Ariyasound อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร รู้ลึกหลวงพ่อเงิน นิทรรศการพระเครื่องหลวงพ่อเงินอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ทางสายกลาง นิทรรศการพระหลวงพ่อเงิน ภาพพระหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดห้วยเขน วัดท้ายน้ำ วัดขวาง อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช รูปหล่อหลวงพ่อเงินสึกเลือน หลวงพ่อเงินสึก
ReadyPlanet.com
dot dot
สมันตมุขปริวรรต สัทธรรมปุณพริกสูตร กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สุภูติ วัชรสูตร มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช หนังสือภาพหายาก ariyasound
ท่องแดนสุขาวดี  พระอมิตภะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบมหาโพธิสัตว์ พระอมิตาพุทธเจ้า แดนสวรรค์ อามิตตาพุทธ มหายาน วัชรยาน เจ้าแม่กวนอิม   สุขาวดีวยูหสูตร   มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช
พระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า buudha
ทิพยจักษุ พระพุทธเจ้า ตาทิพย์  อริยะ สุพรรณเภษัข
ดนตรีสวรรค์ ดนตรีพัฒนาจักระ  พัฒนาจักระ จักระ โยคะ โยคี อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา ariyasound
กวนอิม พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ อริยะ สุพรรณเภษัช
คุณธรรมพระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ มหายาน เสียง เสถียรสุต อริยะ สุพรรณเภษัช ariyasound




รู้ลึกหลวงพ่อเงิน นิทรรศการพระเครื่องหลวงพ่อเงินอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ทางสายกลาง นิทรรศการพระหลวงพ่อเงิน ภาพพระหลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดห้วยเขน วัดท้ายน้ำ วัดขวาง อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช รูปหล่อหลวงพ่อเงินสึกเลือน หลวงพ่อเงินสึก

 

 


 

รู้ลึกหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

แนวทางการศึกษาและสะสมพระเครื่อง

หลวงพ่อเงินพุทธโชติวัดบางคลาน 5 ยุค

ตามแนวทางสายกลาง

ที่เน้นกระแสโลหะและความสภาพธรรมชาติเป็นสำคัญ

 

******************************************************************************

นำเสนอโดยการค้นคว้าโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

www.ariyasound.com

081-8033630

**************************************************************************

ข้อมูลในหน้านี้จะทำการค้นคว้าวิจัยพร้อมปรับปรุงเพิ่มพูนอัพเดทไปเรื่อย ๆ

ทั้งข้อมูลที่เป็นอักษรเชิงลึกและภาพพระหลวงพ่อเงินวรรณะจัดจ้านดูง่ายที่จัดแสดง

ขอให้ท่านสามารถติดตามอัพเดทข้อมููลเชิงลึกต่าง ๆ ของหลวงพ่อเงินได้ที่นี่ที่เดียวครั

 

******************************************************************************

 

พร้อมชมนิทรรศการพระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ที่เป็นสมบัติสะสมของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

และพระหลวงพ่อเงินที่มีเนื้อหาดูง่ายจากเวปไซต์พระเครื่อง

ขอขอบคุณอย่างสูงแก่เจ้าของพระเครื่องและภาพพระเครื่องของหลวงพ่อเงินพิมพ์ทรงต่าง ๆ ที่กรุณาเป็นวิทยาทาน

 

******************************************************************************

 

 

        ข้าพเจ้าอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา      มีความศรัทธาต่อพระเครื่องเป็นอย่างมาก ได้เริ่มสะสมพระเครื่องตั้งแต่อายุ 7 ขวบ โดยได้รับการส่งเสริมโดยคุณยายของข้าพเจ้า  จากนั้นได้สนใจสะสมเรื่อยมา ตั้งแต่เหรียญพระคณาจารย์สายอาจารย์มั่น พระกรุโบราณ พระสมเด็จ ได้ตั้งศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จจัดทำหลักสูตรเซียนมวลสารสมเด็จฯ เพื่อฝึกอบรมให้กับผู้สนใจที่จะเรียนรู้เนื้อหามวลสารพระสมเด็จ จนระยะต่อมา มาสนใจศึกษาและสะสมอย่างคลั่งไคล้ในพระเครื่องหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร   โดยได้รับประสบการณ์ประทับใจตั้งแต่เมื่อได้เริ่มห้อยบูชาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขึ้ตาของท่านเพียง 2 วัน ได้รับลาภลอยก้อนใหญ่ทันตาเห็นกว่า  2 ล้านบาท  นอกจากทำให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้นในการศึกษาและสะสมพระเครื่องของท่าน เนื่องจากได้รับผลลัพธ์เชิงประจักษ์ทันใจทางด้านโชคลาภก้อนใหญ่ในพุทธคุณแห่งพระเครื่องของท่าน  นอกจากนี้พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน ซึ่งวงการได้มา ยอมรับกันในปัจจุบันนี้ได้ให้ประสบการณ์ที่น่าประทับใจกับข้าพเจ้าเช่นเดียวกันกับ โดยได้มอบพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดห้วยเขนให้กับพี่ชาย ซึ่งเกิดปาฎิหารย์ได้รับเงินสองแสนบาทอย่างทันควันภายในเวลา 2 วันเท่านั้นสร้างความศรัทธากับหลวงพ่อเงินแก่พี่ชายของข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก  อีกเรื่องหนึ่งคือได้มอบพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขนให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลแถวลาดพร้าว ซึ่งเป็นอาจารย์แม่ที่ข้าพเจ้านับถือ ได้สร้างปาฏิหารย์เช่นเดียวกันสามารถขายบ้านที่เขาใหญ่ ราคา 10 ล้านบาท ที่ประกาศขายมากว่า 5 ปี ก็หามีคนสนใจซื้อไม่ ก็ได้รับเงินลาภ หลังจากได้รับพระไปสามวันก็มีคนมาติดต่อขอซื้อบ้านพร้อมวางมัดจำสามล้านบาท  และจ่ายชำระครบสิบล้านภายในเวลาเพียงเดือนเดียวเท่านั้น  ซึ่งอาจารย์แม่ที่ผมนับถือได้มีศรัทธาเป็นอย่างมากได้เหน็บพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่ผมให้ติดตัวไว้ดังของวิเศษอันมีค่านับประมาณไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีปรากฎการณ์ส่วนตัวของข้าพเจ้าอีกสำหรับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  คือบารมีด้านโภคทรัพย์ของหลวงพ่อเงิน ซึ่้งพบว่าพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน พุทธโชติไม่ได้เป็นผลดีเพียงแต่บุคคลที่ครอบครองเท่านั้น  แต่คนรู้จัก คนใกล้ชิด ครอบครัวและบริวารของบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือได้ครอบครองพระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานก็สามารถได้รับผลแห่งโภคทรัพย์นี้ร่ำรวยมีเงินทองพร้อมกันไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ  โดยข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าบรรดา ตัวข้าพเจ้า คนในครอบครัวและครูที่เป็นลูกน้องในโรงเรียนก็มีเงินมีทองใช้ร่ำรวยจากการทำงานจนถ้วนทั่ว ต่างกับอดีตเป็นหน้ามือกับหลังมือ  นั่นเป็นบารมีอย่างหนึ่งสำหรับพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ แห่งวัดบางคลานที่ได้แผ่บารมีคลุมไปทั่วทุกบุคคลทุกสถานที่โดยแท้ 

           การศึกษาของข้าพเจ้าในระยะแรก  ได้แรงบันดาลใจจากการเก็บสะสมเต่าหลวงพ่อเงิน ไว้หนึ่งองค์  ซึ่งมีเนื้อหาจัดมากและจากการยืนยันของเซียนสายตรงกล่าวว่าแท้ทั้งสิ้น  ก็เลยเกิดความสนใจและนำเนื้อพระทองเหลืองเก่าของเต่าหลวงพ่อเงินนำมาศึกษาเทียบเคียง ต่อมาได้เหรียญจอบใหญ่หลวงพ่อเงินทั้งเนื้อหาและกระแสโลหะเช่นเดียวกับเต่าของหลวงพ่อเงิืนที่สะสมไว้อยู่ทุกประการอีกองค์หนึ่ง  ทำให้มีกำลังใจมากขึ้นในการสะสม  

          ซึ่งก่อนข้าพเจ้าสะสมได้พยายามหาความรู้จากหนังสือพระเครื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระเครื่องหลวงพ่อเงินและสืบค้้นจากอินเตอร์เน็ตเพื่อศึกษาพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ ของหลวงพ่อเงิน ซึ่งมีทั้งที่เป็นหลวงพ่อเงินสร้างและรุ่นลูกศิษย์สร้าง ทั้งยังได้พยายามศึกษาเทียบเคียงกับพระเครื่องเนื้อทองเหลืองในยุคต่าง ๆ เช่น ชินราชอินโดจีน พระวัดระฆังหลังค้อน  เป็นต้น  

            จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากเวปไซต์ฺต่าง ๆ ที่น่าสนใจทำให้ประมวลความรู้ได้ว่า  พระเครื่องที่สร้างทันยุคการปลุกเสกโดยตรงจากหลวงพ่อเงิน พุทธโชตินั้น ซึ่งการแบ่งยุคจะยึดหลักแนวทางแห่งสายกลางแนวทางการเล่นหาพระเครื่องหลวงพ่อเงินจากนักนิยมพระสายตรงในพื้นที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ที่เน้นการพิจารณาจากกระแสโลหะที่ทันยุคและสภาพธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยไม่ได้ยึดทางสายแข็งที่เน้น 4 พิมพ์นิยมในวงการพระเครื่องปัจจุบัน  สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุคสำคัญ ต่อไปนี้

            ยุคที่ 1  เป็นพระเนื้อดินที่สร้างโดยการปั้นดินด้วยมือของหลวงพ่อปั้นเป็นพระเครื่องขนาดเล็กหรือลูกอมแจกให้กับเด็กและศิษย์จำนวนเล็กน้อย แขวนคอกันสุนัขหรือสัตว์อันตราย จำนวนไม่แพร่หลาย และไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่อาจจำแนกแยกแยะพิมพ์ทรงได้เพราะปั้นพระด้วยมือองค์ต่อองค์ เช่นเดียวกับหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ที่สร้างพระเครื่องด้วยมือปั้นองค์ต่อองค์  ต้องสืบความได้จากผู้ได้รับจากมือหลวงพ่อจริง ๆ จึงจะเป็นการยืนยันได้ นอกจากนี้ท่านยังได้เมตตาสร้างตะกรุด ผ้ายันต์แจกให้กับลูกศิษย์ใกล้ชิด ซึ่งพบอภินิหารมากมายจนเป็นที่เลื่องลือ

           ยุคที่ 2  รูปหล่อโบราณพิมพ์ขี้ตา   สร้างโดยช่างชาวบ้านในวัดบางคลาน  

            ยุคที่ 3   รูปหล่อพิมพ์นิยม   สร้างโดยช่างบ้านช่างหล่อ กรุงเทพมหานครโดยมาทำพิธีการหล่อที่วัดชนะสงคราม   เหรียญจอบเล็ก สร้างโดยยายวัน ช่างสตรีบ้านช่างหล่อ  เหรียญจอบใหญ่ เป็นพระโรงงาน ที่โรงงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อเงิน สร้างมาให้วัดเพื่อให้วัดออกเช่าบูชาชดเชยการขาดทุนจากการ จ้างหล่อรูปเหมือน ( บางคนเรียกว่ารุ่นล้างหนี้ ) นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระหลวงพ่อเงินโดยฝีมือช่างวังหลวง มีการสร้างพระรูปหล่อพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา เหรียญหล่อจอบเล็ก จอบใหญ่ และพิมพ์แปลก ๆ อีกมากมาย เป็นพิมพ์ที่สวยงาม  จากการบันทึกเป็นหนังสือหลวงพ่อเงินขนาดใหญ่ที่หายากยิ่งยวด มีเนื้อหาที่แตกต่างจากหนังสือเกี่ยวกับหลวงพ่อเงินทั่วไป ใครไม่ได้อ่านไม่อาจขึ้นถึงที่สุดแห่งการศึกษาหลวงพ่อเงิน 

                   ยุคที่ 4   พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดในวัดบางคลานและนำให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก  ได้แก่ รูปหล่อพิมพ์โบราณหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยโดยอาจารย์แจ๊ะ วัดบางคลาน ศิษย์ใกล้ชิด ซึ่งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางคลานต่อจากหลวงพ่อเงิน ได้แก่รูปหล่อพิมพ์โบราณ วัดท่ามะไฟ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และรูปหล่อพิมพ์หน้านกฮูกใหญ่ ซึ่งพระรูปหล่อพิมพ์นี้ในวงการเล่นหาว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 2472 ภายหลังการมรณะของหลวงพ่อเงิน แต่ทว่าเซียนสายตรงในวงการพระเครื่องสายหลวงพ่อเงินเขตจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก ต่างพากันยอมรับว่า พระพิมพ์นี้ทันยุคหลวงพ่อเงินแน่นอน และเล่นหากันอย่างเงียบ ๆ กันมานานแล้ว ถ้าสังเกตดูพิมพ์ทรงของพระทั้งสองวัดนี้พบว่า เชิงช่างของรูปหล่อโบราณ วัดท่ามะไฟคล้ายกับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์หน้านกฮูกใหญ่มาก นอกจากนี้มีการตะไบด้านข้างของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินหน้านกฮุกใหญ่คล้ายกับรอยแทงตะไบของห้วยเขนมาก รวมทั้งการฝนก้นพระจนราบเรียบ เช่นเดียวกับวัดห้วยเขนเช่นกัน ทั้งเนื้อหาก็จัดจ้านสูสีกันดูแล้วถึงยุคหลวงพ่อเงินอย่างเถียงไม่ออก เชื่อว่าสร้างระยะเวลาใกล้เคียงกับวัดห้วยเขน  ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ของอาจารย์แจ๊ะ ที่เชื่อว่าสร้างทันยุคหลวงพ่อ ได้แก่พิมพ์ใหญ่หน้ากบ  อีกพิมพ์หนึ่งที่หายากมากคือพิมพ์เล็กหน้านกฮูกคอเอียง นอกจากนี้ยังค้นคว้าพบว่ามีพิมพ์จอบใหญ่ ของท่านที่มีเนื้อหาจัดจ้านมากน่าจะทันยุคหลวงพ่อเงิน ส่วนพิมพ์อื่น ๆของหลวงพ่อซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์นอกจากนี้น่าะสร้างในยุคหลังหลวงพ่อเงิน เนื่องจากมีความแตกต่างทั้งทางด้านพิมพ์ทรงและเนื้อหา   จากคำยืนยันของลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ทันยุครับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยอาจารย์แจ๊ะ  มีหลักฐานว่าลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดอาจารย์แจ๊ะหรือผู้ที่มuอุปการะคุณกับวัดบางคลานยุคที่อาจารย์แจ๊ะเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น  จะได้รับพระชุดนี้ไว้คนละมาก ๆ บางคนมีเป็นร้อย ๆ องค์ก็มี  ข้าพเจ้าได้พบผู้ที่มีพระชุดนี้หลายร้อยองค์จากงานประกวดพระเครื่องเมื่อสิบปีก่อน และล่าสุดปี 2557 ข้าพเจ้าพบผู้ที่มีพระชุดนี้มีมากมายกว่าร้อยองค์  ดังนั้นกล่าวกันว่าถ้าใครมีพระชุดนี้มากก็จะมีมากมายเป็นสิบเป็นร้อยองค์ขึ้นไป นับว่าเป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุดสำหรับพระชุดนี้

            ยุคที่ 5   พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดต่างวัด  โดยสร้างในวาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออาศัยบารมีอันไพศาลของหลวงพ่อเงินนำไปให้เช่าบูชาเพื่อเป็นการบำรุงพระศาสนาในวัดต่าง ๆ เหล่านั้น  ซึ่งมีการปลุกเสกทันยุคของหลวงพ่อทุกวัด  จากข้อมูลสายลึกในการสร้วงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  พบว่ามีการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ในวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

5.1 วัดท้ายน้ำ   ซึ่งเป็นวัดที่หลวงพ่อเงินไปๆมาๆและมีพระรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงินสร้างขณะท่านมีชีวิตและที่วัดนี้  ซึ่งวัดท้ายน้ำนี้มีการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงินกันอยู่หลายอาจารย์ด้วยกัน

สำหรับพระเครื่้องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดย พระครู วัตฎสัมบัญ ( ฟุ้ง ) ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเงินก็ได้จัดสร้าง พระเครื่องรูปหล่อ ทั้ง ชนิด ได้แก่ พิมพ์นิยม ขี้ตา จอบเล็กและจอบใหญ่เช่นเดียวกับวัดวังตะโก สำหรับพิมพ์ขี้ตา หลวงพ่อฟุ้งได้ถอดพิมพ์จากพิมพ์ขี้ตาของวัดบางคลานซึ่งพิมพ์นี้มีตำหนิที่บริเวณสังฆาฎิ 

 

 

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา วัดบางคลาน

พิมพ์ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ

ถ่ายจากศาลาที่ประดิษฐานรูปหล่อ

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร

 

 

เนื้อหาพระจัดจ้านสุด ๆ ออกสัมฤทธิ์แดง บางองค์ออกสัมฤทธิ์เหลืองแห้งจัดมากพระพิมพ์นี้เนื้อหาสวยงามมาก พระที่พบจะมีค่อนข้างน้อยมาก พระพิมพ์นี้ได้รับการยอมรับในบรรดาเซียนสายตรงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  สังเกตได้จากมีรูปภาพปรากฎโชว์ไว้อย่างสง่างามภายในศาลาที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลานในปัจจุบัน ราคาเล่นหาในท้องถิ่นอยู่ที่หลักแสนต้น ๆ หลวงพ่อฟุ้งได้จำลองพระพิมพ์ขี้ตาพิมพ์นี้ออกมา แล้วให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก ซึ่งต่อมาหลวงพ่อฟุ้งได้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและเจ้าคณะอำเภอโพทะเล สำหรับพระพิมพ์ขี้ตาของหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำ ปัจจุบันมีราคาเ่ล่นหาค่อนข้างสูงอยู่ในหลักหมื่นต้น ๆ ในหมู่ผู้รู้ในท้องที่และเซียนพื้นที่นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ที่รู้ลึกในพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  แต่ในแหล่งพระส่วนกลางยังขาดความรู้ ทำให้เซียนท้องถิ่น แอบมากวาดย่องกินตับ ทำกำไรกันมาก เซียนกรุงเทพบางคนได้รับคำสั่งซื้อเหมาหาส่งไปที่พิจิตรกันอย่างไม่อั้น ทีละเป็นร้อย ๆ องค์  ซึ่งในอนาคตราคาเช่าหาของพระพิมพ์ขี้ตา ที่อาจารย์ฟุ้ง วัดท้ายน้ำสร้างนี้  คาดว่าจะเล่นหาเข้าสู่หลักแสนต้นในอนาคตที่ไม่ไกล ถ้าข้อมูลที่ปิดลับนี้เผยแพร่ออกไปกว้างขวางขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา ที่จัดสร้างโดย

อาจารย์ฟุ้ง  วัดท้ายน้ำ

ซึ่งพระองค์นี้เป็นองค์พระต้นแบบที่อาจารย์นง วัดทุ่งน้อย

ใช้ถอดพิมพ์สร้างพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา วัดทุ่งน้อย ยุคแรก

ที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน  

เป็นที่โชคดีมากที่อาจารย์นงและลูกศิษย์ได้เปิดเผยองค์ต้นตำรับที่ใช้ถอดพิมพ์ในการสร้างพระหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อย ยุคต้นองค์นี้ออกมา ทำให้เกิดความกระจ่างให้กับผู้นิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ในการเช่าหาพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา ที่อาจารย์ฟุ้ง วัดท้ายน้ำได้สร้างไว้ และทันยุคหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานปลุกเสก ที่เคยถูกลืม เป็นการฟื้นฟูเกียรติคุณของท่านขึ้นมาให้สนั่นวงการพระเครื่องเสียที หลังจากถูกชี้ชัดว่าเป็นพระที่สร้างโดยอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยอยู่นานหลายสิบปี

 

เป็นที่น่าเป็นห่วงว่ามีการเผยแพร่โดยขาดความรู้แท้จริงของลูกศิษย์ของท่านได้อ้างว่าพระหลวงพ่อเงิน  พิมพ์ขี้ตา วัดบางคลาน พิมพ์ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ที่เป็นองค์พระที่เป็นรูปที่แขวนโชว์ไ้ว้ณ ศาลาที่ประดิษฐานรูปหล่อ ที่สร้างทันยุคหลวงพ่อเงิน โดยได้โพสต์ออกไปว่าเป็นพระที่อาจารย์นง วัดทุ่งน้อยได้สร้างไว้ ทั้งที่มีเนื้อหาและพิมพ์ทรงที่แตกต่างกว่าองค์ต้นแบบของอาจารย์นงที่สร้างโดยอาจารย์ฟุ้งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะรูปหน้า ดวงตา และสังฆาฎิทางด้านซ้ายขององค์พระ ถ้าเป็นของยุคหลวงพ่อเงิน สังฆาฎิทั้งสองเส้นจะไม่รวมกัน แต่ถ้าเป็นของอาจารย์ฟุ้งจะรวมกัน ตลอดจนมีปีกจมูกที่แบนกว้างกว่า  ถ้าเป็นของอาจารย์วัดทุ่งน้อย จมูกจะกลมตุ้มเล็กไม่แบนกว้าง(ดูภาพรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่สร้างโดยอาจารย์นง ด้านล่าง) ทำให้สร้างความสับสนและความหลงผิดกับวงการพระเครื่องมากยิ่งขึ้น ความสับสนดังกล่าวที่สร้างขึ้น ทำให้สงสารผู้หลงเชื่อที่ครอบครองพระรูปหล่อที่ทันยุคหลวงพ่อเงินจะโดนกินตับหมดครั

 

 

 

 

 

 

 

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา ที่จัดสร้างโดย

อาจารย์นงค์  วัดทุ่งน้อย ยุคต้น สร้าง พ.ศ. 2537 แก่มวลสารเก่า

ซึ่งพระองค์ถอดพิมพ์สร้างจาก

พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา วัดท้ายน้ำ ที่สร้างโดยอาจารย์ฟุ้ง

พระถูกแต่งพิมพ์ให้คมลึกล่ำสันกว่าองค์ต้นแบบ สวยทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อพระ พระชุดนี้มีนักนิยมพระหลวงพ่อเงินบางคนพบองค์พระที่เนื้อจัด ๆ ตีขลุมเปิดราคาหลักแสนเป็นพระที่ทันยุคหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานสร้างก็มีมากมาย อนาคตพระชุดนี้จะมีราคาทะลุหลักหมื่นแน่นอน เพราะจากที่เคยมีอยู่หนาตาตามสนามพระเครื่อง เมื่อสี่ห้าปีก่อน ข้าพเจ้าได้เช่าหาและเก็บสะสมไว้หลายร้อยองค์ ปัจจุบันหายากและถูกตีราคาอยู่ในหลักพันต้น ๆ บางองค์ถูกตีเป็นหลักหมื่นหรือถึงหลักแสนก็เคยพบในสนามพระเครื่องมาแล้ว เนื่องจากฟอร์มพระที่ดีเยี่ยมและเนื้อหาที่จัดจ้านมากนั่นเอง  

 

นอกจากนี้พระเครื่องพิมพ์ขี้ตาพิมพ์มีตำหนิที่สังฆาฎินี้ ต่อมาพระอาจารย์นงค์ วัดทุ่งน้อย ได้นำไปถอดพิมพ์และสร้างเป็นรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อย หลายต่อหลายรุ่น ซึ่งก็มีตำหนิพิเศษที่สังฆาฎิเช่นเดียวกัน ซึ่งการถอดพิมพ์ขี้ตาพิมพ์นี้ของพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย ดูจะถอดพิมพ์ได้สวยงามใกล้เคียงกว่าของหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำซึ่งได้จัดสร้างไว้ก่อนหน้า  แต่พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยได้จัดทำ จะเป็นการจัดพระในยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ต้น ๆ ถึง 2520 กว่า ๆ  ซึ่งไม่ทันการปลุกเสกจากหลวงพ่อเงิน แต่เนื้อหามวลสารของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา ที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้างไว้ในยุคต้น ๆ  มีเนื้อหาจัดจ้านเช่นเดียวกัน เพราะได้นำโลหะสัมฤทธิ์เก่าผสมลงไปจำนวนมาก อาจทำให้บางคนที่ได้ส่องพระของท่านอาจารย์นง ก็อาจเคลิบเคลิ้มว่าทันยุคหลวงพ่อ  สำหรับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้างนี้ ราคาเช่าหาอยู่ในหลักพันต้น ๆ สำหรับพระยุคต้นที่มีเนื้อหาจัดจ้าน หรือพระที่มีผิวพรายเงิน หรืิอผิวพรายทองคลุมอยู่ จะมีราคาเช่าหาอยู่ที่หลักพันต้น ๆ  สำหรับพระยุคปลาย ๆ ที่เนื้อหาแก่ทองเหลือง และพิมพ์พระดูจะตื้นเขินกว่าราคาจะอยู่ที่หลักร้อยปลาย ๆ เท่านั้น  

ถ้าเทียบกันด้านเนื้อหา สำหรับพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่หลวงพ่อฟุ้งสร้างกับพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ที่พระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้าง   พบว่าเนื้อหาพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่หลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำสร้างจะมีเนื้อหาจัดจ้านกว่ามากอย่างเห็นได้ชัด ถ้าได้ส่อง ดูแล้วจะเคลิบเคลิ้มกับความจัดของกระแสโลหะ ซึ่งทันยุคหลวงพ่อเงิน สำหรับรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่สร้างโดยพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย ยุค 2500 ต้น ๆ  เนื้อหาก็อยู่ในเกณฑ์จัดจ้านเช่นเดียวกัน เพราะพระอาจารย์นงได้ผสม ขันทองเหลือง ขันสัมฤทธิ์ เครื่องลงหินต่าง ๆ ฯ ผสมลงไปจำนวนมากในพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ของวัดทุ่งน้อย   ซึ่งจะมีราคาค่านิยมสูงกว่าพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาหลวงพ่อเงินที่อาจารย์นง วัดทุ่งน้อยสร้างไว้ยุคหลัง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาแก่ทองเหลืองไม่จัดจ้านเท่ากับพระยุคต้น  

สำหรับการแยกแยะให้เด็ดขาดระหว่างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตาที่มีตำหนิที่สังฆาฎิของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  พระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่มีสังฆาฎิที่ถอดพิมพ์ออกมาของหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำ และพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาที่มีสังฆาฎิที่ถอดพิมพ์ออกมาของพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย  พบว่ามีปัญหาในการแยกแยะค่อนข้างมาก ซึ่งการพิจารณาแยกแยะต้องอาศัยความรู้ด้านพิมพ์ทรงและเนื้อหาพระเป็นสำคัญ เพราะท่านอาจตกควายได้ทำให้มีการเล่นหาสับสนว่าจะเป็นพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาของหลวงพ่อเงิน หรือหลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำหรือของพระอาจารย์นง วัดทุ่งน้อย ซึ่งราคาแตกต่างกันอย่างฟ้ากับเหว เซียนพิจิตรที่รู้ลึกไวสามารถแยกออกจากกันระหว่างสามวัดนี้ได้อย่างชำนาญ ก็ค่อย ๆ เก็บกินตับเช่าหาพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตาที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ของวัดบางคลาน หรือ พระพิมพ์ขี้ตา หลวงพ่อฟุ้ง วัดท้ายน้ำ โดยบอกผู้ให้เช่าหาที่ไม่รู้ว่าเป็นของวัดทุ่งน้อย ราคาขนมหลักร้อย โดยมีออเดอร์ไล่สั่งให้ช้อนซื้อกันคนละเป็นร้อย ๆ องค์ จนพระหลวงพ่อฟุ้งแต่เดิมมีเต็มหรือแม้แต่พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานที่อาจปะปนอยู่ กำลังก็พลอยหมดไปด้วยเพราะไม่มีใครรู้  ปัจจุบัน พ.ศ. 2555 พระเริ่มร่อยหรอหายไปจากสนามแทบหมดแล้ว ทั้งยังทำให้พระรูปหล่อที่สร้างโดยอาจารย์นงค์ วัดทุ่งน้อย พลอยโดนเหมาหมดเกลี้ยงไปจากสนามด้วยและราคาค่างวดจากหลักร้อยต้น ๆ ก้าวสู่หลักพันต้น ๆ

สำหรับท่านที่เป็นนักนิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิน การเล่นหาพระทั้งสามยุคนี้คงต้องอาศัยประสบการณ์จากการที่ได้เห็นพระทั้งสามยุคนี้มาก ๆ รวมทั้งการหาความรู้รอบด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพิจารณา มิฉะนั้นท่านอาจตกควายได้ โดยปล่อยพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตา ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ในราคาวัดทุ่งน้อยหลักร้อย โดยที่พระองค์นั้นอาจเป็นพระพิมพ์ขี้ตาของหลวงพ่อฟุ้งซึ่งเช่าหาในพื้นที่ราคาเป็นหลักหมื่นต้น หรือเป็นพระพิมพ์ขี้ตา ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ที่มีราคาเป็นหลักแสนต้น

สำหรับพระเครื่้องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดย หลวงพ่อชุ่ม  ซึ่งหลวงพ่อชุ่มเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเงินก็ได้จัดสร้าง พระเครื่องรูปหล่อหลวงพ่อเงินโดยมีเอกลักษณ์สำคัญคือใต้ฐานจะตอกตัว ช  หรือหล่อเป็นตัว ช ไว้ที่ใต้ก้นพระรูปหล่อที่ท่านสร้างทุกองค์  เพื่อทำให้เป็นที่สังเกตให้แตกต่างจากพระเครื่องที่หลวงพ่อเงินทำ  ซึ่งพระเครื่องรุ่นนี้เป็นที่นิยมของวงการมาก แม้วงการจะรับทราบว่ามีการจัดสรัางภายหลังการมรณภาพของหลวงพ่อเงิน แต่ด้วยความงามของรูปลักษณ์ฺและเนื้อหาตลอดจนความระบือด้านประสบการณ์ ค่านิยมอยู่ในหลักหมื่นปลายถึงหลักแสนต้น นอกจากรุ่นนี้แล้ว เซียนท้องถิ่นบางท่านยังให้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่สร้างโดยหลวงพ่อชุ่มที่ทันยุคหลวงพ่อเงินก็มีอยู่เหมือนกันแต่ดูว่ามีเพียงรุ่นเดียวโดยเป็นพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่มีทรงดูชะลูดกว่ารุ่นที่ตอกตัว ช ก้นตัดช่อแบบพิมพ์นิยม เนื้อหามีพรายเงินจับระยับตา  เป็นพระทีหายากสุด ๆ แทบพลิกแผ่นดินจึงจะได้เห็นตัวจริงสักครั้ง ค่านิยมหลักแสนต้น ๆ ครับ 

 

 

**************************

 

หมายเหตุ  ข่าวการวิจัยล่าสุด ธันวาคม 2557  เกี่ยวกับพระเครื่องรูปหล่อหลวงพ่อเงิน กรุวัดทุ่งน้อย เนื่องจากความสับสนเกี่ยวกับรูปแบบพิมพ์ของหลวงพ่อเงินที่สร้างโดยอาจารย์นงค์ วัดทุ่งน้อย  ทำให้ข้าพเจ้าได้นำพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อยที่มีสะสมอยู่จำนวนมากมาแยกพิมพ์ดูเพื่อหาความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนแม่พิมพ์ เนื่องจากมีลูกศิษย์คนหนึ่งสนใจอยากจะเรียนรู้ในหลักสูตรเนื้อหามวลสารของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  จึงได้กระทำการวิจัยดู   ข้าพเจ้าได้แยกออกได้หลายแม่พิมพ์จนกระทั่งข้าพเจ้าพบข้อสงสัยบางอย่างเกี่ยวกับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อยสองพิมพ์  พิมพ์หนึ่งมีความสวยคมงดงามมากเป็นพิเศษเหนือกว่าองค์ต้นแบบของอาจารย์นง อย่างน่าสงสัย เพราะถ้าถอดแบบออกมาทำไมจึงสวยกว่าองค์ต้นแบบ ทั้งมีเนื้อหาจัดจ้านแก่ทองเหมือนวัดห้วยเขน  จากการดูอย่างละเอียดพบว่ามีอยู่สองสามองค์พบรักที่รอดจากการล้างชิ้นเล็ก ๆ ติดอยู่สองสามชิ้น เป็นรักที่มีความเก่าแก่มาก ถ้ารักดังกล่าวอยู่ในองค์พระสมเด็จ รักนี้ต้องมีอายุอยู่ในระหว่าง80-100 ปี เป็นแน่  อีกพิมพ์หนึ่งด้อยความงามกว่าแต่พบว่ามีรักฉาบอยู่ทั่วองค์ พบว่าทุกองค์มีลักษณะการถูกเช็ดล้างอย่างผิดวิธี และที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่านั้นยังพบว่าผิวพระแทบทุกองค์มีลักษณะเป็นคราบกรุติดอยู่ด้วย  

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า

ข้อที่ 1 พระสองพิมพ์นี้ ถ้าเป็นพระใหม่สร้างปี พ.ศ. 2539 ทำไมต้องมีการลงรัก แถมรักก็เก่าย้อนยุคร่วมร้อยปี    แถมมีการพบว่าพิมพ์หนึ่งมีลักษณะการล้างรักด้วยน้ำยาเคมี และอีกพิมพ์หนึ่งล้างรักด้วยการเช็ดแบบหยาบ ๆ ข้อที่ 2  ทำไมจึงมีคราบกรุสีขาวจับหนาที่องค์พระ พระที่สร้างใหม่ไม่มีคราบกรุแน่

จากการสอบถามความสงสัยกับเซียนหลวงพ่อเงินคนหนึ่งที่เคยรู้จักใกล้ชิดกับเอนไซโคปิเดียหลวงพ่อเงิน เซียนเล็ก ทับคล้อ เซียนใหญ่พิจิตร ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  เขาได้ยินได้ฟังจากปาก เล็ก ทับคล้อ ที่เคยบอกให้เขาฟังว่าพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อย มีบางพิมพ์ที่ทันหลวงพ่อเงิน แน่นอน  ทำให้ยิ่งสงสัยขึ้นไปอีก  แสดงว่าต้องวัดทุ่งน้อย จะต้องมีการสร้างพระขึ้นมาในยุคหลวงพ่อเงินโดยตรงเป็นแน่ และอาจมีการบรรจุกรุไว้ที่วัดทุ่งน้อย

ได้สืบหาความรู้จากหนังสือพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  พบว่ามีเล่มหนึ่งบอกว่าที่วัดทุ่งน้อยมีการแตกกรุพระเครื่องหลวงพ่อเงินออกมา  ปี พ.ศ. ที่ได้ข้อมูลมาจากเซียนท่านหนึ่งว่าวัดทุ่งน้อยมีการแตกกรุ พ.ศ. 2505  แต่ปัญหาพบว่าถ้ามีการแตกกรุแล้วพระหายไปไหนหมด และไม่รู้ว่าพิมพ์อะไรที่แตกกรุออกมา ที่ต้องทันหลวงพ่อเงินแน่นอน จากการพบคราบกรุและรักเก่าแก่นับร้อยปีที่องค์พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์สังฆาฎิแตก ที่คิดว่าสร้างในสมัยอาจารย์นง  ทำให้คาดเดาได้ว่าสองพิมพ์นี้อาจเป็นพระพิมพ์ที่แตกกรุออกมาใน พ.ศ. 2505 นั่นเอง  เพราะมีลักษณะพิเศษแสดงออกมาให้เห็นถึงสภาพธรรมชาติที่เก่าแก่ดังกล่าว

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ข้อสงสัยเกี่ยวกับพระหลวงพ่อเงินพิมพ์สังฆาฎิแตก ทั้งสามวัดเกิดความกระจ่างขึ้นมา คือ  วัดบางคลาน มีการสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์สังฆาฎิแตกเป็นพิมพ์ปฐม มีเอกลักษณะเฉพาะตัว   วัดท้ายน้ำหลวงพ่อฟุ้ง  ได้มีการถอดแม่พิมพ์ออกมา  แต่ไม่ได้ถอดแม่พิมพ์องค์ของวัดบางคลาน แต่ไปถอดพิมพ์จากองค์ของวัดทุ่งน้อยยุคเก่าที่สร้างบรรจุกรุในยุคหลวงพ่อเงิน ซึ่งมีสองพิมพ์ แต่พิมพ์ที่ถอดเป็นพิมพ์องค์สวยหนึ่งในสองพิมพ์  วัดทุ่งน้อย ได้นำพระของหลวงพ่อฟุ้งที่ถอดพิมพ์จากรูปหล่อของวัดทุ่งน้อยยุคเก่า  มาสร้างเป็นพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดทุ่งน้อยปี พ.ศ. 2539 จากข้อมูลดังกล่าวจึงทำให้พระวัดทุ่งน้อยยุคเก่าที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์วัดทุ่งน้อยเมื่อ พ.ศ. 2505  เป็นพระที่ทันยุคหลวงพ่อเงินและมีการสร้างที่เป็นเอกลักษณ์  ค่านิยมจากหลักร้อยต้น จะต้องขยับค่านิยมเป็นหลักหมื่นต้นถึงหมื่นกลาง  พระรุ่นนี้ข้าพเจ้าอยากเรียกว่าเป็น รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อย กรุเจดีย์เก่า  ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีสำหรับทุกคนที่มีพระหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อยรุ่นนี้ซึ่งทันยุคหลวงพ่อเงินไว้ในครอบครองครับ เพราะในอนาคตมีค่านิยมถึงหลักแสนหลักล้านแน่นอน  ซึ่งข้าพเจ้าถ้ามีเวลาจะต้องเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์สังฆาฎิแตกทั้งสามวัดพร้อมรายละเอียดภาพพระทั้งสองพิมพ์นี้อีกครั้งหนึ่ง ในเรื่องรู้ลึกวัดทุ่งน้อย โปรดติดตามในเวปariyasound ครับ

 

**********************************************

 

สำหรับผู้นิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ที่สนใจชมภาพถ่ายพระเครื่องหลวงพ่อเงินทุกภาพ ที่ได้รับการยอมรับจากวัดบางคลาน ลูกศิษย์หลวงพ่อและเซียนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก  ในศาลาประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน  สามารถชมได้ที่ นิทรรศการภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงิน    ซึ่งข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระเครื่องหลวงพ่อเงินครับ

  

 

5.2 วัดหลวง หลวงพ่อหอม ได้สร้างพระ "เนื้อดิน " ล้วนๆ พิมพ์ พิมพ์ นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์สังกัจจายน์ นอกจากนี้บางท่านยังกล่าวว่านอกจากเนื้อดินแล้ว ได้มีการสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงินไว้ด้วย โดยมีรูปร่างหน้าตาเป็นเอกลักษณ์เหมือนกับหลวงพ่อเงินมาก  ไม่เหมือนกับวัดอื่น ๆ ที่สร้างออกมามีหน้าตารูปหล่อคล้ายกับพระสังขจายน์มากกว่า  แต่พระหายากมากครับ จนเรียกว่าเป็นตำนานไปแล้ว  

 

ขอนำบทความจากร้านหมอบิน เชียงใหม่ เวปไซต์ของท่าพระจันทร์เขียนไว้ในการอธิบายการสร้างพระเครื่องเนื้อดินของหลวงพ่อหอม วัดหลวงได้อย่างน่าสนใจ เพื่อรวบรวมเอาไว้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระเครื่องของหลวงพ่อเงินดังนี้ครับ

***ประวัติการสร้างพระเนื้อดินผสมผง ของหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ

ประวัติการสร้างพระเนื้อดินผสมผง ของหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ การสร้างพระเนื้อดินผสมผง ของหลวงพ่อเงินนั้น ท่านได้รวบรวมผงที่ทำขึ้นมาเช่น ผงพุทธคุณ ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห ผงปัถมัง ผงใบลานจารึกหัวใจ พระพุทธมนต์ เมื่อหลวงพ่อท่านได้รวบรวมผง ได้ตามที่ท่านต้องการแล้ว ท่านก็ได้มอบผงนี้ให้กับหลวงพ่อหอม เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง (ท่านเป็นคู่สวด ถ้าหลวงพ่อเงินไปบวชนาคที่ไหนหลวงพ่อหอมจะต้องติดตามไปด้วย) หลวงพ่อเงินท่านพูดขึ้นว่า ท่านหอมท่านไม่ค่อยมีญาติโยมมาหาอยู่ว่างๆ ช่วยนำผงนี้ไปทำพระให้ทีเพราะผมไม่ค่อยมีเวลา หลวงพ่อหอมท่านก็ได้พายเรือจากวัดหลวง มาบรรทุกผงต่างๆ ไปวัดหลวง การสร้างพระเนื้อดินผสมผงนั้นมีพิมพ์คราวๆ อยู่ พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ประมาณ 10 ปีบ สมเด็จประมาณ 5 ปีบ พระพิมพ์อื่น เช่น พิมพ์หลวงพ่อเงินถือตาลปัด พิมพ์สังกัจจายน์ พิมพ์พระปิดตาจิ๋ว พิมพ์ปรกโพธิ์จิ๋ว เป็นต้น ประมาณ 3ปีบ ซุ้มกอประมาณ 100-200 องค์ ทุ่งเศรษฐีประมาณ 100-200 องค์ ป้อมเพชรประมาณ 300 – 400 องค์ ขุนแผนประมาณ 100-200 องค์ และอื่นๆ เมื่อหลวงพ่อหอมท่านทำเสร็จแล้วก็นำลงเรือมาถวายแด่หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเงินท่านก็ได้ปลุกเสกอยู่นาน แล้วก็ได้มอบให้แด่หลวงพ่อหอมเพื่อที่จะได้นำไปบรรจุไว้ที่ตามเจดีย์ต่างๆ เช่นที่ วัดห้วยเขน วัดหลวง วัดคงคาราม วัดหนองดง วัดโพทะเล วัดบ้านตาล วัดช้าง และที่เหลือท่านก็ได้บรรจุไว้ที่ วัดหิรัญญาราม(วัดบางคลาน )ในวิหารและเจดีย์ และท่านก็ได้พูดขึ้นว่าถ้าหากมีการก่อสร้างขึ้นเมื่อใดก็ตามก็ให้ขุดขึ้นมาเพื่อจำหน่ายเพื่อหาเงินมาสร้างทางพระพุทธศาสนาได้ “ แต่ถ้าขุดขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่มีการก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ก็ขอให้มันฉิบหายตายโหง” เคยมีคนพยายามจะลักขุด แต่สุดท้ายจนแล้วจนรอดก็นำออกไปไม่ได้ ต้องเจอกับอาถรรพ์ต่างๆ จนต่อมาเมื่อหลังจากที่หลวงพ่อเงินท่าน มรณภาพไปร่วม 60 กว่าปี ในปีพ.ศ. 2514 -2515 พระครูพิบูลธรรมเวท (หลวงพ่อเปรื่อง) ท่านต้องการหาปัจจัยมาเพื่อจะทำการก่อสร้างศาลาการเปรียญ แทนหลังก่อนที่หลวงพ่อเงินท่านได้สร้างเอาไว้ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านได้ทำการขออนุญาติแด่ดวงวิญญานหลวงพ่อเงินเพื่อที่จะทำการเปิดกรุพระเจดีย์บริเวณพระอุโบสถหลังเดิมอย่างเป็นทางการ เมือเปิดกรุก็ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆหลายพิมพ์ด้วยกัน โดยให้ญาติโยมเช่าบูชาเพื่อที่จะหาทุนมาในการก่อสร้างพระอุโบสถให้สำเร็จไปได้ด้วยดี (ขอขอบพระคุณข้อมูลที่ดีจากหนังสือ ประวัติ อภินิหาร หลวงพ่อเงิน เรียบเรียงและเขียน โดยคุณ สมพร คัชมาตย์ และ คุณ วิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ และ หนังสือ อมตะพระเครื่องเมืองพิจิตร ครับ)

5.3 วัดขวาง สร้างเหนือโลหะ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์  พระหลวงพ่อเงินที่ขึ้นที่วัดขวาง ราวปี พ.ศ. 251 กว่า ๆ มีพระจำนวนหนึ่งได้มอบให้กับผู้สนใจไปบูชาในราคาหลักหมื่นกลาง โดยไม่ได้ตอกโค๊ด  พระชุดนี้หลวงพ่อเปรื่องได้นำมาแจกบูชาที่วัดท้ายน้ำ และได้ตอกโค๊ดนะ ไว้เป็นสำคัญ บางคนเข้าใจผิดว่าพระพิมพ์นี้ออกที่วัดท้ายน้ำ  จริง ๆ ออกที่วัดขวางนั่นเองครับ เพียงแต่ที่แจกที่วัดท้ายน้ำมีการแจกโค๊ดด้วยเท่านัี้้น  นอกจากนี้ยังได้สร้างเพิ่มเติมโดยถอดพิมพ์วัดขวางออกมาให้เช่าูบูชา แต่พิมพ์ทรงตื้นกว่ากันมาก ใครสนใจวัดนี้ระวังให้ดีนะครับจะเช่าพระผิดราคา เพราะถ้าเป็นยุคหลวงพ่อเปรื่องสร้างราคาอยู่ที่ร้อยกลางถึงพันต้น ๆ ครับ

5.4 
วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้าง เนื้อโลหะพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ และมีพระเนื้อดิน พิมพ์ นั่ง นอน ยืน 

สำหรับรูปหล่อหลวงพ่อเงินของวัดห้วยเขนที่ข้าพเจ้าไ้ด้สะสมไว้มากก่อนหน้าที่วงการจะนิยมร่วม 10 ปี ซึ่งสมัยก่อนราคาหลักร้อยปลายถึงพันต้นเท่านั้น โดยเซียนที่เสาะหาให้ต้องไปค้นหาถึงต้นกำเนิดที่เมืองพิจิตรเป็นส่วนใหญ่เพราะพระชุดดังกล่าวในกรุงเทพฯไม่ได้รับค่านิยมเท่ากับที่พิจิตร  เป็นที่แปลกว่าพิมพ์ทรงของรูปหล่อหลวงพ่อเงิน กรุวัดห้วยเขนมีมากมายกว่า 20 พิมพ์ ซึ่งได้จากการที่ข้าพเจ้าพยายามแบ่งแยกและหาเอกลักษณ์ของเชิงช่างจนค้นพบทีละพิมพ์  การสร้างของพระวัดห้วยเขนเข้าใจว่าเป็นช่วงท้ายชีวิตของหลวงพ่อเงิน ทำให้ต้องระดมช่างมาสร้างพร้อม ๆ กันหลายช่างหลายสิบกลุ่ึ่ม    เพื่อให้ได้วัตถุมงคลอย่างรวดเร็วเพื่อนำออกให้บูชาเพื่อนำไปสร้างวัดห้วยเขน ทำให้มีหลายๆ พิมพ์มาก เช่นเดียวกับชินราชอินโดจีน ที่มีพิมพ์ช่างไทยและพิมพ์ช่างจีน ซึ่งมีพิมพ์ทรงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด  สำหรับพิมพ์จอบของวัดห้วยเขน พบทั้งจอบเล็ก และจอบใหญ่ เนื้อหาจัดจ้านสูตรพระเครื่องเมืองพิจิตร เช่นเดียวกับรูปหล่อไม่ผิดกัน

นอกจากนี้ขอบอกความลับให้กับท่านนิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิืนทุกท่านทราบว่าพระสมเด็จองค์ขนาดเล็กจิ๋วเนื้อดินหยาบผสมกรวดสีขาวพิมพ์ทรงต่าง ๆ ของ หลวงพ่อเงินที่จัดสร้าง ณ วัดห้วยเขน นั้น  พระทุกองค์หลวงพ่อเงินใช้มือกวนดินผสมมวลสารในบาตรพระแล้วกดพิมพ์ด้วยตนเอง ถือว่าเป็นของดีสุดยอดรู้กันลึก ๆ ในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อเงิน และพากันเช่าหาเก็บไว้ไม่ปล่อยออก ทำให้พระจำนวนมากหมดลงจนหาของไม่ได้  พร้อมทั้งมีประสบการณ์มากมายกับพระชุดนี้ ทำให้ราคาถีบตัวไปสู่หลักหมื่นแล้ว ขอให้ช่วยกันแสวงหากันไว้ ณ บัดนี้ก่อนจะหาไม่ได้ และราคาพุ่งไปมากกว่านี้  


5.5 
วัดบางมูลนาก พระครูพิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) (หมายเหตุ ผู้ให้ข้อมูลแก่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) กับหลวงพ่อพิธ (ก่อนอยู่วัดฆะมัง ท่านจำพรรษาอีกหลายวัด) สร้างพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา จอบใหญ่ จอบเล็ก 

5.6 
วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างให้ เจ๊กชัย หล่อ  และยังมีพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา เนื้อดินด้วย 

5.7 วัดท่าฬ่่อ  มีข้อมูลสายลึก ๆ จากนักนิยมพระเครื่องสายตรง ได้พูดถึงการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของหลวงพ่อปู่ภู วัดท่าฬ่อ พิมพ์ยิ้มใหญ่ พิมพ์ตาโปนซึ่งมีหลายขนาด ที่เชื่อว่าสร้างทันวาระที่หลวงพ่อเงินปลุกเสก นอกจากนี้ยังรวมถึงเหรียญหล่อสี่เหลี่ยมรูปของหลวงพ่อเงินด้วย  แต่พระของท่านสร้างไว้น้อยมากจึงไม่ได้พบเห็นกันแพร่หลาย  แต่มีกระแสเนื้อโลหะจัดจ้านลึกซึ้งมากทันวาระแน่นอน เซียนรูปหล่อสายตรงหลวงพ่อเงิน ที่ได้ส่องแล้วก็จะประทับใจทุกคน พร้ิอมกับคำพูดที่ว่าทำไมไม่ใช่พิมพ์นิยมของหลวงพ่อเงิน  ถ้าพิมพ์ใช่ราคาก็คงต้องเป็นล้านแน่ ๆ 

 

 

5.8 วัดฆะมัง  มีข้อมูลสายลึก ๆ จากนักนิยมพระเครื่องสายตรง ได้พูดถึงการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยหลวงพ่อพิธ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่ง ที่เรียกว่าพิมพ์ใหญ่เศียรโต ลักษณะสวยงามมากทั้งเนื้อหาและรูปลักษณ์ตลอดจนเนื้อหาเก่าจัดและเข้มขลังสุด ๆ หาได้ยากมาก และคนรู้จักน้อยมาก  โด่งดังด้วยอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช จนทำให้หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ที่จัดสร้างพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก ได้ก๊อปปี้พิมพ์นี้มาสร้างเป็นพิมพ์หนึ่งของพระหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก วัดคงคารามซึ่งคนในพื้นที่แสวงหากันมากด้วยประสบการณ์ฺที่เป็นที่ประจักษ์ ทำให้พระส่วนมากตกอยู่ในนักนิยมพระในท้องถิ่นอย่างแหนหวงไม่แพร่กระจายมายังส่วนกลาง มูลค่าของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นี้อยู่ที่หลักหมื่นกลาง แต่ก็ยังหาพระไม่ได้ครับ   สำหรับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยหลวงพ่อพิธมีการสร้างต่อเนื่องกันมาหลายยุคทั้งที่ทันหลวงพ่อเงินและยุคหลังหลวงพ่อเงินต้องอาศัยประสบการณ์จากการแยกแยะเอกลักษณ์ของพิมพ์ทรงและเนื้อหามวลสารเป็นสำคัญ

5.8 วัดใหม่คำวัน  มีการขุดพบพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินที่แตกกรุที่วัดใหม่คำวันส่วนใหญ่เป็นพิมพ์ขี้ตา ขนาดเล็กกว่าพิมพ์ขี้ตานิยมเล็กน้อย เส้นสายพิมพ์ทรงใกล้เคียงกันมากจนดูเหมือนกับสร้างโดยช่างคนเดียวกันกับช่างที่สร้างพระพิมพ์ขี้ตา เมื่อแตกกรุใหม่ ๆ ราคาที่วัดเปิดให้เช่าบูชาในราคาหลักหมื่นกลาง ๆ เซียนพระเมืองกรุงและเซียนพระท้องถิ่นตลอดจนนักนิยมพระเครื่องที่ศรัทธาหลวงพ่อเงินได้แห่กันไปเช่าหาจนในที่สุดพระได้ถูกจำหน่ายหมดไปจากวัด   เมื่อพระหมดจากวัดแล้วเซียนพระสมองใสก็ลบคำว่าวัดใหม่คำวันออก แล้วนำไปปล่อยให้เช่าบูชาต่อในราคาหลักแสนกลางในฐานะของหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา ของวัดบางคลาน  อย่างเนียน ๆ ต้องดูให้ขาดนะครับว่าเป็นพระพิมพ์ขี้ตาของวัดไหน เพราะถ้าส่องดูแต่เนื้อแยกไม่ออกเลยครับเพราะเก่าทันยุคเช่นเดียวกันต้องสังเกตพิมพ์ทรงให้ดีครับ มูลค่าของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นี้อยู่ที่หลักหมื่นกลางครับ


 

  ************************************************************************

                 ยุคที่ 6  พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงพ่อ แต่ได้มีการจัดสร้างภายหลังจากที่หลวงพ่อมรณภาพ พ.ศ. 2462 จนถึงปี พ.ศ. 2500 ได้แก่  พระเครื่องพิมพ์อื่น ๆ ของอาจารย์แจ๊ะ วัดบางคลาน ที่มีพิมพ์ทรงไม่ค่อยสวยงาม มีรูปทรงไม่่ค่อยได้สัดส่วนสวยงาม อาจมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติก็มี  (ยกเว้นหลวงพ่อแจ๊ะพิมพ์นิยม ได้พิมพ์นกฮูกใหญ่พิมพ์นกฮูกคอเอียง และพิมพ์กบ ที่ทันยุคหลวงพ่อ) หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง(ยกเว้นพิมพ์ใหญ่เศียรโต ที่ได้เป็นต้นแบบของพระรุ่นปืนแตกพิมพ์เศียรโต แต่เนื้อหาอ่อนกว่ากันมาก)หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่่อ (ยกเว้นพิมพ์ตาโปน พิมพ์ยิ้มใหญ่ ที่มีหลายขนาด ซึ่งทันยุคหลวงพ่อ) หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง วัดคลองหมาเน่า ที่สร้างล้อพิมพ์วัดท่ามะไฟ เป็นต้น  

            ยุคที่ 7   พระเครื่องหลวงพ่อเงินที่สร้างในวัดบางคลาน โดยศิษย์ฆราวาศภายในวัด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนต่างถิ่นที่มาถึงพิจิตรก็ต้องการแต่พระรูปหล่อและเหรียญจอบของหลวงพ่อเงิน  โดยได้หล่อจำลองขึ้นภายในวัดแล้วให้เช่าบูชาแจกจ่ายแก่ผู้ศรัทธา  โดยมีช่างแม้นช่างกรุ่นเป็นกำลังสำคัญ ซึ่งเป็นช่างยุคทันหลวงพ่อเงิน พบเห็นการสร้างและมวลสารโลหะที่ใช้ในการสร้างพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินในยุคสมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่เป็นอย่างดี  ได้ถอดแบบพิมพ์พระหลวงแล้วเทหล่อออกมาจำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492  ปัจจุบันก็มีอายุมากกว่า 68 ปี  ทำให้บางองค์ที่เนื้อจัด ๆ ดูกันเล่นหาเป็นพระแท้ไปหมดแล้ว

           ยุคที่ 8  พระหลวงพ่อเงินยุคใหม่  เป็นพระเครื่องหลวงพ่อเงินที่จัดสร้างโดยวัดบางคลานและวัดต่าง ๆ  พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ.2530  ซึ่งพระหลวงพ่อเงินยุคนี้ รูปหล่อพิมพ์ปั๊มได้รับความนิยมมาก  เช่น รูปหล่อปั๊ม ปี 2515 วัดบางคลาน วัดท้ายน้ำ วัด วัดหอไกร วัดบีงนาราง วัดมูลเหล็ก วัดวังกระทิง วัดตะพานหิน วัดวังจิก  วัดสมาบาป เป็นต้น  

            ซึ่งในปัจจุบันนี้ 2558 รูปหล่อหลวงพ่อเงินแบบปั๊มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากการสูงติดเพดานของรูปหล่อปั๊มวัดบางคลานปี 15 ที่ทะยานเข้าสู่หลักแสนกลางทำให้รูปหล่อปั๊มอีกห้าวัดที่ปลุกเสกในพิธีเดียวกันมีค่านิยมสูงขึ้น ได้แก่ วัดหอไกร   วัดวังจิก ค่านิยมอยู่ที่หลักหมื่นต้น วัดท้ายน้ำ  วัดวังกระทิง วัดท้ายน้ำ ค่านิยมอยู่ที่หลักพันกลาง และวัดท่าบัวทอง ค่านิยมยังถูกอยู่แค่หลักร้อยปลายเท่านั้น นอกจากนี้รูปหล่อปั๊มที่สร้างหลังปี 15 ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ รุ่นสร้างอำเภอ ค่านิยมอยู่ที่หลักพันปลายถึงหมื่นต้น  วัดบึงนาราง  วัดสมาบาป  ค่านิยมอยู่ที่หลักพันต้น

          รูปหล่อหลวงพ่อเงินสำหรับพระรูปหล่อที่ใช้การหล่อโบราณ ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปืนแตก  รุ่นฟ้าคำรณ  สำหรับพระรูปหล่อที่ใช้การหล่อแบบทันสมัย ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ รูปหล่อรุ่นช้างคู่้ พ.ศ. 2526

                   พระเครื่องของหลวงพ่อเงินทั้ง 8 ยุคนี้  ข้าพเจ้าสนใจพระเครื่องของหลวงพ่อเงินตั้งแต่ยุค1 ถึงยุคที่ 6   เนื่องจากทั้งหกยุคนี้เป็นยุคของการสร้างพระพิมพ์โดยกรรมวิธีการหล่อโบราณ ซึ่งมีทั้งกระแสโลหะและความเก่าแก่ของสภาพธรรมชาติการหล่อฝากติดไว้ในผิวพระเครื่องให้ไว้เพื่อสามารถในการพิจารณาจำแนกแยกแยะ  แนวทางการสะสมได้เริ่มจากพระรูปหล่อหรือเหรียญหล่อโบราณที่มีสภาพสึกเลือนเพื่อที่จะได้สามารถศึกษาสภาพธรรมชาติและเนื้อหากระแสโลหะได้ง่ายขึ้น  โดยนำพระไปตรวจสอบกับเซียนสายตรงหลวงพ่อเงินเพื่อนำตัวอย่างมาศึกษาค้นคว้าต่อมา          

            ข้าพเจ้าได้สะสมพระหลวงพ่อเงินสายลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินพุทธโชติทั้งหกยุคไว้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ในยุค 10ปีก่อนพระหลวงพ่อเงินยังไม่ฮิตติดลมเหมือนทุกวันนี้ ราคาพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาเล่นหาอยู่ในหลักแสนต้น ๆ เท่านั้น ผิดกับปัจจุบันองค์พิมพ์นิยมที่ว่าสวยงามที่สุดประมูลที่วัดบางคลาน ราคาถึงองค์ละ 15 ล้านบาท พระเครื่องหลวงพ่อเงินถือว่าเป็นพระอมตะที่มีแต่ราคาพุ่งสูงขึ้นค่านิยมไม่ได้เคยลดลงเลยตลอดระยะเวลาที่มีการเล่นหาพระเครื่องกันในประเทศไทย เช่นเดียวกับพระสมเด็จ และพระหลวงปู่ทวด  ซึ่้งถือว่าเป็นเกจิอาจารย์ที่มีมหาบารมีสูงส่งยิ่ง คือแม้แต่มรณภาพไปแล้ววัดใดที่ทำจำลองรูปท่านออกมาให้เช่าบูชาต่างก็ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจแทบจะทุกวัด  

           สำหรับราคาการเช่าหาของพระหลวงพ่อเงินวัดต่าง ๆ ในปัจจุบัน

พระรูปหล่อพิมพ์นิยมและพระรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาราคาได้ก้าวกระโดดขึ้นมาไล่จี้ราคาพระสมเด็จในราคาองค์ละหลักล้านบาทต้นๆ ถึงหลักล้านบาทกลาง ๆ 

สำหรับพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา ที่มีตำหนิที่สังฆาฎิ ที่ถือว่าเป็นเพชรที่ซ่อนเร้น เดิมเช่าหากันในวงแคบ ๆ ปิดลับกันในหมู่ลูกศิษย์ เมื่อความจริงได้เปิดเผย ราคาที่เล่นหากันในหลักแสนต้นแต่เดิม ก็อาจพุ่งไปหลักแสนปลายหรือหลักล้านต้นได้ในอนาคต

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดห้วยเขน  ราคาอยู่ที่หลักหมื่นปลายหรือแสนต้น ในอนาคตจะมีราคาอยู่ที่หลักแสนปลาย พระเนื้อดินวัดห้วยเขน ราคาอยู่ที่หลักพันต้น

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดขวาง ราคาอยู่ที่หลักหมื่นต้น ๆ

 

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดท่ามะไฟ ราคาอยู่ที่หลักหมื่นต้น ๆ ถึง หลักหมื่นกลาง ๆ

 

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ รุ่นอาจารย์ฟุ้งสร้าง ราคาอยู่ที่หลักหมื่นต้น ๆ  ถ้าเป็นรุ่นที่อาจารย์ชุ่มสร้าง  สำหรับก้นตอกตัว ช.ช้าง ราคาหลักหมื่นปลายถึงหลักแสนต้น ก้นหล่อตัว ช.ช้าง ราคาหลักหมื่นต้น  สำหรับรุ่นแรกของอาจารย์ชุ่ม ที่สร้างทันยุคหลวงพ่อเงิน ที่เรียกว่ารุ่นพิมพ์ชลูดก้นตัดช่อ ราคาหลักแสนต้นครับ 

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นหลวงพ่อแจ๊ะสร้างทันยุคหลวงพ่อเงิน ๆ ได้แก่ พิมพ์นกฮูกใหญ่ พิมพ์นกฮูกคอเอียง พิมพ์กบ ราคาอยู่ที่หลักหมื่นต้น ๆ ในอนาคตถ้าข้อมูลการทันยุคหลวงพ่อเงินแพร่หลายมากขึ้น ราคาจะอยู่ที่หลักหมื่นกลาง ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ที่ีไม่ทันยุคหลวงพ่อราคาหลักร้อยปลายถึงหลักพันต้น  

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ รุ่นอาจารย์ฟุ้งสร้าง ราคาอยู่ที่หลักหมื่นต้น ๆ

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดฆะมัง  พิมพ์นิยมเศียรโต หลวงพ่อพิธสร้าง  ราคาอยู่ที่หลักหมื่นกลาง เพราะหายากมาก และระวังอย่าไปเล่นสับสนกับพระพิมพ์นิยมเศียรโต ของรุ่นปืนแตก เพราะเนื้อหาต่างกันมากครับ

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดใหม่คำวัน  พิมพ์ขี้ตา  ราคาอยู่ที่หลักหมื่นกลาง 

          จากการศึกษาที่ผ่านมาทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น  แต่ข้อมูลการศึกษาพระพิมพ์ของหลวงพ่อเงินและลูกศิษย์  ยุค 1-7  มีความลับและสับสนเป็นที่ยิ่ง  ข้อมูลแต่ละชิ้นต้องศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบ  ตัวอย่างเช่น ความลับของพระเครื่องวัดห้วยเขนที่ีมีพิมพ์อีกมากมายที่คนทั่วไปไม่รู้ รู้แต่สายตรงและสายลึกที่จะคอยช้อนกินตับคนที่ไม่รู้  

          ท่านทราบหรือไม่ความลับดำมืดของพระยุคที่ 5 ของหลวงพ่อเงินที่ไม่ได้รับการยอมรับในวงการเนื่องจากพิมพ์ที่ผิดเพี้ยน แต่พระที่พบเห็นมีความเก่าแก่ทั้งสภาพธรรมชาติและความทันยุคของกระแสโลหะที่หนีไม่ออก เซียนสายตรงได้กระซิบว่า พระรูปหล่อของหลวงพ่อเงินมีการทำให้บูชาที่วัดทุกปีในเทศกาลสำคัญ  ทั้งพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม พบว่ามีถึง 11 พิมพ์ สร้างต่างวาระต่างเวลากันในช่วงหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่    ซึ่งเชื่อกันว่าเหตุจากการแตกต่างกันของขนาดของพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน เกิดจากการถอดพิมพ์ของช่าง ซึ่งทุกครั้งที่ถอดพิมพ์พระจะองค์เล็กลงเรื่อย ๆ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการถอดพิมพ์ไม่ใช่วัสดุทีทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน โดยเฉพาะเชื่อกันว่าเหตุใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากความไม่พิถีพิถันในการถอดพิมพ์พระดังกล่าว  

          นอกจากนี้ยังมีความสับสนที่เกิดขึ้นอีกนอกเหนือจากวัดต่าง ๆ ที่ถอดพิมพ์หลวงพ่อออกไปสร้างพระที่มีรูปร่าและขนาดต่าง ๆ กันแล้ว  ผู้เฒ่ากล่าวกันว่าในวัดของหลวงพ่อยังมีช่างของวัดรับหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อเงินตามคำสั่งของผู้จ้างที่ศรัทธาในตัวหลวงพ่อเงินที่มามนัสการหลวงพ่อเงินถึงวัดบางคลาน ซึ่งสมัยก่อนมาได้ยากลำบากยิ่งนัก  โดยการถอดพิมพ์จากพิมพ์นิยมหรือพิมพ์ขี้ตาทำเป็นหุ่นสำเร็จไว้ และรับจ้างเทหล่อกันสด ๆ ร้อน ๆ และให้ผู้ศรัทธานำไปถวายให้หลวงพ่อปลุกเสกเพื่อนำกลับไปบูชาที่บ้าน  บางครั้่งเมื่อนำไปให้หลวงพ่อเสกพระยังอุ่น ๆ อยู่เลย ขลังน่าดู  ซึ่งพระชุดนี้ถ้าตกทอดมาถึงปัจจุบัน ความเก่าแก่ของโลหะพิจารณาได้ง่ายว่าถึงยุค แต่ความที่พิมพ์ทรงอาจดูผิดเพี้ยน เพราะขาดศิลปะในเชิงช่างและความเร่งรีบของการสร้าง  รวมทั้งส่วนผสมของเนื้อโลหะที่ขาดแร่ธาตุที่สำคัญหลายอย่าง  ผู้ชำนาญการในวรรณะพระและกระแสโลหะ ย่อมจะสามารถแยกความแตกต่างได้ไม่ยาก ระหว่างช่างวัดที่หลวงพ่อเงินเป็นเจ้างาน กับช่างวัดที่รับจ้างหล่อเป็นครั้งคราว

             นอกจากนี้  ความลับดำมืดของพระยุคที่ 7 โดยช่างแม้นช่างกรุ่นที่หล่อจำลองพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา ที่ถือว่าเป็นช่างวัดยุคหลังล่วงมาหลายสิบปีนับจากการมรณภาพของหลวงพ่อเงิน ทำได้ีดีทั้งเนื้อหาและอายุที่เก่าแก่กว่า 60 ปี ซึ่งองค์เนื้อจัด ๆ ก็คงดูแท้ไปแล้ว   เป็นต้น  ความลับที่มากมายเหล่านี้ในระยะต่อมาถ้ามีโอกาสจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ต่อกัน   

ดังนั้นสำหรับนักนิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงินอาจมีทางเลือกสำหรับตัวท่านเองว่าท่านจะเลือกสะสมพระเครื่องหลวงพ่อเงินที่ทันยุคตามแนวทางสายแข็งของวงการที่เน้น 4 พิมพ์นิยม ซึ่งท่านอาจต้องเสียเงินในกระเป๋าในราคาหลักแสนปลาย ๆ หรือหลักล้าน  หรือบางท่านอาจเสียความรู้สึก จากการที่เซียนปัดพระที่บรรพบุรุษท่านได้รับจากมือหลวงพ่อเงินที่มีพิมพ์ที่แปลกเพี้ยนไปจากสังคมพระว่าเป็นพระปลอม การศึกษาเรียนรู้ตามแนวทางศึกษาโดยเน้นเนื้อหากระแสโลหะและธรรมชาติเป็นสำคัญ หลวงพ่อเงิน 5 ยุคสำคัญที่ทันปลุกเสกจากหลวงพ่อเงิน อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ท่านจะมีโอกาสได้บูชาพระเครื่องหลวงพ่อเงิน ๆ ในราคาถูกหลักร้อยหลักพันก็ไำด้  ถ้าท่านต้องการพระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน แบบพุทธบูชา   โดยไม่หวังว่าจะนำออกไปขายราคาแพง ๆ ในหลักล้าน ซึ่งเป็นการเล่นหาแบบพุทธพาณิชย์

         แนวทางการพิจารณาพระเครื่องทองเหลืองหล่อโบราณสำหรับพระเครื่องหล่อโบราณของหลวงพ่อเงินพุทธโชติของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าขอฝากหลักการในการพิจารณามีหลักการสำคัญสามประการคือ

         1)  หลักแห่งสภาพธรรมชาติ  พระหล่อโบราณต้องพิจารณาสภาพธรรมชาติของผิวพระหล่อได้ดี  แยกแยะความเก่าใหม่ได้ โดยต้องมีความแม่นยำในสภาพคราบเบ้าพระที่ติดอยู่ตามองค์พระ  ซึ่งมีต้องอาศัยความละเอียดค่อนข้างมากและต้องมีประสบการณ์ดูพระหล่อโบราณมามาก ๆโดยเฉพาะรูปหล่อสายหลวงพ่อเงิน สำหรับกรณีรูปหล่อจะพิจารณาคราบเบ้าได้ง่ายกว่าเหรียญจอบมาก

         2) หลักแห่งกระแสโลหะ   ซึ่งต้องจดจำให้ได้ว่ากระแสโลหะของพระหล่อโบราณแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร กระแสโลหะของพระหล่อโบราณหลวงพ่อเงินเป็นอย่างไร  ซึ่งต้องศึกษาจากการค้นคว้าตำราต่าง ๆ เกี่ยวกับเนื้อโลหะของพระหลวงพ่อเงิน   นอกจากนี้ควรจะสามารถจำแนกความแตกต่างอย่างไรกับกระแสเนื้อโลหะของพระยุคลูกศิษย์ได้ด้วย  ซึ่งการพิจารณาแยกแยะกระแสโลหะจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการพิจารณาพระเครื่องหลวงพ่อเงินและพระเครื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก  และต้องระวังพระมือผีที่ใช้โลหะร่วมสมัยมาหลอกหลอนท่านด้วย ซึ่งเราเรียกว่าพระโกฎผี เพราะนำเอาโกฏทองเหลืองยุคหลวงพ่อเงินมาหลอมทำพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ชินราชอินโดจีน กริ่งเจ็ดรอบ พระวัดระฆังหลัีงฆ้อน พระกริ่งไพรีพินาศ เป็นต้น ต้องดูความเก่าแก่ของสภาพธรรมชาติตามผิวพระให้ได้  ซึ่งท่านอาจพิจารณาได้ในกระแสโลหะของพระตัวอย่างที่ข้าพเจ้าได้ลงไว้ในนิทรรศการพระเครื่องตามแนวทางเน้นเนื้อหากระแสโลหะและสภาพธรรมชาติเป็นสำคัญของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัชและนิทรรศการภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงิน จากเวปไซต์พระเครื่อง ที่ลงไว้ด้านล่างของเนื้อหาในหน้าเวปนี้ โดยเป็นภาพพระที่มีเนื้อหาดูง่ายมากเหมาะสำหรับการศึกษาการเรียนรู้กระแสโลหะและสภาพธรรมชาติ  สำหรับท่านที่เพ่งเล็งแต่จะดูพิมพ์ทรงก็อาจต้องแนะนำให้ไปศึกษาในเวปอื่น ๆ เพราะการศึกษาพระเครื่องหลวงพ่อเงินตามแนวทางแห่งสายกลาง ดูเนื้อหาความเก่าแก่ถึงยุคเป็นสำคัญไม่เกี่ยงพิมพ์ทรง เพราะพระเครื่องที่ทันหลวงพ่อเงินปลุกเสกยังมีอีกมากวัด ที่ให้วงการพระเครื่องศึกษาไม่มีวันจบสิ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ พระหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน ที่แต่ก่อนไม่ยอมรับ ปัจจุบันมีราคาเป็นหลักแสนแล้ว หรือพระหลวงพ่อเงิน ที่อาจารย์แจ๊ะสร้าง เฉพาะพิมพ์นกฮูกใหญ่ พิมพ์หน้ากบ และพิมพ์เล็กหน้านกฮูกคอเอียง เท่านั้น ที่นักนิยมพระเครื่องทั่วไปเชื่อว่าสร้างปี พ.ศ. 2472  แต่นักนิยมพระเครีื่องหลวงพ่อเงินสายลึกเชื่อกันว่าทันหลวงพ่อ  เพราะดูจากกระแสเนื้อพระ ความเก่าแก่ ตลอดจนศิลปะการตะไบก้นพระจนเรียบและการแทงตะไบด้านข้างองค์พระ ไม่ต่างกับวัดห้วยเขนแต่อย่างใด  ปัจจุบันจึงพากันซุ่มเีงียบเก็บเข้าเซฟกันคนละหลายสิบหลายร้อยองค์ โดยมีราคาซื้อเข้าหลักพันปลาย และขายออกในราคาหลักหมื่นต้นถึงหลักหมื่นกลางบางองค์ราคาสูงอย่างไม่น่าเชื่อถึงหลักหมื่นปลาย

        3) หลักแห่งพลังธาตุ  พระเครื่องหลวงพ่อเงินเชื่อกันว่าได้บรรจุแร่ศักสิทธิ์ ได้แก่แร่เหล็กไหลลงไปในเนื้อพระขณะหล่อด้วย ซึ่งจากการพิจารณาสภาพผิวของพระหลวงพ่อเงินจำนวนมากค้นพบเหล็กไหลหลากวรรณะแตกต่างกัน เช่น วรรณะสีดำ วรรณะสีปีกแมงทับ วรรณะสีเงินยวง วรรณะสีฟ้าน้ำเงิน วรรณะสีฟ้าอมม่วง เป็นต้น  ซึ่งบางองค์สามารถพบเห็นแร่ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า บางองค์ต้องใช้กล้องส่ีอง มีวรรณะสุกใสสุกสกาว ดุจดั่งดวงดาวบนท้องฟ้า ซึ่งยิ่งทำให้พระเครื่องของท่านมีมหิธานุภาพแห่งคุณค่าดุจดั่งของวิเศษ  นอกจากส่องด้วยกล้องขยายแล้ว  ยังสามารถจำแนกแยะแยะได้ด้วยการปฏิบัติพิเศษทางจิตซึ่งรู้กันในวงแคบ ๆ เฉพาะผู้ที่ฝึกสมาธิขั้นสูงในสายแร่ธาตุหรือสายฤาษีเท่านั้น  

          ดังนั้นถ้ารักจะศึกษาพระเครื่องหลวงพ่อเงินพุทธโชติ วัดบางคลาน  ต้องรู้ลึกและรู้รอบนะครับ  ส่วนข้าพเจ้าเองถือว่ายังเป็นแค่ผู้ที่สนใจศึกษาเท่านั้น  ได้จัดทำเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ในอนาคตกำลังจะจัดทำพิพิธภัณฑ์ภาพหลวงพ่อเงินในเวปไซต์นี้  เพื่อทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งและลดความสับสนในการศึกษาพระเครื่องหลวงพ่อเงินโดยเฉพาะในเรื่องของหลวงพ่อเงินต่างวัด คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการถ่ายภาพและรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ ซึ่งท่านคงจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย 

อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

www.ariyasound.com

081-8033630

******************************************************************

 ข่าวการวิจัยล่าสุด ธันวาคม 2557  เกี่ยวกับพระเครื่องรูปหล่อหลวงพ่อเงิน กรุวัดทุ่งน้อย เนื่องจากความสับสนเกี่ยวกับรูปแบบพิมพ์ของหลวงพ่อเงินที่สร้างโดยอาจารย์นงค์ วัดทุ่งน้อย  ทำให้ข้าพเจ้าได้นำพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อยที่มีสะสมอยู่จำนวนมากมาแยกพิมพ์ดูเพื่อหาความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนแม่พิมพ์ เนื่องจากมีลูกศิษย์คนหนึ่งสนใจอยากจะเรียนรู้ในหลักสูตรเนื้อหามวลสารของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน  จึงได้กระทำการวิจัยดู   ข้าพเจ้าได้แยกออกได้หลายแม่พิมพ์จนกระทั่งข้าพเจ้าพบข้อสงสัยบางอย่างเกี่ยวกับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อยสองพิมพ์  พิมพ์หนึ่งมีความสวยคมงดงามมากเป็นพิเศษเหนือกว่าองค์ต้นแบบของอาจารย์นง อย่างน่าสงสัย เพราะถ้าถอดแบบออกมาทำไมจึงสวยกว่าองค์ต้นแบบ ทั้งมีเนื้อหาจัดจ้านแก่ทองเหมือนวัดห้วยเขน  จากการดูอย่างละเอียดพบว่ามีอยู่สองสามองค์พบรักที่รอดจากการล้างชิ้นเล็ก ๆ ติดอยู่สองสามชิ้น เป็นรักที่มีความเก่าแก่มาก ถ้ารักดังกล่าวอยู่ในองค์พระสมเด็จ รักนี้ต้องมีอายุอยู่ในระหว่าง80-100 ปี เป็นแน่  อีกพิมพ์หนึ่งด้อยความงามกว่าแต่พบว่ามีรักฉาบอยู่ทั่วองค์ พบว่าทุกองค์มีลักษณะการถูกเช็ดล้างอย่างผิดวิธี และที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่านั้นยังพบว่าผิวพระแทบทุกองค์มีลักษณะเป็นคราบกรุติดอยู่ด้วย  

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า

ข้อที่ 1 พระสองพิมพ์นี้ ถ้าเป็นพระใหม่สร้างปี พ.ศ. 2539 ทำไมต้องมีการลงรัก แถมรักก็เก่าย้อนยุคร่วมร้อยปี    แถมมีการพบว่าพิมพ์หนึ่งมีลักษณะการล้างรักด้วยน้ำยาเคมี และอีกพิมพ์หนึ่งล้างรักด้วยการเช็ดแบบหยาบ ๆ ข้อที่ 2  ทำไมจึงมีคราบกรุสีขาวจับหนาที่องค์พระ พระที่สร้างใหม่ไม่มีคราบกรุแน่

จากการสอบถามความสงสัยกับเซียนหลวงพ่อเงินคนหนึ่งที่เคยรู้จักใกล้ชิดกับเอนไซโคปิเดียหลวงพ่อเงิน เซียนเล็ก ทับคล้อ เซียนใหญ่พิจิตร ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  เขาได้ยินได้ฟังจากปาก เล็ก ทับคล้อ ที่เคยบอกให้เขาฟังว่าพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อย มีบางพิมพ์ที่ทันหลวงพ่อเงิน แน่นอน  ทำให้ยิ่งสงสัยขึ้นไปอีก  แสดงว่าต้องวัดทุ่งน้อย จะต้องมีการสร้างพระขึ้นมาในยุคหลวงพ่อเงินโดยตรงเป็นแน่

ได้สืบหาความรู้จากหนังสือพระเครื่องหลวงพ่อเงิน  พบว่ามีเล่มหนึ่งบอกว่าที่วัดทุ่งน้อยมีการแตกกรุพระเครื่องหลวงพ่อเงินออกมา  ปี พ.ศ. ที่ได้ข้อมูลมาจากเซียนท่านหนึ่งว่าวัดทุ่งน้อยมีการแตกกรุ พ.ศ. 2505  แต่ปัญหาพบว่าถ้ามีการแตกกรุแล้วพระหายไปไหนหมด และไม่รู้ว่าพิมพ์อะไรที่แตกกรุออกมา ที่ต้องทันหลวงพ่อเงินแน่นอน จากการพบคราบกรุและรักเก่าแก่นับร้อยปีที่องค์พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์สังฆาฎิแตก ที่คิดว่าสร้างในสมัยอาจารย์นง  ทำให้คาดเดาได้ว่าสองพิมพ์นี้อาจเป็นพระพิมพ์ที่แตกกรุออกมาใน พ.ศ. 2505 นั่นเอง  เพราะมีลักษณะพิเศษแสดงออกมาให้เห็นถึงสภาพธรรมชาติที่เก่าแก่ดังกล่าว

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ข้อสงสัยเกี่ยวกับพระหลวงพ่อเงินพิมพ์สังฆาฎิแตก ทั้งสามวัดเกิดความกระจ่างขึ้นมา คือ  วัดบางคลาน มีการสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์สังฆาฎิแตกเป็นพิมพ์ปฐม มีเอกลักษณะเฉพาะตัว   วัดท้ายน้ำหลวงพ่อฟุ้ง  ได้มีการถอดแม่พิมพ์ออกมา  แต่ไม่ได้ถอดแม่พิมพ์องค์ของวัดบางคลาน แต่ไปถอดพิมพ์จากองค์ของวัดทุ่งน้อยยุคเก่าที่สร้างบรรจุกรุในยุคหลวงพ่อเงิน ซึ่งมีสองพิมพ์ แต่พิมพ์ที่ถอดเป็นพิมพ์องค์สวยหนึ่งในสองพิมพ์  วัดทุ่งน้อย ได้นำพระของหลวงพ่อฟุ้งที่ถอดพิมพ์จากรูปหล่อของวัดทุ่งน้อยยุคเก่า  มาสร้างเป็นพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินวัดทุ่งน้อยปี พ.ศ. 2539 จากข้อมูลดังกล่าวจึงทำให้พระวัดทุ่งน้อยยุคเก่าที่แตกกรุออกมาจากเจดีย์วัดทุ่งน้อยเมื่อ พ.ศ. 2505  เป็นพระที่ทันยุคหลวงพ่อเงินและมีการสร้างที่เป็นเอกลักษณ์  ค่านิยมจากหลักร้อยต้น จะต้องขยับค่านิยมเป็นหลักหมื่นต้นถึงหมื่นกลาง  ก็ขอยินดีสำหรับทุกคนที่มีพระหลวงพ่อเงิน วัดทุ่งน้อยยุคเก่าที่แตกกรุจากวัดทุ่งน้อยและทันยุคหลวงพ่อเงินไว้ในครอบครองครับ เพราะในอนาคตมีค่านิยมถึงหลักแสนหลักล้านแน่นอน  ข้าพเจ้าขอเรียกพระหลวงพ่อเงินชุดดังกล่าวนี้ว่า  พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์สังฆาฎิแตก กรุเจดีย์เก่า วัดทุ่งน้อย ครับ

 

ได้อ่านข้อเขียนของคุณนพ บางคลาน เจ้าของร้านหลวงพ่อเงินอุปถัมป์ ได้มีบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับแนวทางการจัดลำดับยุคของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานในอีกแบบหนึ่งซึ่งมีมาก่อนพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบเล็กและพิมพ์จอบใหญ่ที่นิยมกันปัจจุบันนี้  ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับนักนิยมพระเครื่องที่ต้องการรู้ลึกในพระเครื่องของหลวงพ่อเงินเพื่อให้มีการเล่นหากันกว้างขวางขึ้นครับ

 --------------------------------------------------------------------------------------------

าระยุคแรกวัดท้ายน้ำราวปี2410-2425มีวัตถุมงคลหลายแบบหลายเนื้อหลายพิมพ์เช่นพิมพ์แป๊ะยิ้ม พิมพ์นั่งช้าง กริ่งพิมพ์นิยมฐานสูงและอื่นๆ ในวาระแรกๆนี้ยังมีวัตถุมงคลท่านออกที่วัดพระแก้วปี2411ด้วยนะครับ

 --------------------------------------------------------------------------------------------

(อาจารย์อริยะขออธิบายเพิ่มเติม):นอกจากจะมีการสร้างพระเนื้อดินแบบปั้นด้วยมือองค์ต่อองค์เพื่อแจกลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดแล้ว  ยังมีการสร้างพระเนื้อดินแบบกดพิมพ์ด้วย เช่น พิมพ์แป๊ะยิ้ม (พบที่กรุวัดขวาง) พิมพ์นั่งช้าง (พบทั้งเนื้อดินและเนื้อโลหะ) กริ่งพิมพ์นิยมฐานสูง  ฯ  นอกจากนี้เป็นวัตถุมงคลที่สร้างโดยช่างวังหลวงอีกมากมายหลายพิมพ์
 
 --------------------------------------------------------------------------------------------

 

วาระยุควัดวังตะโกราวปี2420-2445 เป็นยุคที่หลวงพ่อได้ออกจากวัดท้ายน้ำมาอยู่ที่วัดวังตะโกมีหลายแบบเช่น อ.แจ๊ะหัวโต จอบปักเป้าและอื่นๆ   

(อาจารย์อริยะขออธิบายเพิ่มเติม): วัดวังตะโก มีหัวแรงใหญ่คือท่านอาจารย์แจ๊ะ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ถัดจากหลวงพ่อเงิน ได้มีการสร้างพระหลวงพ่อเงินหลายแบบ เป็นเพราะอาจารย์แจ๊ะมีใจรักในการสร้างพระ ทำพิมพ์พระด้วยตนเอง ซึ่งหลวงพ่อเงินบ่นว่าพระไม่ค่อยงาม ทำให้ในเวลาต่อมาได้นำช่างกรุงเทพฯมาหล่อพระหลวงพ่อเงินที่เป็นพิมพ์นิยมสี่พิมพ์ในภายหลัง  พระที่อาจารย์แจ๊ะสร้างในพิมพ์ ที่เรียกว่าอาจารย์แจ๊ะหัวโต รูปทรงคล้่ายพิมพ์นิยม  นักนิยมสายลึกเรียกว่าพระหลวงพ่อเงินพิมพ์โบราณ โดยทรงพระดูชะลูดและมีขนาดเขื่องกว่า เนื่้อออกวรรณะสัมฤทธิ์เข้มข้นส่วนพิมพ์ที่เรียกว่าพิมพ์จอบปักเป้า น่าจะเป็นการลองผิดลองถูกกับการสร้างพิมพ์จอบ ทั้งจอบเล็กและจอบใหญ่   พระที่พบจะมีขนาดเขื่องใหญ่กว่าจอบปกติและมีแม่พิมพ์ตื้นกว่าพิมพ์จอบนิยมมาก 

  --------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

วาระ3 ยุควัดบางคลานราวปี2445-2462  

3.1ยุคแรกราวปี2445-2455  พวกกลุ่มพิมพ์พิเศษต่างๆเช่นพิมพ์ใบพุทรา ใบมะยม ใบสาเก พระเจ้า5พระองค์ นางกวัก และอื่นๆ

 

(อาจารย์อริยะขออธิบายเพิ่มเติม):มีการสร้างพระเนื้อดินแบบต่าง ๆ มากมาย ทั้งในวัดบางคลานเอง และโดยการสร้างพระเนื้อดินจำนวนมากที่เป็นหัวแรงสำคัญคือหลวงพ่อหอม วัดหลวง  นอกจากจะมีการสร้างแม่พิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านแล้ว  ยังมีการสร้างพระล้อพระพิมพ์โบราณขนาดเล็กต่าง ๆ ของเมืองพิจิตรด้วย
 
 ------------------------------------------------

อาจารย์อริยะอธิบายเพิ่มเติม

การจัดลำดับยุคการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ยุค1-ยุค 3.1  ที่แบ่งโดบอาจารย์นพ บางคลาน

ตรงกับยุคที่ 1 ที่แบ่งโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ครับ

    ------------------------------------------------

3.2ยุคกลางราวปี2456-2458  กลุ่มพิมพ์ขี้ตา วัดห้วยเขน อ.แจ๊ะอื่นๆรวมถึงที่ออกวัดอื่นเช่นวัดหนองดง วัดท่ามะไฟ วัดราชช้างขวัญ  

อาจารย์อริยะอธิบายเพิ่มเติม 

การจัดลำดับยุคการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ยุค 3.2  ที่แบ่งโดบอาจารย์นพ บางคลาน

ตรงกับยุคที่ 2 ที่แบ่งโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ครับ

3.3ยุคปลายราวปี2458-2462   พิมพ์นิยมที่สากลเซียนใหญ่และอาเสี่ยเมืองกรุงนิยม    

 อาจารย์อริยะอธิบายเพิ่มเติม 

การจัดลำดับยุคการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ยุค 3.3  ที่แบ่งโดบอาจารย์นพ บางคลาน

ตรงกับยุคที่ 3-4 ที่แบ่งโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ครับ

วาระ4กลุ่มลูกศิษย์สร้างราวปี2460-2495  มีทั้งทันและไม่ทันหลวงพ่อเงินครับเช่น หลวงพ่อชุ่ม หลวงพ่อพิธ วอกระจายวัดบางมูลนาคและอื่นๆครับ

อาจารย์อริยะอธิบายเพิ่มเติม 

การจัดลำดับยุคการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ยุค 4  ที่แบ่งโดบอาจารย์นพ บางคลาน

ตรงกับยุคที่ 5-7 ที่แบ่งโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ครับ

วาระ5 ยุคหลังราวปี2500ขึ้นไปครับ ไม่ทันทั้งหลวงพ่อเงินและลูกศิษย์  หลวงพ่อเงินไม่รับรู้ เกจิที่ปลุกเสกหลวงพ่อเงินไม่เคยบวชให้ ไม่เคยสอนวิชาอาคมโด่งดังขึ้นมาเพราะประสบการณ์ล้วนๆหรือดังเพราะกระแสโฆษณาพาไปเช่น ปี26 ปี28 ปี15  

 อาจารย์อริยะอธิบายเพิ่มเติม 

การจัดลำดับยุคการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ยุค 5  ที่แบ่งโดบอาจารย์นพ บางคลาน

ตรงกับยุคที่ 8 ที่แบ่งโดยอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ครับ

****************************************************************** 

 

 

 

**********************************************************************************

นิทรรศการภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงิน

ซึ่งเป็นพระหลวงพ่อเงินที่อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช 

ได้ค้นหาและสะสมไว้

คัดสรรแต่เฉพาะพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่าง ๆ 

ที่มีมีเนื้อหาดูง่ายเหมาะสำหรับการศึกษาค้นคว้า

เพื่อเป็นประโยชน์ในทางวิชาการ

  และสร้างความสว่างทางปัญญากับผู้ได้ศึกษาเรียนรู้

   

จำำนวนภาพพระที่ให้ศึกษาค้นคว้าปัจจุบันมีทั้งหมด 41 องค์

จะค่อย ๆ ทยอยถ่ายภาพจากคอลเลคชั่นที่สะสมไว้

ของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

ลงมาให้ศึกษากันอย่างต่อเนื่องครับ

 

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 1

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 2


พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 3

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 4

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 5

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 6

 

 

 

 

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 7

  

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 8

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 9

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 10

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 11

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 12

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 13

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 14

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 15

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 16

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 17

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 18

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 19

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 20

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 21

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 23

 

 

                                           พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 24

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 25

 

 

 พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 26


 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 27

 

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 28

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 29

 

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 30

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 31

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 32

 พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 33

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 34

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 35

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 36

 

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 37

 

 

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 38

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 39

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 40

พระหลวงพ่อเงิน

พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช

สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

องค์ที่ 41

พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์
องค์ที่ 42
 
 
 
พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์
องค์ที่ 43
 
 
 
พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์
องค์ที่ 44
 
 
 
 
พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์
องค์ที่ 45
 
 
 
พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์
องค์ที่ 46
 
พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

 

องค์ที่ 47
พระหลวงพ่อเงิน
พระเครื่องอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
สำหรับกองทุนอริยะทรัพย์

 

องค์ที่ 48

********************************************************************

***************************************************************************************

 

นิทรรศการภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงินจากเวปไซต์พระเครื่อง

  

  ซึ่งเป็นพระหลวงพ่อเงินที่ำอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัชได้คัดสรรว่า

มีเนื้อหาดูง่ายเหมาะสำหรับการศึกษาค้นคว้า

เพื่อเป็นประโยชน์ในทางวิชาการ

 

และสร้างความสว่างทางปัญญากับผู้ได้ศึกษาเรียนรู้

 

 

จำำนวนภาพพระที่ให้ศึกษาค้นคว้าปัจจุบันมีทั้งหมด 305 องค์

 

จะทยอยคัดสรรลงมาให้ศึกษากันอย่างต่อเนื่องครับ

 

********************************************************************

ข้าพเ้จ้าในนามนักนิยมพระเครื่องหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ

ขอบคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงสุดแก่เจ้าของพระที่ให้เมตตา

โดยอนุญาตให้เผยแพร่ภาพพระเป็นวิทยาทานทางวิชาการอันจะเป็นการสร้างคุณประโยชน์สำหรับผู้รักการสะสมพระเครื่องของหลวงพ่อเงิน

บารมีทานในครั้งนี้ขอดลบันดาล

ให้เจ้าของภาพพระเครื่องของ

หลวงพ่อเงินทุกท่านให้ได้รับผลบุญจากกุศลการให้ปัญญา

จงประสบสุขมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

อุดมด้วยโภคสมบัติอันล้นเหลือทุกประการเทอญ

***********************************************************************

 

 

 

พระองค์ที่ 1

 

 

พระองค์ที่ 2


 

พระองค์ที่ 3

 

พระองค์ที่ 4

 

พระองค์ที่ 5

 

 

 

พระองค์ที่ 6

 

พระองค์ที่ 7

 

 

พระองค์ที่ 8

 

 

 

พระองค์ที่ 9

 

 

พระองค์ที่ 10

 

 

 

พระองค์ที่ 11

 

 

พระองค์ที่ 12

 

พระองค์ที่ 13

 

 

 

พระองค์ที่ 14

 

 

 

พระองค์ที่ 15

 

 

พระองค์ที่ 16

 

พระองค์ที่ 17

 

 พระองค์ที่ 18

 

พระองค์ที่ 19 

 

 

พระองค์ที่ 20

 

 

 

พระองค์ที่ 21

 

 

 

 

พระองค์ที่ 22

 

 

พระองค์ที่ 23

 

พระองค์ที่ 24

 

 

 

พระองค์ที่ 25

 

 

 

พระองค์ที่ 25

 

 

 พระองค์ที่ 26

 

 

 

พระองค์ที่ 27

 

 

พระองค์ที่ 28

 

 

พระองค์ที่ 29

พระองค์ที่ 30

 

 

 

พระองค์ที่ 31

 

 

พระองค์ที่ 32

 

พระองค์ที่ 33

 

 


พระองค์ที่ 34

พระองค์ที่ 35

พระองค์ที่ 36

 

พระองค์ที่ 37

พระองค์ที่ 38

พระองค์ที่ 39

พระองค์ที่ 40

พระองค์ที่ 41

 

พระองค์ที่ 42

พระองค์ที่ 43

 

พระองค์ที่ 44

 

 

พระองค์ที่ 45

 

พระองค์ที่ 46

พระองค์ที่ 47

พระองค์ที่ 48

 

 พระองค์ที่ 49

พระองค์ที่ 50

พระองค์ที่ 51

พระองค์ที่ 52

พระองค์ที่ 53

พระองค์ที่ 54

พระองค์ที่ 55

 

พระองค์ที่ 56

 

พระองค์ที่ 57

พระองค์ที่ 58

 


 

พระองค์ที่ 59

พระองค์ที่ 60

พระองค์ที่ 61

 

พระองค์ที่ 62

พระองค์ที่ 63

 

 พระองค์ที่ 64

พระองค์ที่ 65

พระองค์ที่ 66

พระองค์ที่ 67

พระองค์ที่ 68

พระองค์ที่ 69

พระองค์ที่ 70

พระองค์ที่ 70

พระองค์ที่ 71

พระองค์ที่ 72

พระองค์ที่ 73

พระองค์ที่ 74

พระองค์ที่ 75

พระองค์ที่ 76

พระองค์ที่ 77

พระองค์ที่ 78

พระองค์ที่ 79

พระองค์ที่ 80

พระองค์ที่ 81

พระองค์ที่ 82

พระองค์ที่ 83

พระองค์ที่ 84

พระองค์ที่ 85

พระองค์ที่ 86

พระองค์ที่87

พระองค์ที่ 88

พระองค์ที่89

พระองค์ที่ 90

พระองค์ที่91

พระองค์ที่ 92

พระองค์ที่ 93

พระองค์ที่ 94

พระองค์ที่ 95

พระองค์ที่ 96

พระองค์ที่ 97

พระองค์ที่ 98

 

พระองค์ที่ 99

พระองค์ที่ 100

 พระองค์ที่ 101


 

 พระองค์ที่ 102

พระองค์ที่ 103

พระองค์ที่ 104

 

พระองค์ที่ 105

พระองค์ที่ 106

 

พระองค์ที่ 108

พระองค์ที่ 109

พระองค์ที่ 110

พระองค์ที่ 111

พระองค์ที่ 112

พระองค์ที่ 113

พระองค์ที่ 114

พระองค์ที่ 115

พระองค์ที่ 116

พระองค์ที่ 117

พระองค์ที่ 118

พระองค์ที่ 119

พระองค์ที่ 120

 

 

 

พระองค์ที่ 121

พระองค์ที่ 122

พระองค์ที่ 123

พระองค์ที่ 125

พระองค์ที่ 126

พระองค์ที่ 127

พระองค์ที่ 128

พระองค์ที่ 129

พระองค์ที่ 130

พระองค์ที่ 131

พระองค์ที่ 132

พระองค์ที่ 133

 

พระองค์ที่ 134

พระองค์ที่ 135

พระองค์ที่ 136

พระองค์ที่ 137

พระองค์ที่ 138

พระองค์ที่ 139

พระองค์ที่ 140

พระองค์ที่ 141

พระองค์ที่ 142

พระองค์ที่ 143

พระองค์ที่ 144

พระองค์ที่ 145

พระองค์ที่ 146

พระองค์ที่ 147

พระองค์ที่ 148

พระองค์ที่ 149

พระองค์ที่ 150

พระองค์ที่ 151

พระองค์ที่ 152

พระองค์ที่ 153

พระองค์ที่ 154

พระองค์ที่ 155

พระองค์ที่ 155

พระองค์ที่ 156

พระองค์ที่ 157

พระองค์ที่ 158

พระองค์ที่ 159

พระองค์ที่ 160

พระองค์ที่ 161

พระองค์ที่ 162

พระองค์ที่ 163

 

พระองค์ที่ 164

พระองค์ที่ 165

พระองค์ที่ 166

พระองค์ที่ 167

พระองค์ที่ 168

พระองค์ที่ 169

 

พระองค์ที่ 170

พระองค์ที่ 170

พระองค์ที่ 171

 

พระองค์ที่ 172

พระองค์ที่ 173

พระองค์ที่ 174

 

พระองค์ที่ 175

พระองค์ที่ 176

พระองค์ที่ 177

พระองค์ที่ 178

พระองค์ที่ 179

พระองค์ที่ 180

พระองค์ที่ 181

พระองค์ที่ 182

พระองค์ที่ 183

พระองค์ที่ 184

พระองค์ที่ 185

พระองค์ที่ 186

พระองค์ที่ 187

พระองค์ที่ 188

พระองค์ที่ 189

 

พระองค์ที่ 190

พระองค์ที่ 191

พระองค์ที่ 192

 

 

พระองค์ที่ 193

พระองค์ที่ 194

พระองค์ที่ 195

พระองค์ที่ 196

พระองค์ที่ 197

 พระองค์ที่ 198

พระองค์ที่ 199

พระองค์ที่ 200

 

พระองค์ที่ 201

 

 พระองค์ที่ 202

พระองค์ที่ 203

พระองค์ที่ 204

พระองค์ที่ 205

พระองค์ที่ 206

พระองค์ที่ 207

พระองค์ที่ 208

พระองค์ที่ 209

พระองค์ที่ 210

พระองค์ที่ 211

พระองค์ที่ 212

พระองค์ที่ 213

พระองค์ที่ 214

 

พระองค์ที่ 215

พระองค์ที่ 216

พระองค์ที่ 217

พระองค์ที่ 218

พระองค์ที่ 219

พระองค์ที่ 220

พระองค์ที่ 221

พระองค์ที่ 222

พระองค์ที่ 223

พระองค์ที่ 224

พระองค์ที่ 225

 

พระองค์ที่ 226

พระองค์ที่ 227

พระองค์ที่ 228

พระองค์ที่ 229

พระองค์ที่ 230

พระองค์ที่ 231

พระองค์ที่ 232

 

พระองค์ที่ 233

พระองค์ที่ 234

พระองค์ที่ 235

พระองค์ที่ 236

พระองค์ที่ 237

พระองค์ที่ 238

พระองค์ที่ 239

พระองค์ที่ 240

 พระองค์ที่ 241

พระองค์ที่ 242

พระองค์ที่ 243

 พระองค์ที่ 244

พระองค์ที่ 245

พระองค์ที่ 246

 

พระองค์ที่ 247

พระองค์ที่ 248

 

พระองค์ที่ 249 

พระองค์ที่ 250

พระองค์ที่ 251

 พระองค์ที่ 252

พระองค์ที่ 253

 

พระองค์ที่ 254

 

พระองค์ที่ 255

พระองค์ที่ 256

พระองค์ที่ 257

พระองค์ที่ 258

พระองค์ที่ 259

พระองค์ที่ 260

พระองค์ที่ 261

พระองค์ที่ 262

พระองค์ที่ 263

พระองค์ที่ 264

พระองค์ที่ 265

พระองค์ที่ 266

พระองค์ที่ 267

พระองค์ที่ 268

พระองค์ที่ 269

พระองค์ที่ 270

พระองค์ที่ 271

พระองค์ที่ 272

 

พระองค์ที่ 273


 

พระองค์ที่ 274

พระองค์ที่ 275

พระองค์ที่ 276

 

พระองค์ที่ 277

พระองค์ที่ 278

พระองค์ที่ 279

พระองค์ที่ 280

พระองค์ที่ 281

พระองค์ที่ 282

 

พระองค์ที่ 283

พระองค์ที่ 284

พระองค์ที่ 285

พระองค์ที่ 286

พระองค์ที่ 287

พระองค์ที่ 288

พระองค์ที่ 289

พระองค์ที่ 290

พระองค์ที่ 291

 

พระองค์ที่ 292

พระองค์ที่ 293

พระองค์ที่ 294

พระองค์ที่ 295

พระองค์ที่ 296

พระองค์ที่ 297

พระองค์ที่ 298

พระองค์ที่ 299

พระองค์ที่ 300

พระองค์ที่ 301

พระองค์ที่ 302

พระองค์ที่ 303

พระองค์ที่ 304

พระองค์ที่ 305

พระองค์ที่ 306

พระองค์ที่ 307

พระองค์ที่ 308

พระองค์ที่ 309

พระองค์ที่ 310

พระองค์ที่ 311

พระองค์ที่ 312

พระองค์ที่ 313

พระองค์ที่ 314

พระองค์ที่ 315

พระองค์ที่ 316

พระองค์ที่ 317

พระองค์ที่ 318

พระองค์ที่ 319

พระองค์ที่ 320

พระองค์ที่ 321

พระองค์ที่ 322

พระองค์ที่ 323 

พระองค์ที่ 324 

พระองค์ที่ 325 

พระองค์ที่ 326 
 
พระองค์ที่ 327
 
 พระองค์ที่ 328 
 

 

 ************************************************************************************ 

  

นิทรรศการภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงินที่วัดบางคลานที่จัดแสดงอยู่ที่ศาลาตั้งรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็นภาพพระที่ได้รับการยอมรับในท้องถิ่นเมืองพิจิตร  ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้เพื่อวางกรอบการเล่นหาพระเครื่องหลวงพ่อเงินอย่างเป็นสากลนิยม

 

************************************************************************************ 

 

เนื่องจากข้าพเจ้าอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ได้เดินทางไปมนัสการหลวงพ่อเงินที่วัดบางคลาน จังหวัดพิิจิตร  เมื่อไปถึงวัดและกราบมนัสการรูปหล่อหลวงพ่อเงินแล้วพบว่าภาพพระเครื่องหลวงพ่อเงินที่วัดบางคลานที่จัดแสดงอยู่ที่ศาลาตั้งรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็นภาพพระที่ได้รับการยอมรับในท้องถิ่นเมืองพิจิตร  ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้เพื่อวางกรอบการเล่นหาพระเครื่องหลวงพ่อเงินอย่างเป็นสากล  และไม่ได้เห็นเวปไซต์ใดนำมาเผยแพร่  ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างสูงสำหรับผู้นิยมศึกษาพระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จึงได้นำมาลงไว้ให้ศึกษากัน เพื่อจะได้รู้แนวทางการเล่นหาพระเครื่องหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ตามแนวทางของนักนิยมพระเครื่องท้องถิ่นในจังหวัดพิจิตร นครสวรรค์และพิษณุโลก

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
ที่อยู่ :  เลขที่1810 เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร.     รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร : 02-5394968      มือถือ :  0818033630
อีเมล : ariyasound@thaimail.com
เว็บไซต์ : www.ariyasound.com