Ariyasound อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ผ่าสมองไอสไตน์
ReadyPlanet.com
dot dot
สมันตมุขปริวรรต สัทธรรมปุณพริกสูตร กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สุภูติ วัชรสูตร มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช หนังสือภาพหายาก ariyasound
ท่องแดนสุขาวดี  พระอมิตภะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบมหาโพธิสัตว์ พระอมิตาพุทธเจ้า แดนสวรรค์ อามิตตาพุทธ มหายาน วัชรยาน เจ้าแม่กวนอิม   สุขาวดีวยูหสูตร   มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช
พระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า buudha
ทิพยจักษุ พระพุทธเจ้า ตาทิพย์  อริยะ สุพรรณเภษัข
ดนตรีสวรรค์ ดนตรีพัฒนาจักระ  พัฒนาจักระ จักระ โยคะ โยคี อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา ariyasound
กวนอิม พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ อริยะ สุพรรณเภษัช
คุณธรรมพระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ มหายาน เสียง เสถียรสุต อริยะ สุพรรณเภษัช ariyasound




ผ่าสมองไอสไตน์

 

 

 

ผ่าสมองอัจฉริยะ
ผู้ที่สนใจในเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อัจฉริยะ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก และผู้ที่เคยศึกษาหรืออ่านเกี่ยวกับประวัติของอัจฉริยะผู้นี้คงทราบดีว่าประวัติของไอน์สไตน์นั้นไม่ธรรมดาเลย แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าสมองของไอน์สไตน์หลังเสียชีวิตไปแล้วก็มีเส้นทางที่โลดโผนไม่เบาเช่นกัน เพราะนักวิทยาศาสตร์ต่างก็ปรารถนาศึกษาสมองของไอน์สไตน์เพื่อหาคำตอบว่าอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์เกิดขึ้นได้อย่างไร ดังนั้นสมองของไอน์สไตน์จึงต้องเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อนำไปศึกษา
ในช่วง 20 กว่าปีแรก เรื่องราวเกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์เป็นความลับดำมืด ไม่มีใครทราบแม้กระทั่งว่าสมองไอน์สไตน์อยู่ที่ไหนและใครเก็บไว้ จนถูกนักข่าวมือดีขุดคุ้ยความลับมาตีแผ่ จึงมีการนำสมองมาวิจัยและเผยแพร่ผลการศึกษาต่อสาธารณชน
นิทรรศการเรื่องนี้เป็นการเปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์ในอดีตและผลการวิจัยครั้งล่าสุด (ค.ศ. 1999) ซึ่งพบว่าสมองของไอน์สไตน์มีลักษณะแตกต่างไปจากสมองของคนทั่วไป

 

ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อัจฉริยะ ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ
เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 วารสารแลนเซต (Lancet) อันเป็นวารสารด้านการแพทย์ที่มีชื่อเสียงก้องโลกได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาสมองของไอน์สไตน์ และพบว่าสมองของอัจฉริยะผู้นี้มีบางส่วนที่ใหญ่กว่าคนธรรมดา และเป็นข่าวดังไปทั่วโลก
ผู้ที่สนใจในเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อัจฉริยะ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก และผู้ที่เคยศึกษาหรืออ่านเกี่ยวกับประวัติของอัจฉริยะผู้นี้คงทราบดีว่าประวัติของไอน์สไตน์นั้นไม่ธรรมดาเลย แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าสมองของไอน์สไตน์หลังเสียชีวิตไปแล้วก็มีเส้นทางที่โลดโผนไม่เบาเช่นกัน
ไอน์สไตน์ผู้ค้นพบความจริงเกี่ยวกับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ หรือที่ผู้ที่เรียนวิทยาศาสตร์มาบ้างคุ้นเคยในรูปของสมการ E = mc2 เป็นชาวเยอรมันเชื้อสายยิว เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1879 ในประเทศเยอรมนี ในวัยเด็กนั้นไอน์สไตน์หัดพูดได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งเมื่อโตขึ้นมาก็มีปัญหาในเรื่องการเรียนเพราะเป็นเด็กที่มีความคิดอ่านผิดจากเด็กทั่วไป
ในวัย 16 ปี ไอน์สไตน์สอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ถ้าจะเปรียบเทียบกับในปัจจุบันก็คงพูดได้ว่าสอบเอนทรานซ์ไม่ติด จากนั้นในปีถัดมาจึงได้มีโอกาสเข้าเรียนจนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี
หลังจากจบการศึกษา ไอน์สไตน์เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์อยู่พักหนึ่ง แต่ก็เข้ากับพวกอาจารย์ฟิสิกส์ด้วยกันไม่ได้ ต่อมาจึงได้รับการฝากงานให้มาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิบัตร มีหน้าที่คอยตรวจสอบเกี่ยวกับหลักการและกรรมวิธีที่บรรยายไว้ในเอกสารขอจดสิทธิบัตรเพื่อให้ทางการออกสิทธิบัตรให้ ที่นี่เองที่ไอน์สไตน์ได้ใช้ความรู้ด้านฟิสิกส์อย่างเต็มที่
ต่อมาเมื่อไอน์สไตน์ประกาศผลงานเรื่องทฤษฎีสัมพันธภาพเฉพาะ ไอน์สไตน์ก็กลายเป็นนักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียง และหลังจากนั้นไอน์สไตน์ในวัยหนุ่มก็มีผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์ที่สำคัญอีกหลายเรื่อง และหลายปีต่อมาก็กลับไปยึดอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์นั้นได้ถูกใช้เป็นแนวทางในการสร้างระเบิดปรมาณูในเวลาต่อมา
ไอน์สไตน์เป็นนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ แนวคิดทางฟิสิกส์ของไอน์สไตน์เป็นเรื่องที่ล้ำสมัยในยุคนั้น ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไต์นั้นเมื่อแรกที่ประกาศออกมาก็ยังไม่สามารถทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ ต้องรออีกหลายปีต่อมานักฟิสิกส์จึงพัฒนาความรู้และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์จึงพิสูจน์ได้
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่กี่ปี ไอน์สไตน์ได้รับเชิญให้ไปเป็นอาจารย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลังจากนั้นก็ตั้งรกรากถาวรที่นั่นเพราะไม่สามารถกลับเยอรมนีได้เนื่องจากฮิตเลอร์เรืองอำนาจและเข่นฆ่าชาวยิวในเยอรมนี
คำพูดและความคิดเห็นของไอน์สไตน์มีน้ำหนักมากทั้งต่อวงการวิทยาศาสตร์และวงการเมือง ไอน์สไตน์ตระหนักดีว่าผลงานการค้นคว้าทางทฤษฎีฟิสิกส์ของตนมีส่วนในการพัฒนาระเบิดปรมาณูที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 (อ่านความเป็นมาในการสร้างระเบิดปรมาณูได้ที่ นิทรรศการฮิโรชิมารำลึก) ดังนั้นชีวิตในช่วงหลังของไอน์สไตน์จึงอุทิศตนอย่างเต็มที่เพื่อให้โลกหันมาพัฒนาพลังงานปรมาณูในทางสันติ
ไอน์สไตน์เสียชีวิตในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1955 เมื่ออายุได้ 76 ปี ที่โรงพยาบาลพรินซ์ตันในรัฐนิวเจอร์ซีย์ หลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิต เรื่องพิลึกก็เกิดขึ้น นั่นคือ ดร. ทอมัส ฮาร์วีย์ ได้ทำการผ่าสมองของไอน์สไตน์และนำเนื้อสมองมาดองเก็บไว้ แม้ไอน์สไตน์มีคำสั่งเสียไว้ว่าให้จัดการเรื่องศพของตนโดยใช้วิธีเผาศพ แต่กับเรื่องสมองนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าไอน์สไตน์ได้อุทิศสมองไว้ให้ศึกษา ทายาทของไอน์สไตน์เองก็เพิ่งทราบภายหลังจากที่ ดร.ฮาร์วีย์ผ่าสมองออกไปแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ดร.ฮาร์วีย์ก็สามารถเจรจากับทายาทของไอน์สไตน์ให้เห็นประโยชน์ของการเก็บสมองของอัจฉริยะผู้นี้ไว้ศึกษา และก็ได้รับความยินยอมในที่สุด
แต่หลังจากที่ ดร.ฮาร์วีย์ผ่าสมองของไอน์สไตน์ไปดองเก็บไว้แล้ว เรื่องของสมองไอน์สไตน์ก็เงียบหายไป กลายเป็นปริศนาดำมืด และไม่ปรากฏรายงานการวิจัยใดๆเกี่ยวกับสมองของอัจฉริยะผู้นี้เลย
จนอีก 23 ปีให้หลัง หรือในปี ค.ศ. 1978 บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์รายเดือนชื่อนิวเจอร์ซีย์มันท์ลีย์ (New Jersey Monthly) เกิดสนใจเรื่องนี้ขึ้นมา หลังจากที่ตรวจสอบข่าวและพบว่าเรื่องนี้เงียบหายไปนานปีแล้ว จึงได้มอบหมายให้นักข่าวชื่อสตีเวน เลวี ไปขุดคุ้ยเรื่องนี้ขึ้นมา
หลังจากการสืบเสาะของเลวีก็พบว่าสมองดังกล่าวน่าจะยังอยู่กับ ดร.ฮาร์วีย์ ในชั้นต้นเลวีโทรศัพท์ทางไกลข้ามรัฐเพื่อคุยกับ ดร.ฮาร์วีย์เรื่องสมองของไอน์สไตน์ แต่ก็ได้รับการบอกปัดว่าไม่สามารถจะให้ความช่วยเหลืออะไรได้ แต่เลวีไม่ยอมแพ้ง่ายๆ จึงลงทุนเดินทางไปพบ ดร.ฮาร์วีย์ที่รัฐวิสคอนซินด้วยตนเอง
และก็ได้ผล หลังจากที่เลวีได้พบ ดร.ฮาร์วีย์ ก็ได้ทราบว่าสมองของไอน์สไตน์ยังอยู่กับ ดร.ฮาร์วีย์จริงๆ สมองถูกเก็บผ่าเป็นหลายชิ้นและดองอยู่ในขวดโหล หลังจากนั้นข่าวคราวเกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์จึงได้ปรากฏแก่สาธารณชนอีกครั้ง
จวบจนในปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปีหลังจากที่ไอน์สไตน์เสียชีวิต มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์เท่าที่มีการตีพิมพ์มีเพียง 3 ชิ้นเท่านั้น รายงานวิจัยฉบับแรกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1985 หลังจากที่เลวีขุดคุ้ยเรื่องนี้ 7 ปี โดยกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียที่เบิร์กลีย์ (University of California, Berkley) ซึ่งมี ดร.ฮาร์วีย์รวมอยู่ด้วย

รายงานฉบับนี้เป็นผลจากการวิจัยเกี่ยวกับสมอง 2 บริเวณ คือ บริเวณที่เรียกว่า บริเวณ 9 (area 9) และบริเวณ 39 โดยเปรียบเทียบกับสมองของชายที่มีเชาวน์ปัญญาปกติ อายุราว 64 ปี จำนวน 11 คน ผลปรากฏว่าไม่พบความแตกต่างกับสมองของคนปกติ ยกเว้นบริเวณ 39 ของสมองซีกซ้ายที่พบว่ามีไกลอัลเซลล์ (Glial cell เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง หากไม่มีเซลล์ชนิดนี้ เซลล์ประสาทจะทำงานไม่เป็นปกติ) มากกว่าคนทั่วไป

 

แสดงตำแหน่งของสมองไอน์สไตน์บริเวณ 9 และ 39 จากการศึกษาในปี ค.ศ. 1985 พบว่าสมองบริเวณ 39 ซีกซ้ายมีไกลอัลเซลล์
มากกว่าของคนปกติ

 

ไกลอัลเซลล์
ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) บริเวณ 9 นั้นเป็นส่วนของสมองที่มีชื่อว่าฟรอนทัล (frontal lobe) ส่วนสมองบริเวณ 39 นั้นเป็นของส่วนที่มีชื่อว่าแพริเอตทัล (parietal lobe) มีหน้าที่เกี่ยวกับการคิดในระดับสูง ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลทางสายตา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ภาษา และดนตรี ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสรุปว่าอัจฉริยภาพด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ของไอน์สไตน์อาจมาจากการที่มีไกลอัลเซลล์ที่สมองส่วนแพริเอตทัลมากนี่เอง แต่ผลสรุปนี้ได้รับการโต้แย้งมากมาย รวมทั้งตัวงานวิจัยเองก็ได้รับการโต้แย้งมากเช่นกัน เพราะศึกษาจากตัวอย่างจำนวนน้อยมาก สมองอัจฉริยะเพียงคนเดียว เทียบกับคนปกติ 11 คน ซึ่งไม่อาจใช้เป็นข้อสรุปใดๆได้ หากต้องการให้ได้ข้อสรุปที่มีน้ำหนักมากกว่านี้ควรทำการศึกษาสมองอัจฉริยะหลายๆราย และเปรียบเทียบกับคนปกติในจำนวนที่มากกว่านี้

 

 

เซลล์ประสาท

 

 

ไอน์สไตน์ในวัยเด็ก วันรุ่น วัยหนุ่ม และวัยชรา
ต่อมาในปี ค.ศ. 1996 ได้มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์ตีพิมพ์ออกมาอีก 1 ฉบับ รายงานนี้ระบุว่าสมองของไอน์สไตน์มีน้ำหนักเพียง 1,230 กรัม (1.23 กิโลกรัม) ซึ่งเบากว่าสมองของคนทั่วไป (สมองคนปกติมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,400 กรัม) นอกจากนี้ สมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ยังบางกว่าคนทั่วไป รวมทั้งสมองไอน์สไตน์ยังมีเซลล์ประสาทมากกว่าของคนทั่วไปอีกด้วย
 
งานวิจัยฉบับล่าสุด
ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์ฉบับที่ 3 อันเป็นฉบับล่าสุดนั้นเป็นงานวิจัยของ ดร.แซนดรา ไวเทลสัน, เดบรา คีการ์ และ ดร.ทอมัส ฮาร์วีย์ แห่งมหาวิทยาลัยแมกมาสเตอร์ เมืองออนทาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่ง ดร.ฮาร์วีย์นี้ก็เป็นที่ทราบกันมาแล้วว่าเป็นผู้ที่ผ่าและเก็บรักษาสมองของไอน์สไตน์ไว้
ดร.ไวเทลสันตั้งข้อสังเกตว่าการที่ไอน์สไตน์ค้นพบความจริงในธรรมชาติและตั้งเป็นทฤษฎีสัมพัทธภาพอันลือลั่นได้นั้นจะต้องมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม และนอกจากนั้นแล้วยังต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุในระบบสามมิติเหนือมนุษย์ทั่วไป ซึ่งความสามารถส่วนนี้เกิดจากสมองส่วนแพริเอตทัล ดังนั้น ดร.ไวเทลสันจึงสนใจศึกษาสมองส่วนแพริเอตทัลของไอน์สไตน์เป็นพิเศษว่าจะมีความแตกต่างจากคนทั่วไปหรือไม่
งานวิจัยนี้ทำโดยศึกษาสมองของไอน์สไตน์เปรียบเทียบกับสมองของคนทั่วไป โดยเปรียบเทียบกับสมองชาย 35 ตัวอย่าง และสมองหญิง 56 ตัวอย่าง และในจำนวนสมองตัวอย่างของเพศชายนั้นมีสมองของผู้ที่มีอายุในวัยชราเช่นเดียวกับไอน์สไตน์ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) อยู่ 8 ตัวอย่าง สมองที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบนี้ได้มาจากคลังสมองของมหาวิทยาลัยแมกมาสเตอร์นั่นเอง
คุณผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าคลังสมองคืออะไร คลังสมองก็คือแหล่งที่เก็บรวบรวมสมองของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนั่นเอง ในปัจจุบันมีศูนย์การแพทย์และมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่ตั้งคลังสมองขึ้นและขอรับบริจาคสมองจากผู้มีจิตเป็นกุศลที่ต้องการอุทิศสมองเพื่อการศึกษา ซึ่งต้องแจ้งความจำนงไว้ตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ครั้นเมื่อเสียชีวิตไปแล้วญาติจะต้องรีบแจ้งให้หน่วยงานที่รับบริจาคสมองรีบมาเก็บสมองไปโดยเร็วที่สุด ซึ่งก็เหมือนกับการบริจาคร่างกายนั่นเอง แต่การบริจาคสมองนั้นยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก และมีข้อจำกัดหลายอย่าง ที่สำคัญก็คือต้องรีบเก็บสมองไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังผู้บริจาคเสียชีวิต ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยากเพราะญาติมัวแต่สนใจเรื่องเกี่ยวกับเรื่องการจัดงานศพหรือไม่ก็มัวเศร้าโศกเสียใจอยู่จนทำให้แจ้งล่าช้า กว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึงสมองก็เสื่อมสภาพไปเสียแล้ว ทำให้ใช้ศึกษาไม่ได้ ดังนั้นในปัจจุบันคลังสมองต่างๆส่วนใหญ่จึงเก็บสมองของผู้ป่วยโรคทางสมองไว้มากเพราะหาได้ง่ายเนื่องจากผู้ป่วยทางสมองมักอยู่ในความดูแลของแพทย์อยู่แล้ว แต่มีสมองของคนปกติอยู่น้อย สมองอัจฉริยะยิ่งหาได้ยากมาก
วิธีการเก็บสมองในคลังสมองทำโดยแช่เย็นเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เย็นจัดเพื่อรักษาสภาพของเนื้อสมองเอาไว้

 

ทรงผมของไอน์สไตน์เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ไอน์สไตน์มีผมแข็งจัดทรงยาก จึงยุ่งเหยิงราวกับถูกผีหลอกอยู่เสมอ
 
แม้ว่าสมองของไอน์สไตน์จะมีน้ำหนักเพียง 1,230 กรัม ซึ่งในรายงานการวิจัยปี ค.ศ. 1996 สรุปว่าสมองของไอน์สไตน์เบากว่าคนทั่วไป แต่จากการศึกษาของไวเทลสันในครั้งนี้ได้เปรียบเทียบกับสมองของชายในวัยชราเช่นเดียวกับไอน์สไตน์และพบว่าสมองของไอน์สไตน์ไม่ได้เบากว่าของคนทั่วไปเลย เพราะตามปกติแล้วสมองในวัยชราจะฝ่อลงไปบ้าง ดังนั้นไวเทลสันจึงสรุปว่า สมองของไอน์สไตน์มีน้ำหนักปกติ
นอกจากนี้ จากการวัดขนาดของสมองส่วนต่างๆ ไวเทลสันและคณะก็พบว่าสมองของไอน์สไตน์ไม่ได้แตกต่างจากของคนทั่วไปแต่อย่างใด ยกเว้นอยู่บริเวณเดียวที่พบความแตกต่าง บริเวณนั้นคือพูสมองแพริเอตทัลทั้งของสมองซีกซ้ายและซีกขวา

 

อารมณ์สนุกของไอน์สไตน์ แต่งตัวเป็นอินเดียนแดงเสียเลย

 

 
ภาพสมองเมื่อมองจากด้านต่างๆ สมองส่วนสีฟ้า เขียว เหลือง ม่วง คือซีรีบรัม สีแดงอิฐคือซีรีเบลลัม และสีแดงเลือดนกคือก้านสมอง พูสมองแพริเอตทัลแสดงไว้ด้วยสีเขียว
ไวเทลสันพบว่าพูสมองแพริเอตทัลของไอน์สไตน์แตกต่างจากคนทั่วไปตามที่สันนิษฐานไว้ เพราะความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ ความเข้าใจ และจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบสามมิติเกิดจากสมองส่วนนี้ ความผิดปกติที่พบก็คือ คนทั่วไปจะมีลอนสมองซูปรามาร์จินัล (supramarginal gyrus ดูภาพประกอบ) เป็นลอนพับซ้อนกัน และมีส่วนย่อยของลอนสมองซูปรามาร์จินัลที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม (parietal operculum)

 

สมองของคนปกติ บริเวณที่ล้อมกรอบไว้เรียกว่าลอนสมองซูปรามาร์จินัล และส่วนที่แรเงาสีขาวไว้ (ในภาพเล็ก) คือส่วนย่อยที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม

คุณผู้อ่านคงสังเกตเห็นว่าสมองมนุษย์นั้นมีลักษณะภายนอกเห็นเป็นลอนและเป็นร่องจำนวนมากสมองลอนต่างๆและร่องสมองต่างๆนั้นล้วนแต่มีชื่อเรียกเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ต้องตั้งชื่อเรียกก็เพราะลอนสมองและร่องสมองต่างๆควบคุมระบบการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆหากไม่มีชื่อเรียกนักวิทยาศาสตร์ก็คงสื่อสารกันไม่ถูกว่ากำลังพูดถึงสมองส่วนใด

 

 

ในสมองของคนทั่วไป ร่องสมองโพสต์เซ็นทรัล (postcentral sulcus, เส้นที่ผ่านจุด PC ถึง PC1 ในภาพ) จะมาบรรจบกับแขนงของร่องสมองซิลเวียน (anterior ascending branch of Sylvian fissure, เส้นที่ผ่านจุด A ถึง S ในภาพ) การบรรจบกันนี้ทำให้เกิดเป็นสามแยก และพื้นที่บรเวณสามแยก (ตรงที่แรเงา) ก็คือส่วนที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมนั่นเอง

 

สมองของไอน์สไตน์นั้นปลายแขนงของร่องสมองซิลเวียนบรรจบกับร่องสมองโพสต์เซ็นทรัล จึงไม่เกิดลักษณะสามแยกและไม่มีพื้นที่บริเวณสามแยก
(หมายถึงว่าไม่มีแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมนั่นเอง)
เมื่อไม่มีแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม ดังนั้นลอนสมองซูปรามาร์จินัลส่วนหลังจึงใหญ่เต็มบริเวณนั้นแทน ซึ่งเท่ากับว่าซูปรามาร์จินัลมีรอยพับซ้อนน้อยลง ซึ่งไวเทลสันเชื่อว่าทำให้การสื่อสารของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้นดีขึ้นเพราะมีลอนสมองน้อยลง ทำให้ไอน์สไตน์มีความสามารถในการคำนวณและจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของวัตถุและเนื้อที่ในระบบสามมิติเหนือมนุษย์
แต่สำหรับสมองของไอน์สไตน์นั้นไม่มีส่วนที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่าลอนสมองซูปรามาร์จินัลมีการพับซ้อนกันน้อยลง โดยทั่วไปแล้วการที่สมองมีลอนมาก (หมายถึงมีร่องสมองมาก เมื่อมีร่องมากก็ย่อมมีลอนมากด้วย) แสดงให้เห็นว่าสมองนั้นมีการพัฒนาสูง เพราะร่องสมองช่วยเพิ่มพื้นที่ของผิวสมองให้มากขึ้น แต่ในกรณีของไอน์สไตน์นั้นไวเทลสันสันนิษฐานว่าการที่ลอนสมองซูปรามาร์จินัลมีรอยพับซ้อนน้อยลง (เพราะส่วนแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมหายไป) ทำให้การสื่อสารของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้นรวดเร็วขึ้น เปรียบเสมือนคลองเล็กคลองน้อยที่บรรจบกันเป็นลำธารใหญ่ น่าจะมีผลต่อความสามารถด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ของไอน์สไตน์ ประกอบกับผลการวิจัยในปี .. 1985 ที่สรุปว่าพูสมองแพริเอตทัลของไอน์สไตน์มีไกลอัลเซลล์มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นความผิดปกติต่างๆที่ตรวจสอบได้ในบริเวณพูสมองแพริเอตทัลนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์
นอกจากนี้ การที่ส่วนแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัมหายไปทำให้สมองของไอน์สไตน์ป่องข้างออกไปอีกเล็กน้อย เมื่อวัดส่วนกว้างที่สุดของสมองก็จะพบว่าสมองของไอน์สไตน์กว้างกว่าคนทั่วไปราวร้อยละ 15

 

 

สมองของไอน์สไตน์เมื่อถ่ายจากด้านต่างๆ A ด้านบน, B สมองซีกซ้าย, C สมองซีกขวา, D ด้านล่าง และ E ผ่ากลางสมอง
ส่วนที่ศรชี้ในภาพ B และ C คือจุดที่สร่องสมองโพสต์เซ็นทรัลบรรจบกับแขนงของร่องสมองซิลเวียน

จากการศึกษาของไวเทลสันและคณะพบว่าเมื่อสมองของไอน์สไตน์ขาดส่วนที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม (parietal operculum) ไปจะทำให้สมองป่องข้างออกไปอีกเล็กน้อยเมื่อวัดจากส่วนข้างที่กว้างที่สุด (จุด X ถึง Y ในภาพ A) จะกว้างกว่าสมองของคนปกติร้อยละ 15

 

เปรียบเทียบสมองของคนทั่วไป (หมายเลข 1, 2 และ 3) และสมองของไอน์สไตน์ (หมายเลข 4, 5 และ 6)
ด้านที่ลูกศรชี้คือด้านที่เป็นใบหน้า PC คือร่องสมองโพสต์เซ็นทรัล S คือแขนงของร่องสมองซิลเวียน
ภาพ 1 และ 2 เป็นภาพสมองของคนทั่วไปซึ่งพูสมองส่วนแพริเอตทัลมีลอนสมองส่วนที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม (ส่วนที่แรเงาไว้ ส่วนนี้เป็นส่วนย่อยของลอนสมองซูปรามาร์จินัล) จะสังเกตเห็นว่าส่วนที่แรเงาของสมองซีกซ้ายและซีกขวาไม่ได้ซ้อนทับกันสนิท (ดูภาพหมายเลข 3 ซึ่งนำส่วนที่แรเงาของสมองทั้งสองซีกมาซ้อนกันให้ดู) เรียกว่าไม่สมมาตรกัน
ภาพ 4 และ 5 เป็นสมองของไอน์สไตน์ซึ่งไวเทลสันพบว่าไม่มีส่วนที่เรียกว่าแพริเอตทัลโอเพอร์คิวลัม นอกจากนี้ จากการซ้อนทับภาพของร่องสมองในบริเวณนั้นทั้งสองซีก (ภาพหมายเลข 6) พบว่าร่องสมองในบริเวณนั้นมีสมมาตรกัน ซึ่งแตกต่างจากสมองของคนทั่วไป
แต่อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้านความน่าเชื่อถือของผลสรุปเช่นกัน (ซึ่งก็เป็นธรรมดาของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องมีผู้เห็นแตกต่างกันออกไป) เพราะแม้จะมีการเปรียบเทียบกับตัวอย่างสมองคนทั่วไปมากกว่าในงานวิจัยรุ่นก่อนๆ แต่สมองของอัจฉริยะที่นำมาเปรียบเทียบนั้นก็ยังมีเพียงสมองเดียวอยู่ดี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านแย้งว่ายังยากที่จะสรุปได้ว่าลักษณะสมองส่วนแพริเอตทัลที่ผิดปกติเช่นนี้จะเป็นสาเหตุของอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่น่าคิดอีกประการหนึ่งก็คือ สมองส่วนนี้ยังควบคุมเกี่ยวกับความเข้าใจภาษาและการพูดอีกด้วย ซึ่งตามประวัติแล้วไอน์สไตน์ในวัยเด็กหัดพูดได้ช้ามาก อันแสดงถึงพัฒนาการที่ผิดปกติในทางด้อยของสมองส่วนนี้ ไม่ใช่ในทางเด่น
 
                     เป็นอันว่าปริศนาเรื่องอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์ก็คงยังเป็นความลับต่อไป แม้งานวิจัยของไวเทลสันจะช่วยทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับสมองของไอน์สไตน์มากขึ้น แต่ก็คงยังไม่ถึงกับสามารถไขปริศนาอัจฉริยภาพของไอน์สไตน์หรืออัจฉริยภาพทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ได้ คงต้องรอจนกว่าที่นักวิทยาศาสตร์จะมีสมองของอัจฉริยะให้ศึกษาจำนวนมากพอจึงจะสามารถไขปริศนานี้ได้
 
รู้จักกับสมอง

 

 

ภาพแสดงส่วนต่างๆของสมอง ที่เห็นนี้เป็นสมองซีกขวา แสดงให้เห็นซีรีบรัมและส่วนย่อยของซีรีบรัม ซีรีเบลลัม และก้านสมอง (ก้านสมองมองเห็นเพียงส่วนเดียวเพราะถูกบังไว้) ภาพบนเป็นภาพวาด ส่วนภาพล่างเป็นสมองจริงของคนปกติ ด้านที่เป็นใบหน้าคือด้านขวามือของผู้อ่าน
สมองของคนเรานั้นแบ่งเป็นส่วนย่อยได้หลายแบบ ขึ้นกับว่าจะใช้เกณฑ์ชนิดใดในการแบ่ง หากจะแบ่งตามแนวซ้าย-ขวาก็จะแบ่งเป็นสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา แต่หากแบ่งตามรูปร่างภายนอกแล้วจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
    1. ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองส่วนที่กินเนื้อที่ในกะโหลกศีรษะมากที่สุด สมองส่วนนี้ทำหน้าที่หลักๆเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความจำ เป็นศูนย์ควบคุมสัมผัสทั้งห้า ศูนย์ควบคุมกล้ามเนื้อ และศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการพูดและการรับรู้ภาษา
ซีรีบรัมยังแบ่งออกเป็นส่วนย่อยที่เรียกว่าพูสมอง (lobe) เป็น 4 ส่วนหรือ 4 พู คือ ฟรอนทัล (frontal lobe) แพริเอตทัล (parietal lobe) ออกซิพิทัล (occipital lobe) และเทมโพรัล (temporal lobe)
หากเราขุดเนื้อสมองส่วนซีรีบรัมลงไปเหมือนกับขุดดิน เราจะพบว่าเนื้อสมองส่วนตื้นๆจะมี เนื้อสมองสีเทา (grey matter) ส่วนนี้เป็นส่วนที่อุดมไปด้วยปลายประสาท และส่วนที่อยู่ลึกลงไปจะมี เนื้อสมองขาว ซึ่งเกิดจากสีของเซลล์ชวานน์
บริเวณส่วนผิวของซีรีบรัมเรียกว่า ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) มีความหนาประมาณ 4 มิลลิเมตร อยู่ในส่วนของเนื้อสมองสีเทา รอยหยักของผิวสมองที่เราเห็นในภาพก็เกิดที่ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์นี่เอง ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของมนุษย์มีความซับซ้อนมาก และหน้าที่ต่างๆของซีรีบรัมที่ได้กล่าวมาแล้วก็เกิดขึ้นที่ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์นี่เอง
สมองส่วน แพริเอตทัล นั้นมีหน้าที่หลายอย่าง ได้แก่ การรับสัมผัสจากผิวหนัง (รับรู้อุณหภูมิ การสัมผัส) การรับรู้เกี่ยวกับพื้นผิว (texture) ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลจากการรับสัมผัส (เช่น แยะแยะความแตกต่างของอุณหภูมิ ฯลฯ) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและการพูด และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งในระบบสามมิติ (visuospatial หมายถึงการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของตนเองและของวัตถุต่างๆในเชิงสามมิติ)
    1. ซีรีเบลลัม (cerebellum) สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างราบรื่น ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
    2. ก้านสมอง (brainstem) เป็นสมองส่วนที่ต่อเชื่อมกับกระดูกสันหลัง ก้านสมองทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา การหายใจ การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า เป็นศูนย์ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การกลืน การไอ การจาม การสะอึกและอาเจียน
เนื่องจากสมองมนุษย์มีความซับซ้อนมาก แม้ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถทำแผนที่สมองได้ทั้งหมดว่าส่วนใดควบคุมกิจกรรมใดของร่างกายบ้าง
 
**********************************************************************************************************************************************
 
ขอขอบคุณข้อมูลที่ได้คัดลอกเพื่อการเผยแพร่ความรู้เรื่องสมองจากเวปไซต์ห้องสมุดวิทยพัฒน์เป็นอย่างสูง







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
ที่อยู่ :  เลขที่1810 เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร.     รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร : 02-5394968      มือถือ :  0818033630
อีเมล : ariyasound@thaimail.com
เว็บไซต์ : www.ariyasound.com