Ariyasound อริยะ สุพรรณเภษัช มหายาน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน
ReadyPlanet.com
dot dot
สมันตมุขปริวรรต สัทธรรมปุณพริกสูตร กวนอิม พระอวโลกิเตศวร
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร สุภูติ วัชรสูตร มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช หนังสือภาพหายาก ariyasound
ท่องแดนสุขาวดี  พระอมิตภะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราบมหาโพธิสัตว์ พระอมิตาพุทธเจ้า แดนสวรรค์ อามิตตาพุทธ มหายาน วัชรยาน เจ้าแม่กวนอิม   สุขาวดีวยูหสูตร   มหายาน วัชรยาน อริยะ สุพรรณเภษัช
พระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธเจ้า buudha
ทิพยจักษุ พระพุทธเจ้า ตาทิพย์  อริยะ สุพรรณเภษัข
ดนตรีสวรรค์ ดนตรีพัฒนาจักระ  พัฒนาจักระ จักระ โยคะ โยคี อริยะ สุพรรณเภษัช ศูนย์อภิวัฒน์ปัญญา ariyasound
กวนอิม พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ อริยะ สุพรรณเภษัช
คุณธรรมพระโพธิสัตว์ เสถียร โพธินันทะ มหายาน เสียง เสถียรสุต อริยะ สุพรรณเภษัช ariyasound




ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน

  

       &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

         ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

           ฉบับแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน

            อรรถกถาธรรม โดย อริยะ สุพรรณเภษัช

          &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

 

 

 

 

 Download สำหรับอ่านโดยใช้โปรแกรมpdf

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

 

 

 

 

 

 

 

 

Homage to the Perfection of Wisdom, the Lovely, the Holy!

ขอสักการะบูชาแด่ปรัชญาปารมิตา ที่เรืองรองและศักดิ์สิทธิ์

 

Avalokita, The Holy Lord and Bodhisattva, was moving in the deep course of the Wisdom which has gone beyond. He looked down from on high, He beheld but five heaps, and he saw that in their own-being they were empty.

 

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม  ผู้ที่อยู่ด้วยวิถีแห่งปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง ที่นำพาไปสู่ความหลุดพ้น จากสภาวะดังกล่าว พระองค์เห็นขันธ์ทั้งห้าและตัวของพระองค์เองคือความว่าง

&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&

คำอธิบาย: 1811231349270001

 

อธิบายจากพระสูตรนี้ 

 

            มีอยู่ ๒ คำที่ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนและลึกซึ้งเพื่อที่จะเข้าใจในพระสูตรนี้ คือขันธ์ ๕ และความว่าง

        คำแรก คือ ขันธ์ ๕  มนุษย์คนหนึ่งประกอบขึ้นด้วย  กาย  กับใจ  แบ่งออกเป็นขันธ์ได้ ๕ ขันธ์  (ขันธ์แปลว่ากอง)ส่วนที่เป็นกายเรียกว่า รูป และส่วนที่เป็นใจ เรียกว่า นามแบ่งออกได้เป็น ๔  ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

        รูป คือ สิ่งต่างๆ ทั้งมวลที่เป็นรูปร่าง เป็นการรวมกันของธาตุ๔ที่ประชุมกันขึ้นเป็นกาย(ธาตุ ๔ คือ ดิน-ความเข้มแข็งกินเนื้อที่ น้ำ-ความเกาะเกี่ยวยึดติดกันอยู่  ไฟ-ความร้อน ลม-ความเอิบอาบแผ่ซ่าน)

        เวทนา คือ ความรู้สึกในอารมณ์ ประกอบด้วย สุขเวทนา ได้แก่ความสบายกายสบายใจ ทุกขเวทนา ได้แก่ ความไม่สบายกายสบายใจ และอทุกขมสุขเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่รู้สึกสุข ไม่รู้สึกทุกข์

        สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้  ได้แก่ ความจดจำ ในรูป เสียง กลิ่น รส  กายสัมผัส และความรู้สึกสัมผัสทางใจ  รวมภาพสิ่งทั้งหมดที่จำได้หมายรู้ในอดีต

        สังขารคืออารมณ์ต่างๆ ที่เกิดกับใจเพราะเราคิดปรุงแต่ง ~ เสริมต่อ หรือ ตัดตอนเอาเอง ด้วยความนึกคิดของเราเอง รวมภาพสิ่งที่นึกคิดปรุงแต่งไว้ในอนาคต

อารมณ์ที่ใจเราปรุงแต่งทางบวกส่วนดีหรือคิดดี มีอารมณ์คิดกุศล

อารมณ์ที่ใจเราปรุงแต่งทางลบ  ส่วนชั่วหรือคิดชั่ว มีอารมณ์คิดอกุศล

อารมณ์ที่ใจเราไร้การปรุงแต่ง  ส่วนที่ไม่คิดดีคิดชั่ว  อารมณ์คิดสูญหรืออารมณ์คิดว่างคิดไม่กุศลไม่อกุศล

        วิญญาณคือ  ความรู้ในอารมณ์ เป็นเพียงแค่สักแต่ว่ารู้  ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกมากระทบกันเข้า (อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ<สิ่งที่สัมผัสกาย> ธรรมารมณ์<สิ่งที่ใจคิดใจสัมผัส อารมณ์ที่ใจรู้>) ประกอบด้วย

จักขุวิญญาณ สักแต่ได้เห็น ฆานะวิญญาณ สักแต่ได้กลิ่น

โสตะวิญญาณ สักแต่ได้ยิน ชิวหาวิญญาณ สักแต่รู้รส

กายะวิญญาณ สักแต่รู้สัมผัสกายมโนวิญญาณ สักแต่รู้สัมผัสใจ

เป็นเพียงสัมผัสรู้เฉย ๆ แต่หาได้ประเมินไม่ หาได้ตีค่าหรือราคาไม่

อีกคำหนึ่งคำว่า ความว่างก็คือสิ่งที่เรียกว่า สุญญตา

คำว่า ว่าง มีการใช้ในหลายทิศทางหลายความหมาย  ละเอียดศิลาน้อย ได้ยกตัวอย่างความว่างแบบต่างๆ ไว้ดังนี้

-                ว่างเพราะไม่มี

-                ว่างเพราะมีอยู่ชั่วคราว

-                ว่างแบบอวกาศ

-                ว่างเพราะต้องแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา

-                ว่างเพราะต้องประกอบขี้นมาจากสิ่งอื่นๆ

-                ว่างเพราะเราไม่ไปยึดมั่นถือมั่น

ดังนั้นเราสามารถสรุปความว่าง หรือสุญญตาตามความหมายของพระสูตรนี้  คือมิใช่ว่าไม่มีตัวตนให้เห็นหรือเป็นศูนย์เลยหรือไม่มีอยู่เลย ตามวิสัยของโลก (โลกีย์วิสัย)

จริงๆ แล้วมันมีอยู่ แต่เราทำใจได้ว่ามันไม่มีอยู่ คือไม่เอาใจไปยึดว่ามี คือทำใจให้ว่างเพราะถ้าไปยึดว่ามีก็เกิดชอบ  ชัง  หวงแหนขึ้น

 

 

 

คำว่าการที่มีใจมีความว่าง มิใช่ใจที่ขาดสติไม่รู้ดีรู้ชั่ว ซึ่งเป็นใจเหมือนใจคนธรรมดาๆ แต่เป็นใจที่ไม่ยึดถือเอาทุกสิ่งภายนอกกายมาเป็นอารมณ์ มายึดมั่นถือมั่น เพราะการไปยึดมั่นถือมั่น นำไปสู่การปรุงแต่งของจิตใจ เกิดการปรุงแต่งที่เป็นบวกเป็นลบ การปรุงแต่งที่เป็นกุศลอกุศล ทำให้ใจของเราเป็นทุกข์

เป็นลักษณะที่ ท่านพุทธทาสพุทธบัณฑิตกล่าวว่า

ใจว่างหรือ จิตว่างนั่นเอง คือเป็นใจที่ว่างเห็นอะไรๆ ทุกอย่างแม้ว่าจะมีอยู่ให้เห็นด้วยตา แต่ใจก็ไม่เห็นไม่ยอมรับเอาเข้ามาสู่ใจให้เป็นทุกข์นั่นเอง

เมื่อสามารถมองเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นความว่างแล้ว จักช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

        คือเมื่อเล็งเห็นอย่างแจ้งชัดแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงไม่คงทน (อนิจจัง) ล้วนเป็นความว่าง หรือ เป็นสุญญตาแล้ว แม้จะมีอะไรบังเกิดขึ้นก็ไม่เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใดๆ กับใจของผู้รู้อีกต่อไป คือเป็นการรู้เท่าทันตามสภาพความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นผู้ปราศจากความทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง

 

 

 

เพื่อการพิจารณาพระสูตรบทนี้ได้ลึกซึ้งเพิ่มขึ้นจึงขอยกคำสอนสำคัญที่พระอัสสชิกล่าวกับพระสารีบุตรไว้ดังนี้

ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ   พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และแสดงการดับไปแห่งธรรมนั้น  พระตคาคตเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้

ธรรมบทนี้ซึ่งแสดงถึงการพิจารณาในธรรมทั้งหลายที่เกิดจากเหตุ ที่เรียกว่าสังขตธรรม ซึ่งพระองค์ได้พิจารณาถึงอันได้แก่ตัวของพระองค์และขันธ์ห้าที่ประกอบด้วย  รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนเป็นสุญญตาทั้งสิ้น จะเกิดได้ด้วยมีเหตุ  ถ้าไร้เหตุก็ดับไป  หรือในปัจจุบันเหมือนยังเป็นความว่างหรือสุญญตาอยู่ด้วยรอเหตุ  เป็นการพิจารณาตนและขันธ์ห้าว่าเป็นความว่าง เนื่องจากธรรมทั้งหลายที่เกิดจากเหตุนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาจนหาตัวตนที่แท้จริงมิได้  เห็นความไม่ยั่งยืนที่อาจดำรงอยู่ได้เพียงลำพัง ดำรงอยู่ ด้วยการเกิดและดับไปด้วยเหตุปัจจัยการเกิดและเหตุปัจจัยการดับ ทำให้รู้สึกธรรมแห่งเหตุไร้ตัวตนที่ให้ยึดมั่นถือมั่น พิจารณาได้เป็นดั่งความว่างนั้นเอง

     

 

      จากนี้เราจะทำการเชื่อมโยงปรัชญาปารมิตา-ปัญญาพาให้ถึงฟากฝั่งโน้น ของพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำและการข้ามฝั่ง โดยมีสองคำสอนของพระพุทธเจ้าในสองเรื่อง ดังนี้

เรื่องแรก เป็นเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้าที่เสด็จพุทธดำเนินสู่เมืองกุสินารา

เรื่องที่สอง เป็นเหตุการณ์ตอนที่พระองค์ตรัสกับพราหมณ์นามว่าสังคาราวะเรื่องแม่น้ำคงคาและการล้างบาป

      เรื่องแรก เป็นเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้าที่เสด็จพุทธดำเนินสู่เมืองกุสินารา พระบรมศาสดาเกิดกระหายน้ำมาก จึงเสด็จเข้าประทับยังร่มไม้ริมทาง  ตรัสสั่งให้พระอานนท์ตักน้ำดื่มในแม่น้ำมาถวายบังเอิญขณะนั้นแม่น้ำนั้นมีกองเกวียนจำนวน 500 เล่มเพิ่งแล่นเดินทางข้ามฟากผ่านจากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้นของแม่น้ำ ผลจากกองเกวียนข้ามฟาก ทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่นจนไม่อาจบริโภคได้ 

     

 

      พระอานนท์เห็นน้ำที่ตักมาจากในแม่น้ำขุ่นจึงกลับมาทูลอาราธนาให้เสด็จต่อไปจนถึงแม่น้ำ กกุธานที อันเป็นแม่น้ำกว้างใหญ่ที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งมีน้ำใสเย็นและจืดสนิท  พระบรมศาสดาให้พระอานนท์ตักน้ำมาถวายอีกครั้ง    คราวนี้น้ำในแม่น้ำที่ขุ่นกลับใสสะอาดปราศจากธุรีเป็นอัศจรรย์

        ข้อสังเกต ครั้งแรกน้ำที่พระอานนต์ตักมาจากแม่น้ำเป็นน้ำขุ่น  เพราะว่าบังเอิญขณะนั้นแม่น้ำมีกองเกวียนจำนวน 500 เล่มเพิ่งแล่นเดินทางข้ามฟากผ่านจากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้นของแม่น้ำ ผลจากกองเกวียนข้ามฟาก ทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่นจนไม่อาจบริโภคได้  และในจิตใจของพระอานนท์เห็นว่าน้ำที่ตักมานั้นขุ่นไม่ควรบริโภค ด้วยเหตุที่มีกองเกวียนเดินทางข้ามผ่านแม่น้ำ

 

 

 

 

      พิจารณาได้ดังนี้  การเดินทางข้ามฟากแม่น้ำของกองเกวียนเปรียบเสมือนขันธ์๕หรือธรรม ที่เดินทางผ่านตัวของเราที่เปรียบดั่งแม่น้ำจากฝั่งนี้จนถึงฝั่งโน้นข้ามฟากไป 

      ถ้ากองเกวียนหรือสิ่งที่ข้ามไปมิใช่ความว่าง และแม่น้ำหรือตัวตนของเรามิใช่ความว่าง  ตามที่พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ ได้พิจารณาพระองค์ไว้  สิ่งที่เกิดขึ้นคือความขุ่นของน้ำในแม่น้ำเปรียบได้กับสภาพจิตใจที่ขุ่นมัวเศร้าหมองจากการที่มีการปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิตใจ

      แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ใช้ให้พระอานนท์ตักน้ำมาถวายอีกครั้ง    คราวนี้น้ำในแม่น้ำที่ขุ่นกลับใสสะอาดปราศจากธุลีเป็นอัศจรรย์เนื่องจากคราวนี้

      ไม่มีกองเกวียนจำนวน ๕00 เล่มที่เปรียบได้กับ ขันธ์ ๕ หรือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสกาย สัมผัสใจ เดินทางข้ามฟากผ่านจากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้นของแม่น้ำอีก สิ่งที่ข้ามฟากฝั่งของแม่น้ำเป็นความว่าง

     

      ดังนั้นเมื่อสิ่งที่เป็นความว่างเคลื่อนผ่านแม่น้ำที่เปรียบดั่งตัวตนของเรา ทำให้สภาพจิตใจของเราที่เปรียบได้กับน้ำในแม่น้ำนั้นปราศจากสภาพการปนเปื้อนด้วยละอองดินไร้การปรุงแต่งไปด้วย ผลทำให้น้ำในแม่น้ำที่ตักมาถวายพระพุทธเจ้าใสสะอาดสามารถบริโภคได้

      พิจารณาได้ดังนี้  ถ้าไม่มีการเดินทางข้ามฟากแม่น้ำของกองเกวียนเปรียบเสมือนขันธ์๕หรือธรรม ที่เดินทางผ่านตัวของเราที่เปรียบดั่งแม่น้ำจากฝั่งนี้จนถึงฝั่งโน้นข้ามฟากไป  ถ้าสิ่งที่ข้ามไปเป็นความว่าง ตัวตนเป็นความว่าง จิตใจเปรียบได้กับน้ำในแม่น้ำใสสะอาดไร้จิตปรุงแต่ง  ตามที่พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม ได้พิจารณาพระองค์ไว้  สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตใจที่ไม่เกิดมีการปรุงแต่งเกิดขึ้น เปรียบดังกับแม่น้ำที่ใสสะอาด ที่พระอานนท์ได้ตักถวายพระพุทธเจ้า

 

 

 

ดังนั้นปรัชญาปารมิตา –ปัญญาพาให้ถึงฟากฝั่งโน้นจึงเป็นปัญญาสำหรับผู้ที่อยู่ด้วยวิถีแห่งปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง ที่นำพาไปสู่ความหลุดพ้น ภายใต้การพิจารณาที่เห็นขันธ์ทั้งห้าอันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งที่เดินทางข้ามแม่น้ำ และตัวตนเป็นแม่น้ำที่ขันธ์ทั้งห้าเดินทางผ่าน นั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าสิ่งที่เดินทางข้ามฝากฝั่งแม่น้ำไม่มีเป็นความว่าง และจิตใจภายในก็สดใสไร้การปรุงแต่งเป็นความว่าง เกิดความว่างทั้งความว่างภายนอกและความว่างภายใน ดังนั้นจะมีน้ำที่ขุ่นหรือมีสภาพจิตใจที่มีการปรุงแต่งได้อย่างไร

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่สอง เป็นเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ ตรัสกับพราหมณ์นามว่าสังคราวะ เรื่องแม่น้ำคงคาและการล้างบาป

      พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับพราหมณ์มีนามว่าสังคราวะ เนื่องจากพราหมณ์ท่านนี้มีความเชื่อว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถชำระบาปมลทินทั้งปวงได้  เพราะน้ำในแม่น้ำคงคาได้ไหลผ่านเศียรพระศิวะผู้เป็นเจ้าลงมา เป็นแม่คงคาสวรรค์  พราหมณ์ผู้นี้มีความเชื่อว่าสามารถชำระบาปได้จริงๆ  

      พระองค์ได้ตรัสว่าบาปหรือมลทินนั้นอยู่ที่ใจหาอยู่ที่กายไม่  การลงอาบชำระกายในแม่น้ำย่อมไม่สามารถซึมซาบไปล้างใจได้  ดั่งหม้อทองแดงที่มีสิ่งปฏิกูลเลอะอยู่ทั้งภายในและภายนอกหม้อ การล้างด้วยน้ำชำระล้างได้เพียงภายนอกหม้อเท่านั้น 

      จิตใจที่สกปรกเกิดจากกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริต  จะต้องล้างด้วยธรรมคือความสุจริตที่ประกอบด้วย กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต มิใช่ล้างด้วยการอาบน้ำธรรมดา    ท่านควรมาอาบน้ำในธรรมวินัยของเรา  อาบแล้วข้ามฝั่งได้  โดยที่ตัวไม่เปียก

     

      พิจารณาได้ดังนี้  พระพุทธองค์ทรงให้ก้าวข้ามแม่น้ำ   แม่น้ำนั้นคือแม่น้ำคงคา ความเชื่อที่ว่าแม่น้ำคงคาแม่น้ำแห่งสังสารวัฏไหลผ่านพระเศียรพระศิวะล้างบาปได้ที่เชื่อว่าชำระล้างบาปได้    ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้ละการยึดติดกับแม่น้ำ ละการยึดติดกับชีวะลักษณะ  ให้พิจารณาว่าแม่น้ำเป็นความว่าง 

      ทั้งยังชวนพราหมณ์ให้มาชำระความสกปรกที่เกิดจากกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริต  ด้วยการมาอาบน้ำในธรรมวินัยของพุทธองค์ โดยพระองค์ทรงตรัสกล่าวกับสังคราวะว่า อาบแล้วข้ามฝั่งได้  โดยที่ตัวไม่เปียก

      คำว่าอาบแล้วข้ามฝั่งได้  หมายถึงเมื่อได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในพระธรรมวินัยของพุทธองค์ ดั่งชำระความสกปรกที่เกิดจากกายทุจริต วาจาทุจริต มโนทุจริต  ด้วยการมาอาบน้ำในธรรมวินัยของพุทธองค์ แล้ว ย่อมมีความพร้อมที่จะบรรลุธรรมมีความสามารถที่จะก้าวข้ามแม่น้ำจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นได้ ด้วยจิตใจที่ถูกชำระล้างอย่างบริสุทธิ์แล้ว 

     

      คำว่าข้ามฝั่งโดยตัวไม่เปียก หมายความว่า เมื่อได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในพระธรรมวินัยของพุทธองค์ พิจารณาเห็นว่าด้วยจิตใจที่ถูกชำระล้างอย่างบริสุทธิ์แล้ว  ตัวตนของคนผู้นั้นพิจารณาได้ว่าตนนั้นเป็นความว่าง และขันธ์๕ ก็เป็นความว่าง  เมื่อตนนั้นเป็นความว่างแล้ว และแม่น้ำก็เป็นความว่าง แล้วเขาจะเปียกน้ำได้อย่างไร

      ดังนั้นจึงสอดคล้องกับที่พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิม  ได้เสนอ ดังนั้นปรัชญาปารมิตา –ปัญญาพาให้ถึงฟากฝั่งโน้น ถ้าพิจารณาให้ขันธ์ห้าเป็นความว่าง และตัวท่านเป็นความว่าง ก็จะก้าวพ้นไปได้

 

 

 

 

 

 

Here, O Sariputra, form is emptiness , emptiness is form; form does not differ from emptiness, emptiness does not differ from form; whatever is form, that is emptiness, whatever is emptiness, that is form, the same is true of feelings, perceptions, impulses and consciousness.

 

พระองค์จึงตรัสกับพระสารีบุตรว่า

นี่ท่านสารีบุตร

(1)รูป คือความว่าง ความว่างคือรูป

(2)รูปไม่แตกต่างจากความว่างความว่างไม่แตกต่างจากรูป

(3)อะไรก็ตามที่เป็นรูป นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่าง นั่นแหละคือรูป

หลักการเดียวกันนี้เป็นจริงเช่นเดียวกันกับเรื่อง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

 

 

 

 

คำอธิบาย: 1811231358110001คำอธิบาย: C:\Users\Teacher\Desktop\18.jpg

พระสูตรบทนี้ ที่แบ่งเป็นบทย่อยสามบท  เป็นบทที่สำคัญที่สุดบทหนึ่งของพระสูตร เป็นบทที่สร้างชื่อเสียงให้กับพระสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง  ด้วยพิจารณาความลึกล้ำของเนื้อหาที่แฝงเร้นปรัชญาปารมิตาโดยลึกซึ้ง 

การพิจารณาตีความหมายของพระสูตรบทนี้ แต่เดิมนิยมตีความเป็นคู่ ๆ โดยตีความแบบเดินหน้าและตีความย้อนกลับ โดยหาได้มีความสนใจความหมายของคำว่าปรัชญาปารมิตา ที่แปลความหมายว่าปัญญาพาให้ไปถึงฟากฝั่งโน้นไม่  จนพบกับความตีบตันของการเข้าถึงหัวใจของพระสูตรนี้

ดังนั้นการพิจารณาตีความหมายของพระสูตรโดยได้ให้ความสนใจในความหมายของคำว่าปรัชญาปารมิตา ที่แปลความหมายว่าปัญญาพาให้ไปถึงฟากฝั่งโน้น  ตามที่ข้าพเจ้าได้รับแนวธรรมจาก ณ คืนนั้นของแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน

ให้จับกระแสการตีความพิจารณา พระสูตรบทก่อนหน้าที่ว่าด้วย  พระองค์เห็นขันธ์ทั้งห้าและตัวของพระองค์เองเป็นความว่างแล้วจึงทำการพิจารณาความหมายเน้นที่ตัวพระองค์คือความว่างเป็นสำคัญ

 

 

รูป คือ(ความว่าง)(ความว่าง)คือรูป

(1)                                         (2)

พิจารณาตามแบบปรัชญาปารมิตา ปรัชญาปารมิตา ที่แปลความหมายว่าปัญญาพาให้ไปถึงฟากฝั่งโน้น  โดยให้พิจารณาดังนี้

-                ความว่าง ในประโยคที่ (1)และความว่าง ในประโยคที่ (2) เป็นดั่งแม่น้ำฟากที่ 1 แม่น้ำฟากที่สอง  เปรียบได้กับตัวตนของพระองค์เองที่พิจารณาว่าเป็นความว่าง

-                รูป คือสิ่งที่จะก้าวข้ามแม่น้ำ โดยต้องก้าวข้ามจากฟากที่ 1ไปยังฟากที่ 2 เช่นเดียวกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ก็คือขันธ์๕ ที่เดินทางก้าวข้ามพระองค์ท่าน  พระองค์ท่านได้พิจารณาแล้วพบว่าขันธ์ห้าคือความว่าง

-                น้ำ คือสภาพทางจิตใจ ซึ่งแบ่งเป็น สภาพจิตที่ไม่มีการปรุงแต่งสภาพจิตที่มีการปรุงแต่งระหว่างการก้าวข้ามถ้าพิจารณาว่าขันธ์๕ และพระองค์เองเป็นความว่างแล้ว สภาพจิตที่ไม่ปรุงแต่งก็จะเกิดขึ้น

-                ลองพิจารณาจำแนกแยกแยะปรากฎการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ดังที่พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม ได้ตรัสสอนไว้

 

 

(1)รูป คือความว่าง ความว่างคือรูป

ให้พิจารณาเพิ่มเติมอีกดังนี้

 

รูปคือความว่าง                   ความว่างคือรูป

เวทนาคือความว่าง             ความว่างคือเวทนา

สัญญาคือความว่าง             ความว่างคือสัญญา

สังขารคือความว่าง             ความว่างคือสังขาร

วิญญาณคือความว่าง          ความว่างคือวิญญาณ

 

ความว่างที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ผ่านไปคือตัวพระองค์ ที่เป็นแม่น้ำ และจิตของพระองค์ที่เป็นน้ำ

 

รูปคือความว่าง                   ความว่างคือรูป

รูปที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

 

 

เวทนาคือความว่าง             ความว่างคือเวทนา

เวทนาที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

สัญญาคือความว่าง             ความว่างคือสัญญา

สัญญาที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

สังขารคือความว่าง             ความว่างคือสังขาร

สังขารที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

วิญญาณคือความว่าง          ความว่างคือวิญญาณ

วิญญาณที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

 

 

ความว่างที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ผ่านไปคือตัวพระองค์ ที่เป็นแม่น้ำ และจิตของพระองค์ที่เป็นน้ำ จะผ่านข้ามตัวพระองค์ที่เป็นแม่น้ำและจิตที่เป็นน้ำ อย่างไรให้น้ำใส จนพระพุทธองค์ดื่มได้  ไม่ขุ่นข้นเหมือนกองเกวียนผ่าน 

 

พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิม  จึงเสนอว่า ถ้าพิจารณาให้ขันธ์ห้าที่เคลื่อนผ่านเป็นความว่าง  ตัวท่านเป็นความว่าง ก็จะก้าวพ้นไปได้โดยไม่มีการปรุงแต่งแห่งจิต

 

จากพระสูตรพิจารณาได้ต่อไปบรรทัดที่สองว่า

(2)รูปไม่แตกต่างจากความว่าง ความว่างไม่แตกต่างจากรูปแยกแยะพิจารณาต่อได้ว่า

 

รูปไม่แตกต่างจากความว่าง      ความว่างไม่แตกต่างจากรูป

รูปที่พบเห็นผ่านสายตาเข้าสู่ร่างกายพระองค์และจิตพระองค์ไปเท่าใด ก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

 

 

 

เวทนาไม่แตกต่างจากความว่าง ความว่างไม่แตกต่างจากเวทนา

เวทนาที่เกิดขึ้นผ่านเข้าสู่ร่างกายพระองค์และจิตพระองค์ไปเท่าใด ก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

 

สัญญาไม่แตกต่างจากความว่าง ความว่างไม่แตกต่างจากสัญญา

สัญญา ความจำได้หมายรู้ในอดีต ผ่านเข้าสู่ร่างกายพระองค์และจิตพระองค์ไปเท่าใด ก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

 

สังขารไม่แตกต่างจากความว่าง ความว่างไม่แตกต่างจากสังขาร

สังขาร การปรุงแต่งทางจิตใจ การนึกคิดถึงอนาคต ผ่านเข้าสู่ร่างกายพระองค์และจิตพระองค์ไปเท่าใด ก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

 

วิญญาณไม่แตกต่างจากความว่าง      ความว่างไม่แตกต่างจากวิญญาณ

วิญญาณ การสักแต่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รับรส สัมผัสกายและใจ ผ่านเข้าสู่ร่างกายพระองค์และจิตพระองค์ไปเท่าใด ก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

แสดงว่าขันธ์ห้าที่ผ่านร่างกายพระองค์และจิตใจของพระองค์ไปเท่าใดก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

รูปความว่างรูป

รูปผ่านเข้าเท่าใด ผ่านออกเท่านั้น

เวทนา ความว่าง เวทนา

เวทนาผ่านเข้าเท่าใด เวทนาผ่านออกเท่านั้น

สัญญาความว่าง สัญญา

สัญญาผ่านเข้าเท่าใด สัญญาผ่านออกเท่านั้น

สังขาร ความว่างสังขาร

สังขารผ่านเข้าเท่าใด สังขารผ่านออกเท่านั้น

วิญญาณความว่าง วิญญาณ

วิญญาณผ่านเข้าเท่าใด วิญญาณผ่านออกเท่านั้น

 

 

 

 

จากพระสูตรพิจารณาได้ต่อไปของพระสูตรนี้ท่อนที่สามว่า

 

(3)อะไรก็ตามที่เป็นรูป นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างนั่นแหละคือรูป

 

แยกแยะพิจารณาต่อได้ว่า

 

อะไรก็ตามที่เป็นรูป นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างนั่นแหละคือรูป

ดังนั้นพิจารณาได้ว่า รูปหรือความว่าง ต่างก็เป็นสิ่งเดียวกัน

 

อะไรก็ตามที่เป็นเวทนา นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างนั่นแหละคือเวทนา

ดังนั้นพิจารณาได้ว่า เวทนาหรือความว่าง ต่างก็เป็นสิ่งเดียวกัน

 

อะไรก็ตามที่เป็นสัญญา นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างนั่นแหละคือสัญญา

ดังนั้นพิจารณาได้ว่า สัญญาหรือความว่าง ต่างก็เป็นสิ่งเดียวกัน

 

อะไรก็ตามที่เป็นสังขาร นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างนั่นแหละคือสังขาร

ดังนั้นพิจารณาได้ว่า สังขารหรือความว่าง ต่างก็เป็นสิ่งเดียวกัน

 

อะไรก็ตามที่เป็นวิญญาณ  นั่นแหละคือความว่าง อะไรก็ตามที่เป็นความว่างนั่นแหละคือวิญญาณ

ดังนั้นพิจารณาได้ว่า วิญญาณหรือความว่าง ต่างก็เป็นสิ่งเดียวกัน

สรุปได้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ต่างก็เป็นหนึ่งเดียวกับความว่าง

 

 

 

 

 

 

 

 

จากที่กล่าวมาแสดงว่า ขันธ์๕ร่างกาย และจิตใจของเรา เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เป็นเอกภาพเดียวกับธรรมชาติ ที่เราเรียกว่า สภาวะเป็นหนึ่งเดียวกับทุกสรรพสิ่ง (Oneness)

 

สภาวะเป็นหนึ่งเดียวกับทุกสรรพสิ่ง (Oneness)เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่ถูกขังในมายาการ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบของตัวเอง  อันสามารถนำไปสู่ความอ่อนไหวเป็นพิเศษ  ที่จะรับรู้อารมณ์ของคนอื่น ของกลุ่มคน รับรู้เท่าทันความจริงในปัจจุบัน จะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อภายในตนเองกับชุมชนด้วยพลังแห่งความศรัทธาซึ่งกันและกัน ทั้งยังรับรู้สภาวะความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติสามารถดำเนินชีวิตได้สอดคล้อง และเป็นหนึ่งเดียวกับมัน ตลอดจนทุกการกระทำของทุกสรรพสิ่งทีเกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อกันและกัน

 

คำอธิบาย: E:\Untitled-1.jpg

Here, O Sariputra, all dharmas are marked with emptiness; they are not produced or stopped, not defiled or immaculate, not deficient or complete.

 

สารีบุตร! ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง  : พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง, พวกมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว, พวกมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม

 

จากพระสูตรพิจารณาได้ดังนี้

 คำว่า ธรรมทั้งปวง ในประโยคนี้ น่าจะหมายถึงบรรดาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกทั้งหมด(ธรรมทั้งปวง) – ไม่ได้เกิด ไม่ได้ดับ ไม่ได้มัวหมอง ไม่ได้ผ่องแผ้ว ไม่ได้หย่อน ไม่ได้เต็ม

        คำว่า ความว่าง  ไม่ใช่แปลว่า ไม่มีเลยคือมันมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ  เป็นสภาวธรรมที่เป็นอยู่แล้วดั้งเดิมของสิ่งที่เรียกว่า นิพพาน นั่นเองคือไม่ได้เกิด ไม่ได้ดับ ไม่ได้มัวหมอง ไม่ได้ผ่องแผ้ว ไม่ได้หย่อน ไม่ได้เต็มในความหมายของภาษาพูดของคน

 

คือ เป็นสภาวะที่ไม่อาจจะใช้ภาษาพูดอธิบายให้เข้าใจนั่นเอง จะรู้ได้ก็โดยผู้ที่มี ใจว่าง จริงๆ คือมองทุกอย่าง  รับเอาทุกอย่างด้วย ใจว่าง ที่แท้จริงตามธรรมชาติ ตัวธรรมชาติแท้ๆ ดั้งเดิมของใจคนนี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า  สุญญตา ความว่าง  นิพพาน

 

ท่านพิจารณาให้ธรรมทั้งหลาย ซึ่งหมายถึง สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีธรรมชาติแห่งความว่าง

พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,

พวกมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว

พวกมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม

 

จากเดิมในพระสูตรบทที่ผ่านมา  พระองค์ได้นำเสนอแนวทางการพิจารณาธรรมทั้งหลายแห่งธรรมชาติในประเภทแรกที่เป็นธรรมที่เกิดจากเหตุ ที่เราเรียกชื่อว่าสังขตธรรม

ในพระสูตรบทนี้พระองค์ได้นำเสนอการพิจารณาธรรมทั้งหลายในประเภทที่สองที่เรียกว่า อสังขตธรรม ที่เป็นธรรมในสภาวะพิเศษซึ่งอาจเรียกว่าเป็นธาตุนิพพาน

มีธรรมชาติแห่งความว่าง

พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,

พวกมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว

พวกมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม

เมื่อเราไปพิจารณาธรรมที่เป็นสังขตธรรมจนตัวเราจะต้องเข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ธรรมที่เป็นอสังขตธรรม ตามที่พระองค์ตรัส

การพิจารณาว่าขันธ์ห้าและพระองค์เองเป็นความว่าง ตลอดจนการพิจารณาร่างกายสังขารในพระไตรปิฎกที่เรียกว่า   จตุธาตุวัฏฐาน  โดยพิจารณาร่างกายของตนว่าประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และการพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและอวัยวะ แยกตามธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ  ซึ่งเป็นทั้งสมถและวิปัสนากัมฐานนับว่าเป็นการนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องอสังขตธรรม และเป็นสิ่งที่พระองค์ได้เสนอให้พิจารณาให้ลึกซึ้งเพื่อวางพื้นฐานตนเข้าสู่การหลุดพ้น สลายกายธาตุสู่ธาตุนิพพานที่เรียกว่าอสังขตธรรมนั้นเอง

นอกจากพิจารณาพระสูตรบทนี้ในแง่ทางอสังขตธรรมแล้วยังสามารถนำพระสูตรบทนี้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาให้ธรรม หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นสังขตธรรมได้ด้วย โดยเมื่อเราใช้ วิญญาณหก คือ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ หรือ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสธรรมารมณ์  พิจารณารับรู้ความเข้าใจในธรรมนั้น 

 

รูปที่เห็น  พิจารณามีธรรมชาติแห่งความว่าง

รูปของมันพวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง(รูปไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเกิด และไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการดับ เช่น พิจารณารูปหญิงสาว ไม่ทำให้เกิดราคะ และไม่ทำให้เกิดหดหู่)

รูปของมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว เช่นรูปหญิงสาวพิจารณาแล้วไม่เกิดการพิจารณาว่าสวย หรือ ไม่สวย

รูปของมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม  เช่น รูปหญิงสาวพิจารณาแล้วไม่เกิดการพิจารณาแล้วพบว่าสมบูรณ์ดีแล้วไม่ต้องเสริมเติมแต่งหรือแก้ไขอะไร

 

รสที่สัมผัส  พิจารณามีธรรมชาติแห่งความว่าง

รสของมันพวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง

(รสไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเกิด และไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการดับ เช่น ชิมอาหารชนิดหนึ่ง ไม่ทำให้เกิดอาการมีสุขแห่งการบริโภคในอาหาร และไม่เกิดอาการไร้สุขแห่งการบริโภคในอาหารทำให้เกิดหดหู่)

รสของมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว เช่นรสของอาหารชิมแล้วไม่เกิดการพิจารณาว่าอร่อยหรือ ไม่อร่อย

รสของมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม  เช่น รสของอาหารพิจารณาแล้วพบว่าเป็นรสที่ไม่ต้องเสริมเติมแต่งหรือแก้ไขอะไร

 

 

กลิ่นที่ดม  พิจารณามีธรรมชาติแห่งความว่าง

กลิ่นของมันพวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง

(กลิ่นไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเกิด และไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการดับ เช่น ได้กลิ่นน้ำหอมขวดหนึ่ง ไม่ทำให้เกิดอาการมีสุขแห่งการดมกลิ่นน้ำหอมและไม่เกิดอาการไร้สุขแห่งการดมกลิ่นน้ำหอมทำให้เกิดหดหู่)

กลิ่นของมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว เช่นกลิ่นของน้ำหอมดมแล้วไม่เกิดการพิจารณาว่าหอมชื่นใจหรือหอมไม่ชื่นใจ

กลิ่นของมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม  เช่น กลิ่นน้ำหอมพิจารณาแล้วพบว่าเป็นกลิ่นที่ไม่ต้องเสริมเติมแต่งหรือแก้ไขอะไร

 

เสียงที่ฟัง  พิจารณามีธรรมชาติแห่งความว่าง

เสียงของมันพวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง

(เสียงไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเกิด และไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการดับ เช่น ฟังเสียงเพลงเพลงหนึ่ง ไม่ทำให้เกิดอาการมีสุขแห่งการฟังทำให้จิตใจรื่นเริงและไม่เกิดอาการไร้สุขแห่งการฟังทำให้เกิดจิตใจหดหู่)

เสียงของมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว เช่นเสียงเพลงเพลงหนึ่งฟังแล้วไม่เกิดการพิจารณาว่าไพเราะหรือ ไม่ไพเราะ

เสียงของมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม  เช่น เสียงเพลงเพลงหนึ่งพิจารณาแล้วพบว่าเป็นเสียงเพลงที่ไม่ต้องเสริมเติมแต่งหรือแก้ไขอะไร

 

สัมผัสที่ได้รับ  พิจารณามีธรรมชาติแห่งความว่าง

สัมผัสที่ได้รับของมันพวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง

สัมผัสที่ได้รับไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเกิด และไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการดับ เช่น สัมผัสที่ได้รับจากผ้าห่มไหมอย่างดี ไม่ทำให้เกิดอาการมีสุขทางผิวหนังแห่งการสัมผัส และไม่เกิดอาการไร้สุขแห่งผิวหนังแห่งการสัมผัสทำให้เกิดจิตหดหู่

สัมผัสของมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว เช่นสัมผัสที่ได้รับจากผ้าห่มไหมสัมผัสแล้วไม่เกิดการพิจารณาว่านุ่มนวลหรือหยาบกระด้าง

สัมผัสของมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม  เช่น สัมผัสที่ได้รับจากผ้าห่มไหมพิจารณาแล้วพบว่าเป็นสัมผัสที่ไม่ต้องเสริมเติมแต่งหรือแก้ไขอะไร

 

สัมผัสทางใจที่ได้รับ  พิจารณามีธรรมชาติแห่งความว่าง

สัมผัสทางใจที่ได้รับพวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง

(สัมผัสทางใจที่ได้รับไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเกิด และไม่เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการดับ เช่น ความรู้สึกที่ได้รับจากการบริจาคทาน ไม่ทำให้เกิดอาการมีสุขแห่งการบริจาคทาน และไม่เกิดอาการไร้สุขแห่งการบริจาคทานทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่)

สัมผัสทางใจที่ได้รับของมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว เช่นความรู้สึกที่ได้รับจากการบริจาคทานแล้วไม่เกิดการพิจารณาว่าได้กุศลเป็นบุญหรือ ไม่ได้กุศลเป็นบาป

สัมผัสทางใจที่ได้รับมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม  เช่น สัมผัสทางใจที่ได้รับจากการบริจาคทานพิจารณาแล้วพบว่าเป็นสัมผัสทางใจที่ได้รับจากการบริจาคทานนั้นไม่ต้องเสริมเติมแต่งหรือแก้ไขอะไร

 

แสดงว่าการพิจารณาเกี่ยวกับธรรมทั้งหลาย ที่มีธรรมชาติแห่งความว่าง  ที่เคลื่อนผ่านร่างกายและจิตใจของพระองค์  ย่อมจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ย่อมจะไม่มีการปรุงแต่งใด ๆ พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง, พวกมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว

พวกมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม

แสดงว่าพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิมได้แนะนำให้เราพิจารณาธรรม คือ สรรพสิ่งทั้งปวง ดังนี้

 

 

 

 

พิจารณารูป 

ร่างกายของเรากับธรรมล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน  ดินน้ำลมไฟ เคลื่อนที่ผ่านตัวเรา 

 

ธาตุดินเคลื่อนที่ผ่านเข้าในรูปอาหาร และผ่านออกในรูปอุจจาระ 

 

ธาตุน้ำเคลื่อนที่ผ่านเข้าในรูปอาหาร และผ่านออกในรูปปัสสาวะและเหงื่อ

 

 ธาตุลมเคลื่อนที่ผ่านเข้าในรูปลมหายใจเข้า และผ่านออกในรูปลมหายใจออก

 

ธาตุไฟเคลื่อนที่ผ่านเข้าในรูปความร้อนจากการเผาผลาญอาหารและผ่านออกในรูปลมหายใจออก

 

 

 

นอกจากนี้พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิม  แนะนำให้

ธรรมทั้งหลาย หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่จะผ่านเข้ามา

มีธรรมชาติแห่งความว่าง 

พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,

พวกมันไม่ได้มัวหมองและไม่ได้ผ่องแผ้ว

พวกมันไม่ได้พร่องและไม่ได้เต็ม

ให้ผ่านมาเท่าใด ก็ผ่านไปเท่านั้น 

การผ่านมาและผ่านไปของธรรมหรือสิ่งทั้งหลายไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมันคือความว่างที่เคลื่อนเข้า ไม่ทำให้เกิดภาวะจิตกระเพื่อมขุ่นข้น จิตเป็นน้ำใสตลอดเวลา

 

 

 

 

 

 

 

Therefore, O Sariputra, in emptiness there is no form, nor feeling, nor perception, nor impulse, nor consciousness; No eye, ear, nose, tongue, body, mind; No forms, sounds, smells, tastes, touchablesor objects of mind; No sight-organ element, and so forth, until we come to: No mind-consciousness element; There is no ignorance, no extinction of ignorance, and so forth, until we come to: there is no decay and death, no extinction of decay and death. There is no suffering, no origination, no stopping, no path. There is no cognition, no attainment and non-attainment.

 

ดังนั้น ท่านสารีบุตร ในความว่างนั้น ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขารและไม่มีวิญญาณ ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ใดๆ ไม่มีจักษุธาตุและธาตุอื่นใดจนถึงมโนวิญญาณธาตุ ไม่มีอวิชชา และความสิ้นไปของอวิชชา ไม่มีความชรา ความมรณะ หรือความสิ้นไปแห่งความชรา และความมรณะไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุหรือการไม่บรรลุ

 

อธิบาย

ดังนั้นในตัวเรา หรือความว่างนั้น

ไม่มีรูป     ไม่มีตาไม่มีรูปไม่มีจักขุธาคุ  ไม่มีจักขุวิญญาณธาตุ

ไม่มีเวทนาไม่มีหู     ไม่มีเสียง ไม่มีโสตะธาตุ ไม่มีโสตะวิญญาณธาตุ

ไม่มีสัญญาไม่มีจมูก  ไม่มีกลิ่นไม่มีฆานะธาตุไม่มีฆานะวิญญาณธาตุ

ไม่มีสังขารไม่มีลิ้น   ไม่มีรสไม่มีชิวหาธาตุไม่มีชิวหาวิญาณธาตุ

ไม่มีวิญญาณ ไม่มีกาย ไม่มีสัมผัสไม่มีกายะธาตุไม่มีกายะวิญญาณธาตุ

ไม่มีใจ  ไม่มีธรรมารมณ์ไม่มีมโนธาตุ ไม่มีมโนวิญาณธาตุ

 (สารสื่อประสาท)(กระแสประสาท)

(รูป)(นาม)

ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปของอวิชชา

ไม่มีความชรา ความมรณะ ไม่มีความสิ้นไปแห่งความชราความมรณะ

ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

ไม่มีญาณ

ไม่มีการบรรลุ    ไม่มีการไม่บรรลุ

 

 

 

 

เหตุจากการปฏิบัติตนสู่ความว่าง จิตใจไร้การปรุงแต่ง มีผลทำให้ ขันธ์๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และตัวเราเป็นความว่าง และธรรมก็เป็นความว่าง 

ดังนั้นมีผลทำให้ วิญญาณ ที่ประกอบด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสกายสัมผัสใจ เกิดเพียงสภาวะ สักแต่เห็น สักแต่ได้รส สักแต่ได้กลิ่น สักแต่ได้ยิน สักแต่สัมผัสกาย สักแต่สัมผัสใจ สัมผัสทั้งหก เกิดเป็นความว่าง ทำให้เกิดความว่างภายนอกขึ้น ทั้งไม่มีผลกระทบไม่ก่อให้เกิดการปรุงแต่งทางจิตใจ ทำให้เกิดความว่างภายใน

 การที่เกิดความว่างทั้งภายนอกและภายใน เป็นผลทำให้ วิญญาณ ดับลง

เมื่อวิญญาณดับลง  มีผลทำให้ไม่เกิดสารจักขุธาตุถึงมโนธาตุ  และไม่เกิดการเคลื่อนที่ของจักขุวิญญาณธาตุถึงมโนวิญญาณธาตุ ผ่านสฬายตนะ ทำให้นามรูปดับ

ไม่เกิดการครบองค์สาม (วิญญาณ สฬายตนะ นามรูป) ทำให้ผัสสะดับ

มีผลทำให้วงจรปฏิจสมุปบาทเกิดการตัดขาดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อผัสสะดับ           ทำให้เวทนาดับ

เมื่อเวทนาดับ          ทำให้ตัณหาดับ

เมื่อตัณหาดับ          ทำให้อุปทานดับ

เมื่ออุปทานดับ        ทำให้ภพดับ

เมื่อภพดับ               ทำให้ชาติดับ

เมื่อชาติดับ              ทำให้ชรามรณะดับ

เมื่อชรามรณะดับ  

ทำให้ ไม่มีอริยสัจ๔ ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรคดับ

ทำให้ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปของอวิชชา

ทำให้ไม่มีญาณ  ญาณคือธรรมที่เป็นเครื่องมือการเดินทางข้ามผ่านดับ เพราะต้องทิ้งเพื่อข้ามผ่าน

สุดท้ายก็เข้าสู่ไม่มีการบรรลุ    ไม่มีการไม่บรรลุหลุดพ้นจากสังสารวัฏ จากกิเลส และทวิภาวะ เข้าสู่จิตพุทธะหรือโพธิจิตต์

 

 

Therefore, O Sariputra, it is because of his non-attainmentness that a Bodhisattva, through having relied on the Perfection of Wisdom, dwells without thought-coverings. In the absence of thoughtcoveringshe has not been made to tremble, he has overcome what can upset, and in the end he attains to Nirvana.

 

ดังนั้น ท่านสารีบุตร พระโพธิสัตว์ซึ่งยังไม่บรรลุ โดยอาศัยซึ่งปรัชญาปารมิตานี้เขาจะดำรงอยู่โดยมีจิตอิสระปราศจากการครอบงำของความคิดปรุงแต่ง เมื่อความคิดปรุงแต่งที่ครอบงำอยู่นั้นหมดสิ้นไป เขาก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ เขาสามารถพิชิตสิ่งที่ทำให้เขาเศร้าหมอง และในท้ายที่สุดเขาก็จะบรรลุซึ่งพระนิพพานได้

 

 

 

 

 

 

พิจารณาพระสูตรบทสำคัญโดยอาศัยซึ่งปรัชญาปารมิตานี้ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องการดำรงอยู่ด้วยการที่มีจิตเป็นอิสระปราศจากการครอบงำของความคิดปรุงแต่ง  ซึ่งสภาวะของจิตแบ่งได้ 4 แบบ คือ

1)  สภาวะการปรุงแต่งจิตในแบบเชิงบวก (ความพอใจ:โลภะ)

2)  สภาวะการปรุงแต่งจิตในแบบเชิงลบ (ความไม่พอใจ:โกรธ)

3)  สภาวะการปรุงแต่งจิตในแบบเชิงบวกก็มิใช่เชิงลบก็มิใช่(ความเฉย:หลง)(รอเหตุที่จะเกิดการปรุงแต่งในอนาคต)

4) สภาวะจิตการไร้ปรุงแต่ง ที่เรียกว่าสภาวะจิตในแบบเชิงศูนย์(ความว่าง:นิพพาน)

 

ถ้าจิตยังคงถูกครอบงำอยู่ด้วยทวิภาวะหรือการปรุงแต่งจิตแบบต่างๆ เหล่านั้น  เหมือนดั่งเครื่องบินระหว่างบินขึ้นต้องวิ่งทะยานขึ้นในรันเวย์ของสนามบิน  การวิ่งแบบหัวเชิดขึ้น การวิ่งแบบหัวเชิดลง  และการวิ่งแบบกล้าๆกลัวๆ ก็ไม่สามารถนำพาเครื่องบินให้ลอยบนฟากฟ้าได้    การที่ปราศจากการครอบงำของความคิดปรุงแต่ง  จิตดำรงอยู่ในความว่างหรือดำรงอยู่ในความเป็นศูนย์ ในระยะเวลายาวนานพอสมควร  ก็จะเปรียบเสมือนเครื่องบินแล่นอย่างเรียบตรงบนรันเวย์ในความเร็วและระยะเวลาที่เหมาะสม  ซึ่งก็จะสามารถบินสู่ท้องฟ้าได้  ดั่งกับการดำรงสภาพจิตอยู่ในความว่างไร้จิตปรุงแต่งดำรงสมาธิแห่งสุญญตาก็จะสามารถหนีออกจากสังสารวัฏได้พ้นจากแรงดึงดูดได้เช่นเดียวกับเครื่องบินนั่นเอง

 

ในหนังสือสุขาวดี พุทธเกษตร  ของสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้กล่าวลักษณะของจิตว่างไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

ลักษณะแห่งจิตว่างนั้นจะเป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีจิตที่ปราศจากอุปสรรคขวางกั้นทั้งมวล  การที่มีจิตที่ว่างหรือมี ใจที่ว่างแล้ว ไม่มีอะไรและเหตุการณ์ใดมาทำให้ต้องกังวลหรือเป็นห่วงในสิ่งใดเหลืออยู่ต่อไปแล้ว คือเป็นจิตที่สะอาดจริงๆ แล้วจึงมีอิสระไม่ถูกผูกมัดหรือมีอะไรมาคอยขวางกั้นอยู่ต่อไปแล้วไม่มีความหวาดกลัวต่อสิ่งใดอย่างใดแล้ว

เมื่อจิตว่างแล้ว เป็นอิสระอย่างแท้จริงแล้ว เป็นใจแท้ๆ ดังเดิมตามธรรมชาติแล้วก็เป็นใจที่ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อสิ่งใดทั้งสิ้น อะไรเกิดหรืออะไรจะไม่เกิดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ก็ทำใจไว้รับได้แล้ว คือเป็นอุเบกขาธรรมแล้วนั่นเอง

เมื่อความคิดปรุงแต่งที่ครอบงำอยู่นั้นหมดสิ้นไป เขาก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ เขาสามารถพิชิตสิ่งที่ทำให้เขาเศร้าหมอง และในท้ายที่สุดเขาก็จะบรรลุซึ่งพระนิพพานได้

ดังนั้นจึงเป็นผู้มีความเห็นถูกต้องชอบธรรมและกระทำกิจทั้งปวงอย่างถูกต้องโดยเสมอคือเมื่อมีใจที่เห็นถูกต้อง คือ

มีสัมมาทิฏฐิแล้ว การจะทำอะไรสืบไปทุกอย่างก็ย่อมจะต้องถูกต้องด้วย ในเรื่องความเห็นที่ถูกต้องนี้ องค์สมเด็จพระศากยมุนีระบุว่า เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อมีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเกิดตามขึ้นมาเอง จริงๆ เรื่องนี้มีพุทธพจน์ระบุไว้ชัดเจนใน มหาจัตตารีสกสูตร อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน คือ

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ (ความถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (การดำริริเริ่มที่ถูกต้อง) จึงจะพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ (การประกอบกิจการทุกอย่างโดยชอบเหมาะสม) จึงจะพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพโดยชอบ) จึงจะพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะ (คือ ความเพียรพยายามโดยชอบโดยควร) จึงจะพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาวายามะ  สัมมาสติ (คือมีสติมั่นอยู่ตลอดเวลากับตัวเอง) จึงจะมีได้

เมื่อมีสัมมาสติ  สัมมาสมาธิ (คือใจตั้งมั่นโดยเหมาะสมพอควร) จึงจะพอเหมาะได้

เมื่อมีสัมมาสมาธิ  สัมมาญาณ (ปัญญาที่เห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ ) จึงจะเหมาะสมได้

เมื่อมีสัมมาญาณ  สัมมาวิมุติ (การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยแท้จริง) จึงจะเหมาะสมได้....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล พระเสขะ ผู้ประกอบด้วย องค์ ๘ (มรรค) จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (คือมีเพิ่มขึ้นอีกสองอย่างได้แก่สัมมาญาณ และสัมมาวิมุติ)

 

 

 

 

 

ในที่สุดก็บรรลุถึงซึ่งนิพพาน

คำว่า “นิพพาน” คืออะไร?......

ในการอธิบายคำว่านิพพานนี้ เป็นเรื่องที่อธิบายได้ยากยิ่ง แต่พอจะประมวลความได้กว้างๆเท่าที่ขอบเขตภาษามนุษย์จะอำนวยพอที่จะอธิบายได้เท่านั้นในเรื่องนี้ มีคำอธิบายภาวะของพระนิพพานอยู่อย่างน้อย ๓๒ ลักษณะด้วยกัน ตัวอย่างบางลักษณะดังต่อไปนี้ เช่น

พระนิพพาน คือสังขตธรรม คือเป็นธรรมหรือธาตุที่บริสุทธิ์ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือเป็นเนื้อนิพพานแท้ๆ โดยตนเอง ไม่อาศัยหรือสิ่งใดมาประกอบเลย

พระนิพพาน คือที่สิ้นสุดแห่งกิเลส ~ กรรม ~ วิบาก ~ สิ้นภพสิ้นชาติ เป็นที่สุดของการเวียนตายเวียนเกิด (วัฏฏะ) และพ้นโลกีย์วิสัยทั้งปวง

พระนิพพาน คือปาระ หมายถึงฝั่งข้างโน้น คือฝั่งที่ตรงข้ามกับวัฏฏะ และภพทั้ง ๓ คือ กามภพ ~ รูปภพ ~ อรูปภพ

พระนิพพาน คือ นิปุณะ เป็นธรรมชาติที่ละเอียดลึกซึ้ง

พระนิพพาน คือสุทุททสะ เป็นธรรมชาติที่เห็นได้ยากยิ่ง

พระนิพพาน คือ อปโลกิตะ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดทำลายได้

พระนิพพาน คือนิปปปัญจะ เป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสมลทินทั้งปวง

พระนิพพาน คือสันตะ เป็นธรรมชาติที่สงบระงับจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง

พระนิพพาน คือสีวะ เป็นธรรมชาติแห่งความสุขสงบเกษมศานต์

พระนิพพาน คืออัจฉริยะ เป็นธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์

...................ฯลฯ.........................

ในพระพุทธศาสนามหายาน แบ่งพระนิพพานออกเป็น ๓ ขั้นใหญ่ๆ คือ

๑.นิพพานของพระอรหันต์

๒.พระนิพพานของพระโพธิสัตว์

๓. พระนิพพานของพระพุทธเจ้า

แต่ก็อาจสรุปสั้นๆได้ว่าคือแดนดินที่มีแต่ความสุขเกษมศานต์ และเป็นความสุขที่แท้จริง ไม่ใช่ความสุขแบบจอมปลอมฉาบฉวย แบบความสุขของชาวโลกทั่วๆไป

 

 

คำอธิบาย: 1811231402310001

ธรรมบทสำคัญนี้เป็นแนวปฏิบัติสำคัญสำหรับพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่บรรลุโดยอาศัยซึ่งปรัชญาปารมิตานี้เขาจะดำรงอยู่โดยมีจิตอิสระเมื่อความคิดปรุงแต่งที่ครอบงำอยู่นั้นหมดสิ้นไป เขาก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ เขาสามารถพิชิตสิ่งที่ทำให้เขาเศร้าหมอง ให้สามารถบรรลุพระนิพพานได้

ซึ่งความสำคัญของพระสูตรฝ่ายมหายานที่สำคัญ เช่น ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร มหาปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑริกสูตร ฯ เป็นพระสูตรที่พระสงฆ์นิกายมหายานเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก  เชื่อกันว่าเป็นพระสูตรที่ได้สอนให้กับพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ ที่พึงประสงค์จะปรารถนาที่จะต้องการเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปในอนาคต

สำหรับสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งเป็นมหาพระสูตรใหญ่มีความสำคัญสำหรับการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าของพระโพธิสัตว์ดุจดั่งหลักสูตร MBA ของพระโพธิสัตว์ ที่จะบอกแนวทางปฏิบัติ แนวทางดำรงตน และแนวทางการบริหารจัดการบุคลากร ตลอดจนกรณีศึกษาในการแก้ไขปัญหาเป็นเพชรเม็ดงามที่ซ่อนเร้น 

ได้บอกแนวทางการปฏิบัติจิตของพระโพธิสัตว์ไว้ คือ ให้ครองจีวรของตถาคต  ให้อยู่วิหารธรรมของตถาคต และให้นั่งในที่ประทับของตถาคต 

ซึ่งที่นั่งของตถาคตก็คือการปฏิบัติสุญญตาสมาบัติ ซึ่งมีรายละเอียดการปฏิบัติอยู่ในพระไตรปิฏก ในมหาสุญญตสูตร และจุฬสุญญตสูตรซึ่งก็เป็นแนวการปฏิบัติสมาธิที่ซ่อนเร้นอีกแบบหนึ่งที่นักปฏิบัติลืมเลือนไป  ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติสมาธิที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้พระสงฆ์ละจากการรวมหมู่ ให้ออกไปฝึกจิตตามที่สงัดต่าง ๆ  โดยให้พิจารณาในรูปฌานสี่ ความว่างทั้งภายในภายนอก  จากนั้นกำหนดจิตในกสิณต่างๆ สำคัญร่วมกัน ได้แก่ กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ กสิณดิน กสิณความว่าง กสิณแสงสว่าง จนกายทิพย์สว่างขึ้น นั่งสมาธิมองเห็นคน บ้าน ป่า พื้นดิน จนเข้าสู่อรูปฌานสี่  ตัดจิตเข้าสู่เจโตสมาธิ หรือการตัดจิตไร้การปรุงแต่ง  ในที่สุดก็จะสำเร็จกิจบรรลุนิพพานได้  

ผู้สนใจในการปฏิบัติจิตแบบสุญญตาสมาบัตินี้  ที่เป็นสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ได้สำเร็จ  ซึ่งระบุไว้ในมหาคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร  ก็สามารถศึกษาได้จากพระไตรปิฏก ของนิกายเถรวท ในมหาสุญญตสูตร และจุฬสุญญตสูตร

 

จากพระสูตรบทที่สำคัญนี้ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นสามารถพิจารณาสรุปทบทวนเพิ่มเติมได้อีกดังนี้

 

รูปคือความว่าง                   ความว่างคือรูป

รูปที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

เวทนาคือความว่าง             ความว่างคือเวทนา

เวทนาที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

สัญญาคือความว่าง             ความว่างคือสัญญา

สัญญาที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

สังขารคือความว่าง             ความว่างคือสังขาร

สังขารที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

วิญญาณคือความว่าง          ความว่างคือวิญญาณ

วิญญาณที่ผ่านพระองค์และจิตพระองค์ที่เป็นความว่างออกไป

 

ความว่างที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ผ่านไปคือตัวพระองค์ ที่เป็นแม่น้ำ และจิตของพระองค์ที่เป็นน้ำ จะผ่านข้ามตัวพระองค์ที่เป็นแม่น้ำและจิตที่เป็นน้ำ อย่างไรให้น้ำใส จนพระพุทธองค์ดื่มได้  ไม่ขุ่นข้นเหมือนกองเกวียนผ่าน 

แสดงว่าขันธ์ ๕ ที่ผ่านร่างกายพระองค์และจิตใจของพระองค์ไปเท่าใดก็ผ่านออกไปเท่านั้น ไม่ปรุงแต่งให้เพิ่มเติมขึ้น

 

 

 

 

 

 

รูปความว่างรูป

รูปผ่านเข้าเท่าใด ผ่านออกเท่านั้น

 

เวทนา ความว่าง เวทนา

เวทนาผ่านเข้าเท่าใด เวทนาผ่านออกเท่านั้น

 

สัญญา ความว่าง สัญญา

สัญญาผ่านเข้าเท่าใด สัญญาผ่านออกเท่านั้น

 

สังขาร ความว่าง สังขาร

สังขารผ่านเข้าเท่าใด สังขารผ่านออกเท่านั้น

 

วิญญาณความว่าง วิญญาณ

วิญญาณผ่านเข้าเท่าใด วิญญาณผ่านออกเท่านั้น

การผ่านโดยมีจิตอิสระ ปราศจากการครอบงำของความคิดปรุงแต่ง เป็นหัวใจสำคัญของศาสนา  เมื่อความคิดปรุงแต่งที่ครอบงำจิตทั้งปรุงแต่งทางบวกหรือลบ หมดสิ้นไป  เขาจะหลุดพ้นจากความทุกข์  เขาจะสามารถพิชิตสิ่งที่ทำให้เขาเศร้าหมอง  ในที่สุดเขาก็จะบรรลุนิพพาน

 

ซึ่งแนวความคิดในเรื่องการที่มีจิตอิสระจากการปรุงแต่ง การที่มีจิตเป็นอิสระจากความคิด ตลอดจนการละจากความสำคัญมั่นหมาย นอกจากจะพบเป็นคำสอนสำคัญในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นคำสอนสำคัญที่อยู่ในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรด้วย เพราะถ้าเกิดความสำคัญมั่นหมาย หรือการยึดมั่นถือมั่น หรือเกิดอุปทานขันธ์ขึ้น จะนำไปสู่การปรุงแต่งจิต ทำให้จิตขาดอิสระ

จากหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตา ฉบับถอดรหัสธรรมจากพระสูตร โดย อาจารย์อริยะ สุพรรณเภษัช ได้มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคำสอนเรื่องจิตมีอิสระจากความคิด และการยึดมั่นถือมั่น ไว้ดังนี้

1)    คำสอนเรื่อง อิสระจากความคิด

ถ้าแม้นผู้ใดได้ฟังพระสูตรนี้ แล้วบังเกิดศรัทธาเลื่อมใส เข้าใจและรับปฏิบัติบุคคลเช่นนี้ย่อมเป็นเลิศหาได้ยากแท้

        จิตของบุคคลนั้นจะไม่ถูกครอบงำด้วยอาตมะลักษณะ ปุคคลักษณะ สัตวะลักษณะ และชีวะลักษณะ เพราะว่า ความคิดเกี่ยวกับอาตมะลักษณะ ปุคคลักษณะ   สัตวะลักษณะ และชีวลักษณะ  นั้น แท้จริงแล้วมิใช่ความคิด เนื่องจาก บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งปวงได้พระนามว่าพระพุทธเจ้า ก็เพราะท่านเหล่านนั้น ล้วน เป็นอิสระจากความคิด

        เมื่อพระโพธิสัตว์บรรลุถึงพุทธจิต รู้ตื่น รู้เบิกบาน เป็นนิจ อย่างไม่มีใครเสมอเหมือนนั้น ท่านต้องละทิ้งความคิดทั้งปวง ท่านย่อมไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์ จิตท่านย่อมลุถึงความไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับสิ่งใด

 

2) เรื่อง ความสำคัญมั่นหมาย

ความสำคัญมั่นหมาย(นันทิ หรือ ความเพลิน) หมายถึง การตั้งความหวังเกินกำลังตน การไม่รู้จักประมาณตน การตั้งอยู่ในความประมาท การไม่รู้จักคบคน

การไม่แยกแยะดีหรือชั่ว การเป็นคนว่ายากสอนยาก การเป็นคนมีศรัทธาไม่มั่นคง

การเป็นคนเชื่ออะไรง่าย ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ เป็นที่มาแห่งความยากลำบากภายหลังทั้งสิ้น

ถ้าพวกเขาได้ละเสียถึงความสำคัญมั่นหมาย

พวกเขาจะไม่มีการยึดมั่นในอัตตา/ตัวตน หรือสิ่งมีชีวิต วิญญาณ หรือ บุคคล พวกเขาจะไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยแท้จริง

นั่นคือสิ่งที่รับรู้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต วิญญาณหรือบุคคลจริง ๆ แล้วหามีความรับรู้ในลักษณะดังกล่าวไม่

สำหรับพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้ละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายทั้งปวงไว้เบื้องหลังแล้ว

สำหรับพระโพธิสัตว์ สิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ หลังจากที่เขาได้ขจัดความสำคัญมั่นหมายทั้งหมดแล้ว ก็ควรจะยกระดับความคิดของเขาไปยังจุดสูงสุด นั่นคือ การตรัสรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์

        เขาควรจะสร้างความคิดอย่างหนึ่งขึ้น เป็นความคิดยังไม่จำเป็นต้องอาศัย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นความคิดที่ไม่อิงอาศัยใดๆ ทั้งสิ้น ก็เพราะว่าการอิงอาศัยใดๆแท้จริงแล้วหาได้มีการอิงอาศัยไม่

        ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงสั่งสอนโพธิสัตว์ว่าองค์ใดบำเพ็ญทานด้วยความสำคัญมั่นหมาย อุปมาดั่งบุคคลเดินอยู่ในความมืด เขาจะไม่เห็นสิ่งใด แต่ถ้าโพธิสัตว์บำเพ็ญทานโดยละความสำคัญมั่นหมายแล้วไซร้ อุปมาดั่งบุรุษตาดีเดินอยู่กลางแดด เขาย่อมเห็นทุกสีสันทุกรูปทรง

 

 

        ทำไมพระโพธิสัตว์ควรจะบริจาคทานในลักษณะเช่นนั้น เป็นเพราะว่าความสำคัญมั่นหมาย(การรับรู้) เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เท่ากับ การไม่สำคัญมั่นหมาย     (ไม่รับรู้) เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่กล่าวถึงแล้วนั้นโดยแท้จริงหามีสิ่งมีชีวิตใดเลย

        ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่าการบริจาคทานโดยมีความสำคัญมั่นหมาย จิตยังมีความยึดมั่นติดกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จิตยังมีการยึดมั่นในอัตตา/ตัวตน หรือสิ่งมีชีวิต วิญญาณ หรือ บุคคล เท่ากับความคิดยังไม่อิสระ

      

 

 

 

 

 

All those who appear as Buddhas in the three periods of time fully awake to the utmost, right and perfect Enlightenment because they have relied on the Perfection of Wisdom.

 

อันบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลทั้งสาม (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต) ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญานอันยิ่งแล้ว ก็เพราะว่าพระองค์ทรงอาศัยปรัชญาปารมิตานี้ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Therefore one should know the prajnaparamita as the great spell, the spell of great knowledge, the utmost spell, the unequalled spell, allayer of all suffering, in truth - for what could go wrong? By the prajnaparamita has this spell been delivered.It runs like this: Gone, gone, gone beyond, gone altogether beyond, O what an awakening, all-hail! - This completes the Heart of Perfect Wisdom.

 

ดังนั้น จึงควรรู้ว่าปรัชญาปารมิตานี้เป็นมนต์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นมนต์แห่งความรู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นมนต์อันสูงสุด เป็นมนต์ที่ไม่มีมนต์ใดเสมอเหมือน เป็นมนต์ซึ่งพิชิตความทุกข์ทั้งปวง เป็นความสัตย์จริงปราศจากความเท็จ โดยมนตร์แห่งปรัชญาปารมิตา สวดว่า

: คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหะ

จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง 

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรก็จบลงอย่างสมบูรณ์ด้วยประการฉะนี้

 

คำอธิบาย: 1811231403280001

นอกจากนี้จึงควรรู้ว่าปรัชญาปารมิตานี้เป็นมนต์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นมนต์แห่งความรู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นมนต์อันสูงสุด เป็นมนต์ที่ไม่มีมนต์ใดเสมอเหมือน เป็นมนต์ซึ่งพิชิตความทุกข์ทั้งปวง เป็นความสัตย์จริงปราศจากความเท็จ โดยมนตร์แห่งปรัชญาปารมิตา จะเห็นว่าคาถานี้เป็นการสวดมนต์เพื่อทำให้จิตบริสุทธิ์ด้วยคำว่า

 

คะเต จงไป

คะเต จงไป

ปาระคะเต ไปถึงฝั่งโน้น

ปาระสังคะเตไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง

โพธิ สวาหะบรรลุถึงความรู้แจ้ง 

 

 

 

ผลที่เกิดขึ้นของคาถามนต์นี้  ทำให้ ขันธ์๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ที่พิจารณาแล้วเป็นความว่าง เคลื่อนที่ผ่านกายและจิตของเรา จากฝั่งนี้ไปยังฝั่งโน้น ผ่านกายและจิตของเราที่พิจารณาแล้วก็เป็นความว่างด้วยกัน

พิจารณาเป็นการก้าวข้ามจาก ความว่าง สู่ความว่าง สู่ความว่าง ผ่านเข้าและผ่านออกไปโดยไม่มีการปรุงแต่ง มิเกิดการหักเหแต่อย่างใด  เข้าสู่ศูนย์แท้

การสวดมนต์นี้โดยไม่ใช้เพียงแค่บทมนต์ศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นบทมนต์แห่งปัญญา และนำมาใช้เป็นเครื่องรักษาใจตนให้เกิดปัญญามิให้เกิดการปรุงแต่งในจิต  ก็จะทำให้พ้นทุกข์และความเศร้าหมองได้

 

 

 

 

 

เบื้องหลังการเขียนอรรถกถาพระสูตรนี้จากใจผู้เขียน

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  เป็นพระสูตรที่สำคัญและเป็นที่นิยมยิ่งในพุทธศาสนา ชื่อ "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร"ความสำคัญของพระสูตร  บรรดาปวงพระพุทธเจ้าทุกๆองค์ ผู้ตั้งอยู่ในกาลทั้งสามมีทั้งอดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาล ทรงดำเนินตามปรัชญาปารมิตาล้วนต่างได้เคยบำเพ็ญปัญญาบารมีนี้มาด้วยกันแล้วทุกๆพระองค์ และเมื่อได้บำเพ็ญคุณธรรมนี้แล้วจึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณพระสูตรนี้มักได้รับการยอมรับว่าเป็นพระสูตรที่มีผู้รู้จักและนิยมที่สุดมากกว่าพระสูตรใดของพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน เซน, ตันตระ, วัชระญาณ) โดยแต่งเป็นโศลกภาษาสันสกฤตจำนวน 14 โศลก แต่ละโศลกมี 32 อักขระ พระสูตรนี้เป็นการสนทนาของพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร และพระสารีบุตรโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธานพร้อมด้วยมหาโพธิสัตว์และหมู่ภิกษุสงฆ์รับฟังอยู่

 

 

ตอนท้ายของพระสูตรพระพุทธเจ้าได้ทรงสรรเสริญและให้การรับรองหลักธรรมที่กล่าวแสดงของพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม สถานที่กำเนิดแห่งของพระสูตร  ณ เขาคิชคูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์  พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ และพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่สมัยนั้น

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องของแก่นแห่งปัญญาบารมี (ปรัชญาปารมิตา ปัญญาพาให้ถึงฟากฝั่งโน้น) โดยเน้นว่าขันธ์ 5 คือความว่าง ร่างกายตัวตนคือความว่างธรรมทั้งหลายคือความว่างการเข้าถึงความว่างโดยการเป็นหนึ่งเดียวกับทุกสรรพสิ่ง  ภายใต้การไม่ยึดมั่นถือมั่นและการมีจิตเป็นอิสระจากความคิด ซึ่งการที่จะเป็นเช่นนี้ได้ก็จะทำให้ล่วงพ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวง และยังได้กล่าวอีกว่าลักษณะของความว่างนั้นเป็นลักษณะที่ว่างจากลักษณะใด ๆ ว่างจากความเป็นของคู่ ว่างจากการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นสิ่ง ๆ และด้วยการเข้าถึงความว่างเท่านั้นที่จะสามารถลุถึงพระนิพพานได้

 

 

 

ข้าพเจ้าได้อ่านปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรนี้เป็นเวลานาน  แม้ว่าเป็นพระสูตรที่เป็นหัวใจที่มีใจความสั้นมากแต่ก็มีความลึกซึ้งยากแท้หยั่งถึง ยากที่จะอธิบายและสร้างความเข้าใจ

ปีพ.ศ.2560-2561 ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับแปลภาษาสันกฤตเป็นภาษาอังกฤษ ของEdward Conze แปลภาษาไทย โดยนิรนามและ วัชรปรัชญาปารมิตา ฉบับถอดรหัสธรรมจากพระสูตร   สำเร็จลงแล้ว

ก่อนหน้านี้ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2550 ข้าพเจ้าได้เคยมีประสบการณ์การค้นคว้าในเรื่องวิทยาศาสตร์ทางจิต โยคะ จักระและดนตรีเพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ตลอดจนการดึงพลังงานจากหินแร่ในธรรมชาติเพื่อพัฒนาจิต โดยได้เข้ารับการอบรมวิชาพลังจักรวาลในระดับ 7 พิเศษ อบรมความรู้การพัฒนาจักระ จากกลุ่มสหัสจโยคะ อบรมความรู้เกี่ยวกับดนตรีเพื่อพัฒนาศักยภาพสมองจากอาจารย์สถิตย์ธรรม  เพ็ญสุข อบรมความรู้ในวิชามโนมยิทธิ จากพระราชพรหมญาณ วัดท่าซุง ฯ ทั้งศึกษาด้วยตนเองด้านเคล็ดพลังสมาธิ จากตำรับตำราที่แสวงหาด้วยตนเองจำนวนมาก

ด้วยตัวข้าพเจ้ามักนิยมศึกษาสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ในหลายๆเรื่อง ใน

ระดับลึก  จนมีชื่อเสียงในระดับประเทศและในระดับอาชีพในสาขานั้นเช่น ด้านดนตรีบำบัด จากนวัตกรรมคีตะโยคะได้รับเกียรติเป็นกรรมการกลุ่มดนตรีบำบัดของกระทรวงสาธารณสุข  จัดทำตำราด้านดนตรีบำบัดเพื่อการพัฒนาสุขภาพ เป็นผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาศักยภาพสมองด้วยพลังคลื่นเสียงในประเทศไทย จัดทำตำราด้านพลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพสมองสามเล่มแรกของประเทศไทย ได้แก่

1.      คัมภีร์อภิวัฒน์สมอง 2542

2.      พัฒนาE.Q. ด้วยเสียงเพลง 2542

3.      พัฒนาI.Q, E.Q, M.Q, และสมาธิด้วยพลังคลื่นเสียง2545

 

 

          ได้รับรางวัลในผลงานวิจัยดีเด่นด้านการพัฒนาศักยภาพสมองเด็กปฐมวัย จากเวทีงานวิจัย สช.2545 ส่วนด้านงานอดิเรกได้จัดทำเวปไซต์ชื่อว่า www.ariyasound.com เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการนำพลังคลื่นเสียงเพื่อการพัฒนาศกยภาพมนุษย์ ความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จที่จัดสร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีและพระเรื่องของหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระสมเด็จในประเทศไทย ที่โรงเรียนถนอมพิศวิทยา  เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย พร้อมจัดอบรมความรู้ในหลักสูตรการศึกษาพระสมเด็จหลักสูตรแรกในประเทศไทย  เป็นต้น

เหตุที่สนใจเขียนอรรถกถาในพระสูตรนี้ด้วยข้าพเจ้ามีจิตใจที่เคารพบูชาพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม เนื่องจากมีเหตุการณ์หลายอย่างที่เชื่อว่าข้าพเจ้ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่าน จึงทำให้ข้าพเจ้าเกิดจิตปรารถนาที่จะทำอรรถกถาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรและคัมภีร์อื่นในฝ่ายมหายานถวายแด่พระองค์ท่าน โดยได้ท่านนิรนามมาให้ความช่วยเหลือในการแปลพระสูตรจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยจากงานแปลเอกสารโบราณของ Edward Conzeเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา  ได้มีโอกาสเดินทางธุดงค์อย่างเอกาไปในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในพุทธสถานที่สำคัญในประเทศอินเดียและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนหลายต่อหลายแห่ง เพื่อขอบารมีและแสงแห่งธรรมที่สถิตย์และตกค้างอยู่ในที่นั้น มาเกื้อหนุนส่งให้ข้าพเจ้าเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง  ขอบารมีธรรมเพื่อให้การทำพระสูตรประสบผลสำเร็จ

อาทิเช่น ในประเทศอินเดีย ได้ไปมนัสการพระพุทธองค์ที่ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ได้แก่ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้    สารนารถ สถานที่ปฐมเทศนา  กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน

ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ได้ไปมนัสการพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิม ในสถานที่ทรงบำเพ็ญเพียรและตรัสรู้ ณ พุทธคิรีเกาะผูโถ่วซาน และเกาะลั่วเจี่ยซาน มนัสการพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม ที่เกาะไห่หนาน เมืองซานย่า ชมพระบารมีของพระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์ พุทธคิรีเขาง่อไบ๊ มณฑลเสฉวน เดินทางไปเมืองซีอาน เพื่อขอบารมีปัญญาธรรมจากพระถังซัมจั๋ง ที่วัดห่านป่าใหญ่ เมืองซีอานซึ่งเป็นเถระที่มีปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมีอันยิ่งใหญ่  ขอบารมีธรรมจากหลวงจีนตั๊กม้อ ปรมาจารย์วัดเส้าหลิน  บารมีธรรมของเทพเทวดา วัดผาถ้ำหลงเหมิน  เมืองลั่วหยาง บารมีธรรม แห่งเทพพรหมเทวดา ณ ประตูสวรรค์ ณ เขาเทียนเหมินซาน จางเจี่ยเจี้ย มณฑลหูหนาน บารมีธรรมจากเทพเทวดาแห่งผาหินแกะสลักต้าจู๋   มหานครฉงชิ่ง

ทุกที่ที่ข้าพเจ้าไปได้อธิษฐานขอบารมีจากสิ่งศักสิทธิ์ขอให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จในการตีความคัมภีร์ต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาและปรารถนาจัดทำถวาย 

ผลงานที่ผ่านคือ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับถอดรหัสธรรมจากพระสูตร  และวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับแปลจากภาษาสันกฤตเป็นภาษาอังกฤษของ Edward Conzซึ่งเป็นนักภาษาศาสตร์และวรรณคดีโบราณชื่อดังโดยได้พิจารณาเปรียบเทียบกับฉบับที่แปลจากภาษาสันกฤตเป็นภาษาจีนและแปลเป็นภาษาไทยโดยเสถียรโพธินันทะ พบว่ามีเนื้อหาหลายแห่งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ  ซึงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจในการศึกษาในพระสูตรมหายานเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับข้าพเจ้า ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรเป็นพระสูตรฝ่ายมหายาน ที่ข้าพเจ้าตั้งใจจัดทำขึ้นเป็นเล่มที่สาม  เนื่องจากเป็นพระสูตรที่สำคัญมากและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิม ที่ข้าพเจ้าเคารพรัก  โดยข้าพเจ้าได้เตรียมการมานานหลายปีในการศึกษาพระสูตรนี้

ในวันที่ 26-31ก.ค. 2561 ข้าพเจ้ามีกำหนดการที่จะได้เดินทางไป เมืองเซี่ยงไฮ้ เมืองหังโจว เกาะผูโถ่วซาน ( หนึ่งในสี่พุทธคีรีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ที่เป็นที่สถิตย์ของพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ หรือที่คนไทยเรียกชื่อในอีกพระนามหนึ่งว่าเจ้าแม่กวนอิม และเกาะลั่วเจี่ยซาน  ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ เจ้าแม่กวนอิมตรัสรู้   ซึ่งเป็นการเดินทางมาเกาะผูโถวซานครั้งที่สามของข้าพเจ้า จึงได้ถือว่าเป็นวาระที่จะทำการเขียนอรรถกถาในปรัชญาปารมิตากหฤทัยสูตรอย่างจริงจังเพื่อที่จะทำเป็นหนังสือพระสูตรถวายพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์ กวนอิม

 

 

ซึ่งพระสูตรนี้ก่อนหน้าข้าพเจ้าได้มีการพยายามเขียนและตีความจนได้อรรถกถาแบบต่างๆ ขึ้นมาก่อนหน้านี้หลายฉบับ แต่พบว่าแต่ละฉบับที่ทดลองเขียน ล้วนไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าใจและตีความในเนื้อหาพระสูตร

เหมือนว่าพบอุปสรรคสำคัญด้านปัญญาของผู้เขียนคือตัวข้าพเจ้ามืดบอดต่อการเขียนอรรถกถาพระสูตรนี้  ได้พยายามหาตัวอย่างของหนังสืออรรถถาในพระสูตรนี้ที่มีค่อนข้างน้อยมาศึกษา เช่น ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ของสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ของละเอียด ศิลาน้อย ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ของ ดาไลลามะ หนังสือปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของEdward Conze แปลภาษาไทย โดยนิรนาม เป็นต้น  และพยายามนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาพระสูตรมหายานต่าง ๆ มาช่วยในการค้นคว้าตีความ  พบว่ามีปัญหาเป็นอย่างมากในการตีความให้เกิดความกระจ่างลื่นไหล ฉบับต่าง ๆ ที่เขียนไว้ ซึ่งพบว่าไม่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจใหม่ในพระสูตรได้ บางครั้งตีความเดินหน้าได้  แต่ถอยหลังแล้วหกล้มก็มี หรือบางทีตีความได้ลื่นไหล แต่เกิดการสะดุดในความเข้าใจไปทุกครั้ง  ไม่สามารถตีความให้เกิดความเข้าใจได้เป็นระบบครอบคลุม ทำให้ท้อใจและทำให้ต้องเลิกล้มการเขียนไป

ก่อนวันเดินทางได้ลองพยายามอีกครั้งแต่ท้ายสุดถึงวันเดินทางก็ไม่สามารถเขียนได้สำเร็จ  จึงได้แต่ทำเป็นเอกสารปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของEdward Conze แปลภาษาไทย โดยนิรนาม และนำข้อเขียนที่ละเอียด ศิลาน้อยได้อรรถกถาไว้ลงพิมพ์ในเอกสาร โดยได้จ่ายแจกกับผู้สนใจในกลุ่มทัวร์และนำไปถวายเจ้าแม่กวนอิมเท่านั้น  เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่เราต้องการทำจริง ๆ แต่ติดขัดด้วยปัญญา

ด้วยปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร มีอายุมาช้านานกว่าสองพันปี  มีผู้อรรถกถาไว้มากมาย  แต่พระสูตรนี้กลับสร้างความไม่เข้าใจให้กับผู้ศึกษาพระสูตรอย่างมหาศาลจนบางครั้งพระสูตรนี้บางแง่มุมด้วยความไม่เข้าใจของผู้ศึกษากลับไปยึดถือเป็นเพียงแค่เป็นบทสวดมนต์เพื่อเอาบุญกุศลไปโดยไม่สนใจในเนื้อหาไปเลยก็มี หรือบางคนคิดว่าเป็นมนต์ศักสิทธ์สวดแล้วมีฤทธิ์เดชปกป้องสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติก็มี 

การที่ข้าพเจ้าเดินทางมาในครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสพิเศษเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่ 1 การที่จะได้มีโอกาสมามนัสการพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิมที่เกาะผูโถ่วซานในวาระสาม  ที่ตามความเชื่อของผู้นับถือกล่าวว่าผู้ใดมาได้ครบสามวาระจะมีความเป็นมงคลอย่างยิ่ง 

ประการที่สอง ได้มีโอกาสมามนัสการพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิมที่เกาะลั่วเจียซานในวาระแรก ซึ่งเป็นเกาะตรัสรู้ของพระแม่กวนอิม เป็นมงคลที่ดีสุด เพราะเจ้าแม่กวนอินตรัสรู้ที่นี่  การเดินทางมายังที่ที่พระองค์ตรัสรู้ย่อมเป็นมงคลยิ่ง ดั่งพบแสงแห่งปัญญาที่เอิบอาบอยู่ ดุจดั่งเป็นการที่ชาวพุทธได้มาจาริก ณ เมืองพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสรู้ที่นี่  ความสำเร็จด้านปัญญาต้องมาสู่ผู้แสวงบุญจาริกตามที่หวังไม่มากก็น้อย

 

 

สำหรับการเดินทางมาในครั้งนี้ ได้รับข่าวไม่สู้ดีจากสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศจีนในช่วงระยะนี้ ที่มีสภาพอากาศแปรปรวนมีลมพายุรุนแรงฝนตกหนักและน้ำท่วม ข้าพเจ้าที่เดินทางมาได้ต่ออธิษฐานต่อพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิมขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพลมฟ้าอากาศปรอดโปร่ง เพราะถ้าฝนตกหนักและมีพายุรุนแรงจะมีผลร้ายต่อการเดินทางข้ามเกาะเป็นอย่างยี่ง  หลายต่อหลายคณะที่เดินทางมาไม่มีโอกาสข้ามเกาะไปก็มีมากมาย 

ในการเดินทางวันแรก เมื่อเดินทางมาถึงประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงเครื่องบินที่ สนามบิน ณ เมืองหนิงปอ ก็พบพายุฝนรุนแรงมาก ต้องหลบฝนไปทานอาหารกลางวันที่ภัตตาคาร พายุฝนที่เกิดขึ้นรุนแรงจนต้นไม้โอนเอนไปมาอย่างแรงแทบหักโค่น และไฟฟ้าในภัตตาคารดับหลายครั้ง   จนกลุ่มลูกทัวร์ด้วยกัน เกิดถอดใจลงความเห็นว่าถ้าฝนแรงขนาดนี้อาจข้ามเกาะไม่ได้

 

 

 

แต่ด้วยโชคดีบารมีคุ้มครองเมื่อเดินทางมาถึงท่าเรือที่จะข้ามไปเกาะผูโถ่วซาน ท้องฟ้ากลับสดใสไร้เงาฝน ทั้งที่ระหว่างการเดินทางมาที่ท่าเรือมีฝนตกหนักและลมกระโชกมาตลอดเส้นทาง นับว่าโชคดีมาก ๆ

พอข้ามเรือไปบนเกาะผูโถ่วซานได้  ก็ได้เดินทางกราบไหว้มนัสการพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม ในวัดต่าง ๆ ภายในเกาะ เช่น วัดเจ้าแม่กวนอิมไม่หวนกลับ พระหนานไฮ่กวนอิม วัดไผ่ม่วง  วัดผู่จี้   แต่เมื่อเดินทางไปถึงโรงแรมได้ทราบข่าวร้ายเกี่ยวกับการหายของTablet Samsung 10.5 นิ้ว ได้หายไปจากกระเป๋า  รู้สึกผิดหวังพอสมควรเมื่อถึงเกาะผูโถ่วซานแล้ว ได้ข่าวไม่ดีต่อจิตใจ 

แต่พระองค์ท่านได้สอนสั่งในเรื่องของรูปคือความว่าง ความว่างคือรูป  ทุกสรรพสิ่งคือความว่าง อย่าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ทำให้ทำใจสงบได้  และรู้สึกเข้าสู่กระแสธรรมภายในโรงแรมบนเกาะในคืนนั้นอย่างเดียวดาย 

 

แต่ภายใต้ความโชคร้าย ก็กลับเกิดความโชคดีขึ้น  เมื่อค่ำคืนนั้นข้าพเจ้าได้หยิบเอกสารปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรที่ทำมาถวายเจ้าแม่กวนอิมและแจกให้กับผู้ร่วมทัวร์ พระสูตรที่ข้าพเจ้าเคยตีความไม่ได้ ไม่ลื่นไหล ไม่โล่งโปร่ง

 คืนนั้นจากสามทุ่มถึงตีสาม ข้าพเจ้ากลับพบแสงธรรมแห่งผูโถ่วซาน  ได้ทำการตีความและเขียนอรรถกถาพระสูตร ในรูปแบบใหม่ที่ข้าพเจ้าไม่เคยคิดไม่เคยเขียนมาก่อนไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เหมือนกับการเกิดซาโตริในโลกแห่งธรรม 

ทำให้ข้าพเจ้าทำความเข้าใจพระสูตรได้ลื่นไหล โปร่งโล่ง มีความสุขกายสุขใจเป็นอย่างยิ่ง  ข้าพเจ้าอ่านพระสูตรได้อย่างสุขใจอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  

 

 

 

 

รวมทั้งได้ตีความหมายที่ซ่อนเร้นของคาถาท้ายพระสูตร ได้แก่ คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเตโพธิสวาหา  ที่ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใจในนัยของมนต์คาถานี้แม้แต่น้อย  กลับดังเหมือนกุญแจไขปริศนาความลับแห่งพระสูตรที่เคยมืดมิดไร้การเข้าใจและเข้าถึง  ทำให้เกิดแสงสว่างแห่งปัญญาสุดโชติช่วง   การมาครั้งนี้ของข้าพเจ้าคุ้มค่าสุดแล้ว  ข้าพเจ้าได้ทำดีที่สุดแล้ว รหัสที่ข้าพเจ้าเฝ้าถอดอยู่ข้าพเจ้าได้พบแล้ว

เช้าวันที่สองของการเดินทาง  ข้าพเจ้าได้พบความโชคดี

ประการแรก Tablet Samsung 10.5 นิ้ว ที่คิดว่าหายไป กลับพบวางอยู่ในรถบัส นับว่าโชคดีมากที่ไม่หาย

ประการที่สอง  ข้าพเจ้าได้พบแสงธรรมที่เกาะลั่วเจี่ยซาน  ที่เป็นสถานที่ที่พระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิมทรงตรัสรู้ข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปบริเวณทางขึ้นเขาของเกาะลั่วเจี่ยซาน พบแสงทอดยาวจากยอดเขามาที่บันไดทางขึ้นเกาะ เมื่อดูที่แสงนั้นพบเจ้าแม่กวนอิมอยู่ในแสงนั้น  ท่านเหมือนมาแสดงความยินดีกับความสำเร็จธรรมในคืนที่ผ่านมาและต้อนรับข้าพเจ้าในการขึ้นไปบนเขาไปยังที่ท่านได้ตรัสรู้ธรรม

ประการที่สาม  ข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปกับเจดีย์ของพระอวโลติเกศวรมหาโพธิสัตว์กวนอิม บนยอดเขา  พบว่าได้ภาพกลุ่มควันธูปทาบบนเจดีย์เป็นรูปเจ้าแม่กวนอิม โดยภาพที่พบมีลักษณะเดียวกับภาพเจ้าแม่กวนอิมที่ถ่ายจากด้านหลังพระสมเด็จวัดระฆังแล้วนำมาเป็นหน้าปกของเอกสารปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของEdward Conze แปลภาษาไทย โดยนิรนาม  อรรถกถาโดยละเอียด ศิลาน้อย  ที่ข้าพเจ้าจัดทำจ่ายแจกกับผู้สนใจในกลุ่มทัวร์และนำไปถวายเจ้าแม่กวนอิม  อย่างน่าประหลาดด้วยสาเหตุที่ข้าพเจ้าได้นับถือสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสีมาก  การพบภาพของเจ้าแม่กวนอิมบนหลังพระสมเด็จ แสดงถึงว่าเจ้าแม่กวนอิมเป็นหนึ่งเดียวกันกับสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังสี  และการพบว่าภาพกลุ่มควันธูปทาบบนเจดีย์เป็นรูปเจ้าแม่กวนอิม โดยภาพที่พบมีลัษณะเดียวกับภาพเจ้าแม่กวนอิมที่ถ่ายจากด้านหลังพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นการยืนยันว่าภาพคล้ายเจ้าแม่กวนอิมบนหลังพระสมเด็จวัดระฆังเป็นภาพเจ้าแม่กวนอิมจริง

 

การมาในครั้งนี้มีคุณค่าดียิ่งทุกประการ  ข้าพเจ้าจึงนำความรู้ใหม่ที่ได้จากแสงธรรมแห่งผูโถ่วซานและลั่วเจี่ยซาน มาเป็นแนวทางการพิจารณาศึกษาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ที่คิดว่าจะสร้างมิติใหม่ในการศึกษาพระสูตรปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรได้เป็นอย่างดี 

ข้าพเจ้ายังมีโครงการตำราฝ่ายมหายานอีกพระสูตรหนึ่งที่ตั้งใจทำได้แก่  สัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่มีความยาวมากและมีความยากในการศึกษาตลอดจนมีรหัสธรรมลี้ลับมากมาย แต่ทว่าถือเป็นคู่มือสำคัญสำหรับผู้ที่มีจิตปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ปรารถนามุ่งสู่อนุตรสัมมาสัมโพธิ  ไม่ขอกลับมาเกิดอีก พระสูตรนี้เป็นดั่งตำรา MBA มีแนวกุศโลบายต่างๆ สำหรับผู้ปรารถนาทักษะที่เหมาะสมสำหรับการบำเพ็ญเป็นมหาโพธิสัตว์ ซึ่งข้าพเจ้าได้ศึกษาและตีความมาแล้วหลายปี จะเป็นผลงานที่จะนำเสนอออกมาในเล่มต่อไป นอกจากนี้ยังมีพระสูตรมหายานที่สำคัญอีกหลายพระสูตรที่น่าสนใจ เช่น วิมลเกียรตินิเทศสูตร ศรีมาลาเทวีสีหนารถสูตรฯ

หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ก็ขอมอบคุณความดีต่อบิดาที่ล่วงลับ มารดา ครูบาอาจารย์ เทพพรหมเทวดาประจำองค์ที่ดูแลรักษาข้าพเจ้า อาจารย์เลืองมินด๊าง ดิรานาราดา คุณแม่ศรีมาตาจี สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และพระมหาโพธิสัตว์อวโลติเกศวร กวนอิม ตลอดจนผู้ร่วมเดินทางในครั้งนั้นทุกคนในกุศลร่วมกัน

                                                                อริยะ สุพรรณเภษัช

                                                                19 มีนาคม 2562

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบาย: 3

ประวัติย่อผู้เขียน

อาจารย์อริยะ  สุพรรณเภษัช

 

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี  วิทยาศาสตร์บัณฑิต  ม.เกษตรศาสตร์

ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  สถาบันราชภัฏจันทรเกษม

ปริญญาโท  พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต  (รัฐประศาสนศาสตร์)

วิชาเอกการบริหารงานบุคคล  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ปริญญาโทศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการศึกษา มหาวิทยาเซนต์จอห์น

 

ตำแหน่งการทำงานปัจจุบัน

ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมพิศวิทยา

กรรมการสมาคมสหพันธ์โรงเรียนเอกชนแห่งประเทศไทย

ผู้รับใบอนุญาตสถานรับเลี้ยงเด็กถนอมพิศเบบี้โฮม

กรรมการพิจารณามาตรฐานความรู้ด้านดนตรีบำบัดเพื่อจัดทำตำราวิชาการ และคู่มือการให้บริการการแพทย์ทางเลือกในธุรกิจบริการด้านสุขภาพ   จากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  กระทรวงสาธารณสุข

หัวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยด้วยพลังคลื่นเสียง

 

ผลงานด้านการวิจัย

1.        ได้รับรางวัล 10  ผลงานวิจัยยอดเยี่ยมสำหรับครูโรงเรียนเอกชน ประจำปี 2545   ในหัวข้อวิจัยเรื่อง การพัฒนาสติปัญญาเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมอภิวัฒน์ปัญญากับ งานเวทีวิชาการ สช. โรงแรมเอสดีอเวนิว วันที่   13-14  กันยายน 2545

2.        ได้รับการเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือการวิจัยด้านดนตรีคลาสสิก สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต สาขาศิลปะศึกษา  จากคณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2550

 

ผลงานทาง ด้านคุณธรรม

เป็นผู้บุกเบิกงานด้านหนังสือคัมภีร์ลัทธิมหายาน ได้แก่

1. วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับแปล Edwar conze  พ.ศ. 2561

2.วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ฉบับถอดรหัสธรรม  พ.ศ. 2561

3.ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับแสงธรรมแห่งผู่โถวซาน  พ.ศ. 2562

 

ผลงานทางวิชาการ

เป็นผู้บุกเบิกงานด้านหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพสมองด้วยพลังคลื่นเสียงจากดนตรีในประเทศไทย  โดยผลิตตำราออกมาจำนวน  3 เล่ม ได้แก่

1. คัมภีร์อภิวัฒน์สมองพ.ศ. 2542

2.พัฒนา E.Q. ด้วยเสียงเพลงพ.ศ. 2543

3.พัฒนา I.QE.QM.Q. และสมาธิด้วยพลังคลื่นเสียง พ.ศ. 2545

 

 

 

 

ผลงานที่เผยแพร่ด้านสื่อสารมวลชน

1.        สัมภาษณ์พิเศษรายการโทรทัศน์ เรื่อง  ดนตรีมีประโยชน์มากกว่าทีคุณคิด  รายการเช้าวันนี้  วันที่  17  มิถุนายน 2545  สถานีโทรทัศน์ช่อง 5

2.        สัมภาษณ์พิเศษรายการโทรทัศน์  เรื่อง  คีตะโยคะ  ศาสตร์แห่งสุขภาพดีด้วยพลังคลื่นเสียง  รายการHealth Station  สถานีโทรทัศน์ ITV  2550

3.        บทสัมภาษณ์พิเศษกับวารสารวงการครู   เรื่อง แนวทางช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น  : การพัฒนาสมาธิเด็กด้วยคลื่นเสียง โดยลงบทสัมภาษณ์ใน  วารสารวงการครู  ฉบับ เดือน เมษายน  2549

4.        บทสัมภาษณ์พิเศษ  เรื่อง คีตะโยคะ ศาสตร์แห่งสุขภาพดีด้วยพลังคลื่นเสียง ให้กับวารสาร  Health Channel    จำนวน 3 ฉบับ  ระหว่างฉบับเดือน  พ.ค.- ก.ค.  2549

 

ผลงานด้านการเป็นวิทยากรพิเศษ (มากกว่าสามสิบครั้ง  เลือกเฉพาะที่สำคัญ)

1.        ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ  เรื่อง  ดนตรีกับการพัฒนาสมาธิเด็กพิเศษ  คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร  วันที่  13  .2547

2.        ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ  เรื่อง  คีตะโยคะ ศาสตร์แห่งสุขภาพดีด้วยพลังคลื่นเสียง  กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  กระทรวงสาธารณสุขวันที่  มิถุนายน  2549

3.        ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ  เรื่อง  Effect of sound and  brain  wave   ณ  Bangkok CODE  สาธร           คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี   วันที่  27 สิงหาคม  2552

4.  ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ เรื่อง เทคนิคพัฒนาศักยภาพสมองให้เต็มประสิทธิภาพ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรนักวิชาการศึกษา   สถาบันพัฒนาบุคลกรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย รุ่นที่  30  วันที่  14  มกราคม  2553  และรุ่นที่   31  วันที่  15  กุมภาพันธ์  2553 โรงแรมชาลีน่า รามคำแหง

5.    ได้รับเชิญเป็นวิทยาพิเศษ เรื่อง  การพัฒนาไอคิวอีคิวของเด็กด้วยเสียงเพลง  สถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  วันที่ 8  กุมภาพันธ์ 2555

ผลงานด้านความสามารถพิเศษอื่น ๆ

1.        เป็นเวปมาสเตอร์ จัดทำเวปไซต์www.tpvschool.comซึ่งเป็นเวปไซต์ของโรงเรียนถนอมพิศวิทยาและจัดทำเวปไซต์www.ariysound.com เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาไอคิวอีคิวและสมาธิ  รวมทั้งจัดทำหลักสูตรคีตะโยคะ เพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ระดับสูงด้วยพลังคลื่นเสียง

2.    จัดตั้งศูนย์ศึกษามวลสารพระสมเด็จฯ    ที่โรงเรียนถนอมพิศวิทยา  เพื่อจัดการฝึกอบรมในหลักสูตรการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง วัดบางขุนพรหม และวัดเกศไชโย  โดยใช้การศึกษาจากพระตระกูลสมเด็จ และชิ้นส่วนของพระสมเด็จสามวัด  เป็นหลักสูตรการอบรมพระสมเด็จแห่งแรกของประเทศไทย 

*************************************************************************************

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

โรงเรียนถนอมพิศวิทยา
ที่อยู่ :  เลขที่1810 เขต :  วังทองหลาง แขวง : วังทองหลาง
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร.     รหัสไปรษณีย์ : 10310
เบอร์โทร : 02-5394968      มือถือ :  0818033630
อีเมล : ariyasound@thaimail.com
เว็บไซต์ : www.ariyasound.com