Ariyasound อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร Mozart Effect
ReadyPlanet.com
dot dot
สมันตมุขปริวรรต สัทธรรมปุณพริกสูตร กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สุภูติ วัชรสูตร มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช หนังสือภาพหายาก ariyasound
ท่องแดนสุขาวดี  พระอมิตภะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบมหาโพธิสัตว์ พระอมิตาพุทธเจ้า แดนสวรรค์ อามิตตาพุทธ มหายาน วัชรยาน เจ้าแม่กวนอิม   สุขาวดีวยูหสูตร   มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช
พระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า buudha
ทิพยจักษุ พระพุทธเจ้า ตาทิพย์  อริยะ สุพรรณเภษัข
ดนตรีสวรรค์ ดนตรีพัฒนาจักระ  พัฒนาจักระ จักระ โยคะ โยคี อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา ariyasound
กวนอิม พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ อริยะ สุพรรณเภษัช
คุณธรรมพระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ มหายาน เสียง เสถียรสุต อริยะ สุพรรณเภษัช ariyasound




Mozart Effect

 

 

 

ปรากฎการณ์ Mozart Effect กับดนตรีคลาสสิก
 
( จากหนังสือ พัฒนา I.Q. E.Q. M.Q. และสมาธิ ด้วยพลังคลื่นเสียง : 2545) 
ดนตรีคลาสสิกเป็นเพลงไพเราะอันทรงคุณค่า เป็นดนตรีของยุโรปนับตั้ง
แต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1820 เป็นดนตรีที่มีแบบฟอร์มสลับซับซ้อน มีทั้งเพลงประเภทเต้นรำ เพลงรักเพลงทีบรรยายถึงธรรมชาติ จะมีลักษณะบรรยากาศที่ช้าและเร็วสลับกันไป เป็นดนตรีที่เกิดขึ้นจากในวัดในโบสถ์จนกลายมาเป็นเพลงชาวบ้านมีกระบวนเพลงด้วยกันหลายกระบวนเร็ว-ช้า-เร็ว สลับกันไป เป็นเพลงที่มีศักยภาพสูงมากในการสื่อสารทางอารมณ์และสติปัญญาอย่างเข้มข้นและลึกซึ้ง มีความวิเศษและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก ก็เพราะได้รับการยกย่องกันว่าเป็นเพลงคลาสสิกของทุกวัฒนธรรมสามารถตอบสนองการรับฟังของมนุษย์เราได้ในทุกระดับ
ซึ่งบทเพลงของดนตรีกลุ่มนี้ รับรองกันแล้วว่าดีถึงขนาด อยู่มานานและจะอยู่ไปได้อีกนานๆ เป็นผลงานของศิลปินที่มีความสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ ความกระจ่างชัดในด้านเนื้อหาและแบบแผนหรือรูปทรง ทั้งเป็นสมบัติล้ำค่าของมวลมนุษยชาติ (classic ในที่นี้แปลว่า อมตะ ไม่ตายง่ายๆ)
บางบทบางประเภทก็ประเทืองปัญญา บางบทบางประเภทก็ประเทืองอารมณ์อันลึกซึ้งละเอียดอ่อน บางบทบางประเภทก็มีพลังลึกล้ำที่สามารถปลดปล่อยความรู้สึกและอารมณ์ที่ขึ้นๆลงๆตามประสามนุษย์ของเราได้ดียิ่งกว่าเพลงประเภทอื่นใด สรุปคืออยู่มาได้นานและจะอยู่ต่อไปได้อีกนานๆ เพราะเป็นดนตรีที่เข้มข้นสุดฤทธิ์สุดเดชในหลากหลายทางยิ่งกว่าเพลงประเภทใดๆ
                     
 อิทธิพลของดนตรีคลาสสิกที่มีต่อเชาว์อารมณ์หรือไอคิว(I.Q.)
 
โมสาร์ท เอฟเฟค(The Mozart Effects ) เป็นเรื่องกำเนิดมาจากการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาเด็กด้วยการให้เด็กฟังเพลงคลาสสิก ได้เริ่มต้นจากข้อสมมติฐานที่เชื่อว่าเด็กจะโตขึ้นและมีสติปัญญาฉลาดเฉลียว ถ้าได้ให้ฟังเพลงคลาสสิก
มีข้อสมมติฐานดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากผลงานค้นคว้าในปี 1993 ของ Frances Rauscher นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย University of California วิทยาเขตเออร์ไวน์
[ ข้อมูลจากบทความเพลงคลาสสิกทางเลือกใหม่สำหรับคนยุคใหม่ในการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาการทางสติปัญญา นิตยสารแม่และเด็กปีที่ 23 ฉบับที่ 338 เมษายน 2543 ]
 
 
การวิจัยเกี่ยวกับ The Mozart Effect : เพลงคลาสสิคทางเลือกใหม่ของการพัฒนาศักยภาพสมองให้เกิดการเพิ่มพูนความทรงจำและความเฉลียวฉลาด(อริยะ สุพรรณเภษัช:2543) หลายปีที่ผ่านมา ได้มีการทดลองซึ่งได้แสดงให้ทราบว่าการฟังดนตรีคลาสสิคจะทำให้สามารถเพิ่มพูนความทรงจำ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่าThe Mozart Effect   เพราะว่าเพลงที่คัดเลือกมาใช้มาใช้ในการเพิ่มพูนความจำนั้นเป็นเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart ประชาชนที่ได้อ่านรายงานเกี่ยวกับการทดลองนี้จากวารสารและหนังสือพิมพ์ชื่อดังต่าง ๆ ก็สนใจที่จะฟังเพลงคลาสสิคเพราะว่ามันน่าจะเป็นวิถีทางที่ดีที่จะเพิ่มพูนความจำและเพิ่มความเฉลียวฉลาดทางปัญญา
การทดลองนี้จุดเริ่มต้นได้ตีพิมพ์ที่ The Journal Nature โดยคณะนักวิทยาศาสตร์ ของ University of California ที่ เมือง Irvine ในปี 1993 คณะวิจัยได้ทำการวิจัยโดยใช้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มกำหนดให้ฟังเสียงต่อไปนี้ 10 นาที ได้แก่
1. เพลง sonata for two pianos in D major   ของ Mozart
2. เพลง relaxation
3. ความเงียบ silence
ในทันทีหลังจากได้ฟังสิ่งที่คัดเลือกเหล่านั้น นักศึกษาแต่ละคนจะได้รับแบบทดสอบวัด ทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์(spatial reasoning test) จาก สแตมฟอร์ด-บิเนห์ อินเทลลิเจนท์ เทสส์(the Stanaford-Binet Intelligence test) ผลได้แสดงว่าคะแนนของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากได้ฟังเพลงของโมสาร์ท เมื่อเปรียบเทียบกับการฟังเพลงจากเทป relaxation และ ความเงียบ ภายใต้เวลาที่ผ่านไป 10-15 นาทีที่คณะวิจัยได้ทดลองกับกลุ่มทดลอง 
ซึ่งพวกเขาได้มีความเชื่อว่าความทรงจำจะสามารถถูกเพิ่มพูนได้เพราะว่า ดนตรีและความสามารถของทักษะด้านมิติสัมพันธ์และการจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบ 3 มิติ และทักษะความฉลาดในการใช้ช่องว่าง(spatial abilities) ภายในสมอง  จะมีความสัมพันธ์ร่วมกันภายในสมอง 
ดังนั้นพวกเขาจึงได้คิดสรุปว่าดนตรีจะมีส่วนในการช่วยกระตุ้นสมองสำหรับการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์( the spatial reasoning test)

 

 
 
อาจกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้อุตสาหกรรมที่หากินกับผลวิจัยThe Mozart effects กำลังเจริญรุ่งเรืองมาก รวมทั้งการทำการวิจัยเพื่อขยายผลการวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ได้พบว่า เด็กชั้นประถมปีที่ 2 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในนครลอสแองเจลิส หลังเริ่มเรียนเปียโนนาน 4 เดือน มีผลการเรียนวิชาเลขคณิต ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 27 เปอร์เซ็นต์
เรื่องแปลกคือ ตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ยังไม่มีนักวิจัยคนไหนทำผลวิจัย The Mozart effects ออกมาได้อีก เรื่องนี้ Rauscher ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชา การพัฒนาการเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน วิทยาเขตออชคอช ได้ออกมาได้ว่า เป็นเพราะแบบการวิจัย ที่ทำขึ้นใหม่ ไม่ได้ตรงกับของเดิม อย่างไรก็ตามยังคงมีการเชื่อกัน ดนตรีมีผลดีต่อเด็กจริงๆ
กอร์ดอน ชอว์ ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ และ ดร.ฟรานซิส โรเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำวิจัยพบว่า การฟังดนตรีของคีตกวีก้องโลก วูลฟ์กัง อมาเดอุส โมสาร์ท แม้เพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จะช่วยทำให้สมองของมนุษย์มีการรับรู้ได้เร็วขึ้น
ชอว์ได้ทำการทดสอบกับนักศึกษาจาก 36 สถาบัน โดยให้กลุ่มผู้ถูกทดสอบฟังบทเพลงเปียโนโซนาต้า D เมเจอร์ของโมซาร์ท แล้วจากนั้นทดสอบไอคิว   โดยนักศึกษาจะต้องตัดกระดาษที่พับไว้ และให้เดารูปทรงเมื่อคลี่แผ่นกระดาษออกมา พบว่านักศึกษาที่ฟังบทเพลงของโมซาร์ทระหว่างทำการทดสอบ มีระดับไอคิวสูงขึ้นจากเดิมอีก 9 คะแนน เมื่อเทียบกับผลการทดสอบในห้องเงียบ ๆ ที่ปราศจากเสียงเพลงของโมสาร์ท
ทั้งนี้ คณะวิจัยชุดดังกล่าวแจกแจงว่า ดนตรีคลาสสิคช่วยให้มนุษย์สามารถใช้เหตุผลทางนามธรรมได้สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนวิชาทางด้านคณิตศาสตร์ ขณะที่การฟังจังหวะเพลงร็อคและเพลงแจ๊ซนิวเอจซ้ำๆ จะทำให้การใช้เหตุผลทางนามธรรมของมนุษย์ลดลง (ยูเรนัส,2542)
ดร.Kenneth Steele และคณะ (1999) รายงานการวิจัยของคณะนักวิจัยที่ Appalachian State University โดยตีพิมพ์ใน Issue of Psychological Science ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม 1999 Vol.10 Pages 366-369 ดร.Kenneth Steele และ ผู้ร่วมงานวิจัย ซึ่งได้รายงานอธิบายสรุปสภาวะที่เกิดขึ้นกับสมองดังนี้   (อริยะ สุพรรณเภษัช:2543)
“มีเหตุต่าง ๆ อยู่เล็กน้อยที่เป็นพื้นฐานที่จะช่วยสนับสนุนความเฉลียวฉลาด” ผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบ The Mozart Effect  ซึ่งได้มีการเจาะลึกถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมด้านดนตรีกับทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (spatial-temporal reasoning) พวกเขาเลือกนักเรียนอนุบาล อายุอยู่ระหว่าง 3-4 ปี มาทำการทดลองอยู่ 8 เดือน โดยเด็กนักเรียนถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
 
 
กลุ่มที่ 1   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ด (Keyboard lessons)
กลุ่มที่ 2   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านการร้องเพลง(Singing lessons)
กลุ่มที่ 3   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ (Compuer lessons)
กลุ่มที่ 4   ไม่ได้รับการอบรม    (No lessons)
หลังจากการปฏิบัติ 8 เดือน เด็กเหล่านั้นได้ถูกทดสอบพวกเขาในความสามารถทางด้าน ทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (spatial-temporal reasoning) และทักษะความทรงจำเกี่ยวกับรูปร่าง  (Spatial-recognition reasoning) ผลปรากฎว่าเป็นที่น่าภาคภูมิใจ พวกเขาพบว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดสามารถทำคะแนนจากการทดสอบ ความสามารถทางด้าน ทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ ( the spatial-temporal test)   ได้เพิ่มพูนขึ้น แม้แต่ว่าการทดลองต่อมาจะใช้เวลาสำหรับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดเพียงวันเดียว เด็กเหล่านั้นก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของคะแนน แต่เด็กกลุ่มอื่นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ในการทดสอบคะแนนจากแบบทดสอบทักษะความทรงจำเกี่ยวกับรูปร่าง(Spatial-recognition test) สำหรับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดเพียงวันเดียวพบว่ามีการเพิ่มพูนขึ้นของคะแนน แต่สำหรับกลุ่มอื่นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของคะแนน     การทดลองนี้ยืนยันเกี่ยวกับอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพทางสมอง
ดังนั้นจากผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็ได้รายงานสอดคล้องต้องกันถึงประโยชน์ของดนตรีในฐานะที่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดของมนุษย์ แต่ต้องเป็นดนตรีที่เกิดจากการฟังอย่างตั้งใจ หาใช่เพียงแค่การได้ยิน ทั้งนี้เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้นจะทำให้เราได้มีโอกาสพิจารณา จำแนก และวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบความเป็นทางการหรือเนื้อหาที่ผ่อนคลายและแนวดนตรี ซึ่งประโยชน์ของดนตรีในแง่ของการเสริมสร้างความฉลาดนี้ดำเนินไปในลักษณะเดียวกับการออกกำลังกายที่สามารถพัฒนาการทำงานของสมองน้อยได้ด้วยการเพิ่มข้อมูลสำเร็จรูปของประสบการณ์ การเคลื่อนไหว ความรู้สึก อารมณ์ การวิเคราะห์ ความสามารถในการจดจำ เปรียบประดุจการสะสมทรัพย์อันมีค่า เมื่อต้องการก็หยิบออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีและเป็นทุนรอนสำหรับการลงทุนเพื่อเพิ่มทรัพย์ในครั้งต่อไป (พิสุทธิพร ฉ่ำใจ,พลังสมองใช้ให้เป็น,สำนักพิมพ์ต้นธรรม,2543) ถ้าเป็นเช่นนี้คงต้องรีบแสวงหาดนตรีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองและคนที่เรารัก และหลีกเลี่ยงดนตรีที่ไม่เหมาะสม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชีวิต
 
 
 
ผลการวิจัยเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกกับการพัฒนาสมอง
นัยพินิช คชภักดี และ นิตยา คชภักดี (2542) ได้ศึกษาค้นคว้าของ เกี่ยวกับผลการวิจัยดนตรีคลาสสิกกับการพัฒนาสมอง ไว้ดังนี้
ผลการวิจัยมากมายชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการทางสมองของเด็กสามารถกระตุ้น
ได้ด้วยดนตรีคลาสสิก ดนตรีคลาสสิกมีท่วงทำนองและจังหวะซับซ้อน จึงอาจช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (Spatial – Temporal Reasoning) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
     จากการวิจัยพบว่าจังหวะเสียงสูงต่ำและความถี่ของเสียงดนตรีอาจช่วยพัฒนาความ
สามารถในการเรียนภาษาได้ดีขึ้น
ดนตรีคลาสสิกอาจช่วยให้ทารกเกิดความรู้สึกสงบสบายขึ้น      ทำให้สามารถรับรู้และเข้าใจสภาวะแวดล้อมในระหว่างที่รู้สึกผ่อนคลายได้ดีขึ้น จึงช่วยให้ปรับตัวเข้ากับชีวิตภายนอกครรภ์มารดาได้ดี
ดนตรีคลาสสิกบางผลงานส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของทารกโดยเพิ่มขีดความสามารถด้านคำพูด อารมณ์,พัฒนาสมาธิและความทรงจำและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองซีกขวา   ซึ่งใช้ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่าดนตรีอาจส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
จากการวิจัยพบว่าเด็กอายุ 3 เดือนที่เรียนรู้ทักษะง่าย ๆ ขณะฟังดนตรีคลาสสิกจะ
สามารถจดจำสิ่งที่ตนเรียนรู้ แม้เมื่อเปิดเพลงเดิมให้ฟังอีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน
การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนที่ฝึกเล่นเปียโน   กลุ่มที่ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่ไม่ได้
รับการฝึกฝนใด ๆ พบว่าในระหว่างการวิจัย เด็กที่เล่นเปียโนเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีความสามารถเข้าใจเหตุผลของความสัมพันธ์ของสิ่ง ต่าง ๆ ได้รวดเร็วเพิ่มขึ้นถึง 37%
 
การศึกษากลุ่มเด็กอนุบาล        พบว่าความสามารถในการจำแนกความสูงต่ำของเสียงสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านหนังสือ โดยส่งผลให้เด็กสามารถเรียนรู้ในการเปล่งเสียงได้เร็วยิ่งขึ้น
เด็กมัธยมปลาย ปีสุดท้ายที่ได้เรียนศิลปะมา 4 ปี หรือมากกว่า        จะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์และสอบปากเปล่าของข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา (SAT) ได้สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียน หรือมีประสบการณ์ในวิชาศิลปะถึง 8-12 %
 
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลการวิจัยดนตรีคลาสสิกกับการพัฒนาสมอง ของ ผศ.ดร.อุษณีย์ โพธิสุข(2542) ได้กล่าวไว้ว่าขณะนี้มีผลงานวิจัยของนักดนตรีชาวเชคโกสโลวาเกียและออสเตรีย พบว่าดนตรีแต่ละอย่างให้ผลต่อคลื่นสมองของมนุษย์โดยตรง เช่น หากเด็กกำลังโกรธเกรี้ยว โมโห เมื่อฟังเพลงคลาสสิคบางเพลง สามารถทำให้สงบลงได้ และงานวิจัยนี้ยังทำละเอียดถึงขนาดเพลงของทุก ๆ วิชา เช่นเวลาจะสอบเลขจะฟังเพลงทำนองใด วิทยาศาสตร์ เพลงประเภทใด ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นเพลงชนิดใด   
          
 
ดนตรีคลาสสิกกับการพัฒนาสมาธิ
          จากผลการค้นคว้าของ ดร.ลอชาดนอฟ   ชาวฮังการีระบุว่า ดนตรีคลาสสิคเป็นแรงกระตุ้นคลื่นอัลฟ่าที่ดีที่สุด เพราะว่าดนตรีคลาสสิคทำให้สมองเกิดคลื่นอัลฟ่าซึ่งคลื่นชนิดนี้จะช่วยพัฒนาและสติปัญญาอย่างแน่นอน ในสภาวะนี้สมองจะเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เมิ่อได้รับความช่วยเหลือจากดนตรีคลาสสิคจะทำให้ความจำและความมีสมาธิของจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าอย่างแน่นอน จากการใช้พลังมหัศจรรย์ของคลื่น อัลฟ่าที่เกิดจากดนตรีคลาสสิคนี้ 
          การค้นคว้าของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัชเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิกพบว่ามีดนตรีคลาสสิกประเภทกลุ่มพัฒนาสมาธิ จะกระตุ้นสมองทำให้สมองเกิดคลื่นอัลฟ่าและพัฒนาสมาธิได้ดีเป็นพิเศษ
 
 
 

รายชื่อเพลงคลาสสิคของ MOZART

ที่ใช้ในการพัฒนาเชาว์ปัญญาและสมาธิ
จากการวิจัยของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
 

ลำดับ
ชื่อเพลง
1
Divertimento in D
2
Divertimento in G Minor
3
Duo for Violin and Viola in B flat
4
Eine Kleine Natmusik : Allegro
5
Eine Kleine Natmusik II .Romance Adante
6
Eviar Madigan
7
Flute Concerto in G Minor (III Rondo)
8
Flute concerto No 1 in G Minor
9
Horn Concerto No 1 in D
10
Horn Concerto No 2 in E flat Major
11
Horn Concerto No 3 in E flat
12
Horn Concerto No 4
13
Horn Concerto No 4 in E flat
14
Horn Quintet in E flat
15
Laci darim Ia mano from Don Giovanni
16
Magic Flute
17
Piano Concerto No 17 in G
18
Piano Concerto No 19 in F
19
Piano Concerto No 20 (III Rondo)
20
Piano Concerto No 20 in D Minor
21
Piano Concerto No 21 in C
22
Piano Concerto No 21 in C Major
23
Piano Concerto No 24 in C Minor (III Allegretto)
24
Piano Quartet in G Minor
25
Piano Sonata in A Major
26
Piano Sonata in C Major
27
Piano Sonata in D
28
Piano Sonata No 11
29
Piano Sonata No 11 in A
30
Piano Sonata No 11 in A Major
31
Piano Sonata No 15
32
Piano Sonata No 20
33
Piano Sonata No 21
ลำดับ
ชื่อเพลง
31
Piano Sonata No 15
32
Piano Sonata No 20
33
Piano Sonata No 21
34
Posthorn Serenade in D Major first movement
35
Prelude No 3 in F
36
Rondo in D Major
37
Serenata notturna III
38
Sinfornia Concentante in E flat
39
Sonata for two piano
40
Sonata in D for two piano
41
Sonata No 5 in C Major
42
String Quartet No 12 in B flat
43
Symphony No 29
44
Symphony No 35 in D Major first movement
45
Symphony No 38 in D Major
46
Symphony No 40 in G Minor
47
The Marriage of Figaro (Overture)
48
The Sonata in F Major for Violin and Piano
49
Theme from Elvira Madigan
50
Violin Concerto in D
51
Violin Concerto No 4 Adante cantabile
52
Violin Concerto No 4 in D
53
Violin Concerto No 5

 
ชุดดนตรีคลาสสิคจากงานวิจัย
ของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช
 
ลำดับ
ชื่อชุด
วัตถุประสงค์การฟังดนตรีชุดนี้
ความยาว
1
Bach Meditation
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
2
Mozart Meditation
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
3
Jesus Meditation
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
4
Heart Meditation
พัฒนาความรัก/เมตตา
60 นาที
5
Violin Meditation
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
6
Classic Meditation
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
7
Super Meditation
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
8
Meditation Music 1
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
9
Meditation Music 1
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
10
Mozart Activator Music
พัฒนาไอคิว
60 นาที
11
Chopin Activator Music
พัฒนาไอคิว
60 นาที
12
Bach Activator Music
พัฒนาไอคิว
60 นาที
13
Mozart Chopin Beethoven Activator
พัฒนาไอคิว
60 นาที
14
Mozart Chopin Bach Activator
พัฒนาไอคิว
60 นาที
15
Mixer Limbic Speed Activators
พัฒนาไอคิว
60 นาที
16
Emotion Energizing 1
พัฒนาอารมณ์
60 นาที
17
Emotion Energizing 2
พัฒนาอารมณ์
60 นาที
18
Mozart Energizing
พัฒนาอารมณ์
60 นาที
19
Frontal Mozart Music
พัฒนาอารมณ์
60 นาที
20
Temporal Mozart Music
พัฒนาอารมณ์
60 นาที
21
Parietal Mozart Music
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
22
Mozart Bach Parietal Music
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
23
Frontal Fantasy Activator
พัฒนาอารมณ์/ความคิดสร้างสรรค์
60 นาที
 
ลำดับ
ชื่อชุด
วัตถุประสงค์การฟังดนตรีชุดนี้
ความยาว
24
Frontal Lobe Activator
พัฒนาอารมณ์
60 นาที
25
Mozart Limbic Music
พัฒนาไอคิว
60 นาที
26
Brain Conversation Mozart Music I
พัฒนาไอคิวและสร้างความสมดุลย์ให้กับสมองซีกซ้าย/ขวา
60 นาที
27
Brain Conversation Mozart Music II
พัฒนาไอคิวและสร้างความสมดุลย์ให้กับสมองซีกซ้าย/ขวา
60 นาที
28
Heart Zone 1
พัฒนาความรัก/เมตตา
60 นาที
29
Heart Zone 2
พัฒนาความรัก/เมตตา
60 นาที
30
Deep Sleep 1
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
31
Deep Sleep 2
พัฒนาสมาธิ
60 นาที
 
ข้อสังเกตุและข้อเสนอแนะสำหรับการเลือกฟังเพลงคลาสสิก 
ข้าพเจ้าได้ให้รายชื่อเพลงคลาสสิกจากผลงานการวิจัยของข้าพเจ้ากว่า 4 ปี มอบให้กับทุกท่านโดยไม่ปิดบัง เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องพบความยากลำบากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทรเช่นเดียวกับข้าพเจ้าและสามารถรายชื่อเพลงดังกล่าวนำไปใช้ประโยชน์และค้นคว้าวิจัยต่อยอดในงานด้านดนตรีต่อไป  
แต่ข้าพเจ้าขอบอกข้อสังเกตจากประสบการณ์ที่ได้ทำการวิจัยแยกแยะสัมผัสพลังจากคลื่นเสียงของเพลงคลาสสิกแต่ละเพลง ไว้ประการหนึ่งว่า “ เพลงคลาสสิกแม้จะเป็นเพลงเดียวกัน แต่ว่าถ้าคนบรรเลงต่างกัน ความเร็วช้าในการบรรเลงต่างกัน วงดนตรีที่บรรเลงต่างกัน บริษัทที่อัดเสียงต่างกัน แม้กระทั่งการเรียบเรียงเพลงต่าง ๆ ในชุดดนตรีต่างกัน พบว่าผลที่จะได้รับพลังจากคลื่นเสียงก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก ”
จากผลสรุปดังกล่าว จึงได้ให้ข้อเตือนใจว่า คุณภาพสูงสุดของการได้รับประโยชน์ของพลังจากคลื่นเสียงของเพลงคลาสสิกไม่ได้อยู่เพียงแค่ว่าเทปนั้นหรือซีดีนั้นมีรายชื่อเพลงที่ข้าพเจ้าให้ไว้ แต่จะต้องขึ้นกับศักยภาพในปัจจัยต่าง ๆ ตามที่ข้าพเจ้าให้ข้อสังเกตไว้ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้ตั้งข้อสังเกตมา ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือผู้บรรเลงดนตรี จะต้องมีความเข้าถึงดนตรี เข้าถึงอารมณ์ เข้าถึงแรงบันดาลใจและเบื้องลึกของการแต่งเพลงนั้น ๆ หรือแม้ตนเองกำลังเล่นดนตรีก็เสมือนสวมวิญญาณของผู้แต่งเพลงบรรเลงอยู่ เพลงที่ออกมาจึงจะสำแดงศักยภาพของพลังแห่งคลื่นเสียงของจิตวิญญาณแห่งคีตกวีทางดนตรีในอดีตอย่างเต็มที่ 
ข้าพเจ้าจึงเสนอแนะว่าควรใช้วิจารญาณอย่างมากก่อนที่จะหาซื้อและนำเทปหรือซีดีเพลงคลาสสิคหรือเพลงพัฒนาสมาธิไปเปิดฟังนั้น จำเป็นต้องศึกษาถึงที่มาของเทปหรือซีดีเหล่านั้นว่านักดนตรีหรือวงดนตรีที่บรรเลง,ความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเพลงบริษัทเพลงด้วยเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของดนตรีที่ผลิตออกมา ไม่ทำสุกเอาเผากินได้แต่สักคัดเพลงดัง ๆ เรียง ๆ ลงไปเพื่อการค้าโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ โดยเฉพาะดนตรีคลาสสิกที่จะใช้เพื่อการพัฒนาศักยภาพสมองและสมาธิ ต้องผ่านการคัดเลือกโดยศึกษาถึงพลังดนตรี,ความต่อเนื่องแห่งพลัง ,จังหวะความเร็วช้าของเพลงซึ่งบางครั้งการเร็วเกินไป หรือช้าเกินไปก็มีผลต่อศักยภาพของเพลง และการเรียงลำดับเพลง ในเพลงชุดเดียวกันถ้าการเรียงเพลงในเทปหรือซีดี อย่างไม่ถูกต้อง ผลที่ได้รับก็ต่างกันอย่างมากมาย
 
 
นอกจากนี้การที่จะนำเพลงไปใช้กับเด็กนั้นจะต้องให้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการเลือกเพลงที่จะใช้เพราะเด็กมีโสตประสาทอันละเอียดอ่อน และสมองพร้อมที่จะพัฒนา การจัดเพลงที่ไม่เหมาะสม,การเรียงลำดับเพลงที่ไม่เหมาะสม หรือท่วงทำนองจังหวะลีลา ความดังค่อยที่ไม่เหมาะสม ถ้าเปิดให้กับเด็กฟังแทนจะเกิดประโยชน์ กลับจะเกิดโทษต่อเด็กได้โดยที่ท่านไม่รู้ตัว เช่น ถ้าเพลงมีจังหวะดังรุนแรงเกินไปอย่างกระทันหันเด็กอาจตกใจกลัวร้องไห้เป็นต้น   สำหรับดนตรีคลาสสิกจากงานวิจัยของอาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช สามารถรับฟังได้ด้วยตนเองที่ห้องสมุดคลื่นเสียง ซึ่งตั้งอยู่ที่  ห้องสมุดโรงเรียนถนอมพิศวิทยา โรงเรียนถนอมพิศวิทยา ระหว่างซอยลาดพร้าว62-64 ถ.ลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กทม. ซึ่งทางห้องสมุดได้จัดชุดดนตรีคลาสสิกจากงานวิจัยและดนตรีคลาสสิกที่น่าสนใจมากกว่า 200 แผ่นให้ผู้สนใจทดลองฟังได้เป็นการให้บริการแก่สาธารณะ โดยไม่คิดมูลค่าครับ สนใจเชิญรับฟังได้ครับในเวลาราชการ  ตามวันและเวลาดังกล่าว สำหรับผู้สนใจชุดดนตรีMozart Effect  และชุดดนตรีคลาสสิกจากงานวิจัย เป็นพิเศษสามารถติดต่อสอบถามได้ที่อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช โทร 081-8033630 ครับ 
 

 

       ซึ่งจะทำให้มีเชาว์ปัญญาดีขึ้น ทางด้าน spatial-temporal หรือด้านการจิตนาการและการลำดับเวลา ซึ่งเป็นข้อบ่งบอกความเฉลียวฉลาดของคน
ดนตรีโมสาร์ท ต่อมาได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็กทารก โดยเชื่อว่าถ้าทารกคนไหนได้ฟังเพลงโมสาร์ท เป็นประจำ ทารกคนนั้นโตขึ้นจะมีสมองดี นอกจากนี้ความรู้ดังกล่าวยังได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้นเพราะต่อมาไม่นาน รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นรัฐๆ หนึ่งของสหรัฐ ก็ได้ออกกฎบังคับให้เด็กเกิดใหม่ทุกคน ต้องได้รับการแจกแผ่นดิสก์เพลงโมสาร์ท ตามด้วยรัฐฟลอริดา ที่ได้บังคับให้เด็กนักเรียนทุกคนต้องฟังเพลงดนตรีคลาสสิกทุกวันที่ไปโรงเรียน






Copyright © 2010 All Rights Reserved.

โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
ที่อยู่ :  เลขที่1810 เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร.     รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร : 02-5394968      มือถือ :  0818033630
อีเมล : ariyasound@thaimail.com
เว็บไซต์ : www.ariyasound.com