน และท่านมีเวลาไม่นานแล้ว ประกอบกับมีเนื้องอกที่ กระพุ้งแก้มเพราะ เกิดจาการฉันท์หมากมาก ในปีเดียวกันนั้นเอง (พศ..2521) ท่านเดินทางกลับวัดระฆัง 19พฤษภาคม 2521 ...........มรณภาพ21 พฤษภาคม2521 รวมอายุ 79ปี 58 พรรษา @@@ขอขอบคุณข้อมูลนี้จากหนังสือประวัติ หลวงปู่หิน จากวัด พระศรีสุทธิโสภณ (เที่ยง อัคคธัมโม ปธ..9) 3ตค..2521 ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียง ประวัติ หลวงปู่ หิน ...และเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุคส์ ภาพ ขาวดำ ..เล่มเล็ก ...ที่ออกมาจากวัดระฆัง..หนังสือเล่มนี้ทำแจกแก่ศิษย์ยานุศิษย์ที่มางานฌาปน กิจ หลวงปู่หิน.

 

 






Copyright © 2010 All Rights Reserved.

โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
ที่อยู่ :  เลขที่1810 เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร.     รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร : 02-5394968      มือถือ :  0818033630
อีเมล : ariyasound@thaimail.com
เว็บไซต์ : www.ariyasound.com