Ariyasound อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน เว่ยหล่าง
ReadyPlanet.com
dot dot
สมันตมุขปริวรรต สัทธรรมปุณพริกสูตร กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สุภูติ วัชรสูตร มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช หนังสือภาพหายาก ariyasound
ท่องแดนสุขาวดี  พระอมิตภะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบมหาโพธิสัตว์ พระอมิตาพุทธเจ้า แดนสวรรค์ อามิตตาพุทธ มหายาน วัชรยาน เจ้าแม่กวนอิม   สุขาวดีวยูหสูตร   มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช
พระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า buudha
ทิพยจักษุ พระพุทธเจ้า ตาทิพย์  อริยะ สุพรรณเภษัข
ดนตรีสวรรค์ ดนตรีพัฒนาจักระ  พัฒนาจักระ จักระ โยคะ โยคี อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา ariyasound
กวนอิม พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ อริยะ สุพรรณเภษัช
คุณธรรมพระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ มหายาน เสียง เสถียรสุต อริยะ สุพรรณเภษัช ariyasound




วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

                                                                                                

               

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&


 

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

     วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

ฉบับถอดรหัสธรรมจากพระสูตร

อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช

คลิ๊กที่ภาพปกหนังสือเพื่อการดาวโหลด ไฟล์ PDF

 Download สำหรับอ่านโดยใช้โปรแกรมpdf

 

 

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

 

 

 

 

       วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

      金剛般若波羅密經

 

 

 

 

ฉบับ
ถอดรหัสธรรมจากพระสูตร

 

 

 

 

 

 

 

 

พระสูตรเพื่อการมุ่งสู่พระโพธิสัตว์และการพ้นทุกข์

 

 

 

 

 

 

 

 

ศึกษาพระสูตรแนวใหม่เพื่อลดความยากแห่งการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้วยการปุจฉาวิสัชนาเพื่อเปิดม่านบังตาเพื่อขจัดอุปสรรคต่อการเข้าถึง

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อความง่ายต่อการเรียนรู้และเผยแผ่พระธรรม

 

 

 

เรียบเรียงกลั่นกรองถอดรหัสสกัดผลึกธรรมและตีความใหม่ 

 

โดย
 

อริยะ สุพรรณเภษัช

 

***************************************

 

ความดีงามยกให้แก่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวก สุภูติ

 

 

ความดีงามยกให้แก่พระอมิตาภะพุทธเจ้า

 

 

ความดีงามยกให้แก่พระเกจิอาจารย์ที่ข้าพเจ้านับถือและเทพรักษา

 

 

 ความดีงามยกให้แก่บิดามารดาและครูอาจารย์ 

 

 

ความดีงามและแรงบันดาลใจถวายให้แก่พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์

 

 

ความดีงามยกให้เสถียรโพธินันทะนิรนาม ติชนัทฮันท์ ฯลฯ ผู้แปลพระสูตร

 

 

ความดีงามยกให้แก่ทุกคนผู้ศึกษาพระสูตรฉบับนี้

 

 

**************************************

 

 
 
 

***************************************

 

 

สารบัญ

 

 

***************************************

 

 

                                                                                                      หน้า    

 

 

           บทนำและข้อเสนอแนะก่อนศึกษาพระสูตร                                            3                            

 

 

บทที่ 1 ชื่อพระสูตรและความสำคัญแห่งพระสูตร                                                10

 

 

บทที่ 2 กุศลมูลที่เป็นบุญหนุนนำสำหรับผู้ที่ได้มีโอกาสศึกษาพระสูตร                 13

 

 

บทที่ 3 อานิสงส์ของการปฏิบัติและเผยแพร่พระสูตร                                                   15

 

 

บทที่  4 แนวทางการปฏิบัติจิตเป็นพระโพธิสัตว์                                                              27

 

 

บทที่ 5 สภาวะแห่งมายาและโลกแห่งแบบ                                                         38

 

 

บทที่ 6 สรรพสัตว์ จักรวาล โลกธาตุ ปรมาณู                                                                   44

 

 

บทที่ 7 ลักษณะแห่งตถาคตและพระอริยะบุคคล                                                            52

 

 

บทที่ 8 คำสอนสำคัญที่แฝงเร้นในพระสูตร                                                                       59

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
บทนำและข้อเสนอแนะก่อนศึกษาพระสูตร

 

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร พระสูตรฉบับนี้นับแต่บรรพกาลมา มีการแปลและอรรถาธิบายกันมาแล้วไม่ต่ำกว่าพันเล่ม ข้าพเจ้าได้เคยอ่านพระสูตรมาครั้งแรกเมื่อสามสิบปีก่อน อ่านแล้วสองสามหน้าไม่เข้าใจและอ่านยากลำบากมากก็วางทิ้งไว้จนฝุ่นจับไม่ได้อ่านอีกเลย จนกลับมาอ่านอีกครั้งอย่างตั้งใจหลังจากไปกราบมนัสการเจ้าแม่กวนอิมที่เกาะผูโถ่วซาน มณฑลเจ๋อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา ใช้เวลาอ่านอย่างยากลำบากจนจบเล่มใช้เวลานานกว่า 7  เดือนนับว่าเป็นการอ่านพระสูตรนี้จบเป็นครั้งแรก สำหรับการอ่านจนจบรอบที่สองเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางไปที่จังหวัดสงขลาใช้เวลาอ่านจนจบเล่ม 7  วัน แม้อ่านไปสองจบแล้วก็เป็นอ่านจบอย่างมึนงงยังไม่ได้เข้าใจอะไรเลยสักได้แต่อ่านเท่านั้น จากประสบการณ์ที่ชอบศึกษาตำราจีนด้านศาสนา ยุทธศาสตร์ ฮวงจุ้ย และลัทธิความเชื่อต่าง ๆ และวิชาด้านสมถสมาธิ 100 สำนัก พบว่าพระสูตรนี้เหมือนตำราที่ถูกใส่รหัส(ENCODING)ไว้ เขียนสลับไปสลับมาจนสร้างความปวดหัวให้กับผู้อ่าน โดยเฉพาะผู้ขาดศรัทธาอย่างแท้จริงต้องรีบวางตั้งแต่อ่านหน้าแรก จึงได้นำพระสูตรนี้ฉบับแปลจากภาษาจีนของท่านเสถียรโพธินันทะมาทดลองถอดรหัส(DECODING) ใช้เวลาหลายปี โดยก่อนทำการถอดรหัสได้ทำการศึกษาพระสูตรสำคัญทางเถรวาทที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นก่อนการศึกษาได้แก่ อาทิตตปริยายสูตร อนันตลักขณสูตร ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ปฎิจสมุปบาท สติปัฏฐาน 4    อิทัปปัจจยตา เป็นต้น รวมทั้งพระสูตรสำคัญฝ่ายมหายาน ได้แก่ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร สัจธรรมปุณฑริกสูตร วิมลเกียรตินิทเทสสูตร ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร เป็นต้น  ความรู้ดังกล่าวได้ถอดรหัสตีความออกมาแล้วเข้าใจได้ไม่ถึงหนึ่งในสาม

 

 

ต่อมาภายหลังมาได้อ่านพระสูตรฉบับที่แปลจากภาษาอังกฤษ ฉบับของ Edward Conze โดยนิรนาม  พบว่ามีเนื้อหาหลายตอนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับฉบับแปลจากภาษาจีนของท่านเสถียรโพธินันทะ ทำให้การตีความรุดหน้ามากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายตอนที่ยังไม่เข้าใจ มาในภายหลังได้ทดลองศึกษาและตีความในพระสูตรปรัชญาปารมิตราหฤทัยสูตร มหาสูญญตาสูตร จุฬสูญญตาสูตร ทฤษฎีโลกแห่งแบบฯ จนทำให้เกิดความสว่างในการศึกษาพระสูตรได้ความรู้ถึงสิ่งที่แฝงเร้นที่เป็นหลักของพระสูตร ที่พระสูตรหนึ่งไปเป็นกุญแจไขความลับของอีกพระสูตรหนึ่ง อีกทั้งในรูปเคารพที่สำคัญทางศาสนา ก็สามารถเป็นกุญแจที่มาไขปริศนาในพระสูตรได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

 

จนสุดท้ายแล้วก่อนปิดการเขียนต้นฉบับ ได้ค้นพบคำสอนสำคัญที่แฝงเร้นในพระสูตร สมกับคำกล่าวที่ว่าทุกครั้งเมื่ออ่านพระสูตรวัชรปรัชญาปารมิตาจะพบกับความรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทราบจากพระสูตรอยู่เสมอ   เปรียบเทียบได้กับเรียนคัมภีร์วิทยายุทธ์จนจบไม่มีสิ่งใดควรที่จะไม่รู้แล้ว จึงเผาคัมภีร์ทิ้งกลับพบว่าในปกคัมภีร์มีวิชาวิทยายุทธ์ขั้นสุดยอดแอบซ่อนอยู่   รู้สึกปิติใจมากและได้นำคำสอนที่ซ่อนเร้นและสำคัญที่สุดนี้มาบันทึกไว้ในบทสุดท้ายของการเขียน  ท้ายที่สุดหนังสือเล่มนี้ก็สำเร็จเป็นรูปเล่มได้อย่างสมบูรณ์ อย่างคาดไม่ถึง

 

 

แรงบันดาลใจที่ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือพระสูตรฉบับนี้ ได้จากการที่ได้อ่านหนังสือเว่ยหล่างสูตรที่เล่าถึงเว่ยหล่าง ซึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ในนิกายเซ็น  ในขณะเป็นฆราวาสที่ได้รับฟังการท่องสาธยายพระสูตรนี้จากพระรูปหนึ่งโดยบังเอิญแล้วเกิดการบรรลุธรรม จึงมีความสนใจในพระสูตรนี้ นอกจากนี้เมื่อคึกษาพระสูตรพบว่า มีอานิสงส์มหาศาลมาก จากเนื้อหาในพระสูตร

 

 

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสถึงอานิสงส์สำหรับผู้ที่สามารถรับฟังพระสูตรแล้วเกิดศรัทธาอันบริสุทธิ์ไม่บังเกิดความหวาดกลัวระย่นย่อ ผู้ที่ปฏิบัติตามพระสูตร ผู้คัดลอกพระสูตรออกเผยแพร่ ผู้ประกาศพระสูตร ผู้เจริญสาธยายสั่งสอนพระสูตรให้กับบุคคลอื่นได้ ไว้ดังนี้

 

 

1)    บุคคลนั้นนับว่าเป็นบุคคลนั้นได้บรรลุสำเร็จซึ่งคุณานิสงส์อัน อย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยาก

 

 

2)    บุคคลดังกล่าวนั้น เป็น ผู้ได้รับความสำเร็จแล้วในธรรมอันเป็นยอดสูงสุดซึ่งหาได้โดยยาก

 

 

3)    บุคคลดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ ย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น จักสำเร็จบรรลุคุณานิสงส์อันจักประมาณมิได้และไม่มีขอบเขต

 

 

4)    บุคคลดังกล่าวนั้นจักบรรลุคุณานิสงส์ซึ่งประมาณมิได้ กล่าวมิได้ ปราศจากขอบเขต และเป็นอจินไตย   บุคคลผู้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้แบกคอนพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระตถาคต

 

 

5)    บุคคลดังกล่าวผู้ที่สดับพระสูตรนี้บังเกิดศรัทธาจิตขึ้น นับว่าเป็นสรรพสัตว์ประเภทพิเศษที่หาได้ยากอย่างยิ่งไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป

 

 

6)    บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะอันมีค่า ซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมดุจเมล็ดทรายในคงคานทีทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

7)    บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่า ผู้ที่ทำทานด้วยการสละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน

 

 

8)    บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่า ผู้ที่ทำงานด้วยในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอด

 

 

9)    บุญกุศลของผู้นั้นเพียง 1 ส่วน มากกว่าบุญกุศล 100 ส่วนของพระพุทธเจ้าที่เคยได้เฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า และได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะองค์

 

 

10)                       บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่าบุคคลที่นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

11) บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่าบุคคลที่นำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน

 

 

   12) ผลของอานิสงส์ของผู้ปฏิบัติ เผยแพร่และเจริญสาธยายพระสูตร กรณีที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากบุคคลอื่น บุคคลนั้น อันอกุศลกรรมแต่ปางหลังชาติก่อนสมควรแก่การจบลงสู่อบายทุคคติภูมิ แต่เมื่อเขาได้รับการดูหมิ่นย่ำยีจากคนอื่นในภพปัจจุบัน อกุศลกรรมแต่ปางก่อนจึงดับศูนย์ บุคคลนั้นจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 

   ด้วยผลานิสงส์อันมากมายเช่นนี้ จึงเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ข้าพเจ้าทำพระสูตรฉบับนี้ขึ้น

 

 

      นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมีปมในใจเกี่ยวกับการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่1โดยคณะสงฆ์ในส่วนสาวกยาน ได้รวบรวมพระสูตรคำสอนในส่วนที่เกี่ยวกับสาวกยานที่เป็นคำสอนในช่วงต้นของพระพุทธเจ้า (สอนเพื่อการบรรลุอรหันต์สู่นิพพานเฉพาะตน) มาเป็นพระไตรปิฎก โดยไม่ได้นำพระสูตรคำสอนในส่วนที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ยาน ที่เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้สอนในช่วงกลางและปลายของพระพุทธเจ้า เช่น วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ปรัชญาปารมิตาสูตร สัจธรรมปุณฑริกสูตร เป็นต้นซึ่งในเนื้อหาที่สูงส่งลึกซึ้งกว่าพระสูตรคำสอนในช่วงแรกเพื่อแสดงความลึกซึ้งในธรรมปัญญาอันเป็นอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า(สอนเพื่อการสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อการบรรลุสู่การเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต)

 

 

หลังจากนั้นต่อมาเกิดการแตกแยกของคณะสงฆ์เป็นสองนิกาย คือนิกายหินยานที่ยึดถือในพระไตรปิฎกฉบับเดิมที่รวบรวมโดยกลุ่มสาวกยาน และนิกายมหายาน ที่ยึดถือพระไตรปิฎกฉบับเดิมและพระสูตรที่เป็นคำสอนเกี่ยวกับโพธิสัตว์ยาน ข้าพเจ้าเห็นว่าพระสูตรคำสอนของพระพุทธเจ้าในส่วนที่เป็นโพธิสัตว์ยานเป็นคำสอนที่ลึกซึ้งเหมาะสมที่จะเรียนรู้ไม่แพ้พระสูตรคำสอนในนิกายหินยาน ซึ่งได้รับความศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตลอดจนประเทศในสหรัฐอเมริกา และยุโรป เนื่องจากแนวคิดของนิกายมหายานมีบางส่วนสอดคล้องกับแนวคิดทางคริสต์ศาสนา ทั้งยังมีคำยืนยันจากพระพุทธองค์ถึงอานิสงส์อันประเสริฐยิ่งจากผลแห่งการเรียนรู้พระสูตร ซึ่งนับว่าเป็นการบุญกุศลยิ่งที่เป็นแรงหนึ่งที่ช่วยหยิบยกพระสูตรคำสอนแท้ๆที่ถูกเพิกเฉยจากผู้ศรัทธาในนิกายหินยานหรือเถรวาทของศาสนาพุทธในเมืองไทยมาให้ได้ศึกษาเพื่อสร้างความสว่างทางปัญญาและนำตนตลอดจนช่วยพาสรรพสัตว์ไปสู่การพ้นทุกข์

 

 

            ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าตนเองมีหน้าที่อะไรที่จะต้องมาทำงานถอดรหัสพระสูตรฉบับนี้ แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ทำให้เป็นบุญหนุนนำสำหรับการได้มีโอกาสนั่งตรึกศึกษาธรรมจากพระสูตรนี้ในปัจจุบันชาติ โดยท่านตรัสว่าคุณสมบัติที่เป็นบุญหนุนนำทำให้บุคคลนั้นได้มีโอกาสนั่งตรึกศึกษาธรรมจากพระสูตรนี้ในปัจจุบันชาติ คือ ในอดีตชาติ ตัวเขาเคยได้ปลูกฝังกุศลมูลในการศึกษาพระสูตรนี้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งพุทธะ มากับพระพุทธเจ้าพระองค์ต่าง ๆ มาก่อน ซึ่งมิใช่เพียงในพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ หรือพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ 3 พระองค์ 4 พระองค์ 5 พระองค์เท่านั้นไม่ แต่เป็นการศึกษาพระสูตรนี้กับพระพุทธเจ้าจำนวนนับพันนับหมื่นองค์ หรืออาจมากมายจนมิอาจประมาณได้   ด้วยเหตุความมีกุศลผลบุญที่สูงยิ่งนี้จึงทำให้พวกเขาได้มีคุณสมบัติประจำตัวที่พิเศษจากอดีตชาติที่ผลักดันทำให้ได้มีโอกาสมาศึกษาธรรมจากพระสูตรในชาตินี้อีกครั้ง  อาจจะเป็นเหตุผลนี้ก็เป็นไปได้ที่ทำให้ชาตินี้ต้องมาทำงานเกี่ยวกับการเผยแพร่พระสูตรนี้

 

 

          วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เป็นพระสูตรที่มีอายุมากกว่าสองพันปี เป็นตำราที่จัดพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุด และที่ผ่านมามีพระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ คณาจารย์ที่ชำนาญในธรรมทั้งพระภิกษุและฆราวาส ได้ทำการแปลและอธิบายความในพระสูตรนี้มากมายหลายพันสำนวน แต่ความยากของพระสูตรที่ผ่านมาได้สร้างความระย่นย่อให้กับผู้ศึกษาดั่งที่พระอรหันต์สุภูติได้เรียนถามพระพุทธเจ้าถึงความยากแห่งการศึกษาและการสร้างความเข้าใจในพระสูตร ที่ผ่านมาไม่มีใครเอาพระสูตรมาถอดรหัสเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าทำ ทุกคนต่างพยายามอนุรักษ์รักษาโครงสร้างเนื้อหาเดิมของพระสูตรไว้ ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจจากพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ที่ท่านได้ไขกุญแจแห่งปริศนาธรรมที่ติดค้างในใจของข้าพเจ้าจนหมดทุกดอกและเป็นกำลังใจหนุนไขปริศนาธรรมต่างๆจนงานสำเร็จ ข้าพเจ้าเพียงหวังว่าอยากทำให้พระสูตรสำคัญที่ยากต่อความเข้าใจพระสูตรนี้ง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น เข้าถึงชีวิตจิตใจของคนยุคใหม่มากขึ้นและลดเวลาการอ่าน ตลอดจนเป็นพระสูตรที่สร้างบุญกุศลอย่างสูงแก่ผู้ที่ศึกษาทั้งยังช่วยคนให้พ้นทุกข์อีกด้วย

 

 

     เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มิใช่เป็นพระสูตรแบบฉบับดั้งเดิม  เป็นแค่เอกสารส่วนตัวที่ทำเป็นหนังสือซึ่งเกิดจากความสนใจในการศึกษาพระสูตรที่ต้องการให้ตนเองศึกษาได้ง่ายขึ้น จึงนำพระสูตรมาบริหารจัดการตามแบบสมัยใหม่บางส่วนก็ได้มีการถอดรหัสไขปริศนาตีความใหม่  เมื่อเอกสารทำเสร็จมีผู้รู้หลายคนได้อ่านแล้วชอบใจที่อ่านพระสูตรนี้ได้จบและเข้าใจในเนื้อหาได้ภายใน 1 ชั่วโมงจึงแนะนำให้ทำเป็นหนังสือเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้สนใจ  ถ้าท่านผู้อ่านพิจารณาแล้วเห็นความดีในหนังสืออยู่บ้าง ข้าพเจ้าก็มีความสุขแล้ว ความผิดพลาดถ้ามีคงต้องขออภัยด้วยและไม่ควรคาดหวังให้มากมายต่อข้าพเจ้าผู้ต่ำต้อยในธรรม ความรู้ของข้าพเจ้าเปรียบดั่งแสงหิ่งห้อยมิอาจเทียบได้กับผู้รู้ในธรรมทั้งหลายที่มีปัญญาในธรรมเปรียบดั่งดวงอาทิตย์

 

 
 
 

 

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระสูตรมากขึ้น ดังนั้นถ้าท่านได้อ่านหนังสือฉบับนี้แล้ว ควรย้อนไปอ่านพระสูตรฉบับดั้งเดิมที่เขียนไว้หลายสำนวนในหลายภาษาเปรียบเทียบดู เพื่อให้ได้อรรถรสและความศักสิทธิ์ในแบบพระสูตรดั้งเดิมที่เขียนไว้ที่มีคุณค่ายิ่ง   ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นข้าพเจ้าขอน้อมรับทุกประการและยินดีรับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้งานเผยแพร่พระสูตรฝ่ายมหายานได้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

 

                                                                             อริยะ สุพรรณเภษัช

 

 

     www.ariyasound.com

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 1 ชื่อพระสูตรและความสำคัญแห่งพระสูตร

 

 

*********************************************

 

 
 

คำถามที่ 1 เรื่อง ชื่อแห่งพระสูตร

 

 

ถาม พระสูตรนี้มีชื่อว่าอะไร

 

 

ตอบ พระสูตรนี้มีชื่อว่า วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร   金剛般若波羅密經

 

 

พระสูตรเพื่อการมุ่งสู่การเป็นพระโพธิสัตว์และการหลุดพ้น

 

 
 

คำถามที่ 2 เรื่อง ความสำคัญของพระสูตร

 

 

ถาม พระสูตรนี้มีความสำคัญยิ่งเพราะเหตุใด

 

 

ตอบ พระสูตรนี้มีความสำคัญยิ่ง เป็นเพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดจนพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งปวงล้วนมีกำเนิดจากพระสูตรนี้

 

 
 

คำถามที่ 2 เรื่อง ความสำคัญของพระสูตร

 

 

ถาม พระสูตรนี้มีความสำคัญยิ่งเพราะเหตุใด

 

 

ตอบ พระสูตรนี้มีความสำคัญยิ่ง เป็นเพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดจนพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งปวงล้วนมีกำเนิดจากพระสูตรนี้

 

 
 
 

คำถามที่ 3 เรื่อง เนื้อหาในพระสูตรนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนสถานที่กำเนิดของพระสูตร

 

 

ถาม จงบอกเนื้อหาในพระสูตรนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนสถานที่กำเนิดของพระสูตร

 

 

ตอบ สถานที่กำเนิดพระสูตรนี้ คือ ณ เชตวนารามวิหาร ของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี แขวงเมืองสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 1,250 รูปและพระโพธิสัตว์จำนวนมาก เนื้อหาในพระสูตรนี้เป็นการเทศนาธรรมระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์สุภูติมหาเถระ ในเรื่องแนวทางการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ โดยเมื่อพระองค์ได้เทศนาตอบปัญหาต่าง ๆ ครบถ้วนเนื้อหาไปรอบหนึ่งแล้วพระองค์ยังทรงซักซ้อมทบทวนความเข้าใจในเนื้อหากับสุภูติมหาเถระอีกรอบหนึ่งด้วย

 

 
 

คำถามที่ 4 เรื่อง ความยั่งยืนแห่งพระสูตร 

 

 

ถาม จะมีสรรพสัตว์ใดในอนาคตเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ในช่วง 500 ปีสุดท้าย ณ เวลาที่พระศาสนาสิ้นอายุขัยลง จะยังมีผู้ที่มีกุศลมูลที่เป็นบุญหนุนนำสำหรับการได้มีโอกาสนั่งตรึกศึกษาธรรมจากพระสูตรนี้ ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีความลึกซึ้งยากต่อการทำความเข้าใจในพระสูตรนี้หรือไม่

 

 

ตอบ ในช่วง 500 ปีสุดท้าย ณ เวลาที่พระศาสนาสิ้นอายุขัยลง เมื่อตถาคตดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว จะยังมีบุคคลผู้ถือศีลบำเพ็ญกุศลมาบังเกิด ทำให้ยังมีผู้ที่มีความศรัทธาอันแท้จริงในพระธรรมบรรยายนี้ได้

 

 
 
 
 
 
 

คำถามที่ 5 เรื่อง อจินไตยแห่งพระสูตร 

 

 

ถาม พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงผลานิสงส์ของธรรมอรรถแห่งพระสูตรนี้เป็นเช่นใด

 

 

ตอบ พระพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมอรรถแห่งพระสูตรนี้เป็นอจินไตย แม้ผลานิสงส์ก็เป็นอจินไตยดุจกันอย่างนี้

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 2 กุศลมูลที่เป็นบุญหนุนนำสำหรับผู้ที่ได้มีโอกาสศึกษาพระสูตร

 

 

*********************************************

 

 
 

คำถามที่ 1 เรื่อง คุณสมบัติแห่งผู้ที่ได้มีโอกาสศึกษาพระสูตร

 

 

ถาม คุณสมบัติใดของผู้ที่ได้มีโอกาสศึกษา ที่ทำให้เป็นบุญหนุนนำสำหรับการได้มีโอกาสนั่งตรึกศึกษาธรรมจากพระสูตรนี้ในปัจจุบันชาติ

 

 

ตอบ   คุณสมบัติที่เป็นบุญหนุนนำทำให้บุคคลนั้นได้มีโอกาสนั่งตรึกศึกษาธรรมจากพระสูตรนี้ในปัจจุบันชาติ คือ ในอดีตชาติ ตัวเขาเคยได้ปลูกฝังกุศลมูลในการศึกษาพระสูตรนี้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแห่งพุทธะ มากับพระพุทธเจ้าพระองค์ต่าง ๆ มาก่อน ซึ่งมิใช่เพียงในพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ หรือพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ 3 พระองค์ 4 พระองค์ 5 พระองค์เท่านั้นไม่ แต่เป็นการศึกษาพระสูตรนี้กับพระพุทธเจ้าจำนวนนับพันนับหมื่นองค์ หรืออาจมากมายจนมิอาจประมาณได้   ด้วยเหตุความมีกุศลผลบุญที่สูงยิ่งนี้จึงทำให้พวกเขาได้มีคุณสมบัติประจำตัวที่พิเศษจากอดีตชาติที่ผลักดันทำให้ได้มีโอกาสมาศึกษาธรรมจากพระสูตรในชาตินี้อีกครั้ง

 

 

 

คำถามที่ 2 เรื่อง คุณสมบัติแห่งผู้ที่สามารถรับฟัง ปฏิบัติตามพระสูตร และเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆ

 

 

ถาม คุณสมบัติใดของผู้ที่สามารถรับฟัง ปฏิบัติตามพระสูตร และเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆ

 

 

ตอบ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถรับฟัง ปฏิบัติตามพระสูตร และเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆ ได้ จะต้องไม่เป็นผู้ยินดีในธรรมอันคับแคบ เป็นผู้ปราศจากความยึดถือผูกพันอาตมะลักษณะ(ไม่ยึดถือในตน) ปุคคละลักษณะ(ไม่ยึดถือในบุคคล) สัตวะลักษณะ(ไม่ยึดถือในชันธ์ห้า ประกอบด้วย รูป (สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา) เวทนา(ความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ เฉย ๆ ) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ (ความรู้แจ้งแห่งอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ) และชีวะลักษณะ (สภาวะแห่งชีวิตหรือวิญญาณแห่งสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในวัฎสงสาร )

 

 

 

คำถามที่ 3 เรื่อง คุณสมบัติแห่งผู้ที่ไม่สามารถรับฟัง ปฏิบัติตามพระสูตร และเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆ

 

 

ถาม คุณสมบัติใดแห่งผู้ที่ไม่สามารถรับฟัง ปฏิบัติตามพระสูตร และเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆ ได้

 

 

ตอบ  หากบุคคลใดเป็นผู้ยินดีในธรรมอันคับแคบ มีความยึดถือผูกพันเห็นว่ามีอาตมะลักษณะ(ไม่ยึดถือในตน) เห็นว่ามีปุคคละลักษณะ(ไม่ยึดถือในบุคคล) เห็นว่ามีสัตวะลักษณะ(ไม่ยึดถือในชันธ์ห้า ประกอบด้วย รูป(สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา)  เวทนา(ความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ เฉย ๆ ) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ (ความรู้แจ้งแห่งอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ) และเห็นว่ามีชีวะลักษณะ (สภาวะแห่งชีวิตหรือวิญญาณแห่งสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในวัฎสงสาร )ไซร้

 

 

เขาผู้นั้นย่อมไม่สามารถรับฟังและปฏิบัติตามพระสูตรนี้ได้ และไม่สามารถเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆได้เลย

 

 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 3 อานิสงส์ของการปฏิบัติและเผยแพร่พระสูตร

 

 

*********************************************

 

 
 

คำถามที่ 1 เรื่อง อานิสงส์ของการสดับพระธรรมบรรยายในพระสูตร

 

 

ถาม จงกล่าวถึงอานิสงส์ของการสดับพระธรรมบรรยายในพระสูตร

 

 

ตอบ บุคคลใดได้สดับพระธรรมบรรยายนี้บังเกิดจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์แม้เพียงชั่วขณะเดียว พระพุทธเจ้าย่อมรู้อยู่ ย่อมเห็นอยู่ในเขาเหล่านั้นเขาทั้งหลายนี้ได้บรรลุบุญกุศลอันจักประมาณมิได้เลย

 

 
 

คำถามที่ 2 เรื่อง อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติประพฤติตามและสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

ถาม อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติประพฤติตามและสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

ตอบ บุคคลผู้ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรนี้ทั้งหมด และสามารถเจริญสาธยายได้เล่า พระพุทธองค์กล่าวว่า บุคคลนั้นแลได้ยังความสำเร็จแล้วในธรรมอันเป็นยอดสูงสุดซึ่งหาได้โดยยาก

 

 
 
 
 
 
 

 

คำถามที่ 3 เรื่อง อานิสงส์ของการปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมในพระสูตร

 

 

ถาม อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติประพฤติตามและสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

ตอบ  ถ้ามีบุคคลได้อาศัยปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท และประกาศสั่งสอนแก่ผู้อื่น บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะอันมีค่า ข้อนั้นเพราะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดจนพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งปวงล้วนมีกำเนิดจากพระสูตรนี้

 

 

 

คำถามที่ 4   เรื่อง อานิสงส์ของการปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมในพระสูตร

 

 

ถาม อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติประพฤติตามและสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

ตอบ ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆนำ สัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมดุจเมล็ดทรายในคงคานทีทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน จักได้บุญกุศลมากมายนัก แต่ถ้ากุลบุตร กุลธิดาใดๆหากได้ประพฤติปฏิบัติตามพระสูตรนี้ที่สุดแม้จะปฏิบัติคาถาเพียง 4 บาท หรือประกาศแสดงแก่คนอื่นๆข้อนั้นย่อมจะเป็นบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าบุญกุศลที่กล่าวแล้วนั้นอีก

 

 

คำถามที่ 5 เรื่อง อานิสงส์ของการปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมในพระสูตรที่มีต่อสถานที่ที่ประกาศแสดงพระสูตร

 

 

ถาม อานิสงส์ของการปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมในพระสูตรที่มีต่อสถานที่ที่ประกาศแสดงพระสูตร มีมากน้อยเพียงใด

 

 

ตอบ  สถานที่ใดมีผู้ได้ประกาศแสดงพระสูตรนี้ แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท ณ สถานที่ นั้น ทวยเทพมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายถึงกระทำสักการะบูชาดุจพระพุทธสถูปวิหาร  ถ้าพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่ใด ณ สถานที่นั้นย่อมชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดับอยู่ และมีพระอัครสาวกสำนักอยู่

 

 

คำถามที่ 6 เรื่อง อานิสงส์ของการบริจาคทานด้วยการสละร่างกาย กับการปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมในพระสูตร

 

 

ถาม อานิสงส์ของการบริจาคทาน กับการปฏิบัติและเผยแพร่ธรรมในพระสูตร

 

 

ตอบ ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆได้สละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน เปรียบกับหากมีบุคคลได้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท ประกาศแสดงอรรถแก่บุคคลอื่น  ซึ่งบุคคลที่ได้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท ประกาศแสดงอรรถแก่บุคคลอื่น ย่อมมีบุญกุศลมากมายยิ่งกว่า

 

 

 

คำถามที่ 7 เรื่อง ผลของการปฏิบัติตามพระสูตร

 

 

ถาม ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรดังกล่าวนี้ มีศรัทธาอันบริสุทธิ์ แล้วบังเกิดลักษณะอันแท้จริง (เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาพตามเป็นจริง) ก็พึงสำเหนียกได้ว่าอย่างไร

 

 

ตอบ พึงสำเหนียกได้ว่า บุคคลนั้นได้บรรลุสำเร็จซึ่งคุณานิสงส์อันเยี่ยมยอดหาได้โดยยาก

 

 
 

คำถามที่ 8 เรื่อง ความยอดเยี่ยมแห่งผู้ปฏิบัติพระสูตร

 

 

ถาม ความยอดเยี่ยมแห่งผู้ปฏิบัติพระสูตร

 

 

ตอบ หากมีสรรพสัตว์ใดได้สดับพระสูตรนี้ แล้วแลบังเกิดความศรัทธาซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม บุคคลนั้นนับว่าเป็นบุคคลอย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยากทีเดียว

 

 

คำถามที่ 9 เรื่อง ความยอดเยี่ยมแห่งผู้ปฏิบัติพระสูตรที่สามารถเอาชนะต่อความยากแห่งการเรียนรู้พระสูตรที่ลึกซึ้ง

 

 

ถาม พระพุทธเจ้าตรัสว่าความยอดเยี่ยมแห่งผู้ปฏิบัติพระสูตรที่สามารถเอาชนะต่อความยากแห่งการเรียนรู้พระสูตรที่ลึกซึ้ง เป็นบุคคลเช่นใด

 

 

ตอบ ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรนี้แล้วแลไม่บังเกิดความกลัว ไม่บังเกิดความครั่นคร้าม ไม่บังเกิดความระย่อ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า บุคคลนั้นเป็นผู้หาได้โดยยาก

 

 

คำถามที่ 10 เรื่อง ผลบุญจากการบำเพ็ญทาน

 

 

ถาม ถ้ามีบุคคลใดบำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะ(มณีอันมีค่า7อย่าง)อันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ(ระบบจักรวาลขนาดใหญ่มากที่มีดวงอาทิตย์มากกว่าพันล้านดวง ฯลฯ) ตลอดจนบุคคลนั้นจักได้เสวยบุญกุศลอันมากมายหรือ

 

 

  ตอบ มิได้บุญเพราะว่าบุญกุศลมากมายนั้นต้องเป็นบุญกุศลที่ปราศจากสภาวะอันใดที่เป็นกุศล โดยปรมัตถ์บุญกุศลแล้วก็เป็นอนัตตาหรือศูนยตา การที่ไม่ยึดถือบุญกุศลนั่นแหละ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลอันมากมายโดยแท้

 

 

 

คำถามที่ 11 เรื่อง อานิสงฆ์แห่งผู้ปฏิบัติพระสูตร

 

 

ถาม  หากมีกุลบุตร กุลธิดาใดๆอาจสามารถรับปฏิบัติตามพระสูตรนี้ หรือเจริญสาธยายก็ดี มีอานิสงฆ์เช่นใด

 

 

ตอบ  หากมีกุลบุตร กุลธิดาใดๆอาจสามารถรับปฏิบัติตามพระสูตรนี้ หรือเจริญสาธยายก็ดี

 

 
 
 
 
 

อาศัยอำนาจแห่งพุทธปัญญาของพระพุทธเจ้า 

 

 

1) พระพุทธเจ้าย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

2) พระพุทธเจ้าย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

3) บุคคลผู้นั้นจักสำเร็จบรรลุคุณานิสงส์อันจักประมาณมิได้และไม่มีขอบเขต

 

 
 

 คำถามที่ 12 เรื่อง การบริจาคทานด้วยสรีระกาย กับ อานิสงส์แห่งผู้สดับฟังพระสูตรและปฏิบัติพระสูตร

 

 

 คำถาม   กุลบุตร กุลธิดาใดๆ

 

 

ในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอดก็ตาม มีกุศลเช่นใด เมื่อเทียบกับผู้สดับฟังพระสูตรและปฏิบัติพระสูตร

 

 

ตอบ   กุลบุตร กุลธิดาใดๆ ในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอดก็ตาม

 

 

แต่ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรนี้แล้วบังเกิดจิตศรัทธาไม่คัดค้าน บุญกุศลของเขาผู้นั้นยังประเสริฐกว่า จักป่วยกล่าวไปใยกับการที่เขาคัดลอก รับปฏิบัติ เจริญสาธยาย และอธิบายอรรถซึ่งพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆได้เล่า

 

 

 คำถามที่ 13 เรื่อง คุณานิสงส์ของพระสูตร และอานิสงฆ์แห่งผู้ปฏิบัติพระสูตร

 

 

ถาม คุณานิสงส์ของพระสูตร และอานิสงส์แห่งผู้ปฏิบัติพระสูตร มีกุศลมากน้อยเพียงใด

 

 

ตอบ   พระสูตรนี้มีคุณานิสงส์อันจักพึงคิดคาดคะเนมิได้ หรือจักประมาณก็มิได้ประกอบด้วยคุณานิสงส์อันไม่มีขอบเขต

 

 

พระพุทธเจ้าประกาศพระสูตรนี้ เพื่อบุคคลผู้มุ่งต่อมหายาน และประกาศพระสูตรนี้เพื่อบุคคลผู้มุ่งต่ออนุตตรยาน

 

 

ถ้ามีบุคคลผู้สามารถรับปฏิบัติตามก็ดี เจริญสาธยายก็ดี ประกาศแสดงแก่บุคคลอื่นๆก็ดี

 

 

1)   พระพุทธเจ้าย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

2)   พระพุทธเจ้าย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

3)   บุคคลนั้นๆทั้งหมดจักบรรลุคุณานิสงส์ซึ่งประมาณมิได้ กล่าวมิได้ ปราศจากขอบเขต และเป็นอจินไตย  

 

 

4)   บุคคลผู้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้แบกคอนพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระพระพุทธเจ้า

 

 
 
 
 
 
 

คำถามที่ 14 เรื่อง คุณานิสงส์แห่งการปฏิบัติบูชาพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เทียบกับการสามารถรับปฏิบัติและเจริญสาธยายซี่งพระสูตรนี้

 

 

ถาม คุณานิสงส์แห่งการปฏิบัติบูชาพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะ ของพระพุทธเจ้า มีบุญกุศลเพียงใดเมื่อเทียบกับการสามารถรับปฏิบัติและเจริญสาธยายซี่งพระสูตรนี้

 

 

ตอบ คุณานิสงส์แห่งการปฏิบัติบูชาพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะ ของพระพุทธเจ้า นั้นเมื่อเทียบกับการสามารถรับปฏิบัติและเจริญสาธยายซี่งพระสูตรนี้

 

 

พบว่าคุณานิสงส์ซึ่งเขาพึงได้นั้น เมื่อมาเปรียบเทียบกับคุณานิสงส์ซึ่งเราบูชาพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในร้อยส่วนไม่ถึงหนึ่งส่วน

 

 
 

คำถามที่ 15 เรื่อง อานิสงส์ของสถานที่ใดๆ ที่มีพระสูตรประดิษฐานอยู่

 

 

ถาม อานิสงส์ของสถานที่ใดๆ ที่มีพระสูตรประดิษฐานอยู่มีมากน้อยเพียงใด

 

 

ตอบ  อานิสงส์ของสถานที่ใดๆ ที่มีพระสูตรประดิษฐานอยู่

 

 

1)   ย่อมเป็นสถานอันทวยเทพ ตลอดจนมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายจักพึงกระทำสักการบูชา

 

 

2)    ณ.สถานที่ดังกล่าวนี้แลเป็นพระสถูปเจดีย์ ควรแก่การเคารพพนมไหว้กระทำการประทักษิณ และนำบุปผาชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา

 

 
 
 

 

คำถามที่ 16 ผลของอานิสงส์ของผู้ปฏิบัติ เผยแพร่และเจริญสาธยายพระสูตร กรณีที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากบุคคลอื่น           

 

 

ถาม ผลของอานิสงส์ของผู้ปฏิบัติ เผยแพร่และเจริญสาธยายพระสูตร กรณีที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากบุคคลอื่น           

 

 

 ตอบ กุลบุตร กุลธิดาใดๆมารับปฏิบัติหรือเจริญสาธยายซึ่งพระสูตรนี้ แลแล้วถูกคนเขาดูหมิ่นย่ำยี

 

 

บุคคลนั้น อันอกุศลกรรมแต่ปางหลังชาติก่อนสมควรแก่การจบลงสู่อบายทุคติภูมิ แต่เมื่อเขาได้รับการดูหมิ่นย่ำยีจากคนอื่นในภพปัจจุบัน อกุศลกรรมแต่ปางก่อนจึงดับศูนย์ บุคคลนั้นจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 

ด้วยพระสูตรนี้อาจทำให้กุลบุตร กุลธิดาใดๆในสมัยเบื้องปลายแห่งพระสัทธรรม ได้มาปฏิบัติและเจริญสาธยายพระสูตรนี้ คุณานิสงส์อันที่เขาจะได้รับ การที่เราจักพึงอธิบายโดยละเอียดสมบูรณ์ซึ่งคุณานิสงส์นั้นแล้ว หากมีผู้ใดสดับเข้าก็จะพึงบังเกิดความวุ่นวายแห่งจิต มีวิจิกิจฉาไม่เชื่อถือเลย

 

 

 พระพุทธเจ้ากล่าวว่าให้พึงสำเหนียกไว้ว่าธรรมอรรถแห่งพระสูตรนี้เป็นอจินไตย แม้ผลานิสงส์ก็เป็นอจินไตยดุจกันอย่างนี้

 

 

           

 

 

 คำถามที่ 17 เรื่อง อานิสงส์ของการปฏิบัติพระสูตร

 

 

ถาม ถ้ามีบุคคลผู้นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน เทียบผลบุญกับกับผู้ปฏิบัติพระสูตร

 

 

ตอบ  ถ้ามีบุคคลผู้นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

แต่หากมีบุคคลมารับปฏิบัติเล่าเรียนสาธยาย ประกาศชี้แจงแก่ผู้อื่นซึ่งธรรมในปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงคาถา 4 บาท เท่านั้น

 

 

คุณานิสงส์ของบุคคลแรกในร้อยส่วนเปรียบด้วยมิได้สักหนึ่งส่วน แม้นับด้วยร้อยหมื่นอสงไขยส่วนที่สุดจนเหลือประมาณคณานับ ก็เอามาเปรียบเทียบด้วยไม่เท่าเทียมถึงได้เลย

 

 
 

 คำถามที่ 18   เรื่อง อานิสงส์การปฏิบัติตามพระสูตร

 

 

ถาม     หากมีบุคคลนำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน เทียบกับผู้ปฏิบัติในพระสูตร

 

 

ตอบ หากมีบุคคลนำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน เทียบกับผู้ปฏิบัติในพระสูตร

 

 

แต่ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆตั้งจิตปรารถนาต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ มาปฏิบัติตามซึ่งพระสูตรนี้แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท เขารับปฏิบัติเล่าเรียนสาธยายก็ดี  ประกาศแก่ผู้อื่นก็ดี ย่อมมีบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าผู้บริจาคทานนั้นเสียอีก

 

 
 

คำถามที่ 19 เรื่อง สรุปอานิสงส์จากพระสูตรของผู้ที่ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรและสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

ถาม จงสรุปอานิสงส์จากพระสูตรของผู้ที่ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรแม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท (แนวทาง4 ประการ ปฏิบัติแห่งพระโพธิสัตว์)และสามารถเจริญสาธยายสั่งสอนพระสูตรให้กับบุคคลอื่นได้

 

 

ตอบ สรุปอานิสงส์จากพระสูตรของผู้ที่ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรแม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท (แนวทาง 4 ประการของการปฏิบัติจิตแห่งพระโพธิสัตว์)และสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

1)    บุคคลนั้นนับว่าเป็นบุคคลนั้นได้บรรลุสำเร็จซึ่งคุณานิสงส์อัน อย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยาก

 

 

2)    บุคคลดังกล่าวนั้น เป็น ผู้ได้รับความสำเร็จแล้วในธรรมอันเป็นยอดสูงสุดซึ่งหาได้โดยยาก

 

 

3)    บุคคลดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ ย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

4)    ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น จักสำเร็จบรรลุคุณานิสงส์อันจักประมาณมิได้และไม่มีขอบเขต

 

 

5)    บุคคลดังกล่าวนั้นจักบรรลุคุณานิสงส์ซึ่งประมาณมิได้ กล่าวมิได้ ปราศจากขอบเขต และเป็นอจินไตย   บุคคลผู้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้แบกคอนพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระตถาคต

 

 

6)    บุคคลดังกล่าวผู้ที่สดับพระสูตรนี้บังเกิดศรัทธาจิตขึ้น นับว่าเป็นสรรพสัตว์ประเภทพิเศษที่หาได้ยากอย่างยิ่งไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป

 

 

7)    บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะอันมีค่า ซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมดุจเมล็ดทรายในคงคานทีทั่วมหาตรสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

8)    บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่า ผู้ที่ทำทานด้วยการสละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน

 

 

9)    บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่า ผู้ที่ทำงานด้วยในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอด

 

 

10)                       บุญกุศลของผู้นั้นเพียง 1 ส่วน มากกว่าบุญกุศล 100 ส่วนของพระพุทธเจ้าที่เคยได้เฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า และได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะองค์

 

 

11)                       บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่าบุคคลที่นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

12)                       บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่าบุคคลที่นำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน  

 

 

13)                       ผลของอานิสงส์ของผู้ปฏิบัติ เผยแพร่และเจริญสาธยายพระสูตร กรณีที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากบุคคลอื่น บุคคลนั้น อันอกุศลกรรมแต่ปางหลังชาติก่อนสมควรแก่การจบลงสู่อบายทุคคติภูมิ แต่เมื่อเขาได้รับการดูหมิ่นย่ำยีจากคนอื่นในภพปัจจุบัน อกุศลกรรมแต่ปางก่อนจึงดับศูนย์ บุคคลนั้นจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 
 

คำถามที่ 20 เรื่อง สรุปอานิสงส์และความสำคัญแห่งสถานที่ประกาศแสดงพระสูตร

 

 

คำถาม จงสรุปอานิสงส์แห่งสถานที่ประกาศแสดงพระสูตรแม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท จากพระสูตรมีมากน้อยเพียงใด

 

 
 
 
 

 

ตอบ  สรุปอานิสงส์แห่งสถานที่ใดมีผู้ได้ประกาศแสดงพระสูตรนี้ แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท  จากพระสูตรมีดังนี้

 

 

1)   ณ.สถานที่นั้นแลเป็นพระสถูปเจดีย์ ควรแก่การเคารพพนมไหว้กระทำการประทักษิณ และนำบุปผาชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา

 

 

2)    ณ สถานที่ นั้น ทวยเทพมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายถึงกระทำสักการบูชาดุจพระพุทธสถูปวิหาร  

 

 

3)    ณ สถานที่นั้น ย่อมชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดับอยู่ และมีพระอัครสาวกสำนักอยู่

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่   4   แนวทางการปฏิบัติจิตเป็นพระโพธิสัตว์

 

 

*********************************************

 

 

คำถามที่ 1   เรื่อง พระโพธิสัตว์

 

 

ถาม จงบอกความหมาย คุณธรรมหลัก ปณิธาน อุดมการณ์ ยาน จรรยา ของพระโพธิสัตว์

 

 

ตอบ โพธิสัตว์ คือ ผู้ที่มีใจยึดมั่นในสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว เป็นผู้ที่จะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี 10 ทัศทุกๆ คน เป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม

 

 

          คุณธรรมหลักของผู้ตั้งปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์คือ

 

 

1)     มหาเมตตา แปลว่าปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข

 

 

2)    มหากรุณา คือ ความปราณีต่อสรรพสัตว์ (หมายรวมมนุษย์) ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สงสารผู้ยากลำบากทั้งหลาย เฝ้าตามช่วยแนะเพื่อความสุขของเขา เป็นความยินดีกรุณาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

 

 

3)    มหาปัญญา คือเป็นผู้มีความรู้หรือศึกษาหาวิชาใส่ตัว ได้เป็นประโยชน์ส่วนตนเอง ส่วนผู้อื่นช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

 

 

4)    มหาอุบาย คือ รู้ในวิธีนำตนและผู้อื่นให้พ้นภัยและสัมฤทธิผลเข้าถึงในคุณธรรมต่าง ๆ ที่มีประโยชน์

 

 
 
 
 

ปณิธานของพระโพธิสัตว์

 

 

1)     เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด

 

 

2)     เราจะตั้งใจศึกษาพระธรรมทั้งหลายให้เจนจบ

 

 

3)    เราจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น

 

 

4)     เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 

       

 

 

อุดมการณ์โพธิสัตว์มีหน้าที่หลัก 2 ประการ

 

 

1)     โพธิสัตว์นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ยังมุ่งในความสุขและความเป็นดีอยู่ที่ดีในโลกนี้

 

 

2)      โพธิสัตว์ปรารถนาให้สรรพสัตวืได้บรรลุนิพพาน โดยตนเองปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานของตน เพื่อที่จะได้ยังมีโอกาสรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องยังอยู่ในที่แห่งความทุกข์ยาก เพื่อสร้างคุณความดีช่วยเหลือสรรพสัตว์

 

 
 

ยาน หรือ เส้นทางซึ่งนำไปสู่การบรรลุโพธิ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

 

 

1)     สาวกยาน คือ ยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า

 

 

2)    ปัจจเจกยาน คือ ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้

 

 

3)    โพธิสัตวยาน(พุทธยาน) คือ ยานของพระโพธิสัตว์( ซึ่งได้แก่ผู้มีใจเมตตา ใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหันตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง และเป็นผู้รู้แจ้งในสูญญตธรรม

 

 

         

 

 

คำถามที่ 2   เรื่อง ประเภทของพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม พระโพธิสัตว์มีกี่ประเภท และปุถุชนธรรมดาซึ่งมิได้มีเพศบรรพชิต แต่มีความศรัทธาในอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์ มีจิตเมตตาอยากช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ จะสามารถตั้งจิตอธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์ได้หรือไม่

 

 

ตอบ ประเภทของพระโพธิสัตว์ ในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

 

1)     พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่าเกิดในโลกมนุษย์เมื่อใด   แต่เกิดขึ้นก่อนกาลแห่งพระศากยมุนีพระพุทธเจ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ทรงมีความเมตตากรุณาในหมู่สัตว์ ทรทรงตั้งพระทัยไม่เข้าสู่พุทธภูมิ ประทับอยู่เพื่อโปรดสัตว์ในโลกนี้ต่อไป ตัวอย่างเช่น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ เป็นต้น

 

 

2)    มนุษิโพธิสัตว์ หรือ ปุถุชนโพธิสัตว์ คือ ผู้ปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ประกอบการบุญเจริญศีล ทาน ภาวนา ทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ช่วยชีวิตคนและสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ กระทำกัลป์ยาณวัตร และบำเพ็ญกุศลเพื่อบารมีแต่ละชาติไป โดยมุ่งหวังบรรลุพระโพธิญาณในขั้นสุดท้าย เช่น อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า     

 

 

ดังนั้นปุถุชนธรรมดาซึ่งมิได้มีเพศบรรพชิต แต่มีความศรัทธาในอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์ มีจิตเมตตาอยากช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ตามแนวคิดของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สามารถจะตั้งจิตอธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์ได้ ในประเภทของ    มนุษิโพธิสัตว์ หรือ ปุถุชนโพธิสัตว์                                                                           

 

 

      ดังนั้นโพธิสัตว์จึงเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธมหายาน ที่พยายามดำเนินรอยตามแนวทางพระยุคลบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นมนุษิโพธิสัตว์ เพื่อให้ได้ถึงพุทธภูมิในที่สุด และอุดมการณ์โพธิสัตว์นี้ยังมีสมบัติเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม่มีช่องว่างมากนักระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส เนื่องจากผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบรรพชิต แม้ฆราวาสเองก็เป็นโพธิสัตว์ได้เช่นกัน โดยหัวใจของการเป็นโพธิสัตว์นั้นขั้นแรกต้องมี โพธิจิต คือจิตตั้งมั่น ยึดพุทธภูมิเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต มีศรัทธาในโพธิ หรือความรู้แจ้งว่าเป็นอุดมการณ์สูงสุด และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์

 

 
 

คำถามที่ 3   เรื่องแนวทางการปฏิบัติจิตเป็นพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม จงบอกแนวทางการปฏิบัติจิตเป็นพระโพธิสัตว์

 

 

ตอบ กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระโพธิสัตว์ มุ่งต่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิ(ปัญญาแห่งการตรัสรู้)  อนุปาทิเสสนิพพาน(การดับทั้งกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์)ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ

 

 

1)   ต้องไม่มีความยืดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ(ไม่ยึดถือในตน) ในปุคคละลักษณะ(ไม่ยึดถือในบุคคล)  ในสัตวะลักษณะ(ไม่ยึดถือในชันธ์ห้า ประกอบด้วย รูป(สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา)เวทนา(ความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ เฉย ๆ ) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ (ความรู้แจ้งแห่งอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ) ในชีวะลักษณะ(สภาวะแห่งชีวิตหรือวิญญาณแห่งสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในวัฎสงสาร )

 

 

2)   ต้องไม่ยึดติดอยู่ในธรรมและอธรรม

 

 

3)   ต้องไม่ยึดถือผูกพันในการบำเพ็ญทาน คือจักบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ 

 

 
 

คำถามที่ 4 เรื่องความแตกต่างระหว่างโพธิสัตว์กับปุถุชน

 

 

ถาม จงอธิบายเรื่องของบุคคลใดกับการมีและการไม่มี สภาวะอาตมลักษณะ ปุคลลักษณะ สัตวลักษณะและชีวะลักษณะ

 

 

ตอบจงอธิบายเรื่องความแตกต่างระหว่างโพธิสัตว์กับปุถุชน

 

 

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เห็นว่า  รูปกายธาตุ 4 คือตัวตน จึงรักตัวกลัวตาย ชื่อว่ามีสภาวะแห่งอาตมลักษณะ

 

 

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เห็นว่า มีใจรักและชัง จิตไม่สมดุล ชื่อว่ามีสภาวะแห่งปุคคละลักษณะ

 

 

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เห็นว่า มีใจแปรผัน หันเหไปตามใจทางโลก(โลกียะ)ทุกขณะจิต ไม่แสวงหาการหลุดพ้น ชื่อว่ามีสภาวะแห่งสัตวลักษณะ

 

 

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เห็นว่า ไม่ลืมจิตวิญญาณ เมล็ดพันธุ์กรรมงอกเงยอยู่เสมอ ไม่เห็นแจ้งลักษณะแท้จริงในศูนย์ภาพการไม่เกิด ชื่อว่ามีสภาวะแห่งชีวะลักษณะ

 

 

โพธิสัตว์ใด ประจักษ์แจ้งว่า กายคือมายา โลกคืออนิจจัง แม้แต่ร่างกายและทรัพย์สินก็ไม่เสียดาย ชอบในพระธรรมคำสอนแห่งพุทธ โพธิสัตว์นั้น ชื่อว่า ไม่มีสภาวะแห่งอาตมะลักษณะ

 

 

โพธิสัตว์ใด ประจักษ์แจ้งว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยบุตร-ธิดาตน โดยไม่เลือกว่าเป็นญาติ หรือศัตรูคู่แค้น ให้ความช่วยเหลือโดยเสมอภาค โพธิสัตว์นั้น ชื่อว่า ไม่มีสภาวะแห่งปุคคละลักษณะ

 

 

โพธิสัตว์ใด ประจักษ์แจ้งว่า ตัดขาดจากใจที่มุ่งต่อโลกียะ ไม่เหลือเยื่อใย โพธิสัตว์นั้น ชื่อว่า ไม่มีสภาวะแห่งสัตวะลักษณะ

 

 

โพธิสัตว์ใด ประจักษ์แจ้งว่า ลักษณะแท้จริงของการไม่เกิด บำเพ็ญปฏิบัติตามแรงสัจจาธิษฐาน โพธิสัตว์นั้น ชื่อว่า ไม่มีสภาวะแห่งชีวะลักษณะ

 

 
 
 

คำถามที่ 5   เรื่องแนวทางการปฏิบัติจิตเป็นพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม จงบอกแนวทางการปฏิบัติจิตเป็นพระโพธิสัตว์ ในกรณีการไม่ยึดถือผูกพันในธรรม

 

 

 ตอบ กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระโพธิสัตว์ ในกรณีการไม่ยึดถือผูกพันในธรรม  ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ

 

 

1)    สรรพสัตว์เหล่านี้ย่อมจักไม่มีธรรมลักษณะหรืออธรรมลักษณะ

 

 

หากยังมีความยึดถือในธรรมลักษณะ ก็ชื่อว่ายังมีความยึดถือ

 

 

หากมีความยึดถือในอธรรมลักษณะ ก็ยังชื่อว่ามีความยึดถือ

 

 

เพราะเหตุฉะนั้นจึงไม่ควรยึดถือในธรรมและไม่ควรยึดถือในอธรรม

 

 

 

 

 

      พึงทำจิตให้ไม่ยึดติดในธรรม/อธรรม ในกุศล/อกุศล เพื่อยังจิตเข้าสู่สูญญตา

 

 

****พึงกำหนดรู้ว่าธรรมะที่เราแสดงมีอุปมาดังผู้อาศัยพ่วงแพ แม้แต่ธรรมก็ยังต้องละเสีย จักกล่าวไปใยกับอธรรม***

 

 

         

 

 

คำถามที่ 6 เรื่อง สรุปหลักการสำคัญของแนวทางการปฏิบัติจิตแห่งพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม สรุปหลักการสำคัญของแนวทางการปฏิบัติแห่งพระโพธิสัตว์เป็นเช่นไร

 

 

ตอบ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ทั้งปวงพึงยังจิตให้บริสุทธิ์สะอาดโดยประการดังนี้ กล่าวคือ  

 

 

พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ พึงยังจิตมิให้บังเกิดมีความยึดถือผูกพันในสภาวะใดๆและถ้าจิตยังมีความยึดถือผูกพันอยู่ ก็ย่อมชื่อว่าจิตมิได้ตั้งอยู่ในสถานะที่ควร

 

 

 

คำถามที่ 7 จิตแห่งธรรมและการบริจาคทานของพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม พระโพธิสัตว์มีจิตแห่งธรรมและการบริจาคทานอย่างไร

 

 

ตอบ พระโพธิสัตว์ไม่พึงบริจาคทานด้วยจิตซึ่งยึดถือผูกพันในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์ พระโพธิสัตว์ผู้ยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ พึงบริจาคทานอย่างนี้แล

 

 

          หากพระโพธิสัตว์มีจิตยึดถือผูกพันในธรรมแล้วแลบริจาคทาน อุปมาดั่งบุคคลผู้เข้าสู่สถานที่มืดย่อมไม่อาจเห็นสิ่งอะไรได้เลย

 

 

แต่ถ้าพระโพธิสัตว์มีจิตไม่ยึดถือผูกพันในธรรมแล้วและบริจาคทาน มีอุปมาดั่งบุคคลผู้มีจักษุสว่างและ ที่ซึ่งมีแสงอาทิตย์สว่าง ย่อมจะเห็นชัดในรูปต่างๆได้

 

 

 

 

 

 

 

   พึงทำจิตให้ไม่ยึดติดในธรรม/อธรรมกุศล/อกุศล ให้พิจารณาเห็นธรรมเป็นความว่าง เพื่อยังจิตเข้าสู่สูญญตา พร้อมแผ่เมตตาความปรารถนาดีไปทั้งสิบทิศสู่สรรพสัตว์ สวรรค์ พรหม นิพพานและนรก โดยไม่ยึดถือผูกพันในการบริจาคทาน(ผู้เขียน)

 
 

คำถามที่ 8 เรื่อง บุญกุศลการบริจาคทาน

 

 

ถาม ถ้ามีบุคคลใดๆนำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าเมล็ดทรายในคงคานที ทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน บุคคลนั้นอาศัยเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้รับบุญกุศลมากมายหรือไม่

 

 

ตอบ  หากบุญกุศลจักพึงมีสภาวะอยู่จริงแท้แล้ว ตถาคตก็จักไม่กล่าวว่า เขาได้บุญกุศลมากมาย

 

 

ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าบุญกุศลนั้นปราศจากสภาวะ ตถาคตจึงกล่าวว่าผู้นั้นได้บุญกุศลมากมาย

 

 

 

คำถามที่ 9 เรื่อง อานิสงส์แห่งผลบุญจากการการบำเพ็ญทาน

 

 

ถาม การบำเพ็ญทานแบบใดที่มีอานิสงส์แห่งผลบุญมากมายเสียยิ่งกว่าบุคคลที่บำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะอันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ  

 

 

ตอบ อานิสงส์แห่งบุญกุศลที่มากมายนั้น

 

 

ต้องเป็นบุญกุศลที่ปราศจากสภาวะอันใดที่เป็นกุศล โดยปรมัตถ์บุญกุศลก็เป็นอนัตตาหรือศูนยตา การที่ไม่ยึดถือบุญกุศลนั่นแหละ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลอันมากมายโดยแท้

 

 

  คำถามที่ 10 เรื่อง บุญการบริจาคทานแห่งพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม บุญการบริจาคทานแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นเช่นใด

 

 

 ตอบ  ถ้ามีพระโพธิสัตว์ที่นำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าจำนวนเมล็ดทราย ในคงคาทีทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุออกบริจาคทาน

 

 

แต่หากมีบุคคลอีกผู้หนึ่งมารู้แจ้งว่าธรรมทั้งปวงปราศจากตัวตน เขาผู้นั้นได้สำเร็จแก่ปัญญาความตรัสรู้ 

 

 

พระโพธิสัตว์องค์หลังนี้ได้คุณานิสงส์ประเสริฐยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์องค์แรก ข้อนั้นเพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่ยึดถือในสรรพบุญกุศลนั่นเอง

 

 

 

  คำถามที่ 11 เรื่อง ขนาดของกองบุญการบริจาคทานแห่งพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม ขนาดของกองบุญการบริจาคทานแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นเช่นใด

 

 

 ตอบ  ขนาดของกองบุญการบริจาคทานแห่งพระโพธิสัตว์ โดยไม่ยึดมั่นกับสิ่งที่ได้บริจาค ไม่ยึดมั่นต่อความคิดเกี่ยวกับเครื่องหมายรู้ใด พระพุทธองค์กล่าวไว้ในการวัดขนาดไว้ดังนี้ โดยการวัดขอบเขตของที่ว่างทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศระหว่างกลางของทิศทั้ง4 อันได้แก่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งทิศเบื้องบนและทิศเบื้องล่าง รวมแล้วจำนวนทั้งหมด 10 ทิศ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายต่อการวัด มันมากมายมหาศาล

 

 

ทิศทั้งสิบนี้ นอกจากจะบอกนัยของวิธีการวัดกองบุญแล้ว ยังได้บอกใบ้ถึงกรรมวิธีการแผ่เมตตาจิตจากการบริจาคทานของพระโพธิสัตว์ด้วย การแผ่เมตตาจิตไปยัง10ทิศ เป็นการแผ่เมตตาจิตไปสู่ 8 ทิศ ระนาบเดียวกับตัวตน ได้แก่ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ แผ่เมตตาเพื่อเอื้อเฝ้อต่อสรรพสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ  บวกกับทิศเบื้องบนแผ่เมตตาเพื่อเอื้อเฝื้อต่อ เทพเทวาในแดนสวรรค์ พรหมโลก และพระพุทธเจ้า พระปัจจเจกพระพุทธเจ้า ในแดนนิพพาน รวมทั้งทิศเบื้องล่างแผ่เมตตาเพื่อเอื้อเฝื้อต่อผู้เสวยความทุกข์ในนรกภูมิ  การแผ่เมตตาจิตต้องแผ่ด้วยจิตที่กอร์ปด้วยแสงแห่งโชติ ประดุจดั่งเรามีแสงในตนเองดั่งดวงอาทิตย์แผ่ไปทั้งสิบทิศ แผ่แสงสว่างไปจนสุดขอบฟ้าชอบจักรวาล แผ่ไปโดยไม่มีประมาณ แผ่เมตตาไปโดยจิตเมตตาแบบไร้เงื่อนไข   กรรมวิธีการแผ่เมตตาสิบทิศจะทำให้มีการพัฒนากายธาตุสู่ความเป็นแสงแห่งโชติ เพื่อพร้อมการเข้าสู่สมาธิในระดับมหาสูญญตาและจุฬสูญญตา ชำระล้างกิเลส อุปกิเลสในดวงจิต ชำระจิตให้ก้าวพ้นจากทวิภาวะ นำไปสู่การเปิดญาณทวาร ปลุกเมล็ดพันธ์โพธิจิตต์ให้ตื่นขึ้น เพื่อก้าวสู่พุทธิภาวะให้รู้ให้ตื่นรู้เบิกบาน   (ผู้เขียน)

 

 
 

คำถามที่ 12   การปฏิบัติของพระโพธิสัตว์

 

 

 ถาม การปฏิบัติของพระโพธิสัตว์แบบใดที่ถือว่าไม่ยึดถือในบุญกุศล

 

 

ตอบ  พระโพธิสัตว์บำเพ็ญกุศลแล้ว ไม่พึงบังเกิดความโลภยึดถือเอา เพราะเหตุฉะนั้นแลจึงกล่าวได้ว่าไม่ยึดถือในบุญกุศล

 

 

คำถามที่ 13 เรื่อง ผลของการละความยึดถือในสรรพลักษณะทั้งปวง

 

 

ถาม พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึง ผลของการละความยึดถือในสรรพลักษณะทั้งปวงนั้นเกิดผลเช่นใดต่อผู้ปฏิบัติ

 

 

คอย พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ผลของการละความยึดถือในสรรพลักษณะทั้งปวง มีดังนี้

 

 

เมื่อละความยึดถือในสรรพลักษณะทั้งปวง ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้งตรัสรู้เช่นพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

 

 

คำถามที่ 14 สรุปการบริจาคทานของพระโพธิสัตว์ พึงยังจิตอย่างไร

 

 

ถาม พระโพธิสัตว์มีจิตแห่งธรรมและการบริจาคทานอย่างไร

 

 

ตอบ

 

 

1)พระโพธิสัตว์ไม่พึงบริจาคทานด้วยจิตซึ่งยึดถือผูกพันในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์ ธรรม อธรรม พระโพธิสัตว์ผู้ยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ พึงบริจาคทานอย่างนี้แล

 

 

          หากพระโพธิสัตว์มีจิตยึดถือผูกพันในธรรมแล้วแลบริจาคทาน อุปมาดั่งบุคคลผู้เข้าสู่สถานที่มืดย่อมไม่อาจเห็นสิ่งอะไรได้เลย

 

 

แต่ถ้าพระโพธิสัตว์มีจิตไม่ยึดถือผูกพันในธรรมแล้วและบริจาคทาน มีอุปมาดั่งบุคคลผู้มีจักษุสว่างและที่ซึ่งมีแสงอาทิตย์สว่าง ย่อมจะเห็นชัดในรูปต่างๆได้

 

 

2) อานิสงส์แห่งบุญกุศลที่มากมายเสียยิ่งกว่าบุคคลที่บำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะอันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ   ต้องเป็น บุญกุศลที่ปราศจากสภาวะอันใดที่เป็นกุศล โดยปรมัตถ์บุญกุศลก็เป็นอนัตตาหรือสูญญตา การที่ไม่ยึดถือบุญกุศลนั่นแหละ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลอันมากมายโดยแท้

 

 

3) บุญการบริจาคทานแห่งพระโพธิสัตว์  ถ้ามีพระโพธิสัตว์นำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าจำนวนเมล็ดทราย ในคงคาทีทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุออกบริจาคทาน  แต่หากมีพระโพธิสัตว์มารู้แจ้งว่าธรรมทั้งปวงปราศจากตัวตน เขาผู้นั้นได้สำเร็จแก่ปัญญาความตรัสรู้ พระโพธิสัตว์องค์นี้ได้คุณานิสงส์ประเสริฐยิ่ง เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่ยึดถือในสรรพบุญกุศลนั่นเอง

 

 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 5   สภาวะมายา และทฤษฎีโลกแห่งแบบ

 

 

ที่ทุกสรรพสิ่งล้วนมีแม่พิมพ์แห่งแบบคือความว่าง

 

 

(รูปคือความว่าง ความว่างคือรูป รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่างไม่ต่างจากรูป)

 

 

(อะไรก็ตามที่เป็นรูปคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างก็คือรูป)

 

 

(เพราะมีจึงไม่มี เพราะไม่มีจึงมี)

 

 

*********************************************

 

 

คำถามที่ 1   เรื่อง ความหมายของคำว่ามายา

 

 

ถาม มายา คืออะไร

 

 

ตอบ   อะไรก็ตามที่ตถาคตสอนเหมือนกับว่ามีรูปร่างลักษณะ แท้จริงแล้วหามีรูปร่างลักษณะไม่ ที่ใดก็ตามที่มีรูปร่างลักษณะที่นั้นเป็นมายา ที่ใดก็ตามปราศจากรูปร่างลักษณะที่นั้นไม่มีมายา ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่ารูปลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ  ก็ย่อมเห็นตถาคตได้

 

 

      ผู้ใดจักเห็นเราในรูป ฤาจักหาเราในเสียง ผู้นั้นย่อมชื่อว่าดำเนินทางที่ผิด ย่อมไม่สามารถเห็นตถาคตได้

 

 
 
 
 
 

คำถามที่ 2 รูปกายอันสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า

 

 

 ถาม จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ในรูปกายอันสมบูรณ์นี้ได้หรือไม่

 

 

ตอบ  มิได้ เป็นการไม่สมควรเลยที่จะเห็นพระพุทธเจ้าในรูปกายอันสมบูรณ์นี้

 

 

เพราะว่ารูปกายอันสมบูรณ์นั้น โดยความจริงแล้วหามีไม่ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า รูปกายอันสมบูรณ์

 

 
 

คำถามที่ 2   เรื่อง รูปลักษณะของพระพุทธเจ้า

 

 

ถาม เราสามารถจักพึงเห็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยรูปลักษณะได้หรือไม่

 

 

ตอบ  เราไม่อาจสามารถจักพึงเห็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยรูปลักษณะเลย

 

 

เพราะว่ารูปลักษณะนั้น โดยความจริงแล้วหามีไม่ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่ารูปลักษณะ

 

 
 

คำถามที่ 3    เรื่อง สรรพลักษณ์อันสมบูรณ์ของพระพุทธเจ้า

 

 

ถาม เราสามารถจักพึงเห็นพระพุทธเจ้าได้ในสรรพลักษณ์อันสมบูรณ์ ได้หรือไม่

 

 

ตอบ เราไม่สามารถจักพึงเห็นพระพุทธเจ้าได้โดยสรรพลักษณ์อันสมบูรณ์ เพราะว่าลักษณะสมบูรณ์โดยความจริงแล้วหามีไม่ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกวา สรรพลักษณะที่สมบูรณ์

 

 

คำถามที่ 4 เรื่อง มหาปุริสสลักษณะ 32 ประการของพระพุทธเจ้า

 

 

ถาม  เราสามารถจักพึงเห็นพระพุทธเจ้าได้ในมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการหรือไม่

 

 

 ตอบ เราใม่สามารถจักพึงเห็นพระพุทธเจ้าโดยมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ เพราะว่า มหาปุริสสลักษณะ 32 ประการนั้น โดยความจริงแล้วหามีไม่ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่ามหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ

 

 

          นอกจากนี้ถ้าเราเห็นพระพุทธเจ้าได้โดยมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ พระจักรพรรดิราชก็ได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้า ดังนั้นเป็นการไม่สมควรที่จะเห็นพระพุทธเจ้าโดยมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ

 

 

 

คำถามที่ 5 เรื่อง รูปกายบุคคลกับเขาพระสุเมรุ 

 

 

  ถาม ถ้าอุปมาดั่งบุคคลผู้มีรูปกายสัณฐานดุจขุนเขาพระสุเมรุ  จักมีความคิดเห็นเป็นไฉน รูปกายแห่งบุคคลนั้นมโหฬาร

 

 

ตอบ  รูปกายนั้นโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะรูปกายอันมโหฬารดุจเขาพระสุเมรุ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า รูปกายอันมโหฬารดุจเขาพระสุเมรุ

 

 
 

คำถามที่ 6 เรื่อง รูปกายสูงมหึมา 

 

 

ถาม จักมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้าบุคคลผู้มีรูปกายสูงมหึมา

 

 

ตอบ บุคคลผู้มีรูปกายสูงมหึมาโดยแท้จริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปกายสูงมหึมา ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า รูปกายสูงมหึมา

 

 

คำสอนเกี่ยวกับรูปกายอันมโหฬารดุจเขาพระสุเมรุ รูปกายสูงมหึมา เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่รูปกายดังกล่าวจะถูกพบเห็นกับผู้ที่บรรลุญาณสมาธิในมหาสูญญตาสูตร และจุฬสูญญตาสูตร กำหนดเห็นรูปลักษณะเป็นความว่างแล้วเท่านั้น (ผู้เขียน)

 

 
 
 
 
 
 

คำถามที่ 7   เรื่อง สภาวะแห่งพุทธเกษตร(อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า)

 

 

ถาม จักมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระโพธิสัตว์จักพึงกระทำตบแต่งอลังการพุทธเกษตร

 

 

ตอบ การกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงมิได้มีสภาวะการกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเลย  ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า กระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตร

 

 
 

คำถามที่ 7 เรื่อง พระโพธิสัตว์ และ พุทธเกษตร

 

 

ถาม หากพระโพธิสัตว์มีวาทะกล่าวว่า   เราจักกระทำการตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตร(อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า) อย่างนี้ไซร้ ก็หาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ ทั้งนี้เพราะเหตุไฉน

 

 

ตอบ  การกระทำตบแต่งอลังการพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงมิได้มีสภาวะการกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเลย  ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า กระทำตบแต่งอลังการพุทธเกษตร

 

 

ถ้าพระโพธิสัตว์สามารถแจ่มแจ้งเข้าถึงความจริงว่าธรรมทั้งหลายว่างเปล่าจากตัวตนแลของๆตนอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่านั่นเป็นพระโพธิสัตว์อย่างแท้จริง

 

 
 

คำถามที่ 8 เรื่อง พระพุทธธรรม 

 

 

ถาม  ความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธธรรมนั้นเป็นอย่างไร

 

 

ตอบ  สิ่งที่เรียกว่าพระพุทธธรรมนั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะพระพุทธธรรมนั้นเลย ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า พระพุทธธรรม

 

 
 
 

คำถามที่ 9 เรื่อง กุศลธรรม

 

 

ถาม กุศลธรรมเป็นเช่นใด

 

 

ตอบ ที่กล่าวว่ากุศลธรรมนั้น โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งกุศลธรรมเลย ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า กุศลธรรม

 

 
 

คำถามที่ 10 เรื่อง พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนา

 

 

ถาม จักมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้ามีผู้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนาอยู่

 

 

 ตอบ ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้  ไม่มีสภาวะธรรมแน่นอนอันใดซึ่งพระองค์แสดงพระธรรมเทศนา เพราะว่าพระธรรมเทศนาซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งหมดไม่ควรยึดถือ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนา

 

 
 

คำถามที่ 11   เรื่อง ธรรมที่พระพุทธเจ้าบรรลุสำหรับพระพุทธเจ้าเมื่อขณะยังเป็นพระโพธิสัตว์

 

 

ถาม ความคิดเห็นเป็นไฉน ณ เบื้องอดีตกาลโน้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์ อยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้บรรลุธรรมอันใด

 

 

 ตอบ  ในธรรมอรรถของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า มิได้ทรงบรรลุธรรมใดๆเลย ปราศจากธรรมอันพึงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย

 

 

หากพึงมีการบรรลุธรรมใดๆ มีธรรมอันพึงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิไซร้ พระทีปังกรพุทธเจ้าก็จักไม่พยากรณ์แก่เราว่า ในอนาคตกาลท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้ามีนามกรว่า พระศากยมุนี  

 

 
 

คำถามที่ 12 การตรัสรู้ 

 

 

ถาม ความคิดเห็นเป็นไฉน เมื่อพระพุทธเจ้าบรรลุการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น

 

 

 ตอบ เมื่อพระพุทธเจ้าบรรลุการตรัสรู้  ไม่มีธรรมแม้สักส่วนเล็กน้อยส่วนหนึ่งเลยที่พระพุทธเจ้าบรรลุได้ถึง

 

 
 

คำถามที่ 13 เรื่อง พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 

ถาม พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิเป็นเช่นใด

 

 

ตอบ ธรรมทั้งหลายมีความเสมอภาคเท่ากัน ไม่มีสูงหรือต่ำ นั่นแลชื่อว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 

เมื่อไม่มีความยึดถือในอาตมะลักษณะ ไม่ยึดถือในปุคคละลักษณะ ไม่ยึดถือในสัตวะ ลักษณะ ไม่ยึดถือในชีวะลักษณะ แล้วบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหมด ก็จักชื่อว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 6 สรรพสัตว์ จักรวาล โลกธาตุ ปรมาณู

 

 

*********************************************

 

 

  คำถามที่ 1 เรื่อง สรรพสัตว์ในโลกธาตุ

 

 

 ถาม สรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้งปวงเหล่านั้นมีจิตประพฤติโดยประเภทต่างๆกัน ตถาคตคิดอย่างไรในจิตประพฤติต่างๆของสรรพสัตว์เหล่านั้น 

 

 

ตอบ  สรรพสัตว์ทั้งปวงนั้นโดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งจิต ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงมีสภาวะแห่งจิต

 

 

จิตในอดีตปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้

 

 

จิตในปัจจุบันปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้

 

 

แม้จิตในอนาคตก็ปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ดุจกัน

 

 

ด้วยจิตของสรรพสัตว์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ล้วนปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ ดังนั้นสภาวะของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมย์ และรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ปราศจากแก่นสารถือเอาก็ไม่ได้ดุจกัน

 

 

ตถาคตย่อมรู้ชัดแจ่มแจ้งในจิตประพฤติต่างๆนั้น

 

 
 

คำถามที่ 2 ประเภทและสภาวะแห่งสรรพสัตว์

 

 

ถาม พระพุทธเจ้าได้แยกสรรพสัตว์ในโลกธาตุ ไว้กี่ประเภท กี่สภาวะ

 

 

ตอบ พระพุทธเจ้าได้แยกสรรพสัตว์ในโลกธาตุ เป็นประเภทต่าง ๆ ไว้ดังนี้ คือ

 

 

1.   จักเป็นอัณฑะชะกำเนิด (กำเนิดโดยไข่ เช่น นก กา เป็ด ปลา เป็นต้น) ได้แก่บุคคลที่มีอดีตชาติเป็นคนโลภมาก ใช่เล่ห์เพทุบาย ยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นสรณะตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องจมดิ่งโดยอัณฑะชะกำเนิด เป็นนกฯ เป็นปลา มักใหญ่ใฝ่สูงเกิดเป็นนก เห็นคนต้องบินหนึขึ้นสูง บุคคลที่ลุ่มลึกด้วยเล่ห์เพอุบายตายแล้วเกิดเป็นปลา เมื่อเห็นคนต้องดำดิ่งสู่ท้องนที

 

 

2.   จักเป็นชลาพุชะกำเนิด(กำเนิดโดยครรภ์มดลูก เช่น มนุษย์ ช้าง เป็นต้น) ได้แก่บุคคลผู้ซึ่งในอดีตชาติ ลุ่มหลงมัวเมาในกามเมถุน ดังนั้นจึงจมดิ่งเข้าสู่ครรภ์ ไปเกิดเป็นคน เป็นสัตว์เดรัจฉาน ผู้มักมากในกามคุณ โดยตั้งอยู่ในวิสัยก็เกิดเป็นคน ผู้มักมากในกามคุณ โดยนอกวิสัยจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

 

 

3.    จักเป็นสังเสทชะกำเนิด(กำเนิดโดยความชื้นเย็นหรือของสกปรก ได้แก่ หนอนในปลาเน่า มอดในข้าวสาร เป็นต้น) ได้แก่บุคคลซึ่งอดีตชาติเห็นแก่กิน ชอบเนื้อ สุรายาเมา หาความสุขสำราญ จึงตกไปกำเนิดโดยความชื้นแฉะ เป็นตัวหนอน

 

 

4.    จักเป็นอุปปาติกะกำเนิด(กำเนิดโดยการเปลี่ยนร่าง เป็นสัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นโตทันที เช่น สัตว์นรก เปรตบางจำพวก หรือกำเนิดโดยการเปลี่ยนร่าง เช่น ผีเสื้อ เป็นต้น) ได้แก่บุคคลซึ่งอดีตชาติเป็นคนหลายจิตหลายใจไม่แน่นอน หน้าไหว้หลังหลอก เสแสร้งแกล้งทำ จึงตกไปเกิดเป็นแมลงผีเสื้อ ลอกคราบจากตัวหนอนดักแด้ ขั้นสูงขึ้นผู้มีกุศลจิต ถือศีล ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบารมี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจิต จากชั่วเป็นดี เป็นอุบัติเทพ

 

 
 

สภาวะแห่งสรรพสัตว์ มีดังนี้

 

 

1.   จักมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี

 

 

2.   มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ดี 

 

 
 
 

คำถามที่ 3 เรื่องผู้ปฏิบัติตามพระสูตรมิใช่สรรพสัตว์

 

 

ถาม    ยังจะมีสรรพสัตว์ใดในอนาคตกาล สดับธรรมนี้แล้วบังเกิดศรัทธาจิตขึ้นอีกหรือไม่

 

 

ตอบ ยังมี เหตุเนื่องจาก เขามิใช่สรรพสัตว์ เขาเป็นสรรพสัตว์ชนิดพิเศษไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป แต่จักว่ามิใช่สรรพสัตว์เลยก็มิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุ สรรพสัตว์นั้น ปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่าสรรพสัตว์

 

 
 

คำถามที่ 4 เรื่อง สรรพสัตว์ประเภทพิเศษที่หาได้ยากยิ่งไม่เหมือนสรรพสัตว์ต่าง ๆ ในโลกธาตุ

 

 

ถาม สรรพสัตว์ประเภทใดที่พระพุทธองค์กล่าวว่าหาได้ยากยิ่ง

 

 

ตอบ พระพุทธองค์ทรงหยั่งรู้ว่า ถึงประเภทของจิตประพฤติของสรรพสัตว์ต่าง ๆ ในโลกธาตุ   สำหรับสรรพสัตว์ประเภทพิเศษที่หาได้ยากยิ่งได้แก่ สรรพสัตว์ที่สดับพระสูตรนี้บังเกิดศรัทธาจิตขึ้น นับว่าเป็นสรรพสัตว์ประเภทพิเศษที่หาได้ยากอย่างยิ่งไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป

 

 

 

คำถามที่ 5 เรื่อง ความยอดเยี่ยมแห่งสรรพสัตว์ผู้ปฏิบัติพระสูตร

 

 

ถาม หากมีสรรพสัตว์ใดได้สดับพระสูตรนี้ แล้วบังเกิดความศรัทธาซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม บุคคลเหล่านั้นพระพุทธเจ้าได้แจ้งว่าเป็นสรรพสัตว์ประเภทใด

 

 

ตอบ หากมีสรรพสัตว์ใดได้สดับพระสูตรนี้ แล้วแลบังเกิดความศรัทธาซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม สรรพสัตว์นั้นถูกนับว่าเป็นบุคคลอย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยากทีเดียว

 

 
 

คำถามที่ 6 เรื่อง สภาวะแห่งลักษณะและสภาวะแห่งสรรพสัตว์

 

 

ถาม สภาวะแห่งลักษณะและสภาวะแห่งสรรพสัตว์เป็นเช่นใด

 

 

ตอบ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งลักษณะ   และสรรพสัตว์โดยความจริงแล้วปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ดุจกัน

 

 
 

คำถามที่ 7 เรื่อง พระพุทธเจ้าอยู่ในทุกหนทุกแห่ง

 

 

ถาม พระพุทธเจ้าอยู่ในทุกหนทุกแห่ง มีข้อความในพระสูตรใดยืนยันไว้

 

 

ตอบ จากข้อความในพระสูตรที่ว่า สิ่งที่มีลักษณะทั้งปวง ย่อมเป็นมายา ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่ารูปลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ (ในรูปมีความว่าง) ก็ย่อมเห็นตถาคตได้(ในความว่างมีรูป)( รูปนั้นคือพระพุทธเจ้านั่นเอง)     “ ผู้ใดจักเห็นเราในรูป ฤาจักหาเราในเสียง ผู้นั้นย่อมชื่อว่าดำเนินทางที่ผิด ย่อมไม่สามารถเห็นตถาคตได้

 

 
 

คำถามที่ 8 เรื่อง พระพุทธเจ้าอยู่ในทุกสรรพสัตว์

 

 

ถาม ในกายสรรพสัตว์มีพุทธะสถิตย์อยู่หรือไม่

 

 

ตอบ   สิ่งที่มีลักษณะทั้งปวง ย่อมเป็นมายา ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่ารูปลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ (ในรูปมีความว่าง) ถ้าพิจารณาเห็นความว่างในรูปลักษณะ ก็ย่อมเห็นตถาคตได้(ในความว่างมีรูป รูปนั้นคือพระพุทธเจ้านั่นเอง )

 

 

ในสรรพสัตว์ ลักษณะของสรรพสัตว์ทั้งปวง ย่อมเป็นมายา ปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ เช่นกัน (ในรูปมีความว่าง) ถ้าพิจารณาเห็นความว่างในลักษณะแห่งสรรพสัตว์ ก็ย่อมเห็นตถาคตได้(ในความว่างมีรูป รูปนั้นคือพระพุทธเจ้า) จากเหตุเราจึงกล่าวได้ว่าพระพุทธเจ้าสถิตย์อยู่ในทุกสรรพสัตว์ เป็นโพธิจิตต์ในสรรพสัตว์  ดังนั้นทุกคนจึงมีโพธิจิตต์อยู่ในตนเอง จึงควรปฏิบัติแนวทางแห่งโพธิสัตว์ ตามแนวคาถา 4 บาท เพื่อกำจัดกิเลสและความยึดมั่นทวิภาวะที่ปกคลุมพุทธภาวะอยู่ออก เพื่อการพัฒนาโพธิจิตต์แห่งตน เพื่อนำไปสู่การเปิดญาณทวาร นำไปสู่การค้นพบพุทธภาวะในจิตของตน (ผู้เขียน)

 

 

 

 คำถามที่ 9   เรื่อง พระพุทธเจ้ากับการเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์

 

 

ถาม การกล่าวว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ แท้จริงเป็นเช่นใด

 

 

 ตอบ โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสรรพสัตว์ใดเลยอันพระพุทธเจ้าจักโปรด

 

 

 ถ้าแลมีสรรพสัตว์อันพระพุทธเจ้าจักพึงโปรดไซร้ พระพุทธเจ้าก็มีความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ และ ชีวะลักษณะ 

 

 
 

คำถามที่ 10 เรื่อง พระโพธิสัตว์กับการโปรดสรรพสัตว์

 

 

ถาม  ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีวาทะกล่าวว่าเราเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้บรรลุนิพพานธาตุไซร้ กล่าวได้เหมาะสมหรือไม่

 

 

ตอบ ก็หาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ เพราะโดยความจริงแล้วถ้าพระโพธิสัตว์ยังยึดติดว่าเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้บรรลุนิพพาน ก็ยังมีความยึดติดอยู่ ทำให้โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะใดที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์

 

 
 
 

คำถามที่ 11 เรื่อง ปรมาณู

 

 

ถาม ปรมาณูในมหาตรีสหัสโลกธาตุ(ระบบจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์มากกว่าพันล้านดวง ฯลฯ) มีปริมาณมากใช่ไหม

 

 

ตอบ  มากมายนักแล้ว

 

 

      ก็ปรมาณูเหล่านั้น โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะปรมาณูเลย ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า ปรมาณู

 

 

 โลกธาตุก็ไม่มีสภาวะแห่งโลกธาตุอยู่เลย ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า โลกธาตุ

 

 
 

 คำถามที่ 12   เรื่อง ปรมาณู

 

 

ถาม กุลบุตร กุลธิดาใดๆถ้าพิจารณากระจายมหาตรีสหัสสโลกธาตุให้เป็นผุยผงละเอียด กองแห่งปรมาณูเหล่านั้นมีจำนวนมากมายอยู่หรือไม่

 

 

ตอบ  มากมายนักแล้ว เพราะเหตุไฉน เพราะถ้ากองแห่งปรมาณูเหล่านี้จักพึงมีสภาวะอยู่จริงไซร้ พระพุทธเจ้าก็จักไม่ตรัสว่ามีกองแห่งปรมาณูนั้น

 

 

เพราะเหตุกองแห่งปรมาณู โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งกองปรมาณูอยู่เลย ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า กองปรมาณู

 

 
 

คำถามที่ 13 เรื่อง โลกธาตุ

 

 

 ถาม มหาตรีสหัสสโลกธาตุซึ่งพระสัมพุทธเจ้าตรัสนั้น โดยความจริงแล้วเป็นเช่นใด

 

 

ตอบ  เพราะ ถ้าโลกธาตุพึงมีสภาวะอยู่จริงไซร้ ก็ชื่อว่าเป็นเอกฆนลักษณะ(รวมธรรมลักษณะหลายๆธรรมเข้าไว้ )พระตถาคตตรัสว่าเอกฆนลักษณะ โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งเอกฆนลักษณะ ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่า เอกฆนลักษณะ

 

 

เอกฆนลักษณะนั้นไม่มีสภาวะโดยตัวของมันเองอยู่เลย ก็แต่ปุถุชนยึดถือว่ามีสภาวะโดยตัวของมันเองอยู่อย่างจริงแท้

 

 

มหาตรีสหัสสโลกธาตุ ซึ่งโดยความจริงแล้วปราศจากสภาวะของมหาตรีสหัสสโลกธาตุ ดังนั้นจึงถูกเรียกว่ามหาตรีสหัสสโลกธาตุ

 

 
 

คำถามที่ 14 เรื่อง จำนวนเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ดวงดาว และจักรวาล

 

 

ถาม อุปมาดั่งจำนวนเมล็ดทรายในท้องคงคานทีแลมีแม่น้ำคงคาเป็นอันมากนับด้วยเมล็ดทรายเหล่านั้น จำนวนแห่งเมล็ดทรายในคงคานทีทั้งหลาย จักนับได้ว่ามากมายอยู่หรือไม่

 

 

  ตอบ  มากมายนักแล้ว เพราะคงคานทีเพียงลำพังเองก็ยังมีปริมาณมากจนมิอาจคำนวนได้ จักป่วยกล่าวไปใยถึงเมล็ดทรายในท้องคงคานทีแต่ละแห่งเหล่านั้น

 

 

      พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึง เมล็ดทรายในคงคานที โดยเมล็ดทรายทรงเปรียบได้กับดวงดาราในจักรวาล และแม่น้ำคงคาเปรียบได้กับจักรวาลหรือโลกธาตุ พุทธเกษตรโลกธาตุ เพราะจักรวาลถ้ามองด้วยสายตาในยามค่ำคืนจะดูเสมือนแม่น้ำสีขาวในกลางท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นเอง (ผู้เขียน)

 

 
 

คำถามที่ 15 เรื่อง จำนวนปริมาณแห่งแม่น้ำคงคา ดวงดาว และจักรวาล

 

 

ถาม จำนวนเมล็ดทรายในท้องคงคานที เราพบว่ามีแม่น้ำคงคาเป็นอันมากนับด้วยเมล็ดทรายเหล่านั้น จำนวนแห่งเมล็ดทรายในคงคานทีทั้งหลาย จักนับได้ว่ามากมายเพียงใด

 

 

  ตอบ  มากมายนักแล้ว เพราะคงคานทีเองก็ยังมีปริมาณมากจนมิอาจคำนวนได้ จักป่วยกล่าวไปใยถึงเมล็ดทรายในท้องคงคานทีเหล่านั้น

 

 

 

        นอกจากนี้พระพุทธองค์ทรงยังกล่าวถึงจำนวนมหาศาลแห่งแม่น้ำคงคาที่มีจำนวนมากมายเท่ากับเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ในด้านจักรวาลของพระพุทธเจ้า ซึ่งแม่น้ำคงคาที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็คือแกแลกซี่ในอวกาศนั่นเอง ทั้งยังทรงทราบถึงจำนวนอันมากมายของแกแล๊กซี่ในจักรวาลโดยได้เปรียบเทียบจำนวนไว้กับเมล็ดทรายทั้งหมดในแม่น้ำคงคาที่มีจำนวนมหาศาลยิ่งนัก จากการคำนวณของทางดาราศาสตร์คาดว่าจำนวน จักรวาล ที่เปรียบได้กับโลกธาตุ พุทธเกษตร มีมากกว่าสามพันล้านจักรวาล(ผู้เขียน)

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 7 ลักษณะแห่งตถาคตและพระอริยบุคคล

 

 

********************************************

 

 

 

 คำถามที่ 1 เรื่อง นามว่าคถาคต

 

 

ถาม หากมีผู้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่ พระพุทธเจ้าดำเนินอยู่ พระพุทธเจ้าประทับอยู่  ฤาตถาคตบรรทมอยู่อย่างนี้ไซร้  

 

 

บุคคลผู้กล่าวนั้นมีความเข้าใจในธรรมอรรถอันพระพุทธเจ้าได้แสดงไว้เพียงใด

 

 

ตอบ บุคคลผู้กล่าวนั้นมิได้เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันเราแสดงไว้เลย

 

 

โดยความจริงแล้วพระตถาคตปราศจากที่มาและปราศจากที่ไป เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต

 

 

ตถาคตนั้น คือสภาพความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมดาทั้งปวง

 

 
 

คำถามที่ 2 เรื่อง ตัวเรา

 

 

ถาม การที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ตัวเรา ตัวเรานั้น ความจริงเป็นเช่นใด

 

 

ตอบ โดยความจริงแล้วก็ไม่มีตัวเราอยู่เลย ก็แต่ปุถุชนย่อมยึดถือว่ามีตัวเราอยู่ แม้ปุถุชนก็เถอะพระพุทธเจ้ายังกล่าวว่า โดยความจริงแล้ว ปราศจากสภาวะแห่งปุถุชน ดังนั้นมันจึงถูกเรียกว่าปุถุชน

 

 
 
 
 
 
 

คำถามที่ 3 เรื่อง   ลักษณะแห่งวาทีของพระพุทธเจ้า

 

 

ถาม พระพุทธเจ้ามีลักษณะแห่งวาทีเป็นเช่นใด

 

 

ตอบ พระพุทธเจ้ามีลักษณะแห่งวาทีดังนี้

 

 

1)   สัจจวาที   พูดความจริง คือ เว้นการพูดเท็จ พูดความจริง เว้นการพูดส่อเสียด

 

 

2)   ภูตวาที   พูดสิ่งที่เป็นจริง คือ คำพูดแน่นอนและคงที่

 

 

3)   ตถวาที    พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น 

 

 

4)   อวิตถวาที การกล่าวคำพูดที่ไม่ผิดไปจากความจริงของสภาพธรรมนั้น

 

 

5)   อนัญญถวาที การกล่าวคำพูดที่ไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากความจริงอย่างนั้น

 

 

พระพุทธเจ้าได้กล่าวยืนยันลักษณะวาทีของพระองค์ เพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นในคำสอนที่พระองค์ได้ตรัสสอนในเรื่องอิสระจากความคิด และการขจัดความสำคัญมั่นหมาย ที่เป็นคำสอนที่สำคัญยิ่งในพระสูตร(ผู้เขียน)

 

 
 

คำถามที่ 4 เรื่อง ลักษณะแห่งจักษุของ พระพุทธเจ้า

 

 

ถาม พระพุทธเจ้ามีลักณะแห่งจักษุเป็นเช่นใด

 

 

ตอบ พระพุทธเจ้ามีลักษณะแห่งจักษุดังนี้

 

 

1)   มีมังสะจักษุ(ตาเนื้อ) เห็นแต่ในที่แจ้ง ไม่เห็นในที่มืด เห็นแต่ข้างหน้า ไม่เห็นข้างหลัง

 

 

2)   มีทิพจักษุ (ตาทิพย์) จักเห็นได้ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างนอก ข้างใน จะเห็นหมด ไม่มีสิ่งใดกั้นขวาง

 

 

3)   มีปัญญาจักษุ(ตาปัญญา) สามารถเห็นแจ้งแทงทะลุ ถึงความตื้น ลึก หนา บาง ในอักษรอรรถ ตลอดจนกฎแห่งกรรมดี กรรมชั่ว ทั้งอดีตชาติ และอนาคตชาติ ประหนึ่งวางแบอยู่ในฝ่ามือตนเอง

 

 

4)   มีธรรมจักษุ(ดวงตาอันเห็นธรรม) สามารถเห็นพุทธธรรมในสมัยแห่งกาล 3 มีความสะดวกดายนานับประการ เผยแพร่ธรรมตามพื้นฐานของแต่ละคน โดยไม่พลาดโอกาส

 

 

พระพุทธเจ้าได้เทศนาเกี่ยวกับลักษณะแห่งจักษุของพระพุทธเจ้า สิ่งนี้มีความสำคัญมาก คือ

 

 

1)   ในแง่การใช้จักษุของพระองค์แบบต่าง ๆ ฝึกมองให้ลึกในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของจักษุของพระองค์ที่มีศักยภาพที่เป็นอจินไตยทรงมองเห็นและรู้จักสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายมหาศาล ที่มีอยู่ในระบบโลกธาตุเหล่านี้ โดยทรงมองเห็นในรูป ความคิด จิต และอารมณ์ความรู้สึกของทุกสรรพสัตว์ และพระองค์สามารถสั่งสอนสรรพสัตว์เหล่านั้นได้อย่างสอดคล้อง นอกจากนั้นสำหรับบุคคลผู้มีศรัทธาในพระสูตร พระองค์ก็จะทรงมองเห็นเขาเหล่านั้นที่เป็นสรรพสัตว์พิเศษที่เปล่งแสงแห่งโชติ ด้วยจักษุของพระองค์ด้วยเช่นกัน

 

 

2)   ในแง่การใช้จักษุของการเพ่งมองเห็นรูปลักษณะ สิ่งนี้มีความสำคัญเพราะพระพุทธองค์ได้สั่งสอนแนวทางแห่งการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้เห็นอย่างแจ้งชัดว่าสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่ควรยึดถือ สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนเป็นความว่าง 
โดยพิจารณาว่ารูปลักษณะทั้งปวงแท้จริง ไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะเลย ไม่ต้องไปยึดติดหรือไปปรุงแต่ง

 

 

       สำหรับการมองเห็นรูปลักษณะ โดยรูปลักษณะความจริงก็คือความคิดแบบหนึ่งนั่นเอง เมื่อเราเกิดความคิดเกี่ยวกับบางสิ่ง ภาพของสิ่งนั้นก็จะปรากฎอยู่ในความคิดของเรา แต่เราต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่ามันเป็นเพียงความคิดของเราเท่านั้น มันไม่ใช่สิ่งนั้นจริงๆ เป็นแต่เพียงความจำได้หมายรู้ของเราหรือสัญญาของเราเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นเท่านั้น

 

 

ตามองเห็น              ภาพจากตา รูปลักษณะ                 (รูป)

 

 

ตารับความรู้สึก        ความรู้สึกของตาจากลักษณะ           (เวทนา)

 

 

ตาจำภาพได้            ความจำได้ของตาจากภาพในสมอง   (สัญญา)

 

 

ตาคิดปรุงแต่งภาพ    การปรุงแต่งภาพที่เห็น                    (สังขาร)

 

 

ตารับรู้ภาพ             การรับรู้ภาพของตา                        (วิญญาณ)

 

 

ดังนั้น เมื่อเราเพ่งพิจารณา จนพบสิ่งต่างๆ ในโลกนี้เป็นสูญญาตา เป็นความว่าง โดยพิจารณาว่ารูปลักษณะทั้งปวง แท้จริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ(เพราะว่าที่ใดก็ตามที่มีรูปลักษณะที่นั้นเป็นมายา) ไม่ต้องไปยึดติด เมื่อพิจารณารูปลักษณะแล้ว ไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ ก็จะทำลายอวิชชา ตัดวงจรแห่งปฏิจสมุปบาท ทำลายอวิชชาให้สิ้นลง ซึ่งจะทำให้เป็นมรรควิธีสู่อนุตรสัมมาสัมโพธิต่อไป (ผู้เขียน)

 

 

 

 คำถามที่ 5   เรื่อง พระสัมพุทธเจ้ากับการมีอาตมะทัศนะ มีปุคคละทัศนะ มีสัตวะทัศนะ มีชีวะทัศนะ 

 

 

ถาม ถ้ามีบุคคลมากล่าวว่า พระสัมพุทธเจ้าตรัสว่ามีอาตมะทัศนะ มีปุคคละทัศนะ มีสัตวะทัศนะ มีชีวะทัศนะ ดั่งนี้ไซร้ สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน บุคคลนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันเราแสดงไว้หรือไม่

 

 
 
 

 

ตอบ หามิได้  บุคคลนั้นไม่เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันพระพุทธเจ้าแสดงไว้เลย ข้อนั้นเพราะพระพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า อาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งอาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ ดังนั้นจึงเรียกว่า อาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ

 

 
 

คำถามที่ 6 เรื่อง การมองเห็นตถาคต

 

 

ถาม   เราสามารถมองเห็นตถาคตได้โดยวิธีใด

 

 

ตอบ   ไม่สามารถมองเห็นตถาคตได้จากรูปลักษณะของตถาคต ไม่สามารถมองเห็นตถาคตได้จากรูปกายอันสมบูรณ์ของตถาคต ไม่สามารถมองเห็นตถาคตได้จากสรรพลักษณะของตถาคต ไม่สามารถมองเห็นตถาคตได้จากมหาปุริลักษณะ 32 ขอตถาคตบุคคลเหล่าใด ยึดถือรูปกายของตถาคต

 

 

บุคคลเหล่าใด ยึดถือเสียงของตถาคต

 

 

พวกเขาเหล่านั้น ทุ่มเทความพยายามในมรรควิถีที่ผิด พวกเขาเหล่านั้นจะไม่สามารถมองเห็นตถาคตได้ เขาจะต้องมองผ่านธรรม ต้องอาศัยธรรมเป็นแนวทางชี้นำ กระนั้นธรรมชาติที่แท้จริงก็ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา และไม่มีทางที่ใครจะรับรู้ธรรมในลักษณะที่เป็นวัตถุสิ่งของได้

 

 

ตถาคตจะถูกมองเห็นได้จากผู้ที่เห็นว่ารูปลักษณะนั้นปราศจากลักษณะ เพราะว่าอะไรก็ตามที่ตถาคตสอนว่ามีรูปร่างลักษณะจริงแล้วหามีรูปร่างลักษณะไม่ ที่ใดก็ตามปราศจากรูปร่างลักษณะที่นั้นไม่มีมายา

 

 
 
 
 

 คำถามที่ 7 เรื่อง พระอริยบุคคล

 

 

ถาม พระโสดาบันจักสามารถนมสิการว่า เราได้บรรลุโสดาปัตติผลได้หรือไม่

 

 

      พระสกทาคามีจักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุสกทาคามีผลได้หรือไม่

 

 

      พระอนาคามีจักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอนาคามีผลได้หรือไม่

 

 

      พระอรหันต์จักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอรหัตตมรรคผลได้หรือไม่

 

 

ตอบ

 

 

พระโสดาบันบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้ชนะกระแส ( วิญญาณ 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ )แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่เป็นผู้ชนะกระแส( วิญญาณ 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ )เลย ดังนั้นถูกจึงเรียกว่าพระโสดาบัน ผู้ชนะกระแส(วิญญาณ 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์)

 

 

พระสกทาคามีชื่อว่าเป็นผู้จักเวียนกลับมาเกิดอีกครั้งเดียว แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดเวียนกลับมาเกิดอีกครั้งเดียว ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า พระสกทาคามี ผู้จักเวียนกลับมาเกิดอีกครั้งเดียว

 

 

พระอนาคามีชื่อว่าเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาอีกเกิดอีก แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่ไม่เวียนกลับมาเกิดอีก ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า พระอนาคามี ผู้ไม่เวียนกลับมาเกิดอีก

 

 

 พระอรหันต์มีชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมที่เรียกว่าอรหันต์(ธรรมที่สำเร็จสู่นิพพาน) แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวธรรมที่เรียกว่าอรหันต์(ธรรมที่สำเร็จสู่นิพพาน) ดังนั้นจึงถูกเรียกว่าพระอรหันต์ ผู้มีธรรมที่เรียกว่าอรหันต์(ธรรมที่สำเร็จสู่นิพพาน) 

 

 

หากพระอริยะบุคคลระดับใดจักพึงมนสิการว่า  เราบรรลุอย่างนี้ไซร้ ก็ชื่อว่าได้ยึดถือในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะและ ชีวะลักษณะเข้าแล้ว

 

 
 

คำถามที่ 8 เรื่องพระอริยบุคคล

 

 

ถาม พระองค์ตรัสว่าในหมู่ผู้พระที่ปฏิบัติสมาธิอยู่ในป่าที่สงบอันยอดเยี่ยมนั้น ได้แก่ สุภูติ ซึ่งเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในหมู่พระที่ปฏิบัติสมาธิอยู่ในป่าที่สงบ

 

 

สุภูติจะกล่าวว่า ตัวเขาเป็นเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในหมู่พระที่ปฏิบัติสมาธิอยู่ในป่าที่สงบ ได้หรือไม่

 

 

 ตอบ ถ้าสุภูติยังกล่าวว่า ตัวเขาเป็นเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในหมู่พระที่ปฏิบัติสมาธิอยู่ในป่าที่สงบ อย่างนี้ไซร้ พระพุทธเจ้าจักไม่ตรัสว่าสุภูติเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในหมู่พระที่ปฏิบัติสมาธิอยู่ในป่าที่สงบ  โดยความจริงแล้วสุภูติมิได้ยึดถือในปฏิปทาเลย ฉะนั้นพระองค์จึงตรัสยกย่องว่า สุภูติเป็นผู้ยอดเยี่ยมที่สุดในหมู่พระที่ปฏิบัติสมาธิอยู่ในป่าที่สงบ

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

*********************************************

 

 

บทที่ 8 คำสอนสำคัญที่แฝงเร้นในพระสูตร

 

 

********************************************

 

 

ในประเทศไทยการศึกษาธรรมในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรของพระสงฆ์หรือฆราวาสธรรมเป็นส่วนใหญ่จะใช้หนังสือพระสูตรฉบับที่แปลมากจากภาษาสันกฤตมาเป็นภาษาจีนของท่านมหาเถระเสวี้ยนจังหรือพระถังซำจั๋ง ที่ได้คัดลอกพระสูตรนี้มาจากมหาวิทยาลัยนาลันทา และได้แปลออกมาเป็นฉบับภาษาจีน โดยพระสูตรฉบับภาษาจีนนี้ที่แปลเป็นภาษาไทย ที่นิยมกันมากอย่างแพร่หลายได้แก่ พระสูตรฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยของท่านเสถียร โพธินันทะ นับว่าเป็นเพชรเม็ดงามในการแปลพระสูตรศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน ท่านได้ใช้ศัพท์บัญญัติที่สูงส่งและมีความงดงามทั้งทางด้านภาษาและกวีนิพนธ์ ที่ข้าพเจ้าได้ใช้เป็นหลักในการศึกษาพระสูตรนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ก็พบอุปสรรคหลายประการในการเข้าถึงความเข้าใจในพระสูตร  ด้วยศัพท์สูงต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้แต่เดิมและที่บัญญัติขึ้นใหม่ ตลอดจนความระย่นย่อของการเข้ารหัสไว้ในถ้อยคำต่าง ๆ ของพระสูตร

 

 

แต่ต่อมาภายหลังได้มีโอกาสศึกษาวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรฉบับที่แปลจากภาษาสันกฤตเป็นภาษาอังกฤษ ของ Edward Conze (แปลเป็นภาษาไทย โดย นิรนาม) และหนังสือเพชรตัดทำลายมายา ของ ติช นัท ฮันห์ (แปลเป็นภาษาไทย โดย สดใส ขันติวรพงศ์ ) เปรียบเทียบกับพระสูตรฉบับที่แปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนโดยพระมหาเถระเสวี้ยนจังหรือพระถังซัมจั๊ง (แปลโดยท่านอาจารย์เสถียร โพธินันธะ) พบว่ามีเนื้อหาหลายข้อความที่แตกต่างกันทั้งที่ ต่างกันเล็กน้อยมีความหมายเดียวกัน และที่แตกต่างกันอย่างมาก มีความหมายที่ไม่เหมือนกันเลย รวมทั้งมีหลายข้อความเมื่อเปรียบเทียบกันก็ขาดหายไปเลยก็มี นอกจากนี้เนื้อหาสำคัญที่เป็นจุดเน้นในพระสูตรก็เสมือนถูกซ่อนเร้นไปก็มี

 

 

 

ข้าพเจ้าเมื่อศึกษาเปรียบเทียบแล้ว ได้พบส่วนสำคัญที่อาจจะขาดการเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญเด่นชัด ทั้งที่เป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการพัฒนาจิตสู่ความหลุดพ้นได้แก่การค้นพบธรรมอันสำคัญยิ่งในเรื่องอิสระจากความคิดและ การละความยึดมั่นต่อความสำคัญมั่นหมายตลอดจนโพธิสภาวะ รวมทั้งความงดงามของบทสุดท้ายของพระสูตร ที่เป็นเพชรที่แฝงเร้นอยู่ในพระสูตร และมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาจิตระดับสูง จึงได้หยิบยกข้อความในส่วนนี้มาขยายความในบทสุดท้าย เพื่อประดับหัวแหวนของพระสูตรนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งต่อไป

 

 
 

คำถามที่ 1 เรื่อง อิสระจากความคิด

 

 

ถาม จงแสดงคำสอนสำคัญที่แฝงเร้นในพระสูตรในเรื่อง อิสระจากความคิด

 

 

ตอบ คำสอนสำคัญที่แฝงเร้นในพระสูตรเรื่อง อิสระจากความคิด พระพุทธเจ้าได้เทศนาไว้ดังนี้

 

 

          ถ้าแม้นผู้ใดได้ฟังพระสูตรนี้ แล้วบังเกิดศรัทธาเลื่อมใส เข้าใจและรับปฏิบัติบุคคลเช่นนี้ย่อมเป็นเลิศหาได้ยากแท้

 

 

          จิตของบุคคลนั้นจะไม่ถูกครอบงำด้วยอาตมะลักษณะ ปุคคลักษณะ สัตวะลักษณะ และชีวะลักษณะ เพราะว่า ความคิดเกี่ยวกับอาตมะลักษณะ ปุคคลักษณะ   สัตวะลักษณะ และชีวลักษณะ นั้น แท้จริงแล้วมิใช่ความคิด เนื่องจาก บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวงได้พระนามว่าพระพุทธเจ้า ก็เพราะท่านเหล่านนั้น ล้วน เป็นอิสระจากความคิด

 

 

          เมื่อพระโพธิสัตว์บรรลุถึงพุทธจิต รู้ตื่น รู้เบิกบาน เป็นนิจ อย่างไม่มีใครเสมอเหมือนนั้น ท่านต้องละทิ้งความคิดทั้งปวง ท่านย่อมไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์ จิตท่านย่อมลุถึงความไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับสิ่งใด

 

 

         

 

 

           จิตของคนปัจจุบันที่ชอบดำรงจิตอยู่ในความคิด โดยสมองวนเวียนไปมากับความคิดในอดีต ความคิดในอนาคต โดยไม่พยายามดำรงจิตอยู่ในปัจจุบัน  สร้างให้เกิดตัวตนการยึดติด ทำให้ชีวิตเป็นทุกข์   ดังนั้นการละทิ้งความคิดทั้งปวง ไม่ถูกครอบงำด้วยอาตมะลักษณะ ปุคคลักษณะ สัตวะลักษณะ และชีวะลักษณะ (ความคิดตั้งอยู่ที่ฐานคิดในส่วนสมอง) จิตของบุคคลนั้น (จิตตั้งอยู่ที่ฐานใจ) และให้วางสติกำหนดรู้ไว้ที่ฐานกาย (ทำอานาปานสติ พิจารณาด้วยสติปัฎฐาน4) จิตย่อมไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับ รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัส และ ธรรมารมณ์ ทำให้จิตย่อมลุถึงความเป็นอิสระไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับสิ่งใดบรรลุจิต  รู้ตื่น รู้เบิกบาน เป็นนิจ อย่างไม่มีใครเสมอเหมือน

 

 

         

 

 

คำถามที่ 2 เรื่อง ความสำคัญมั่นหมาย

 

 

ถาม จงแสดงคำสอนสำคัญที่แฝงเร้นในพระสูตรในเรื่อง ความสำคัญมั่นหมายและการตรัสรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ตอบ ความสำคัญแห่งความสำคัญมั่นหมายและการตรัสรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์

 

 
 

การความสำคัญมั่นหมาย

 

 

ความสำคัญมั่นหมาย(นันทิ หรือ ความเพลิน) หมายถึง การตั้งความหวังเกินกำลังตน การไม่รู้จักประมาณตน การตั้งอยู่ในความประมาท การไม่รู้จักคบคน

 

 

การไม่แยกแยะดีหรือชั่ว การเป็นคนว่ายากสอนยาก การเป็นคนมีศรัทธาไม่มั่นคง

 

 

การเป็นคนเชื่ออะไรง่าย ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ เป็นที่มาแห่งความยากลำบากภายหลังทั้งสิ้น

 

 

ถ้าพวกเขาได้ละเสียถึงความสำคัญมั่นหมาย

 

 

พวกเขาจะไม่มีการยึดมั่นถือผูกพันในอาตมะลักษณะ (ไม่ยึดมั่นในตัวตน)

 

 

และปุคคละลักษณะ(ไม่ยึดมั่นบุคคล มีจิตที่สมดุล ไม่เลือกรักเลือกชัง) ไม่ยึดถือผูกพันในสัตวะลักษณะ(ไม่ยึดถือในชันธ์ห้า ประกอบด้วย รูป เวทนา(ความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ เฉย ๆ ) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ(ความรู้แจ้งแห่งอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ)

 

 

และต้องไม่ยึดถือผูกพันในชีวะลักษณะ(สภาวะชีวิตแห่งสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในวัฎสงสาร )พวกเขาจะไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยแท้จริง

 

 

นั่นคือสิ่งที่รับรู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต วิญญาณหรือบุคคลจริง ๆ แล้วหามีความรับรู้ในลักษณะดังกล่าวไม่

 

 

สำหรับพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้ละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งปวงไว้เบื้องหลังแล้ว

 

 

สำหรับพระโพธิสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ หลังจากที่เขาได้ขจัดความสำคัญมั่นหมายทั้งหมดแล้ว ก็ควรจะยกระดับความคิดของเขาไปยังจุดสูงสุด นั่นคือ การตรัสรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์

 

 

          เขาควรจะสร้างความคิดอย่างหนึ่งขึ้น เป็นความคิดยังไม่จำเป็นต้องอาศัย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นความคิดที่ไม่อิงอาศัยใดๆ ทั้งสิ้น ก็เพราะว่าการอิงอาศัยใดๆแท้จริงแล้วหาได้มีการอิงอาศัยไม่

 

 

          ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงสั่งสอนโพธิสัตว์ว่าองค์ใดบำเพ็ญทานด้วยความสำคัญมั่นหมาย อุปมาดั่งบุคคลเดินอยู่ในความมืด เขาจะไม่เห็นสิ่งใด แต่ถ้าโพธิสัตว์บำเพ็ญทานโดยละความสำคัญมั่นหมายแล้วไซร้ อุปมาดั่งบุรุษตาดีเดินอยู่กลางแดด เขาย่อมเห็นทุกสีสันทุกรูปทรง

 

 

          ทำไมพระโพธิสัตว์ควรจะบริจาคทานในลักษณะเช่นนั้น เป็นเพราะว่าความสำคัญมั่นหมาย(การรับรู้) เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เท่ากับ การไม่สำคัญมั่นหมาย     (ไม่รับรู้) เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่กล่าวถึงแล้วนั้นโดยแท้จริงหามีสิ่งมีชีวิตใดเลย

 

 

1)             ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่าการบริจาคทานโดยมีความสำคัญมั่นหมาย จิตยังมีความยึดมั่นติดกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จิตยังมีการยึดมั่นในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะและชีวะลักษณะ เท่ากับว่าความคิดยังไม่อิสระ
         

 

 

ดังนั้น การที่ตถาคตตรัสให้พระโพธิสัตว์

 

 

          กำหนดความสำคัญมั่นหมาย(การรับรู้)เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เท่ากับ การไม่สำคัญมั่นหมาย(ไม่รับรู้)เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

 

 

          หมายถึง พระโพธิสัตว์บริจาคทานไปแล้ว ไม่เกิดสภาวะความสำคัญมั่นหมายหรือความไม่สำคัญมั่นหมายต่อสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

 

 

          นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตที่กล่าวถึงแล้วนั้นโดยแท้จริงหามีสิ่งมีชีวิตใดเลย ทำให้การบริจาคทานก็ยังไม่ทราบเลยว่ามีสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีสิ่งมีชีวิตมารับบริจาคทานนั้น

 

 

          ทำให้การบริจาคทานเป็นลักษณะที่ไม่รู้ให้ใคร และไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมีใครรับไปหรือไม่  หรือบางทีไม่รู้ว่าได้บริจาคอะไรเป็นทาน ก็ย่อมทำให้การบริจาคทานของพระโพธิสัตว์เป็นกุศลสูงสุดตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ (ผู้เขียน)

 

 

ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้ว จะไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน) โดยการใช้ธรรมะจากพระสูตรเพื่อสนับสนุนได้แก่

 

 

          นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตังมะมะ)

 

 

          นั่นไม่ใช่เรา        (เนโสหมสมิ)

 

 

          นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา   (นเมโสอัตตา)

 

 

          สิ่งของทั้งหลาย   ไม่ใช่สิ่งของ

 

 

          ชีวิตทั้งหลาย      ไม่ใช่ชีวิต

 

 

คำถามที่ 3 เรื่อง การมองสรรพสิ่ง จากบทสุดท้ายของพระสูตร

 

 

(ฉบับ Edward Conze แปลจากภาษาสันกฤตเป็นภาษาอังกฤษ)

 

 

คำถาม จงอธิบาย บทสุดท้ายของพระสูตร ที่กล่าวว่า

 

 

        การเห็นดวงดาวว่าเป็นตะเกียงนั้นเป็นการมองเห็นที่ผิดพลาด เหมือนกับ การแสดงที่หลอกลวง(การแสดงมายากล) หยดน้ำค้าง หรือ ฟองน้ำ ความฝัน สายฟ้า หรือ เมฆหมอก สิ่งเหล่านี้หามีตัวตนที่เที่ยงแท้ไม่ ดังนั้น ในการมองสรรพสิ่ง บุคคลพึงพิจารณาว่าอะไรเป็นเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วย

 

 

ตอบ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ สามารถเปลี่ยนไปได้เพราะมีการอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่น ดังเช่น น้ำ เมื่อไปอาศัยอยู่กับความร้อน มันจะกลายเป็นไอ เมื่อไอน้ำไปอาศัยอยู่กับความเย็น ก็จะกลายเป็นฝน เมื่อน้ำไปอาศัยอยู่กับความเย็นจัดมาก น้ำก็จะกลายเป็นน้ำแข็ง เพราะอาศัยร่วมกับสิ่งอื่น แต่ธาตุแท้ของน้ำก็ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนไปก็เพราะมีการอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่นเท่านั้น

 

 

          ดุจดั่งดินเหนียวที่ใช้ปั้นหุ่น ไม่ว่าดินเหนียวนั้นน้ำจะถูกปั้นเป็นเทวดาที่แสดงความเป็นกุศล หรือจะถูกปั้นเป็นอสูรกายที่แสดงความเป็นอกุศล แต่ไม่ว่าจะปั้นเป็นอะไรแก่นแท้ของสิ่งต่างๆ ที่เสกสรรขึ้นก็เป็นดินเหนียวเช่นกัน ทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะดีหรือชั่ว กุศลหรืออกุศล ธรรมหรืออธรรม ล้วนเป็นสิ่งเดียวกันทั้งสิ้น สิ่งที่เปลี่ยนไปล้วนเปลี่ยนไปด้วยเหตุปัจจัยที่เราต้องพิจารณาให้ละเอียดและลึกซึ้งถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 

แม้แต่ใจของคน บางครั้งดีใจ บางครั้งเสียใจ แต่ความดีใจหรือเสียใจเหล่านี้หาได้เป็นคุณสมบัติที่ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงของใจไม่ แต่มันเกิดขึ้นและมันอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่นต่างหาก เพราะใจแท้ๆของเรา คือความว่างเท่านั้น

 

 

         

 

 

แก่นแท้ของสรรพสิ่งเป็นความว่าง  แม้ในทางปรากฏการณ์จะดูเหมือนว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นานา อันเนื่องมาจากการอาศัยร่วมกันกับสิ่งอื่นก็ตาม  แต่ตัวแก่นแท้ของสรรพสิ่งหาได้เปลี่ยนแปลงไม่

 

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัวเราและทุกสรรพสิ่งมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวจำกัดอยู่เฉพาะตัว แต่ทว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและธรรมธาตุรอบตัว รวมแม้กระทั่งต่อเนื่องขึ้นไปถึงดวงดาว อวกาศและจักรวาล ดั่งคำกล่าวที่ว่าผีเสื้อโบยบิน เกิดพายุแผ่นดินสะท้านสะเทือน เด็กดอกไม้สะเทือนไปถึงดวงดาว ทำให้การพิจารณาสรรพสิ่งควรต้องพิจารณาดูว่า อะไรเป็นเงื่อนไขปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วย ดูว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ก่อกำเนิด  อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ดับไป ต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้งเพื่อให้มองให้ทะลุถึงธรรมชาติแห่งทุกสรรพสิ่ง

 

 

         

 

 

คำถามที่ 4 เรื่อง คาถา 4 บาท

 

 

ถาม จงแสดง คาถา 4 บาท และความสำคัญของคาถา 4 บาทมาให้ทราบ

 

 

ตอบ คาถา 4 บาท เป็นแนวทางการปฏิบัติจิตขั้นเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ 4 ข้อ 

 

 

       ซึ่งคาถา 4 บาทในพระสูตรก็ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าอะไรคือคาถา 4 บาท ในบางอรรถกถา ได้แก่อรรถกถาวัชรปรัชญาปารมิตา โดย พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จากหนังสือ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้เขียนไว้ดังนี้

 

 

คาถา 4 บาท เป็นระดับชั้นในวิถีดำเนิน 4 ขั้น สำหรับผู้แสวงพุทธธรรม ได้แก่

 

 

บาทที่ 1 เรียกว่า ศูนย์กาย 

 

 

ความหมาย กายนั้นบิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิด มีทวารทั้ง 4 ไหลตลอดเวลา นานาปฏิกูล ธาตุ 4 อันประสานรวมกันอยู่ ย่อมจะเสื่อมสลายในที่สุด ผู้มีสติปัญญา ประจักษ์แจ้งว่า กายเป็นมายา ใช้กายอันเป็นมายานี้ศึกษาพุทธ บำเพ็ญศีล ปฏิบัติธรรม เรียกว่า เห็นแจ้งศูนย์กาย

 

 

บาทที่ 2 เรียกว่า ศูนย์ใจ

 

 

ความหมาย หันมาดูใจตน ไวที่สุด มีสภาวะเหมือนมี สภาวะดับเหมือนไม่มี ประจักษ์แจ้งใจจริงแท้ ตื่นตลอด ไม่หลงเลอะ ไม่หันเหแปรปรวนตามความคิดอันฝันเพ้อ เรียกว่า เห็นแจ้งศูนย์ใจ

 

 
 

บาทที่ 3 เรียกว่า ศูนย์ภาวะ

 

 

ความหมาย หันมาดูภาวะเดิมสงบนิ่ง เข้าถึงโดยความรู้สึก เปลี่ยนแปลงไม่สิ้นสุด ประจักษ์แจ้งชัด ตื่นเองแจ้งเอง ทั้งสงบทั้งเคลื่อนไหว เรียกว่า เห็นแจ้งศูนย์ภาวะ   

 

 

บาทที่ 4 เรียกว่า ศูนย์ธรรม

 

 

ความหมาย หันมาดูธรรมสูตร อันตถาคตแสดงนั้นล้วนเป็นธรรมวิถี โน้มนำอันสะดวกดาย อุปมาดังน้ำล้างฝุ่นละออง เปรียบประหนึ่งป่วยไข้ให้ยา ได้เห็นแจ้งใจตน แจ้งศูนยน์ธรรมแล้วไข้หาย หยุดยา เรียกว่า เห็นแจ้งศูนย์ธรรม

 

 

อรรถธรรมของคาถา 4 บาทนี้ เป็นประตูนำไปสู่การพ้นของปุถุชน เข้าสู่อริยมรรคตถาคตสมัยแห่งกาล 3 สำเร็จเป็นพุทธโพธิสัตว์บำเพ็ญตามระดับขั้นนี้

 

 

เห็นแจ้งบาทที่ 1 แล้วบำเพ็ญตามอรรถธรรม จักบรรลุโสดาปัตติผล

 

 

เห็นแจ้งบาทที่ 2 แล้วบำเพ็ญตามอรรถธรรม จักบรรลุสกิทาคามิผล

 

 

เห็นแจ้งบาทที่ 3 แล้วบำเพ็ญตามอรรถธรรม จักบรรลุอนาคามิผล

 

 

เห็นแจ้งบาทที่ 4 แล้วบำเพ็ญตามอรรถธรรม จักบรรลุอรหัตผล

 

 

คาถา 4 บาทนี้ ได้เปิดประตูพุทธธรรมไว้กว้าง หากยึดถือปฏิบัติและนำไปประกาศแสดงแก่คนอื่น ๆ ทำให้ผู้ได้สำเหนียกเห็นแจ้งในพุทธทิฐิ ย่อมจะสำเร็จเป็นพุทธ ดังนั้นจึงได้บุญมหาศาล อันบุญกุศลที่ได้รับนั้น จะประเสริฐเลิศล้ำ ยิ่งกว่าการบริจาคทานด้วยสัตรัตนะ

 

 

แต่ผู้รู้ในธรรมบางท่านจับเอาลักษณะ 4 ประการในพระสูตร ที่ได้กล่าวถึงบัญญัติสำคัญ 4 ประการในเรื่องการที่ผู้ที่ปรารถนาในการเป็นพระโพธิสัตว์ต้องไม่มีความยืดถือในสิ่ง 4 สิ่งต่อไปนี้ได้แก่การไม่มีความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ และชีวะลักษณะ มาเป็นคาถา 4 บาท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

 

1)   ต้องไม่มีความยืดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ (ไม่ยึดมั่นในตัวตน)

 

 

2)   ต้องไม่มีความยืดถือผูกพันในปุคคละลักษณะ(ไม่ยึดมั่นบุคคล มีจิตที่สมดุล ไม่เลือกรักเลือกชัง)

 

 

3)   ต้องไม่ยึดถือผูกพันในสัตวะลักษณะ(ไม่ยึดถือในชันธ์ห้า ประกอบด้วย รูป เวทนา(ความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ เฉย ๆ ) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) วิญญาณ(ความรู้แจ้งแห่งอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ)

 

 

4)   ต้องไม่ยึดถือผูกพันในชีวะลักษณะ(สภาวะชีวิตแห่งสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในวัฎสงสาร )

 

 

   สำหรับผู้เขียนได้ให้ความสำคัญกับการไม่มีความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ และชีวะลักษณะ มาเป็นคาถา 4 บาท ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ เพราะเป็นสิ่งที่มีการเน้นย้ำอย่างเด่นชัดในพระสูตรต่างกับในอรรถกถาซึ่งค่อนข้างแปลกแยกออกไป ซึ่งคงต้องให้ผู้อ่านและผู้รู้ในธรรมพิจารณา แต่ไม่ว่าจะยึดมั่นในแบบใดก็คงต้องสำเร็จในธรรมทุกวิถีทางแน่นอน

 

 

นอกจากนี้ในความคิดของผู้เขียน ยังให้ความสำคัญกับอีกสามสิ่งที่ควรต้องไม่ยึดถือผูกพัน ได้แก่

 

 

1)   ต้องไม่ยึดถือผูกพันอยู่ในการบำเพ็ญทาน  ไม่ยึดผลแห่งการบำเพ็ญทาน ไม่ยึดบุคคลที่เราบำเพ็ญทาน ไม่ยึดกับวัตถุทานที่เราบำเพ็ญทาน ไม่ยึดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จากการบำเพ็ญทาน ที่เรียกว่า ต้องมีความรักแบบไม่มีเงื่อนไข ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า

 

 

2)   ต้องละความยึดมั่นต่อความสำคัญมั่นหมาย

 

 

3)   ต้องละความยึดมั่นต่อความคิด โดยดำรงจิตให้มีอิสระจากความคิด

 

 

ในความคิดผู้เขียนอาจจะจัดสามข้อนี้ ปรับเป็นข้อใดข้อหนึ่งของคาถา 4 บาท ก็ได้ เนื่องจากสามข้อนี้ก็เป็นจุดเน้นสำคัญในแนวทางปฏิบัติตนในพระสูตรเช่นกัน

 

 

สำหรับอานิสงส์ของการบริจาคทานของการเผยแพร่พระธรรม คาถา 4 บาทจากเนื้อหาในพระสูตร

 

 

1)   ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆได้สละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน เปรียบกับหากมีบุคคลได้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท ประกาศแสดงอรรถแก่บุคคลอื่น ซึ่งบุคคลที่ได้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท ประกาศแสดงอรรถแก่บุคคลอื่น ย่อมมีบุญกุศลมากมายยิ่งกว่า

 

 

2)   ถ้ามีบุคคลผู้นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทานแต่หากมีบุคคลมารับปฏิบัติเล่าเรียนสาธยาย ประกาศชี้แจงแก่ผู้อื่นซึ่งธรรมในปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงคาถา 4 บาท เท่านั้น คุณานิสงส์ของบุคคลแรกในร้อยส่วนเปรียบด้วยมิได้สักหนึ่งส่วน แม้นับด้วยร้อยหมื่นอสงไขยส่วนที่สุดจนเหลือประมาณคณานับ ก็เอามาเปรียบเทียบด้วยไม่เท่าเทียมถึงได้เลย

 

 

3)   หากมีบุคคลนำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน เทียบกับผู้ปฏิบัติในพระสูตรแต่ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆตั้งจิตปรารถนาต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ มาปฏิบัติตามซึ่งพระสูตรนี้แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท เขารับปฏิบัติเล่าเรียนสาธยายก็ดี  ประกาศแก่ผู้อื่นก็ดี ย่อมมีบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าผู้บริจาคทานนั้นเสียอีก

 

 

4)   สรุปอานิสงส์จากพระสูตรของผู้ที่ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรแม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท และสามารถเจริญสาธยายพระสูตรได้

 

 

·        บุคคลนั้นนับว่าเป็นบุคคลนั้นได้บรรลุสำเร็จซึ่งคุณานิสงส์อัน อย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยาก

 

 

·        บุคคลดังกล่าวนั้น เป็น ผู้ได้รับความสำเร็จแล้วในธรรมอันเป็นยอดสูงสุดซึ่งหาได้โดยยาก

 

 

·        บุคคลดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ ย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น

 

 

·        ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น จักสำเร็จบรรลุคุณานิสงส์อันจักประมาณมิได้และไม่มีขอบเขต

 

 

·        บุคคลดังกล่าวนั้นจักบรรลุคุณานิสงส์ซึ่งประมาณมิได้ กล่าวมิได้ ปราศจากขอบเขต และเป็นอจินไตย   บุคคลผู้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้แบกคอนพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระตถาคต

 

 

·        บุคคลดังกล่าวผู้ที่สดับพระสูตรนี้บังเกิดศรัทธาจิตขึ้น นับว่าเป็นสรรพสัตว์ประเภทพิเศษที่หาได้ยากอย่างยิ่งไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป

 

 

·        บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะอันมีค่า ซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมดุจเมล็ดทรายในคงคานทีทั่วมหาตรสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

·        บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่า ผู้ที่ทำทานด้วยการสละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน

 

 

·        บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่า ผู้ที่ทำงานด้วยในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอด

 

 

·        บุญกุศลของผู้นั้นเพียง 1 ส่วน มากกว่าบุญกุศล 100 ส่วนของพระพุทธเจ้าที่เคยได้เฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า และได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะองค์

 

 

·        บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่าบุคคลที่นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน

 

 

·        บุญกุศลของผู้นั้นยิ่งกว่าบุคคลที่นำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน  

 

 

·        ผลของอานิสงส์ของผู้ปฏิบัติ เผยแพร่และเจริญสาธยายพระสูตร กรณีที่ถูกดูหมิ่นย่ำยีจากบุคคลอื่น บุคคลนั้น อันอกุศลกรรมแต่ปางหลังชาติก่อนสมควรแก่การจบลงสู่อบายทุคคติภูมิ แต่เมื่อเขาได้รับการดูหมิ่นย่ำยีจากคนอื่นในภพปัจจุบัน อกุศลกรรมแต่ปางก่อนจึงดับศูนย์ บุคคลนั้นจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ

 

 
 

5)   อานิสงส์แห่งสถานที่ใดมีผู้ได้ประกาศแสดงพระสูตรนี้ แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท  จากพระสูตรมีดังนี้

 

 

·       ณ.สถานที่นั้นแลเป็นพระสถูปเจดีย์ ควรแก่การเคารพพนมไหว้กระทำการประทักษิณ และนำบุปผาชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา

 

 

·        ณ สถานที่ นั้น ทวยเทพมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายถึงกระทำสักการบูชาดุจพระพุทธสถูปวิหาร  

 

 

·        ณ สถานที่นั้น ย่อมชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดับอยู่ และมีพระอัครสาวกสำนักอยู่

 

 

 

การปฏิบัติตามคาถา 4 บาท เป็นคาถาภาคสรุปเนื้อหาการปฏิบัติตนของวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรอย่างสั้นให้จดจำง่าย โดยที่มุ่งให้ผู้ปฏิบัติจิตปลุกเมล็ดพันธ์โพธิจิตต์ในดวงจิตให้ตื่นขึ้น เพื่อให้เข้าสู่พุทธภาวะ ที่เป็นจิตเดิมแท้อันบริสุทธิ์ของมนุษย์ ที่มีความสดใสว่างดุจดวงอาทิตย์   

 

 

ที่มนุษย์ยังไม่ได้เข้าถึงจิตเดิมแท้หรือพุทธภาวะที่อยู่ในจิตใจของเราทุกคน เป็นพราะในดวงจิตมีเมฆหมอกสีดำที่เกิดจากกิเลสและการยึดติดในความเป็นทวิภาวะ   ทำให้ตัวเราตกอยู่ในความทุกข์ เมื่อการปฏิบัติจิตตามคาถา 4 บาท ได้ทำให้เกิดการจางคลายลงของกิเลสและทวิภาวะที่เป็นเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่

 

 

การปฏิบัติจิตให้มีจิตอิสระจากความคิด ละความสำคัญมั่นหมายในดวงจิต ละการยึดติดในสิ่งทั้งปวงและในทุกสภาวะ ดำรงจิตให้มีสติรู้ตัวตนอยู่ตลอดเวลาด้วยการฝึกสติปัฎฐาน 4 ในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนเหลาจิตให้มีความว่องไวเฉียบทันต่อความคิดจรที่เข้ามาในดวงจิต การปฏิบัติจิตดังกล่าวเป็นพัฒนาสมถกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานไปในตัว โดยการฝึกให้ได้ในระดับญาณ 1-4(นอกจากนี้ยังสามารถฝึกสมถกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานตามแนวทางสูญญตาตามเคล็ดลับในมหาสูญญตาสูตรและจูฬสูญญตาสูตร กำหนดจิตแสงโชติในกายสุกสว่างดั่งดวงอาทิตย์พร้อมแผ่เมตตาและพลังโชติไปทั้งสิบทิศ )

 

 

การชำระกิเลสด่านแรกจะเป็นชั้นของกิเลส แบบการฝึกที่ผ่านมาก็จะทำให้กิเลสลดละเบาบางลงได้ ส่วนด่านที่สองจะเป็นชั้นของทวิภาวะ ซึ่งถ้าลบเมฆหมอกแห่งทวิภาวะออกจากดวงจิตได้ ก็ทำให้มีโอกาสได้เข้าสู่พุทธภาวะที่เป็นดั่งดวงอาทิตย์ที่ถูกเมฆหมอกจากกิเลสและทวิภาวะบังไว้ให้บังไว้  

 

 

การชำระล้างทวิภาวะจะต้องดำรงจิตอยู่ในแนวทางแห่งสูญญตา เพื่อให้ละการยึดติดต่อทวิภาวะหรือภาวะที่เป็นคู่ ต่าง ๆ ละกุศลละอกุศล ละธรรมละอธรรม ละดีละชั่ว ละเกิดละดับ ละพร่องละเต็ม ละมัวหมองละผ่องแผ้ว ด้วยการให้จิตดำรงอยู่ในความเป็นสูญ จิตเป็นเลข 0 จิตเป็นกลาง ไม่บวก ไม่ลบจิตไม่แกว่งไกลด้วยอำนาจของทวิภาวะภายใต้การกำหนดจิตตามแนวทางแห่งมรรค 8 เพื่อชำระล้างดวงจิตที่มีเมฆหมอกแห่งกิเลสและทวิภาวะ ปลุกโพธิจิตต์ให้ตื่นขึ้น ให้ค้นพบจิตเดิมแท้ ที่เป็นพุทธภาวะที่สถิตย์อยู่ในตน

 

 






Copyright © 2010 All Rights Reserved.

โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
ที่อยู่ :  เลขที่1810 เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร.     รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร : 02-5394968      มือถือ :  0818033630
อีเมล : ariyasound@thaimail.com
เว็บไซต์ : www.ariyasound.com